นิมฺมโลตอบโจทย์

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #พิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมะทาน #แจกธรรมะ #ถาม : กราบเรียนสอบถามพระอาจารย์ "พิมพ์หนังสือธรรมะแจกถือเป็นการให้ทานข้อไหนคะ?" #ตอบ : เป็น “ธรรมทาน” ใช่ไหม? หมายถึงว่า.. “จะทำธรรมทาน” ใช่ไหม? แล้วก็ “พิมพ์หนังสือธรรมะแจก” ใช่ไหม? คือคนส่วนใหญ่ เวลาจะทำธรรมทานก็จะนึกถึง.. วิธีนี่แหละ! ก็คือ ใช้การแจกหนังสือธรรมะ แต่การแจกหนังสือธรรมะเนี่ย ยังไม่แน่ว่าจะเป็นธรรมทานหรือเปล่า? มันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่ง คือ เราเห็นคุณค่าของหนังสือนั้นหรือยัง? หมายความว่า.. เราได้อ่านหนังสือนั้นหรือยัง? อ่านแล้ว.. ได้เห็นคุณค่านั้นด้วยหรือเปล่า? ..แล้วจึงแจก ไม่ใช่เห็นหนังสือแล้วก็แจก หรือไปสั่งโรงพิมพ์..พิมพ์แจก โดยที่ตัวเองยังไม่ได้อ่านเลย ไม่รู้ว่าเนื้อหาในหนังสือมีอะไรบ้าง อย่างนี้เท่ากับแจกกระดาษ อานิสงส์เท่ากับแจกวัตถุ ไม่ได้แจกธรรมะ "แจกธรรมะ" คือ เรารู้อยู่ว่าดี เห็นว่ามีประโยชน์ และควรที่จะให้คนอื่นรู้ด้วย คือตัวเองต้องรู้ก่อน จึงจะเรียกว่า "การให้ธรรมะเป็นทาน" เนื้อหาในหนังสือนั้น เราควรรู้ด้วย อาจจะไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง อาจจะไม่บรรลุมรรคผลจากการอ่านหนังสือธรรมะนั้น แต่เห็นประโยชน์ เห็นว่าหนังสือนั้นแสดงความจริง แสดงวิธีที่จะบรรลุความจริงนั้น หรือแก้ไขมิจฉาทิฏฐิ หรือความเข้าใจผิดของคนได้ ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ "เห็นประโยชน์" คือ เราไม่สามารถจะสอนได้อย่างนี้ มีครูบาอาจารย์สอนไว้แล้ว พิมพ์เป็นหนังสือไว้แล้ว แล้วเราเห็นประประโยชน์..ก็แจกหนังสือนั้น อย่างนี้จึงจะมีอานิสงส์จากการแจกนั้นเป็น "ธรรมทาน" "ให้ความรู้จริงๆ" คือ เราต้องรู้ด้วย !ไม่ใช่เพียงเห็นเป็นหนังสือธรรมะ..แล้วก็แจก คำว่า "หนังสือธรรมะ" ยังไม่รู้ว่าเนื้อหาในหนังสือธรรมะนั้นดีหรือเปล่า? อาจจะเป็นมิจฉาทิฏฐิ สอนอะไรผิดๆ ก็ได้ อาจจะทำให้คนหลงทางก็ได้ ถ้าเราไม่ได้ตรวจสอบ หรือดูด้วตนเอง ก็เสี่ยง.. ต้องมั่นใจว่า เนื้อหาในหนังสือนั้นเป็นธรรมะ ไม่ใช่เป็น “อธรรม” !! เพราะฉะนั้น "พิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน" ต้องมั่นใจว่า.. เนื้อหาของหนังสือนั้นเป็นธรรมะจริง ถ้าไม่มั่นใจ ก็ปรึกษาครูบาอาจารย์ก่อนว่า หนังสือนี้สมควรไหม.. ที่จะพิมพ์แจก? ไม่ใช่ไปสั่งโรงพิมพ์มา ถึงวัดก็เอาหนังสือไปตั้งไว้เลย ก็เป็นปัญหากับวัดนั้นว่า.. หนังสือนี้เอาไปทำอะไรต่อดี! เปิดดูแล้วเนื้อหาก็ไม่ได้เรื่อง เอามาทำให้คนหลงผิด ก็ชั่งกิโลขายเท่านั้นเอง! เป็นเอากระดาษให้วัดไปช่างกิโลขาย คือ เจ้าตัวต้องอ่านแล้วเห็นประโยชน์กับหนังสือนั้นก่อน แล้วจึงเอาไปแจก ไม่ใช่เพียงแค่ “เขาว่า.. เป็นหนังสือธรรมะ” แล้วเราก็เอาหนังสือที่ “เขาว่าเป็นหนังสือธรรมะ” ไปแจก ตัวเองก็เป็นเพียงแค่ตัวส่งผ่าน จะไปต่างอะไรกับคนที่แจกโบรชัวส์ตามสะพานลอย กระดาษนั้น เขาก็เอาไปทิ้งนั่นเอง! ดูให้แน่นอนว่า.. เนื้อหาเป็นอย่างไร? ส่งเสริมให้เกิดสัมมาทิฏฐิไหม? บอกสอนความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไหม? บอกวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ถึงความจริงที่พระพุทธเจ้าแสดงนั้นไหม? ส่งเสริมให้เกิดสัมมาทิฏฐิ หรือเปล่า? ขอฝากให้ตรวจสอบก่อน ถ้าไม่มีภูมิที่จะตรวจสอบเอง ก็ถามที่ครูบาอาจารย์ก่อน หรือมั่นใจในครูบาอาจารย์ท่านไหน เราก็เอาธรรมะของครูบาอาจารย์ท่านนั้นมาแจกได้เลย คือ เจ้าตัวต้องอ่านก่อน แล้วเห็นประโยชน์ของสิ่งที่จะแจกนั้นก่อน ไม่ใช่ว่า "สักแต่ว่าแจก" ขอฝากไว้ตรงนี้ด้วย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ 15 กรกฎาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=qVf33M3gwGQ&t=1498s (นาทีที่ 24.52 – 29.55)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #พิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมะทาน #แจกธรรมะ #ถาม : กราบเรียนสอบถามพระอาจารย์ “พิมพ์หนังสือธรรมะแจกถือเป็นการให้ทานข้อไหนคะ?” #ตอบ : เป็น “ธรรมทาน” ใช่ไหม? หมายถึงว่า.. “จะทำธรรมทาน” ใช่ไหม? แล้วก็ “พิมพ์หนังสือธรรมะแจก” ใช่ไหม? คือคนส่วนใหญ่ เวลาจะทำธรรมทานก็จะนึกถึง.. วิธีนี่แหละ! ก็คือ ใช้การแจกหนังสือธรรมะ แต่การแจกหนังสือธรรมะเนี่ย ยังไม่แน่ว่าจะเป็นธรรมทานหรือเปล่า? มันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่ง คือ เราเห็นคุณค่าของหนังสือนั้นหรือยัง? หมายความว่า.. เราได้อ่านหนังสือนั้นหรือยัง? อ่านแล้ว.. ได้เห็นคุณค่านั้นด้วยหรือเปล่า? ..แล้วจึงแจก ไม่ใช่เห็นหนังสือแล้วก็แจก หรือไปสั่งโรงพิมพ์..พิมพ์แจก โดยที่ตัวเองยังไม่ได้อ่านเลย ไม่รู้ว่าเนื้อหาในหนังสือมีอะไรบ้าง อย่างนี้เท่ากับแจกกระดาษ อานิสงส์เท่ากับแจกวัตถุ ไม่ได้แจกธรรมะ “แจกธรรมะ” คือ เรารู้อยู่ว่าดี เห็นว่ามีประโยชน์ และควรที่จะให้คนอื่นรู้ด้วย คือตัวเองต้องรู้ก่อน จึงจะเรียกว่า “การให้ธรรมะเป็นทาน” เนื้อหาในหนังสือนั้น เราควรรู้ด้วย อาจจะไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง อาจจะไม่บรรลุมรรคผลจากการอ่านหนังสือธรรมะนั้น แต่เห็นประโยชน์ เห็นว่าหนังสือนั้นแสดงความจริง แสดงวิธีที่จะบรรลุความจริงนั้น หรือแก้ไขมิจฉาทิฏฐิ หรือความเข้าใจผิดของคนได้ ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ “เห็นประโยชน์” คือ เราไม่สามารถจะสอนได้อย่างนี้ มีครูบาอาจารย์สอนไว้แล้ว พิมพ์เป็นหนังสือไว้แล้ว แล้วเราเห็นประประโยชน์..ก็แจกหนังสือนั้น อย่างนี้จึงจะมีอานิสงส์จากการแจกนั้นเป็น “ธรรมทาน” “ให้ความรู้จริงๆ” คือ เราต้องรู้ด้วย !ไม่ใช่เพียงเห็นเป็นหนังสือธรรมะ..แล้วก็แจก คำว่า “หนังสือธรรมะ” ยังไม่รู้ว่าเนื้อหาในหนังสือธรรมะนั้นดีหรือเปล่า? อาจจะเป็นมิจฉาทิฏฐิ สอนอะไรผิดๆ ก็ได้ อาจจะทำให้คนหลงทางก็ได้ ถ้าเราไม่ได้ตรวจสอบ หรือดูด้วตนเอง ก็เสี่ยง.. ต้องมั่นใจว่า เนื้อหาในหนังสือนั้นเป็นธรรมะ ไม่ใช่เป็น “อธรรม” !! เพราะฉะนั้น “พิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน” ต้องมั่นใจว่า.. เนื้อหาของหนังสือนั้นเป็นธรรมะจริง ถ้าไม่มั่นใจ ก็ปรึกษาครูบาอาจารย์ก่อนว่า หนังสือนี้สมควรไหม.. ที่จะพิมพ์แจก? ไม่ใช่ไปสั่งโรงพิมพ์มา ถึงวัดก็เอาหนังสือไปตั้งไว้เลย ก็เป็นปัญหากับวัดนั้นว่า.. หนังสือนี้เอาไปทำอะไรต่อดี! เปิดดูแล้วเนื้อหาก็ไม่ได้เรื่อง เอามาทำให้คนหลงผิด ก็ชั่งกิโลขายเท่านั้นเอง! เป็นเอากระดาษให้วัดไปช่างกิโลขาย คือ เจ้าตัวต้องอ่านแล้วเห็นประโยชน์กับหนังสือนั้นก่อน แล้วจึงเอาไปแจก ไม่ใช่เพียงแค่ “เขาว่า.. เป็นหนังสือธรรมะ” แล้วเราก็เอาหนังสือที่ “เขาว่าเป็นหนังสือธรรมะ” ไปแจก ตัวเองก็เป็นเพียงแค่ตัวส่งผ่าน จะไปต่างอะไรกับคนที่แจกโบรชัวส์ตามสะพานลอย กระดาษนั้น เขาก็เอาไปทิ้งนั่นเอง! ดูให้แน่นอนว่า.. เนื้อหาเป็นอย่างไร? ส่งเสริมให้เกิดสัมมาทิฏฐิไหม? บอกสอนความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไหม? บอกวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ถึงความจริงที่พระพุทธเจ้าแสดงนั้นไหม? ส่งเสริมให้เกิดสัมมาทิฏฐิ หรือเปล่า? ขอฝากให้ตรวจสอบก่อน ถ้าไม่มีภูมิที่จะตรวจสอบเอง ก็ถามที่ครูบาอาจารย์ก่อน หรือมั่นใจในครูบาอาจารย์ท่านไหน เราก็เอาธรรมะของครูบาอาจารย์ท่านนั้นมาแจกได้เลย คือ เจ้าตัวต้องอ่านก่อน แล้วเห็นประโยชน์ของสิ่งที่จะแจกนั้นก่อน ไม่ใช่ว่า “สักแต่ว่าแจก” ขอฝากไว้ตรงนี้ด้วย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ 15 กรกฎาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=qVf33M3gwGQ&t=1498s (นาทีที่ 24.52 – 29.55)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ถาม : กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ จะทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับอย่างไรดีคะ? แบบเมื่อเขาอนุโมทนาแล้ว เขาจะได้อยู่สุขสบายในภพนั้น #ตอบ : จะมีหลักประกันอะไร?!? เอาอย่างนี้นะ.. สมมติว่าเขาอยู่ในภพที่ไม่ดี เช่น อบาย .. สมมติว่าเขาเป็นเปรตนะ .. เราทำบุญอุทิศให้เขา เราอย่าไปบอกว่า “ให้เขาอยู่สบายในภพเดิม” เปรตยังไงก็ไม่น่าอยู่นะ !! มันควรจะบอกว่า “ถ้าเขาอยู่อบายภูมิ ให้เขา ‘เปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิไปสู่สุคติ’ สิ” ที่ว่าให้สุขสบายในภพนั้นน่ะ .. ก็คือเป็นเทวา ก็เป็นเทวดาต่อไป อย่างนี้..ได้ ใช่ไหม? หรือบอกว่า “ให้เขาได้สุข แล้วถ้าอยู่ในภพภูมิที่เป็นทุกข์ ก็ขอให้เปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิไปสู่สุคติ” มันต้องว่าอย่างนี้ ไม่ใช่ว่า “อยู่ที่เดิมนะ แล้วให้มีสุข” ..มันไม่สุขหรอก! แล้วก็จะทำบุญอย่างไร? ให้เขาอนุโมทนา แล้วจะได้สุขนะ ก็คือ ทำบุญที่มันเป็นความจำเป็นในการดำรงชีพพื้นฐานเลย คือ ปัจจัย ๔ ทำบุญด้วยอาหาร ด้วยเครื่องนุ่งห่ม ด้วยยารักษาโรค ด้วยที่อยู่อาศัย คือ ถ้าเขาเป็นทุกข์เนี่ยนะ เขาจะเป็นทุกข์ในเรื่อง ๔ เรื่องนี้ เช่น เปรตบางตน ไม่ได้กินอาหาร ไม่ได้กินน้ำ ก็ทำบุญด้วยข้าว ด้วยอาหาร ด้วยน้ำ แล้วอุทิศให้ เปรตบางตนเนี่ย ได้ข้าวได้น้ำแล้ว ไม่มีเสื้อผ้าใส่ ก็ต้องทำบุญด้วยเครื่องนุ่งห่ม เปรตบางตนก็ดูขี้โรค ก็ทำบุญด้วยยารักษาโรค เปรตบางตนไม่มีที่อยู่ที่อาศัย ก็ทำบุญเกี่ยวกับที่อยู่ที่อาศัย ถ้าได้ปัจจัย ๔ อย่างนี้ เรียบร้อยแล้วเนี่ยนะ เช่น ได้วิมานแล้ว มีเสื้อผ้าที่เป็นทิพย์ที่สวยงามแล้ว มีอาหารทิพย์แล้ว อย่างนี้นะ ก็คือ เปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิ จากเปรตเป็นเทวดาทันที ไม่มีบุญอะไรที่จะให้ผล ช่วยให้เขาพ้นทุกข์ได้ไวเท่ากับการที่ทำบุญด้วยปัจจัย ๔ นี้ เพราะเวลาเขาเหล่านั้นเป็นทุกข์ ก็คือ ไม่มีปัจจัยในการดำรงชีพ ไม่มีปัจจัยในการดำรงชีพ ปัจจัย ๔ อย่างเนี่ย เป็นของจำเป็นสำหรับสรรพสัตว์ เพราะฉะนั้น ถ้าเขาเป็นทุกข์ ก็เป็นทุกข์ในเรื่องเหล่านี้แหละ ไม่ใช่ว่าเป็นทุกข์ว่า ไม่มียศ ไม่มีตำแหน่ง เขาไม่ทุกข์หรอก ทุกข์ประจำสัตว์ทั้งหลายเลยคือ ไม่มีกิน ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม ไม่มีที่อยู่ที่อาศัย ประมาณอย่างนี้แหละ ที่จำเป็นมาก ๆ เลย คือ อาหาร กับเครื่องนุ่งห่ม ขอให้ทำบุญด้วยปัจจัย ๔ เท่านั้นเอง แล้วอุทิศให้ ถ้าเขามีสุขอยู่แล้ว ก็สุขในภพนั้นไม่เป็นไร แต่เขาอยู่ในภพที่ไม่ดี ให้เขาเปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิ ไม่ใช่ว่า อยู่ภพตรงนั้นแหละ แล้วให้เป็นสุข มันไม่สุขหรอก ต้องบอกว่า ให้เขาได้อนุโมทนา แล้วก็เปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิไปสู่สุคติ ถ้าเขาอยู่ในที่ ๆ ไม่สบายให้เขาเปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิไป แต่ถ้าเขาอยู่ดีอยู่แล้ว เช่น เป็นเทวดาอยู่แล้ว ก็ขอให้อยู่ตรงนั้นล่ะ เป็นเทวดาอย่างนั้นล่ะ แล้วเราก็ไม่ต้องเป็นห่วงเขาแล้ว ถ้าเขาเป็นเทวดานะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=bd0goHUPz4o&t=2114s (นาทีที่ 1:27:30 – 1:31:43)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ถาม : กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ จะทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับอย่างไรดีคะ? แบบเมื่อเขาอนุโมทนาแล้ว เขาจะได้อยู่สุขสบายในภพนั้น #ตอบ : จะมีหลักประกันอะไร?!? เอาอย่างนี้นะ.. สมมติว่าเขาอยู่ในภพที่ไม่ดี เช่น อบาย .. สมมติว่าเขาเป็นเปรตนะ .. เราทำบุญอุทิศให้เขา เราอย่าไปบอกว่า “ให้เขาอยู่สบายในภพเดิม” เปรตยังไงก็ไม่น่าอยู่นะ !! มันควรจะบอกว่า “ถ้าเขาอยู่อบายภูมิ ให้เขา ‘เปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิไปสู่สุคติ’ สิ” ที่ว่าให้สุขสบายในภพนั้นน่ะ .. ก็คือเป็นเทวา ก็เป็นเทวดาต่อไป อย่างนี้..ได้ ใช่ไหม? หรือบอกว่า “ให้เขาได้สุข แล้วถ้าอยู่ในภพภูมิที่เป็นทุกข์ ก็ขอให้เปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิไปสู่สุคติ” มันต้องว่าอย่างนี้ ไม่ใช่ว่า “อยู่ที่เดิมนะ แล้วให้มีสุข” ..มันไม่สุขหรอก! แล้วก็จะทำบุญอย่างไร? ให้เขาอนุโมทนา แล้วจะได้สุขนะ ก็คือ ทำบุญที่มันเป็นความจำเป็นในการดำรงชีพพื้นฐานเลย คือ ปัจจัย ๔ ทำบุญด้วยอาหาร ด้วยเครื่องนุ่งห่ม ด้วยยารักษาโรค ด้วยที่อยู่อาศัย คือ ถ้าเขาเป็นทุกข์เนี่ยนะ เขาจะเป็นทุกข์ในเรื่อง ๔ เรื่องนี้ เช่น เปรตบางตน ไม่ได้กินอาหาร ไม่ได้กินน้ำ ก็ทำบุญด้วยข้าว ด้วยอาหาร ด้วยน้ำ แล้วอุทิศให้ เปรตบางตนเนี่ย ได้ข้าวได้น้ำแล้ว ไม่มีเสื้อผ้าใส่ ก็ต้องทำบุญด้วยเครื่องนุ่งห่ม เปรตบางตนก็ดูขี้โรค ก็ทำบุญด้วยยารักษาโรค เปรตบางตนไม่มีที่อยู่ที่อาศัย ก็ทำบุญเกี่ยวกับที่อยู่ที่อาศัย ถ้าได้ปัจจัย ๔ อย่างนี้ เรียบร้อยแล้วเนี่ยนะ เช่น ได้วิมานแล้ว มีเสื้อผ้าที่เป็นทิพย์ที่สวยงามแล้ว มีอาหารทิพย์แล้ว อย่างนี้นะ ก็คือ เปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิ จากเปรตเป็นเทวดาทันที ไม่มีบุญอะไรที่จะให้ผล ช่วยให้เขาพ้นทุกข์ได้ไวเท่ากับการที่ทำบุญด้วยปัจจัย ๔ นี้ เพราะเวลาเขาเหล่านั้นเป็นทุกข์ ก็คือ ไม่มีปัจจัยในการดำรงชีพ ไม่มีปัจจัยในการดำรงชีพ ปัจจัย ๔ อย่างเนี่ย เป็นของจำเป็นสำหรับสรรพสัตว์ เพราะฉะนั้น ถ้าเขาเป็นทุกข์ ก็เป็นทุกข์ในเรื่องเหล่านี้แหละ ไม่ใช่ว่าเป็นทุกข์ว่า ไม่มียศ ไม่มีตำแหน่ง เขาไม่ทุกข์หรอก ทุกข์ประจำสัตว์ทั้งหลายเลยคือ ไม่มีกิน ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม ไม่มีที่อยู่ที่อาศัย ประมาณอย่างนี้แหละ ที่จำเป็นมาก ๆ เลย คือ อาหาร กับเครื่องนุ่งห่ม ขอให้ทำบุญด้วยปัจจัย ๔ เท่านั้นเอง แล้วอุทิศให้ ถ้าเขามีสุขอยู่แล้ว ก็สุขในภพนั้นไม่เป็นไร แต่เขาอยู่ในภพที่ไม่ดี ให้เขาเปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิ ไม่ใช่ว่า อยู่ภพตรงนั้นแหละ แล้วให้เป็นสุข มันไม่สุขหรอก ต้องบอกว่า ให้เขาได้อนุโมทนา แล้วก็เปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิไปสู่สุคติ ถ้าเขาอยู่ในที่ ๆ ไม่สบายให้เขาเปลี่ยนภพเปลี่ยนภูมิไป แต่ถ้าเขาอยู่ดีอยู่แล้ว เช่น