#นิมฺมโลตอบโจทย์ ๑๒๕ ?? #ถาม​ : การฝึก”รู้” ในขณะที่เรามีความโกรธ แต่ความโกรธก็ไม่ยอมดับไป ดังนั้นควรทำอย่างไรดีคะ…

#นิมฺมโลตอบโจทย์ ๑๒๕
??

#ถาม​ : การฝึก”รู้” ในขณะที่เรามีความโกรธ แต่ความโกรธก็ไม่ยอมดับไป ดังนั้นควรทำอย่างไรดีคะ
1.เราควรจะดูความโกรธไปสักระยะ จนมันดับไป(แบบนี้มีข้อควรระวังอะไรบ้างคะ)
หรือ
2.ทิ้งความโกรธไปเลย โดยใช้วิธีอื่นๆ เช่น นึกบริกรรมว่า พุทโธ หรือพยายามเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่นๆแทน (ถ้าใช้วิธีนี้ ความโกรธมันจะกลายไปเป็นความเก็บกดในจิตใต้สำนึกหรือไม่คะ และจะกระทบต่ออนุสัยจิตหรือไม่คะ)?

#ตอบ​ : ที่​รู้​โกรธ​ แล้ว​โกรธ​ไม่​ดับ​ มี​ทาง​เป็นไปได้​ว่า

๑.​ โกรธ​ตัวเอง​ที่​ไป​เผลอ​โกรธ​เมื่อกี้นี้​ กลาย​เป็น​โกรธ​ตัว​ใหม่​ แต่​รู้​ไม่​ทัน​ว่า​เป็น​ตัว​ใหม่​ เห็น​ว่า​โกรธ​เหมือนกัน​ ก็​นึก​ว่า​โกรธ​ตัว​เดิม​ ที่จริง​เปลี่ยน​อารมณ์​ไป​แล้ว
(อารมณ์​ ในที่นี้​หมายถึง​ สิ่ง​ที่​ถูก​จิต​รู้​ หรือ​สิ่ง​ที่​ถูก​รับรู้)​

๒.​ จิต​ถลำ​ไปดู​ไป​จ้อง​ความ​โกรธ!

คือ​เวลา​ฝึก​ดู​จิต​ ที​แรก​ก็​เห็น​กิเลส​เป็น​ตัว​ๆ​ เช่น​ใน​กรณี​นี้​ก็​เห็น​ว่า​ความ​โกรธ​มัน​เป็น​อย่างนี้​ๆ​ คือ​เห็น​ลักษณะ​เฉพาะ​ตัว​ของ​สภาวะ(​ในที่นี้คือ​ความโกรธ)​ เรียก​อีก​อย่าง​ว่า​ เห็น​”วิเสส​ลักษณะ”

วิเสส​ลักษณะ​ เป็น​ลักษณะ​พิเศษ​เฉพาะ​ตัว​ของ​สภา​ว​ธรรม​นั้น​ๆ ที่​แตกต่าง​กัน​ไป​ใน​แต่ละ​สภาวะ​ ทำให้​แยก​ได้​บอกถูก​ ว่า​นี่​คือ​ความ​โลภ​ นี่​คือ​ความ​โกรธ​ เป็น​ต้น

ที่​ว่า​มี​ลักษณะ​พิเศษ​เฉพาะ​ตัว​นั้น​ ถ้า​ว่า​โดย​ละเอียด​ ก็​จะ​มี​จุด​ให้​ดู​ความแตกต่าง​กัน​อยู่​ ๔​ ประการ​ คือ

๑.​ ลักษณะ​ คือ​ สภาพ​เฉพาะตัว​ที่​มี​อยู่​ใน​สภา​วธรรม​นั้น​ๆ​ เช่น​ใน​กรณี​ของ​ความ​โกรธ​ ก็​มี​ ความ​หยาบ​กระด้าง เป็น​ลักษณะ

๒.​ รสะ​ คือ​ หน้าที่​ของ​สภา​ว​ธรรม​นั้น​ๆ​ เช่น​ แสง​มี​หน้าที่​ให้​ความ​สว่าง​ ใน​กรณี​ของ​ความ​โกรธ​ ก็​มี​ การ​ทำให้​จิต​ตน​และ​ผู้อื่น​หม่น​ไหม้​ เป็น​รสะ​ คือ​ทำหน้าที่​เผาลน​จิตใจ​นั่นเอง

๓.​ ปัจจุปัฏ​ฐาน​ คือ​ การ​ปรากฏ​ หมายถึง​ผล​ที่​เกิดขึ้น​จาก​การ​ทำ​หน้าที่​ของ​สภา​ว​ธรรม​นั้น​ๆ​ เช่น​ใน​กรณี​ของ​ความ​โกรธ​ ก็​มี​ การ​ประทุษร้าย​ การ​ทำลาย​ เป็น​ปัจจุปัฏ​ฐาน​ คือ​นอกจาก​จะ​ทำลาย​จิต​เอง​แล้ว​ ยัง​จะ​ไป​ทำลาย​อารมณ์​ที่​รับรู้​นั้น​ด้วย

๔.​ ปทัฏฐาน​ คือ​ เหตุ​ใกล้​ให้​เกิด​ หมายถึง​ปัจจัย​โดยตรง​ที่​เป็น​ตัวการ​ให้​เกิด​สภาว​ธรรม​นั้น​ๆ​ ใน​กรณี​ของ​ความ​โกรธ​ ก็​มี​ อาฆาต​วัตถุ​ เป็น​เหตุ​ใกล้​ให้​เกิด

