เห็นความเคลื่อนของจิต จิตจะตั้งมั่นพอดี

วรรคทอง วรรคธรรม #๑๐๐

เห็นความเคลื่อนของจิต จิตจะตั้งมั่นพอดี

การมีที่อยู่จึงจะรู้ ให้มีประโยชน์ว่า..
มีสติรู้กิเลสได้ง่ายขึ้น

พอรู้ไปมาก ๆ เข้า เราจะมีทักษะในการรู้
เขาเรียกว่า ‘รู้สภาวะ’

สภาวะที่ว่านี้ มันไม่ใช่เป็นคน ไม่ใช่เป็นสัตว์
แต่เป็นอาการทางใจ

อาการที่มันเผลอไป
ก่อนจะเผลอ มันมีการเคลื่อนจากที่อยู่ตรงนี้
อันนี้เขาเรียกว่าต้องอาศัยทักษะ

แรก ๆ ถ้าใครไม่เห็นเคลื่อน
ให้รู้ไปถึงตอนที่มันมีกิเลสแล้วก็โอเค
ยังถือว่า ..ยังเกิดกุศลคือ เกิดสติ !

แต่พอเรามีทักษะมากขึ้นเนี่ย
จากที่มีที่อยู่แล้วนะ ตอนมันเผลอเนี่ย

มันไม่ใช่ว่าจะแวบไปอย่างเดียวนะ !
มันจะมีอาการเคลื่อน

ถ้าใครเห็นอาการเคลื่อนได้เนี่ย !
จะได้กุศลอีกตัวหนึ่ง เป็นกุศลที่ ..พิเศษมากเลย

คือเรียกว่า ถ้าเห็นอาการเคลื่อน ก็จะได้สมาธิตัวที่เป็นจิตตั้งมั่น

จิตตั้งมั่นแปลว่า ..มันไม่เคลื่อน
แต่ถ้าเคลื่อนแสดงว่า ..มันไม่ตั้งมั่น

ถ้าเห็นความเคลื่อนของจิต
จิตจะตั้งมั่นพอดีเพราะไปเห็นจิตพอดี !

ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล

เรียบเรียงจากการแสดงธรรม ณ สวนธรรมธาราศัย นครสวรรค์
วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๘

รับฟังเสียงธรรมที่แผ่นซีดีศาลาเรียนรู้กายใจ
ไฟล์ 1.08.บทเรียนชาวพุทธ – เดินปัญญา
ระหว่างเวลา ๐๓.๓๓-๐๔.๕๖

ดาวน์โหลดที่ลิงก์ http://bit.ly/2ianEu4