เป็นเทวดาอยู่แล้ว ก็ขอให้อยู่ตรงนั้นล่ะ เป็นเทวดาอย่างนั้นล่ะ แล้วเราก็ไม่ต้องเป็นห่วงเขาแล้ว ถ้าเขาเป็นเทวดานะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=bd0goHUPz4o&t=2114s (นาทีที่ 1:27:30 – 1:31:43)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #การกรวดน้ำ #ถาม : ทำบุญตักบาตร แล้ว “กรวดน้ำแห้ง” ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้รับบุญไหมเจ้าคะ? #ตอบ : ได้.. สามารถรับได้ คำว่า “กรวดน้ำ” เนี่ยนะ จริง ๆ แล้ว ความหมายก็คือ “อุทิศบุญกุศล” อันนี้เป็นประเพณีที่เราสืบกันมาว่า เวลาอุทิศบุญกุศล เราจะใช้น้ำเป็นสัญลักษณ์ ว่าน้ำที่หลั่งลงไปนี้.. น้ำจากภาชนะหนึ่ง เทลงสู่ภาชนะหนึ่ง.. น้ำจากภาชนะนี้ที่เต็มอยู่ก่อน แล้วก็ลงไปสู่ภาชนะอีกภาชนะหนึ่ง.. ให้เต็มได้ ฉันใด บุญที่เราทำนี้ ก็ขออุทิศให้กับบุคคลอื่น ให้เหมือนกับว่า “เรามีบุญเต็ม ๆ นี้ ขอให้ท่านได้รับเต็ม ๆ” แล้วก็ให้แบบ one way (ทางเดียว) คือ ไม่เอาคืน คือ แสดงความจริงใจว่า “ขออุทิศให้” ..อุทิศให้ได้นะ เราไม่มีอุปกรณ์การกรวดน้ำในขณะนั้น เราก็ตั้งใจอุทิศได้เลย “การกรวดน้ำ” เป็นเพียงการแสดงออก เป็นสัญลักษณ์ ให้รู้ว่า “เราอุทิศให้” เหมือนน้ำได้ถ่ายเท ..จากภาชนะหนึ่ง ..ไปสู่ภาชนะหนึ่ง ถ้าเรา “ไม่มีอุปกรณ์การกรวดน้ำ” เราก็ “ใช้ใจ” ของเรานี้ ระลึกถึงบุญที่เราทำ เรามีความปลื้มใจปีติใจในบุญนั้น ก็อุทิศได้เลย อุทิศในขณะที่กำลังมีบุญอยู่นั่นนะ คือ กำลังดีใจ กำลังปลื้มใจ กำลังปีติใจ ..อุทิศขณะนั้นได้เลย และ ควรอุทิศขณะที่กำลังปลื้มใจนั้น ทำได้เลยนะ แต่ถ้า “มีอุปกรณ์การกรวดน้ำ” จะใช้กรวดน้ำไปด้วย ก็ยิ่งมั่นใจมากขึ้น คือ คล้าย ๆ กับว่า การมีอุปกรณ์นี้ มันจะเป็นอุบาย ในการที่จะทำให้เรามีสมาธิในการทำสิ่งนี้ คือ ในการที่จะอุทิศบุญกุศล แล้วก็เป็นข้อดีสำหรับญาติเรา หรือว่าคนที่เราจะอุทิศให้ ถ้าเขาติดในเรื่องของพิธีกรรม ว่า “ต้องกรวดน้ำนะ! ฉันถึงจะดีใจ” ประมาณอย่างนี้ เผื่อไว้ว่าเขาจะเป็นพวกอนุรักษ์นิยม - conservative ต้องเห็นว่าเรากรวดน้ำ จึงจะดีใจ ถ้าไม่กรวดน้ำ แล้วรู้สึก ‘ทำไม่ครบ’ อะไรแบบนี้ แล้วไม่ดีใจ ..เผื่อ ๆ ไว้ก็ได้นะ นี้ในกรณีที่ว่า ถ้าบริเวณนั้นหรือว่าสถานที่นั้น เราไม่ได้เตรียมอุปกรณ์ในการกรวดน้ำ ..เราอุทิศได้เลยนะ โดยหลักใหญ่ก็คือว่า เราทำบุญ แล้วอุทิศบุญ ..อย่างนี้ได้..ได้เลย แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า “ห้ามกรวดน้ำ” ไม่ได้ปฏิเสธอย่างนั้นนะ กรวดน้ำได้ ก็กรวดน้ำ เป็นผลดีเหมือนกัน สำหรับเผื่อญาติของเรา จะเป็นลักษณะที่ว่ายึดถือในเรื่องของพิธีกรรม พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=bd0goHUPz4o&t=2114s (นาทีที่ 31:48-35:13)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #การกรวดน้ำ #ถาม : ทำบุญตักบาตร แล้ว “กรวดน้ำแห้ง” ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้รับบุญไหมเจ้าคะ? #ตอบ : ได้.. สามารถรับได้ คำว่า “กรวดน้ำ” เนี่ยนะ จริง ๆ แล้ว ความหมายก็คือ “อุทิศบุญกุศล” อันนี้เป็นประเพณีที่เราสืบกันมาว่า เวลาอุทิศบุญกุศล เราจะใช้น้ำเป็นสัญลักษณ์ ว่าน้ำที่หลั่งลงไปนี้.. น้ำจากภาชนะหนึ่ง เทลงสู่ภาชนะหนึ่ง.. น้ำจากภาชนะนี้ที่เต็มอยู่ก่อน แล้วก็ลงไปสู่ภาชนะอีกภาชนะหนึ่ง.. ให้เต็มได้ ฉันใด บุญที่เราทำนี้ ก็ขออุทิศให้กับบุคคลอื่น ให้เหมือนกับว่า “เรามีบุญเต็ม ๆ นี้ ขอให้ท่านได้รับเต็ม ๆ” แล้วก็ให้แบบ one way (ทางเดียว) คือ ไม่เอาคืน คือ แสดงความจริงใจว่า “ขออุทิศให้” ..อุทิศให้ได้นะ เราไม่มีอุปกรณ์การกรวดน้ำในขณะนั้น เราก็ตั้งใจอุทิศได้เลย “การกรวดน้ำ” เป็นเพียงการแสดงออก เป็นสัญลักษณ์ ให้รู้ว่า “เราอุทิศให้” เหมือนน้ำได้ถ่ายเท ..จากภาชนะหนึ่ง ..ไปสู่ภาชนะหนึ่ง ถ้าเรา “ไม่มีอุปกรณ์การกรวดน้ำ” เราก็ “ใช้ใจ” ของเรานี้ ระลึกถึงบุญที่เราทำ เรามีความปลื้มใจปีติใจในบุญนั้น ก็อุทิศได้เลย อุทิศในขณะที่กำลังมีบุญอยู่นั่นนะ คือ กำลังดีใจ กำลังปลื้มใจ กำลังปีติใจ ..อุทิศขณะนั้นได้เลย และ ควรอุทิศขณะที่กำลังปลื้มใจนั้น ทำได้เลยนะ แต่ถ้า “มีอุปกรณ์การกรวดน้ำ” จะใช้กรวดน้ำไปด้วย ก็ยิ่งมั่นใจมากขึ้น คือ คล้าย ๆ กับว่า การมีอุปกรณ์นี้ มันจะเป็นอุบาย ในการที่จะทำให้เรามีสมาธิในการทำสิ่งนี้ คือ ในการที่จะอุทิศบุญกุศล แล้วก็เป็นข้อดีสำหรับญาติเรา หรือว่าคนที่เราจะอุทิศให้ ถ้าเขาติดในเรื่องของพิธีกรรม ว่า “ต้องกรวดน้ำนะ! ฉันถึงจะดีใจ” ประมาณอย่างนี้ เผื่อไว้ว่าเขาจะเป็นพวกอนุรักษ์นิยม – conservative ต้องเห็นว่าเรากรวดน้ำ จึงจะดีใจ ถ้าไม่กรวดน้ำ แล้วรู้สึก ‘ทำไม่ครบ’ อะไรแบบนี้ แล้วไม่ดีใจ ..เผื่อ ๆ ไว้ก็ได้นะ นี้ในกรณีที่ว่า ถ้าบริเวณนั้นหรือว่าสถานที่นั้น เราไม่ได้เตรียมอุปกรณ์ในการกรวดน้ำ ..เราอุทิศได้เลยนะ โดยหลักใหญ่ก็คือว่า เราทำบุญ แล้วอุทิศบุญ ..อย่างนี้ได้..ได้เลย แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า “ห้ามกรวดน้ำ” ไม่ได้ปฏิเสธอย่างนั้นนะ กรวดน้ำได้ ก็กรวดน้ำ เป็นผลดีเหมือนกัน สำหรับเผื่อญาติของเรา จะเป็นลักษณะที่ว่ายึดถือในเรื่องของพิธีกรรม พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=bd0goHUPz4o&t=2114s (นาทีที่ 31:48-35:13)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #การอุทิศบุญให้สัตว์ที่เสียชีวิต #ถาม : วัวควายที่ตายเป็นโรคระบาด แล้วตายเป็นหมู่ เป็นร้อย เราจะทำบุญ แผ่บุญส่วนกุศล ให้ได้อย่างไร? #ตอบ : ก็ทำบุญ บุญก็มีทั้ง - ให้ทาน - รักษาศีล - เจริญภาวนา แต่บุญที่จะอุทิศให้ในกรณีอย่างนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของ “การให้ทาน” “ทาน” ก็ควรจะให้ครบทั้ง “ปัจจัย ๔” (๑) เน้นไปที่อาหารก่อน “อาหาร” (๒) ถ้าได้.. มี “เครื่องนุ่งห่ม” ด้วยก็ดี (๓) ถ้ามี “ยารักษาโรค” ด้วยก็ยิ่งดี (๔) ส่วน “ที่อยู่อาศัย” เราอาจจะเป็นประเภทสมทบทุน ไปสร้างกุฏิ สร้างศาลา อะไรประมาณอย่างนี้ ก็ได้อยู่ สรุปแล้วคือ ทำบุญ ..แล้วอุทิศให้ คำว่า “อุทิศให้” เราคงไม่ได้ระบุชื่อใช่ไหม? วัวควายเป็นฝูง ใช่ไหม? วัวควายที่เป็นโรคระบาด ตายเป็นหมู่ เป็นฝูง เป็นร้อย เราก็อุทิศให้ “กลุ่มนั้น” “วัวควาย กลุ่มนั้น ฝูงนั้น ที่ตายไป ถ้ารับรู้ จงมาอนุโทนาในบุญที่เราตั้งใจอุทิศให้” บางคนเลี้ยงวัวควาย อาจจะด้วยความรัก ตั้งชื่อให้ด้วย ก็ระบุชื่อได้ แต่ถ้าเป็นร้อย คงไม่ได้ตั้งชื่อ หรือถ้ามีชื่ออยู่บ้าง ก็ระบุชื่อในตอนอุทิศด้วยก็ดี “เจ้าด่าง เจ้าอ้วน เจ้าดำ อะไรอย่างนี้ก็ระบุไป ..และเพื่อน ๆ” (สมมติว่าตัวอื่นไม่ได้ตั้งชื่อ ก็บอกไป) ส่วนใหญ่น่าจะไม่ได้ตั้งชื่อ ก็บอกกลุ่มไปเลยก็ได้ “วัวควายกลุ่มนี้” ระบุได้ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๐ เม.ย. ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=hD-_3ogWYRQ&t=3523s (นาทีที่ 1:08:25 – 1:10:22)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #การอุทิศบุญให้สัตว์ที่เสียชีวิต #ถาม : วัวควายที่ตายเป็นโรคระบาด แล้วตายเป็นหมู่ เป็นร้อย เราจะทำบุญ แผ่บุญส่วนกุศล ให้ได้อย่างไร? #ตอบ : ก็ทำบุญ บุญก็มีทั้ง – ให้ทาน – รักษาศีล – เจริญภาวนา แต่บุญที่จะอุทิศให้ในกรณีอย่างนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของ “การให้ทาน” “ทาน” ก็ควรจะให้ครบทั้ง “ปัจจัย ๔” (๑) เน้นไปที่อาหารก่อน “อาหาร” (๒) ถ้าได้.. มี “เครื่องนุ่งห่ม” ด้วยก็ดี (๓) ถ้ามี “ยารักษาโรค” ด้วยก็ยิ่งดี (๔) ส่วน “ที่อยู่อาศัย” เราอาจจะเป็นประเภทสมทบทุน ไปสร้างกุฏิ สร้างศาลา อะไรประมาณอย่างนี้ ก็ได้อยู่ สรุปแล้วคือ ทำบุญ ..แล้วอุทิศให้ คำว่า “อุทิศให้” เราคงไม่ได้ระบุชื่อใช่ไหม? วัวควายเป็นฝูง ใช่ไหม? วัวควายที่เป็นโรคระบาด ตายเป็นหมู่ เป็นฝูง เป็นร้อย เราก็อุทิศให้ “กลุ่มนั้น” “วัวควาย กลุ่มนั้น ฝูงนั้น ที่ตายไป ถ้ารับรู้ จงมาอนุโทนาในบุญที่เราตั้งใจอุทิศให้” บางคนเลี้ยงวัวควาย อาจจะด้วยความรัก ตั้งชื่อให้ด้วย ก็ระบุชื่อได้ แต่ถ้าเป็นร้อย คงไม่ได้ตั้งชื่อ หรือถ้ามีชื่ออยู่บ้าง ก็ระบุชื่อในตอนอุทิศด้วยก็ดี “เจ้าด่าง เจ้าอ้วน เจ้าดำ อะไรอย่างนี้ก็ระบุไป ..และเพื่อน ๆ” (สมมติว่าตัวอื่นไม่ได้ตั้งชื่อ ก็บอกไป) ส่วนใหญ่น่าจะไม่ได้ตั้งชื่อ ก็บอกกลุ่มไปเลยก็ได้ “วัวควายกลุ่มนี้” ระบุได้ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๐ เม.ย. ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=hD-_3ogWYRQ&t=3523s (นาทีที่ 1:08:25 – 1:10:22)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #จาคานุสติ #ถาม : การที่เรานึกถึงบุญที่ทำบุญตลอดเวลา เช่น บริจาคที่ดิน บริจาคเงิน บริจาคทอง แบบนี้เรียกว่า “ยึดติด” หรือไม่? #ตอบ : ทำบุญแล้วคิดซ้ำ ไม่ผิดนะ สามารถคิดได้ เขาเรียกว่า “จาคานุสสติ” คิดในสิ่งที่เราได้เคยบริจาคออกไป แล้วก็มีความปลื้มใจปีติใจ คิดซ้ำ แล้วก็มีความปลื้มใจ เช่นว่า เราได้ไปถวายผ้ากฐิน ได้ถวายผ้าไตรจีวรครบท่ามกลางหมู่สงฆ์ ปลื้มใจ..ปลื้มใจ.. แม้ว่าเหตุการณ์นั้นผ่านมาแล้ว วันนี้.. เดือนนี้.. ผ่านมาเป็นเดือน.. หลายเดือนแล้ว.. แต่พอมาหวนคิดอีกที ก็ยังปลื้มใจอยู่ คิดแล้วก็มีความปลื้มใจ ใจที่มีความปลื้มใจนั้นเป็นกุศล ถ้าคิดถึงความที่เราได้ทำบุญ ได้บริจาค คิดแล้วใจไม่วอกแวกไปไหน คิดแต่เรื่องราวเรื่องนี้ กลายเป็นทำกรรมฐานตัวหนึ่งด้วยซ้ำไป เรียกว่า “จาคานุสติ” พอเราได้บริจาคอะไรไปแล้ว พอมาหวนคิดแล้วมีความสุข อย่างนี้มันจะมีกำลังใจที่จะบริจาคอีก อาจจะไม่บริจาคแบบเดิมก็ได้ อาจจะรู้สึกว่า ‘เนี่ยเราให้ แล้วมีความสุข’ ก็เลยมีความรู้สึกว่า เมื่อก่อนนี้.. เราคิดว่า ‘ต้องได้มาเท่านั้น จึงจะมีความสุข’ แต่ตอนนี้.. ‘การให้ การบริจาค ดูภาพรวมแล้ว มันเหมือนกับการที่เราเสียวัตถุ เสียสิ่งของ เสียทรัพย์ แต่พอมาคิดภายหลัง แล้วมันมีความสุขอย่างนี้’ มีความสุขตรงที่ว่า ผู้รับได้ประโยชน์ ผู้รับได้รับวัตถุจากเราไปแล้ว นำมาใช้ประโยชน์ต่อ ความรู้สึกที่เราได้ให้ ให้กับผู้รับที่เป็นเนื้อนาบุญที่ดี แล้วเราก็มีความปลื้มใจ เราศรัทธากับผู้รับ ศรัทธาในวิธีการสร้างบุญอย่างนี้ เราก็คิดว่า ถ้ามีโอกาสเราจะทำอีก ทำกับเนื้อนาบุญท่านอื่นก็ได้ กับที่อื่นก็ได้ แต่รู้ว่าการที่จะมีความสุขในแง่ของวัตถุนี้ มันไม่ใช่ว่าต้องรับเข้ามาอย่างเดียว การสละออกไปกับผู้รับที่ดี ก็กลายเป็นว่ามีความสุขได้เช่นกัน เหมือนกับแม่ แม่ให้กับลูก แม่มีความสุข แม่ดูแลลูก ให้เสื้อผ้า ให้อาหาร ให้ที่อยู่อาศัย ให้โอกาสต่าง ๆ กับลูก แม่มีความสุข พ่อก็เช่นเดียวกัน ประมาณอย่างนี้ การให้แล้วมีความสุข มันเกิดขึ้นจริง มีอยู่จริง มันไม่ได้มีความรู้สึกว่าเสียของไป หรือสูญเปล่า มันไม่ใช่อย่างนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเราทำการให้ทาน ทำการบริจาค แล้วมีความสุขใจ ปลื้มปีติใจ สามารถนึกทวนย้อนหลังได้ แต่คงไม่ใช่ตลอดเวลา คงไม่มีใครคิดอะไร ซ้ำเรื่องเดิมได้ตลอดเวลา เพราะเราต้องมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ที่ถามมาว่า “คิดอยู่ตลอดเวลา” คงไม่ถึงขนาดนั้น แต่คิดซ้ำ ๆ ได้ ..นั่งแล้วคิดถึงเหตุการณ์ที่เราเคยทำบุญ ที่ผ่านมา ตอนที่คิดอยู่ใจมีความสุข อย่างนี้ได้ แต่ต้องเป็นตัวหนุนให้เรามีความเชื่อมั่นศรัทธาในการทำบุญ ในการบริจาคทานต่อไปด้วย แล้วก็เห็นว่า การทำบุญมีหลายรูปแบบ มีทั้งการให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา การขวนขวายช่วยเหลือคนอื่น ดูเหมือนเสียแรงงานนะ แต่พอช่วยเขาแล้วเนี่ย เรารู้สึกมีความสุขใจ เขากำลังทำดีแล้วเราช่วยเหลือเขา หรือเขากำลังมีทุกข์แล้วเราช่วยให้เขาพ้นจากทุกข์ด้วยแรงกาย อย่างนี้นะ มันเห็นว่า ‘การทำบุญมีได้หลากหลายวิธี’ การทำให้ใจนี้มีความสุข ทำได้หลายวิธี สรุปแล้วก็เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าสอน โดยสรุปรวบยอดก็คือ บุญที่ได้จากการให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา ทำแล้วก็สามารถมานึกย้อนหลัง แล้วก็กลายเป็นว่าได้ทำกรรมฐานด้วย บุญจากการให้ทาน เมื่อมานึกทีหลัง ก็กลายเป็น “จาคานุสติ” บุญจากการรักษาศีล ที่รักษาศีลได้ มีอะไรมายั่วยวนให้เราผิดศีล แต่เราสามารถที่จะระงับไม่ให้ไปทำตามสิ่งที่ยั่วยวนนั้น การที่ยับยั้งตัวเองได้ ไม่แสดงออกทางกายวาจา ไปละเมิดชีวิตใคร ทรัพย์สินใคร คนรักของใคร ไม่พูดร้าย มานึกถึงการที่เรารักษาศีลได้ นึกย้อนหลัง กลายเป็น “สีลานุสติ” จาคานุสติ สีลานุสติ คือ สิ่งที่เราทำแล้ว และประสบความสำเร็จในการทำ นึกย้อนหลังแล้วก็มีความปลื้มใจ ปีติใจ เช่นเดียวกันที่โยมถามมาก็คือ เป็นเรื่องของการให้ทาน มานึกย้อนหลังก็เกิดความปลื้มใจ ปีติใจได้ แล้วก็ไม่ใช่มัวแต่ปลื้มอย่างเดียวนะ มันก็ควรจะส่งผลถึง อย่างที่ (๑) คือ มีกำลังใจที่จะบริจาคต่อ (๒) เห็นว่าทางแห่งการทำดี หรือทางแห่งการสร้างกุศล มีมากมายหลายอย่าง เราควรจะศึกษาวิธีการสร้างกุศล หรือสร้างบุญให้เกิดขึ้น ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้หลากหลายวิธี เราทำเรื่องเดียวนึกย้อนหลังยังมีสุขขนาดนี้ เรื่องอื่น ๆ ที่เราควรจะทำ ควรจะศึกษา ควรจะเรียนรู้ ฝึกฝนให้เกิดขึ้นกับชีวิตของเรายังมีอีกเยอะเลย ต้องไปศึกษา ต้องไปศึกษาดู บุญกิริยาวัตถุ ๓ ก็ดี บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ก็ดี ศึกษาแล้วเอาไปปฏิบัติให้เกิดขึ้น แล้วนึกย้อนหลัง ก็ยังมีความสุข เช่นเดียวกับที่ บริจาคไปแล้ว นึกย้อนหลังแล้วมีความสุข แบบนั้นเช่นเดียวกัน ก็ขอเป็นกำลังใจให้โยม ว่าทำไปแล้วนึกย้อนหลังเนี่ย ทำได้ สามารถนึกได้ แล้วต้องให้เกิด ๒ เรื่องนี้ด้วย คือ ๑. ให้เกิดกำลังใจที่จะบริจาคต่อ ๒. เป็นแรงกระตุ้นให้เราหันไปสร้างบุญได้หลากหลายวิธีขึ้น อย่างน้อย ๆ ได้ ๒ อย่างนี้ จึงจะเป็นการดี พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=Zkxh5aCG39g (นาทีที่ 17:58 – 25:15)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #จาคานุสติ #ถาม : การที่เรานึกถึงบุญที่ทำบุญตลอดเวลา เช่น บริจาคที่ดิน บริจาคเงิน บริจาคทอง แบบนี้เรียกว่า “ยึดติด” หรือไม่? #ตอบ : ทำบุญแล้วคิดซ้ำ ไม่ผิดนะ สามารถคิดได้ เขาเรียกว่า “จาคานุสสติ” คิดในสิ่งที่เราได้เคยบริจาคออกไป แล้วก็มีความปลื้มใจปีติใจ คิดซ้ำ แล้วก็มีความปลื้มใจ เช่นว่า เราได้ไปถวายผ้ากฐิน ได้ถวายผ้าไตรจีวรครบท่ามกลางหมู่สงฆ์ ปลื้มใจ..