อาฆาต​วัตถุ​ ได้แก่​ :-
– อาฆาต​เขา​ เพราะ​คิดว่า​เขา​ ได้​เคย​ทำ​ความ​เสื่อมเสีย​ให้​แก่​เรา​ หรือ​กำลัง​ทำ​ หรือ​แม้​จะ​ทำ​ใน​อนาคต​ด้วย
– อาฆาต​เขา​ เพราะ​คิดว่า​เขา​ ได้​เคย​ทำ​ความ​เสื่อมเสีย​ให้​แก่​ผู้​ที่เรา​รัก หรือ​กำลัง​ทำ​ หรือ​แม้​จะ​ทำ​ใน​อนาคต​ด้วย
– อาฆาต​เขา​ เพราะ​คิดว่า​เขา​ ได้​เคย​ทำ​คุณ​ประโยชน์ให้​แก่​ผู้​ที่เรา​เกลียด หรือ​กำลัง​ทำ​ หรือ​แม้​จะ​ทำ​ใน​อนาคต​ด้วย
– ความอาฆาต​ที่​เกิด​ขึ้น​ใน​ฐานะ​อัน​ไม่สมควร​ เช่น​ เดิน​ชน​ประตู​ สะดุด​พื้น​ทางเดิน​ที่​ขรุขระ​ เป็นต้น

พูดถึง​วิเสส​ลักษณะ​เสีย​ยาว​ ที่จริง​ก็​ไม่​จำเป็นต้อง​เห็น​ละเอียด​อย่าง​ที่​บรรยาย​มา​นี้​ก็ได้​นะ​ อันนี้​ถือ​ว่า​เป็น​วิชาการ

เห็น​วิเสส​ลักษณะ​แล้ว ส่วนมาก​ก็ยัง​ไม่​เห็น “สามัญ​ญ​ลักษณะ” คือ​ไม่​เห็น​อารมณ์​นั้นเกิด​ดับ​ เพราะ​จิต​ไป​ถลำจม​แช่​กับ​อารมณ์​ คือ​ไป​ดู​ไป​จ้อง​ความ​โกรธ

สามัญ​ญ​ลักษณะ​ คือ​ ลักษณะ​ธรรมดา​ที่​สภาว​ธรรม​ทั้งหลาย​มี​เหมือน​ๆ​กัน​ เป็น​ลักษณะ​ร่วม​ของ​ทุก​สภาวะ​ที่​จะ​ต้อง​เป็นไป​ มี​ ๓​ อย่าง​ ได้แก่​ ลักษณะ​ที่​ไม่​เที่ยง​ เป็น​ทุกข์​ และ​เป็น​อนัตตา​ ซึ่ง​รวม​เรียกว่า​”ไตรลักษณ์”

จะ​เห็น​ไตรลักษณ์​ได้​ ใจก็​ต้อง​ถอย​มา​เป็น​ผู้​รู้​ผู้​ดู

เช่น​ ถ้า​เรา​โกรธ​ แล้ว​จิต​ก็​ไหล​ไป​อยู่​กับ​ความ​โกรธ​ จ้อง​อยู่​ที่​ความ​โกรธ​ พอ​จ้อง.. จิต​ก็​ถลำ​ไป​ดู​ จะ​ไม่​เห็น​ความ​โกรธ​แสดง​ไตรลักษณ์

แต่ถ้า​จิต​ตั้งมั่น​ จิต​จะถอย​ออกมา​จาก​อารมณ์​คือ​สภาวะ​ความ​โกรธ​นั้น ก็​จะ​เห็น​ว่า​ความ​โกรธ​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ จิต​ที่​เป็น​ผู้​รู้​ผู้​ดู​ก็​เป็น​อีก​ส่วน​หนึ่ง​ อย่างนี้.. ความ​โกรธ​จะ​แสดง​ไตรลักษณ์​ให้​ดู

อย่า​ให้​จิต​เข้า​ไป​คลุก​กับ​อารมณ์​ตลอดเวลา​ ให้​มัน​แยก​ออกมา​เป็น​ผู้​รู้​ผู้​ดู​บ้าง​ ก็​จะ​เห็น​ไตรลักษณ์​ได้​ง่าย

เวลา​เห็น​ไตรลักษณ์​ มัน​ก็​ไม่​พูด​เป็น​ภาษา​ออก​มา​หรอก​นะ​ ไม่ต้อง​ไป​บรรยาย​ในใจ​ว่า​ ‘โกรธ​เกิด​ขึ้น​ โกรธ​ตั้งอยู่​ โกรธ​ดับ​ไป​แล้ว’ ไม่ต้อง​นะ​ มัน​เป็น​ปัญญา​เข้า​ใจ​อยู่​ข้างใน​

สรุป​คือ​ ลอง​ไป​ดู​จิต​ที่​ไหล​ไป​จม​แช่​อยู่​ใน​อารมณ์​นะ

ดู​บ่อย​ๆ​
ถึง​เวลา​เข้าใจ.. มัน​ก็​จะ​เข้าใจ​ของ​จิต​เอง

๘ สิงหาคม ๒๕๖๑


อ่านบน Facebook