ปลื้มใจ.. แม้ว่าเหตุการณ์นั้นผ่านมาแล้ว วันนี้.. เดือนนี้.. ผ่านมาเป็นเดือน.. หลายเดือนแล้ว.. แต่พอมาหวนคิดอีกที ก็ยังปลื้มใจอยู่ คิดแล้วก็มีความปลื้มใจ ใจที่มีความปลื้มใจนั้นเป็นกุศล ถ้าคิดถึงความที่เราได้ทำบุญ ได้บริจาค คิดแล้วใจไม่วอกแวกไปไหน คิดแต่เรื่องราวเรื่องนี้ กลายเป็นทำกรรมฐานตัวหนึ่งด้วยซ้ำไป เรียกว่า “จาคานุสติ” พอเราได้บริจาคอะไรไปแล้ว พอมาหวนคิดแล้วมีความสุข อย่างนี้มันจะมีกำลังใจที่จะบริจาคอีก อาจจะไม่บริจาคแบบเดิมก็ได้ อาจจะรู้สึกว่า ‘เนี่ยเราให้ แล้วมีความสุข’ ก็เลยมีความรู้สึกว่า เมื่อก่อนนี้.. เราคิดว่า ‘ต้องได้มาเท่านั้น จึงจะมีความสุข’ แต่ตอนนี้.. ‘การให้ การบริจาค ดูภาพรวมแล้ว มันเหมือนกับการที่เราเสียวัตถุ เสียสิ่งของ เสียทรัพย์ แต่พอมาคิดภายหลัง แล้วมันมีความสุขอย่างนี้’ มีความสุขตรงที่ว่า ผู้รับได้ประโยชน์ ผู้รับได้รับวัตถุจากเราไปแล้ว นำมาใช้ประโยชน์ต่อ ความรู้สึกที่เราได้ให้ ให้กับผู้รับที่เป็นเนื้อนาบุญที่ดี แล้วเราก็มีความปลื้มใจ เราศรัทธากับผู้รับ ศรัทธาในวิธีการสร้างบุญอย่างนี้ เราก็คิดว่า ถ้ามีโอกาสเราจะทำอีก ทำกับเนื้อนาบุญท่านอื่นก็ได้ กับที่อื่นก็ได้ แต่รู้ว่าการที่จะมีความสุขในแง่ของวัตถุนี้ มันไม่ใช่ว่าต้องรับเข้ามาอย่างเดียว การสละออกไปกับผู้รับที่ดี ก็กลายเป็นว่ามีความสุขได้เช่นกัน เหมือนกับแม่ แม่ให้กับลูก แม่มีความสุข แม่ดูแลลูก ให้เสื้อผ้า ให้อาหาร ให้ที่อยู่อาศัย ให้โอกาสต่าง ๆ กับลูก แม่มีความสุข พ่อก็เช่นเดียวกัน ประมาณอย่างนี้ การให้แล้วมีความสุข มันเกิดขึ้นจริง มีอยู่จริง มันไม่ได้มีความรู้สึกว่าเสียของไป หรือสูญเปล่า มันไม่ใช่อย่างนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อเราทำการให้ทาน ทำการบริจาค แล้วมีความสุขใจ ปลื้มปีติใจ สามารถนึกทวนย้อนหลังได้ แต่คงไม่ใช่ตลอดเวลา คงไม่มีใครคิดอะไร ซ้ำเรื่องเดิมได้ตลอดเวลา เพราะเราต้องมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ที่ถามมาว่า “คิดอยู่ตลอดเวลา” คงไม่ถึงขนาดนั้น แต่คิดซ้ำ ๆ ได้ ..นั่งแล้วคิดถึงเหตุการณ์ที่เราเคยทำบุญ ที่ผ่านมา ตอนที่คิดอยู่ใจมีความสุข อย่างนี้ได้ แต่ต้องเป็นตัวหนุนให้เรามีความเชื่อมั่นศรัทธาในการทำบุญ ในการบริจาคทานต่อไปด้วย แล้วก็เห็นว่า การทำบุญมีหลายรูปแบบ มีทั้งการให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา การขวนขวายช่วยเหลือคนอื่น ดูเหมือนเสียแรงงานนะ แต่พอช่วยเขาแล้วเนี่ย เรารู้สึกมีความสุขใจ เขากำลังทำดีแล้วเราช่วยเหลือเขา หรือเขากำลังมีทุกข์แล้วเราช่วยให้เขาพ้นจากทุกข์ด้วยแรงกาย อย่างนี้นะ มันเห็นว่า ‘การทำบุญมีได้หลากหลายวิธี’ การทำให้ใจนี้มีความสุข ทำได้หลายวิธี สรุปแล้วก็เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าสอน โดยสรุปรวบยอดก็คือ บุญที่ได้จากการให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา ทำแล้วก็สามารถมานึกย้อนหลัง แล้วก็กลายเป็นว่าได้ทำกรรมฐานด้วย บุญจากการให้ทาน เมื่อมานึกทีหลัง ก็กลายเป็น “จาคานุสติ” บุญจากการรักษาศีล ที่รักษาศีลได้ มีอะไรมายั่วยวนให้เราผิดศีล แต่เราสามารถที่จะระงับไม่ให้ไปทำตามสิ่งที่ยั่วยวนนั้น การที่ยับยั้งตัวเองได้ ไม่แสดงออกทางกายวาจา ไปละเมิดชีวิตใคร ทรัพย์สินใคร คนรักของใคร ไม่พูดร้าย มานึกถึงการที่เรารักษาศีลได้ นึกย้อนหลัง กลายเป็น “สีลานุสติ” จาคานุสติ สีลานุสติ คือ สิ่งที่เราทำแล้ว และประสบความสำเร็จในการทำ นึกย้อนหลังแล้วก็มีความปลื้มใจ ปีติใจ เช่นเดียวกันที่โยมถามมาก็คือ เป็นเรื่องของการให้ทาน มานึกย้อนหลังก็เกิดความปลื้มใจ ปีติใจได้ แล้วก็ไม่ใช่มัวแต่ปลื้มอย่างเดียวนะ มันก็ควรจะส่งผลถึง อย่างที่ (๑) คือ มีกำลังใจที่จะบริจาคต่อ (๒) เห็นว่าทางแห่งการทำดี หรือทางแห่งการสร้างกุศล มีมากมายหลายอย่าง เราควรจะศึกษาวิธีการสร้างกุศล หรือสร้างบุญให้เกิดขึ้น ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้หลากหลายวิธี เราทำเรื่องเดียวนึกย้อนหลังยังมีสุขขนาดนี้ เรื่องอื่น ๆ ที่เราควรจะทำ ควรจะศึกษา ควรจะเรียนรู้ ฝึกฝนให้เกิดขึ้นกับชีวิตของเรายังมีอีกเยอะเลย ต้องไปศึกษา ต้องไปศึกษาดู บุญกิริยาวัตถุ ๓ ก็ดี บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ก็ดี ศึกษาแล้วเอาไปปฏิบัติให้เกิดขึ้น แล้วนึกย้อนหลัง ก็ยังมีความสุข เช่นเดียวกับที่ บริจาคไปแล้ว นึกย้อนหลังแล้วมีความสุข แบบนั้นเช่นเดียวกัน ก็ขอเป็นกำลังใจให้โยม ว่าทำไปแล้วนึกย้อนหลังเนี่ย ทำได้ สามารถนึกได้ แล้วต้องให้เกิด ๒ เรื่องนี้ด้วย คือ ๑. ให้เกิดกำลังใจที่จะบริจาคต่อ ๒. เป็นแรงกระตุ้นให้เราหันไปสร้างบุญได้หลากหลายวิธีขึ้น อย่างน้อย ๆ ได้ ๒ อย่างนี้ จึงจะเป็นการดี พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=Zkxh5aCG39g (นาทีที่ 17:58 – 25:15)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #รดน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ #ถาม : “การรดน้ำมนต์ - การสะเดาะเคราะห์” ถ้าจะทำให้ได้ผลควรทำอย่างไร? #ตอบ : ควรไปแก้ที่การกระทำของเรา การรดน้ำมนต์ หรือ การสะเดาะห์เคราะห์ มันเป็นพิธีกรรมที่ให้กำลังใจ สมมติว่า.. เรา “ต้องการชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง ไม่ตกต่ำ” ก็ต้องไปรักษาศีล “ต้องการร่ำรวย” ก็ต้องไปสร้างเหตุแห่งความรวย ก็คือ 1. ขยันหา 2. หามาได้แล้วก็รักษาให้ดี 3. มีกัลยาณมิตร แล้วก็ 4. เลี้ยงชีวิตสมควรแก่ฐานะของตนเอง หัวใจเศรษฐี..อุ-อา-กะ-สะ นึกออกไหม? ไม่ใช่ว่ารดน้ำมนต์แล้วจะรวย หรือรดน้ำมนต์แล้วจะหายเคราะห์ จะ “หายเคราะห์” ก็คือว่า.. มีกิเลส..แล้วรู้ทัน ! ไม่ไปสร้างกรรมอันใหม่ที่เป็นอกุศล เพราะที่รับทุกข์อยู่ทุกวันนี้ ให้เชื่อไว้ว่า มันเป็นเหตุมาจากที่ทำบาปอกุศลเอาไว้ในอดีต อย่าไปชี้ว่า ‘คนนั้นคนนี้ทำเรา’ ไอ้อย่างนี้เขาเรียกว่า “หาแพะ” เรานั่นล่ะ ! จริง ๆ แล้วนะ..พูดอย่างภาษาชาวบ้าน คือ เรานั่นล่ะทำเอาไว้ในอดีต ทำไม่ดีเอาไว้ในอดีต จึงเป็นเหตุให้ต้องรับวิบาก อันเป็นทุกข์เป็นร้อน เดือดร้อนในปัจจุบัน ..ให้เชื่ออย่างนี้! “การรดน้ำมนต์ - การสะเดาะเคราะห์” คือพิธีกรรมที่คนทำกันมานี้ เป็นเพียงให้สบายใจ เอาแค่นี้พอนะ มันเป็นเพียงให้สบายใจ รดน้ำมนต์ไปแล้ว ทำพิธีสะเดาะห์เคราะห์ไปแล้ว ..ทำไม่ดี !! ถ้าทำไม่ดีเหมือนเดิมนะ..ชีวิตก็ไม่ดี “ศีล” เดิมยังไม่มี ก็ยังไม่มีเหมือนเดิม ชีวิตก็ไม่ดีขึ้น ไม่มีอะไรเป็นเครื่องป้องกันอบายเลย “ทาน” ที่เคยให้ ยังงกเหมือนเดิมนะ ก็ไม่มีใครรัก ไม่มีพวก ไม่มีบริวาร ไม่มีมิตรที่จะมาคบหาด้วย เห็นแก่ตัวอย่างนี้ใครจะไปเอาด้วย อย่างนี้นะ “พฤติกรรมไม่เปลี่ยน! ..จะเอาชีวิตเปลี่ยนได้อย่างไร?” พฤติกรรมที่ไม่ดี ..ก็ไม่รู้เลย อย่างนี้นะ ก็แสดงว่ามองไม่เห็นความไม่ดีของตัวเอง ทำความไม่ดี ชีวิตก็ตกต่ำไป เพราะว่าสร้างเหตุแห่งความไม่ดีเอาไว้ ก็ต้องพิจารณาตัวเอง มองเห็นสิ่งที่ไม่ดีในตัวเอง หรือ ความดีที่ยังไม่ได้ทำ.. ความดีอะไรที่ยังไม่ได้ทำ ก็ขวนขวายหาทางทำ ทำแล้วก็ต้องทำให้ต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำทีเดียว ทำทีเดียวแล้วมาอ้างบอกว่า “ทำแล้ว” อย่างนี้ไม่พอ ! ทำทีเดียวยังไม่พอ ทำอีกทำซ้ำ ทำจนเป็น “อาจิณณกรรม” ก็คือทำซ้ำ ๆ ทำจนเป็นนิสัย ทำจนเป็นปกติของเรา เป็นอย่างนี้ จนคนมองว่า.. ‘อ้อ! คนนี้เขาเปลี่ยนแปลง’ ให้เขาเชื่อ! ไม่ใช่ว่าเราเคยเป็นอย่างไร ..ก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีความเปลี่ยนแปลง ชีวิตก็ยังเหมือนเดิม มันต้องมีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่เป็นไปในทางที่เลวลง ต้องเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น มีความเปลี่ยนแปลง!! แล้วจริง ๆ แล้วเนี่ย พอทำความเปลี่ยนแปลง ในด้านพฤติกรรมของเราให้เกิดขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปสะเดาะห์เคราะห์ที่ไหนเลย!! ไม่จำเป็นต้องไปรดน้ำมนต์ที่ไหนเลย!! เราเองนี้ล่ะเป็นผู้สะเดาะห์เคราะห์ได้ด้วยตัวเอง เราเอาความมืดมัวออกไปจากชีวิต ด้วยการที่เราเจริญกุศลขึ้นมา มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ทำให้ครบวงจร โดยเฉพาะในเรื่องภาวนา “ภาวนา” ก็ให้ทำทั้งสมถะและวิปัสสนา ภาวนาในเรื่องสมถะก็คือ เจริญในเรื่องของกุศลให้เกิดขึ้นกับจิต จิตไม่เคยสงบให้ทำความสงบ จิตไม่เคยเจริญเมตตา..ให้เจริญเมตตา ไม่เคยกรุณา มุทิตา..ให้เจริญกรุณา มุทิตา ประมาณอย่างนี้ กุศลอะไรที่ไม่เคยทำ กุศลอะไรที่ไม่เคยมี ก็ให้มีขึ้นมา ศรัทธามีไหม? ศรัทธาในอะไร? ศรัทธาใน “พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์” โดยเฉพาะในเรื่องของ ”พระพุทธเจ้า” ก็คือศรัทธาว่า พระองค์ตรัสรู้จริง “ธรรมะ” ที่พระองค์ทรงแสดงมา เป็นธรรมะเพื่อให้คนฝึก ไปให้ถึงความพ้นทุกข์ได้จริง “พระสงฆ์” ก็คือผู้ที่ได้ฟังธรรม ไม่ได้ฟังอย่างเดียว ฟังแล้วเอาไปปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วจนได้ผลของการปฏิบัติ ..มีจริง!! แล้วก็ไม่ได้มีคนเดียว ไม่ได้มีท่านเดียว มีมามากมาย เขาเรียกว่า “เป็นหมู่สงฆ์” แล้วมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ ให้เชื่ออย่างนี้ด้วย คือต้องมีความเชื่อ โยงมาถึงตัวเองด้วย โยงมาถึงขนาดที่ว่า ‘เราเองก็สามารถพัฒนา ให้ถึงขั้นที่ได้รับผลจากธรรมะของพระพุทธเจ้าได้’ ..ต้องมีความเชื่ออย่างนี้ “มีศรัทธา”.. แล้วก็มีความเพียร (ในการที่จะทำกุศลให้เกิดขึ้น) กุศลอะไรที่ยังไม่ทำ..ก็ทำ กุศลอะไรที่ทำสำเร็จแล้ว ก็อย่าให้มันเสื่อมไป คือ ต้องทำอีก ต้องทำสม่ำเสมอ รักษากุศลที่เคยทำไว้นั้นอย่าให้เสื่อมลงไป อกุศลอะไรที่มีอยู่ สำรวจตัวเอง เรียนรู้แล้วก็ไม่ทำมันอีก อกุศลอะไรที่ละได้แล้ว ระวังว่าอย่าให้มันเกิดขึ้นใหม่ ทำความเพียร.. มี “วิริยะ” อย่างนี้ “เจริญสติ” อยู่เสมอ รู้กายเคลื่อนไหว รู้ใจทำงาน เห็นกายเคลื่อนไหว เห็นใจทำงานตามที่มันเป็น “ตามที่มันเป็น” ก็คือจะพบว่า ใจเราเนี่ยจะทำงานในแง่เป็นกิเลสอยู่เสมอ เห็นบ่อย ๆ ยิ่งเห็นบ่อยยิ่งดี คือจะเห็นว่าจิตนึ้มันมีการทำงานอย่างนี้ มันมีกิเลสเกิดขึ้น มีราคะ มีโทสะ มีโมหะเกิดขึ้น ทุกครั้งที่รู้ - กิเลสจะดับ เพราะตอนที่มีกิเลส มันจะไปคิดเรื่องอื่น แต่ตอนรู้นั้น มันรู้ว่า ‘จิตเมื่อกี้นี้มันมีกิเลสเกิดขึ้น’ ถ้ารู้ด้วยใจเป็นกลาง กิเลสก็จะหยุดลงทันทีตอนที่รู้นั่นเอง สติก็ต้องทำ! สมาธิก็ต้องทำ!! จิตตั้งมั่นก็ต้องทำให้ได้!!! เขาเรียกว่า “เป็นการเจริญกุศลให้เกิดขึ้น” ..ชีวิตจะดีขึ้นเอง อย่าไปหวังเพียงแค่ว่าไปรดน้ำมนต์ หรือว่าไปสะเดาะเคราะห์ ผ่านพิธีมาแล้ว ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทางกาย วาจา และทางใจด้วย ชีวิตมันก็ไม่ได้ดีขึ้น ให้รดน้ำให้เปียก ให้น้ำมนต์หมดโอ่งก็ชีวิตไม่ดีขึ้น เปียกเปล่า ๆ เท่านั้นเอง แล้วก็เปลืองแรงคนพรม พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=Zkxh5aCG39g (นาทีที่ 10:08 – 17:38 )

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #รดน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ #ถาม : “การรดน้ำมนต์ – การสะเดาะเคราะห์” ถ้าจะทำให้ได้ผลควรทำอย่างไร? #ตอบ : ควรไปแก้ที่การกระทำของเรา การรดน้ำมนต์ หรือ การสะเดาะห์เคราะห์ มันเป็นพิธีกรรมที่ให้กำลังใจ สมมติว่า.. เรา “ต้องการชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง ไม่ตกต่ำ” ก็ต้องไปรักษาศีล “ต้องการร่ำรวย” ก็ต้องไปสร้างเหตุแห่งความรวย ก็คือ 1. ขยันหา 2. หามาได้แล้วก็รักษาให้ดี 3. มีกัลยาณมิตร แล้วก็ 4. เลี้ยงชีวิตสมควรแก่ฐานะของตนเอง หัวใจเศรษฐี..อุ-อา-กะ-สะ นึกออกไหม? ไม่ใช่ว่ารดน้ำมนต์แล้วจะรวย หรือรดน้ำมนต์แล้วจะหายเคราะห์ จะ “หายเคราะห์” ก็คือว่า.. มีกิเลส..แล้วรู้ทัน ! ไม่ไปสร้างกรรมอันใหม่ที่เป็นอกุศล เพราะที่รับทุกข์อยู่ทุกวันนี้ ให้เชื่อไว้ว่า มันเป็นเหตุมาจากที่ทำบาปอกุศลเอาไว้ในอดีต อย่าไปชี้ว่า ‘คนนั้นคนนี้ทำเรา’ ไอ้อย่างนี้เขาเรียกว่า “หาแพะ” เรานั่นล่ะ ! จริง ๆ แล้วนะ..พูดอย่างภาษาชาวบ้าน คือ เรานั่นล่ะทำเอาไว้ในอดีต ทำไม่ดีเอาไว้ในอดีต จึงเป็นเหตุให้ต้องรับวิบาก อันเป็นทุกข์เป็นร้อน เดือดร้อนในปัจจุบัน ..ให้เชื่ออย่างนี้! “การรดน้ำมนต์ – การสะเดาะเคราะห์” คือพิธีกรรมที่คนทำกันมานี้ เป็นเพียงให้สบายใจ เอาแค่นี้พอนะ มันเป็นเพียงให้สบายใจ รดน้ำมนต์ไปแล้ว ทำพิธีสะเดาะห์เคราะห์ไปแล้ว ..ทำไม่ดี !! ถ้าทำไม่ดีเหมือนเดิมนะ..ชีวิตก็ไม่ดี “ศีล” เดิมยังไม่มี ก็ยังไม่มีเหมือนเดิม ชีวิตก็ไม่ดีขึ้น ไม่มีอะไรเป็นเครื่องป้องกันอบายเลย “ทาน” ที่เคยให้ ยังงกเหมือนเดิมนะ ก็ไม่มีใครรัก ไม่มีพวก ไม่มีบริวาร ไม่มีมิตรที่จะมาคบหาด้วย เห็นแก่ตัวอย่างนี้ใครจะไปเอาด้วย อย่างนี้นะ “พฤติกรรมไม่เปลี่ยน! ..จะเอาชีวิตเปลี่ยนได้อย่างไร?” พฤติกรรมที่ไม่ดี ..ก็ไม่รู้เลย อย่างนี้นะ ก็แสดงว่ามองไม่เห็นความไม่ดีของตัวเอง ทำความไม่ดี ชีวิตก็ตกต่ำไป เพราะว่าสร้างเหตุแห่งความไม่ดีเอาไว้ ก็ต้องพิจารณาตัวเอง มองเห็นสิ่งที่ไม่ดีในตัวเอง หรือ ความดีที่ยังไม่ได้ทำ.. ความดีอะไรที่ยังไม่ได้ทำ ก็ขวนขวายหาทางทำ ทำแล้วก็ต้องทำให้ต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำทีเดียว ทำทีเดียวแล้วมาอ้างบอกว่า “ทำแล้ว” อย่างนี้ไม่พอ ! ทำทีเดียวยังไม่พอ ทำอีกทำซ้ำ ทำจนเป็น “อาจิณณกรรม” ก็คือทำซ้ำ ๆ ทำจนเป็นนิสัย ทำจนเป็นปกติของเรา เป็นอย่างนี้ จนคนมองว่า.. ‘อ้อ! คนนี้เขาเปลี่ยนแปลง’ ให้เขาเชื่อ! ไม่ใช่ว่าเราเคยเป็นอย่างไร ..ก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีความเปลี่ยนแปลง ชีวิตก็ยังเหมือนเดิม มันต้องมีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่เป็นไปในทางที่เลวลง ต้องเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น มีความเปลี่ยนแปลง!! แล้วจริง ๆ แล้วเนี่ย พอทำความเปลี่ยนแปลง ในด้านพฤติกรรมของเราให้เกิดขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปสะเดาะห์เคราะห์ที่ไหนเลย!! ไม่จำเป็นต้องไปรดน้ำมนต์ที่ไหนเลย!! เราเองนี้ล่ะเป็นผู้สะเดาะห์เคราะห์ได้ด้วยตัวเอง เราเอาความมืดมัวออกไปจากชีวิต ด้วยการที่เราเจริญกุศลขึ้นมา มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ทำให้ครบวงจร โดยเฉพาะในเรื่องภาวนา “ภาวนา” ก็ให้ทำทั้งสมถะและวิปัสสนา ภาวนาในเรื่องสมถะก็คือ เจริญในเรื่องของกุศลให้เกิดขึ้นกับจิต จิตไม่เคยสงบให้ทำความสงบ จิตไม่เคยเจริญเมตตา..ให้เจริญเมตตา ไม่เคยกรุณา มุทิตา..ให้เจริญกรุณา มุทิตา ประมาณอย่างนี้ กุศลอะไรที่ไม่เคยทำ กุศลอะไรที่ไม่เคยมี ก็ให้มีขึ้นมา ศรัทธามีไหม? ศรัทธาในอะไร? ศรัทธาใน “พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์” โดยเฉพาะในเรื่องของ ”พระพุทธเจ้า” ก็คือศรัทธาว่า พระองค์ตรัสรู้จริง “ธรรมะ” ที่พระองค์ทรงแสดงมา เป็นธรรมะเพื่อให้คนฝึก ไปให้ถึงความพ้นทุกข์ได้จริง “พระสงฆ์” ก็คือผู้ที่ได้ฟังธรรม ไม่ได้ฟังอย่างเดียว ฟังแล้วเอาไปปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วจนได้ผลของการปฏิบัติ ..มีจริง!! แล้วก็ไม่ได้มีคนเดียว ไม่ได้มีท่านเดียว มีมามากมาย เขาเรียกว่า “เป็นหมู่สงฆ์” แล้วมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ ให้เชื่ออย่างนี้ด้วย คือต้องมีความเชื่อ โยงมาถึงตัวเองด้วย โยงมาถึงขนาดที่ว่า ‘เราเองก็สามารถพัฒนา ให้ถึงขั้นที่ได้รับผลจากธรรมะของพระพุทธเจ้าได้’ ..ต้องมีความเชื่ออย่างนี้ “มีศรัทธา”.. แล้วก็มีความเพียร (ในการที่จะทำกุศลให้เกิดขึ้น) กุศลอะไรที่ยังไม่ทำ..ก็ทำ กุศลอะไรที่ทำสำเร็จแล้ว ก็อย่าให้มันเสื่อมไป คือ ต้องทำอีก ต้องทำสม่ำเสมอ รักษากุศลที่เคยทำไว้นั้นอย่าให้เสื่อมลงไป อกุศลอะไรที่มีอยู่ สำรวจตัวเอง เรียนรู้แล้วก็ไม่ทำมันอีก อกุศลอะไรที่ละได้แล้ว ระวังว่าอย่าให้มันเกิดขึ้นใหม่ ทำความเพียร.. มี “วิริยะ” อย่างนี้ “เจริญสติ” อยู่เสมอ รู้กายเคลื่อนไหว รู้ใจทำงาน เห็นกายเคลื่อนไหว เห็นใจทำงานตามที่มันเป็น “ตามที่มันเป็น” ก็คือจะพบว่า ใจเราเนี่ยจะทำงานในแง่เป็นกิเลสอยู่เสมอ เห็นบ่อย ๆ ยิ่งเห็นบ่อยยิ่งดี คือจะเห็นว่าจิตนึ้มันมีการทำงานอย่างนี้ มันมีกิเลสเกิดขึ้น มีราคะ มีโทสะ มีโมหะเกิดขึ้น ทุกครั้งที่รู้ – กิเลสจะดับ เพราะตอนที่มีกิเลส มันจะไปคิดเรื่องอื่น แต่ตอนรู้นั้น มันรู้ว่า ‘จิตเมื่อกี้นี้มันมีกิเลสเกิดขึ้น’ ถ้ารู้ด้วยใจเป็นกลาง กิเลสก็จะหยุดลงทันทีตอนที่รู้นั่นเอง สติก็ต้องทำ! สมาธิก็ต้องทำ!! จิตตั้งมั่นก็ต้องทำให้ได้!!! เขาเรียกว่า “เป็นการเจริญกุศลให้เกิดขึ้น” ..ชีวิตจะดีขึ้นเอง อย่าไปหวังเพียงแค่ว่าไปรดน้ำมนต์ หรือว่าไปสะเดาะเคราะห์ ผ่านพิธีมาแล้ว ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทางกาย วาจา และทางใจด้วย ชีวิตมันก็ไม่ได้ดีขึ้น ให้รดน้ำให้เปียก ให้น้ำมนต์หมดโอ่งก็ชีวิตไม่ดีขึ้น เปียกเปล่า ๆ เท่านั้นเอง แล้วก็เปลืองแรงคนพรม พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=Zkxh5aCG39g (นาทีที่ 10:08 – 17:38 )

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #กิเลสมีหลายระดับ #ถาม : “ดับกรรม สิ้นกรรม” ต้องปฏิบัตินานแค่ไหน? #ตอบ : บอกไม่ได้ ยิ่งอยากให้เร็ว จะยิ่งนาน เพราะว่าแค่ความอยากที่มีอยู่ก็ไม่เห็น มันขึ้นอยู่กับว่า.. เห็นกิเลสไหม? เห็นกิเลสได้เร็วไหม? เห็นกิเลสตัวละเอียดไหม? กิเลสมีหลายระดับนะ - กิเลสอย่างหยาบ - กิเลสอย่างกลาง - กิเลสอย่างละเอียด กิเลสอย่างหยาบ ๆ “โลภ โกรธ หลง” ที่มันทำให้ผิดศีล ..เห็นไหม? ถ้าไม่เห็น ..ก็ทำ “อกุศลกรรม” ต่อไป กิเลสอย่างกลาง คือ “นิวรณ์ทั้ง ๕” เห็นบ้างไหม? ถ้าไม่เห็น ก็ทำสมาธิไม่สงบ สมถะก็ไม่ได้ ไม่เห็นไอ้ตัวนิวรณ์ทั้ง ๕ แล้ววิปัสสนาก็เกิดยาก มันกลายเป็นว่าถูกกลุ้มรุม ด้วยความฟุ้งซ่านในรูปแบบต่าง ๆ ๕ แบบ กิเลสอย่างละเอียด คือ “กิเลสระดับอนุสัย” หรือว่า “สังโยชน์ต่าง ๆ” มันเห็นแล้ว ก็ละได้บ้างไหม? คือถ้ายังมีกิเลสอยู่ มันไม่ดับกรรม ไม่สิ้นกรรมหรอก มันก็ยังมีเจตนาในการกระทำต่าง ๆ ตรงนี้เขาเรียกว่า “สร้างภพ” มีเจตนาเมื่อไหร่ ก็..สร้างภพ (สร้างภพในที่นี้ คือ กรรมภพ) คือ ทำกรรมอยู่นั่นเอง มีตัณหา - มีอุปาทาน - มีภพ มีภพ ก็มีชาติ ..เกิด ..เกิดอยู่เรื่อย มีเกิด ก็มีตาย ก็เรียกว่า จะให้ดับกรรม สิ้นกรรม ต้องมาเรียนรู้ตัวต้นเหตุ ก็คือตัวกิเลสต่าง ๆ ตัวหลักในอริยสัจ ๔ พระองค์ตรัสไว้ง่าย ๆ ก็คือ เอาตัวเดียว ก็คือ “ตัณหา “ แต่ตัณหาพอแจกแจงมาก็คือมี - กามตัณหา - ภวตัณหา - วิภวตัณหา “กามตัณหา” คือ อยากได้รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่าง ๆ มาสนอง สนองความต้องการของตัวเอง ก็เป็นกามตัณหา “ภวตัณหา” คือ อยากเป็น อย่างแบบคนทั่วไป คือ อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ อยากเป็นตำแหน่งนั้น ตำแหน่งนี้ อยากเป็นนายก อยากเป็นส.ส. หรือ อยากเป็นสามีคนนี้ ประมาณอย่างนี้นะ ... “อยากเป็น” “วิภวตัณหา” คือ อยากที่จะไม่เป็น พอเป็นแล้ว ก็อยากไม่เป็น กำลังเป็นอย่างนี้อยู่ ก็ไม่อยากเป็น เป็นฆราวาสอยู่ ไม่อยากเป็นฆราวาสแล้ว อยากเป็นพระ พอบวชพระเสร็จ ไม่อยากเป็นพระแล้ว อยากเป็นฆราวาส ก็มีวิภวตัณหา คือ ไม่พอใจในที่ตัวเองเป็นอยู่ อันนี้ว่าแบบง่าย ๆ คร่าว ๆ แต่ถ้าโดยละเอียดมันเป็นสภาวะอีกแบบหนึ่ง คือ “ภวตัณหา” จะเป็น อยากได้ภพ ที่เป็น “รูปภพ” ส่วน “วิภวตัณหา” คือ อยากจะพ้นจากรูปภพนั้นไป กลายเป็น “อรูปภพ” คือ ก็ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏอยู่นั่นเอง สรุปแล้วก็คือ ถ้าอยากจะดับกรรม สิ้นกรรม ตามที่ถามมา ให้มาเรียนรู้ตัวเหตุที่มันไม่ดับไม่สิ้นนี่แหละ ก็คือตัวตัณหา หรือกิเลสต่าง ๆ จนกว่าจะหมดกิเลสนั่นล่ะ จึงจะดับกรรมได้ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=CRTCdycGtXM (นาทีที่ 59.42 - 1:03:40)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #กิเลสมีหลายระดับ #ถาม : “ดับกรรม สิ้นกรรม” ต้องปฏิบัตินานแค่ไหน? #ตอบ : บอกไม่ได้ ยิ่งอยากให้เร็ว จะยิ่งนาน เพราะว่าแค่ความอยากที่มีอยู่ก็ไม่เห็น มันขึ้นอยู่กับว่า.. เห็นกิเลสไหม? เห็นกิเลสได้เร็วไหม? เห็นกิเลสตัวละเอียดไหม? กิเลสมีหลายระดับนะ – กิเลสอย่างหยาบ – กิเลสอย่างกลาง – กิเลสอย่างละเอียด กิเลสอย่างหยาบ ๆ “โลภ โกรธ หลง” ที่มันทำให้ผิดศีล ..เห็นไหม? ถ้าไม่เห็น ..ก็ทำ “อกุศลกรรม” ต่อไป กิเลสอย่างกลาง คือ “นิวรณ์ทั้ง ๕” เห็นบ้างไหม? ถ้าไม่เห็น ก็ทำสมาธิไม่สงบ สมถะก็ไม่ได้ ไม่เห็นไอ้ตัวนิวรณ์ทั้ง ๕ แล้ววิปัสสนาก็เกิดยาก มันกลายเป็นว่าถูกกลุ้มรุม ด้วยความฟุ้งซ่านในรูปแบบต่าง ๆ ๕ แบบ กิเลสอย่างละเอียด คือ “กิเลสระดับอนุสัย” หรือว่า “สังโยชน์ต่าง ๆ” มันเห็นแล้ว ก็ละได้บ้างไหม? คือถ้ายังมีกิเลสอยู่ มันไม่ดับกรรม ไม่สิ้นกรรมหรอก มันก็ยังมีเจตนาในการกระทำต่าง ๆ ตรงนี้เขาเรียกว่า “สร้างภพ” มีเจตนาเมื่อไหร่ ก็..สร้างภพ (สร้างภพในที่นี้ คือ กรรมภพ) คือ ทำกรรมอยู่นั่นเอง มีตัณหา – มีอุปาทาน – มีภพ มีภพ ก็มีชาติ ..เกิด ..เกิดอยู่เรื่อย มีเกิด ก็มีตาย ก็เรียกว่า จะให้ดับกรรม สิ้นกรรม ต้องมาเรียนรู้ตัวต้นเหตุ ก็คือตัวกิเลสต่าง ๆ ตัวหลักในอริยสัจ ๔ พระองค์ตรัสไว้ง่าย ๆ ก็คือ เอาตัวเดียว ก็คือ “ตัณหา “ แต่ตัณหาพอแจกแจงมาก็คือมี – กามตัณหา – ภวตัณหา – วิภวตัณหา “กามตัณหา” คือ อยากได้รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่าง ๆ มาสนอง สนองความต้องการของตัวเอง ก็เป็นกามตัณหา “ภวตัณหา” คือ อยากเป็น อย่างแบบคนทั่วไป คือ อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ อยากเป็นตำแหน่งนั้น ตำแหน่งนี้ อยากเป็นนายก อยากเป็นส.ส. หรือ อยากเป็นสามีคนนี้ ประมาณอย่างนี้นะ … “อยากเป็น” “วิภวตัณหา” คือ อยากที่จะไม่เป็น พอเป็นแล้ว ก็อยากไม่เป็น กำลังเป็นอย่างนี้อยู่ ก็ไม่อยากเป็น เป็นฆราวาสอยู่ ไม่อยากเป็นฆราวาสแล้ว อยากเป็นพระ พอบวชพระเสร็จ ไม่อยากเป็นพระแล้ว อยากเป็นฆราวาส ก็มีวิภวตัณหา คือ ไม่พอใจในที่ตัวเองเป็นอยู่ อันนี้ว่าแบบง่าย ๆ คร่าว ๆ แต่ถ้าโดยละเอียดมันเป็นสภาวะอีกแบบหนึ่ง คือ “ภวตัณหา” จะเป็น อยากได้ภพ ที่เป็น “รูปภพ” ส่วน “วิภวตัณหา” คือ อยากจะพ้นจากรูปภพนั้นไป กลายเป็น “อรูปภพ” คือ ก็ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏอยู่นั่นเอง สรุปแล้วก็คือ ถ้าอยากจะดับกรรม สิ้นกรรม ตามที่ถามมา ให้มาเรียนรู้ตัวเหตุที่มันไม่ดับไม่สิ้นนี่แหละ ก็คือตัวตัณหา หรือกิเลสต่าง ๆ จนกว่าจะหมดกิเลสนั่นล่ะ จึงจะดับกรรมได้ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=CRTCdycGtXM (นาทีที่ 59.42 – 1:03:40)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ใช้ตัณหาละตัณหา #ถาม : “การเอาตัณหา ไปละตัณหา” หมายความว่าอย่างไร? และกรณีไหน? #ตอบ : “ตัณหา ไปละตัณหา” เช่นว่า อยากได้มรรคผล เป็นตัณหาไหม? ..เป็นตัณหานะ ตอนนี้เราเป็นปุถุชน “อยาก” ได้มรรคผล ..เป็นตัณหา เอาตัณหาที่ว่า อยากจะไปเป็นพระอริยะ มาละตัณหา คือว่า ถ้าอยากจะไปเป็นพระอริยเจ้า (คือ บรรลุมรรคผล) ก็ต้องมารู้ทันตัณหาในแง่ของกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา รู้ตรงนี้ด้วย ! ก็ต้องอาศัยมีตัณหา(อยากเป็นพระอริยะ)ก่อน อย่างนี้ล่ะ อยากจะดี..ก็เลยมาทำดี อยากจะไม่เป็นคนชั่ว..ก็เลยระวังความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น อย่างนี้ก็คือ “ใช้ตัณหา ละตัณหา” แต่พอถึงที่แล้วเนี่ย..มันหมดตัณหาแล้ว สมมติว่า อยากจะไปวัดสังฆทาน จะไป..ก็ต้องอาศัยความอยากพาไป พอถึงวัดแล้ว ตัณหา(อยากไปวัด)ก็หมด แต่ตัณหาอย่างอื่นอาจจะเกิดอีกนะ แต่ตัณหาที่ว่า “อยาก” จะมาถึงวัด ..หมดแล้ว แบบเดียวกัน “อยาก” จะไปถึงนิพพาน พอถึงนิพพานแล้ว ก็หมดตัณหาแล้ว ตัณหาหมด ประมาณอย่างนี้นะ อยากบรรลุมรรคผล.. ถึงเป้าหมายแล้ว ความอยากก็หมด ทีนี้มันต้องไม่ใช่เอาแต่อยาก! มันก็ต้องรู้ว่า “เหตุให้ถึงที่หมาย” ของเรา .. หรือ “เหตุให้ได้ผลตามที่เราต้องการ” คืออะไร? ก็ไปทำเหตุ!! อาศัย “ตัณหา - อยากจะไปที่หมายนั้น” จึง “หาเหตุ” ที่จะไปถึงที่หมาย แล้ว “ทำเหตุ” ไม่ใช่เอาแต่อยาก ไม่ใช่จะเอาแต่ตัณหา “อยากได้ ๆๆๆ”.. อย่างนี้ไม่ได้ ไม่ถึงแน่ มีตัณหาแล้ว รู้ว่าอยากได้ให้ถึงเป้าหมายนั้น ไปศึกษาหาเหตุ ศึกษาด้วยตนเองไม่ไหว ก็ต้องมาดูว่า มีใครเคยถึงแล้วหรือยัง? ในแง่ของมรรคผล องค์แรกที่ถึงก็คือ พระพุทธเจ้า ก็ต้องไปศึกษาว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร? อยากจะให้พ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าพ้นองค์แรก ก็ต้องไปดูว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร? ก็ทำตามพระองค์ เท่านั้นเอง มันก็ต้องอาศัยอยากนั่นล่ะ อาศัยอยาก แต่ว่าอยากอย่างเดียวไม่พอ อยากแล้ว ต้องสืบค้นหาว่า เหตุอะไรที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายนั้น? แล้วลงมือทำเหตุนั้น ต้องรักษาศีล (ถ้าเป็นญาติโยมก็มีทานด้วย) ต้องให้ทาน ต้องรักษาศีล ต้องเจริญภาวนา ถ้ามาเป็นพระแล้ว ในแง่ทาน ก็อาจจะไม่เด่นมากนัก ก็จะมี :- ศึกษาเรื่องศีล ศึกษาเรื่องจิต ศึกษาเรื่องปัญญา ก็ต้องทำเหตุ สรุปแล้วต้องลงมือทำ แต่อาศัยตัณหาก่อน ตัณหา.. อยากไปนิพพาน อยากดี อยากพ้นทุกข์ แล้วก็มาหาวิธีที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น แล้วลงมือทำ!! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=3j6v3Ssm8dk&t=1943s (นาทีที่ 33:05 – 36.27)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ใช้ตัณหาละตัณหา #ถาม : “การเอาตัณหา ไปละตัณหา” หมายความว่าอย่างไร? และกรณีไหน? #ตอบ : “ตัณหา ไปละตัณหา” เช่นว่า อยากได้มรรคผล เป็นตัณหาไหม? ..เป็นตัณหานะ ตอนนี้เราเป็นปุถุชน “อยาก” ได้มรรคผล ..เป็นตัณหา เอาตัณหาที่ว่า อยากจะไปเป็นพระอริยะ มาละตัณหา คือว่า ถ้าอยากจะไปเป็นพระอริยเจ้า (คือ บรรลุมรรคผล) ก็ต้องมารู้ทันตัณหาในแง่ของกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา รู้ตรงนี้ด้วย ! ก็ต้องอาศัยมีตัณหา(อยากเป็นพระอริยะ)ก่อน อย่างนี้ล่ะ อยากจะดี..ก็เลยมาทำดี อยากจะไม่เป็นคนชั่ว..ก็เลยระวังความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น อย่างนี้ก็คือ “ใช้ตัณหา ละตัณหา” แต่พอถึงที่แล้วเนี่ย..มันหมดตัณหาแล้ว สมมติว่า อยากจะไปวัดสังฆทาน จะไป..ก็ต้องอาศัยความอยากพาไป พอถึงวัดแล้ว ตัณหา(อยากไปวัด)ก็หมด แต่ตัณหาอย่างอื่นอาจจะเกิดอีกนะ แต่ตัณหาที่ว่า “อยาก” จะมาถึงวัด ..หมดแล้ว แบบเดียวกัน “อยาก” จะไปถึงนิพพาน พอถึงนิพพานแล้ว ก็หมดตัณหาแล้ว ตัณหาหมด ประมาณอย่างนี้นะ อยากบรรลุมรรคผล.. ถึงเป้าหมายแล้ว ความอยากก็หมด ทีนี้มันต้องไม่ใช่เอาแต่อยาก! มันก็ต้องรู้ว่า “เหตุให้ถึงที่หมาย” ของเรา .. หรือ “เหตุให้ได้ผลตามที่เราต้องการ” คืออะไร? ก็ไปทำเหตุ!! อาศัย “ตัณหา – อยากจะไปที่หมายนั้น” จึง “หาเหตุ” ที่จะไปถึงที่หมาย แล้ว “ทำเหตุ” ไม่ใช่เอาแต่อยาก ไม่ใช่จะเอาแต่ตัณหา “อยากได้ ๆๆๆ”.. อย่างนี้ไม่ได้ ไม่ถึงแน่ มีตัณหาแล้ว รู้ว่าอยากได้ให้ถึงเป้าหมายนั้น ไปศึกษาหาเหตุ ศึกษาด้วยตนเองไม่ไหว ก็ต้องมาดูว่า มีใครเคยถึงแล้วหรือยัง? ในแง่ของมรรคผล องค์แรกที่ถึงก็คือ พระพุทธเจ้า ก็ต้องไปศึกษาว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร? อยากจะให้พ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าพ้นองค์แรก ก็ต้องไปดูว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร? ก็ทำตามพระองค์ เท่านั้นเอง มันก็ต้องอาศัยอยากนั่นล่ะ อาศัยอยาก แต่ว่าอยากอย่างเดียวไม่พอ อยากแล้ว ต้องสืบค้นหาว่า เหตุอะไรที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายนั้น? แล้วลงมือทำเหตุนั้น ต้องรักษาศีล (ถ้าเป็นญาติโยมก็มีทานด้วย) ต้องให้ทาน ต้องรักษาศีล ต้องเจริญภาวนา ถ้ามาเป็นพระแล้ว ในแง่ทาน ก็อาจจะไม่เด่นมากนัก ก็จะมี :- ศึกษาเรื่องศีล ศึกษาเรื่องจิต ศึกษาเรื่องปัญญา ก็ต้องทำเหตุ สรุปแล้วต้องลงมือทำ แต่อาศัยตัณหาก่อน ตัณหา.. อยากไปนิพพาน อยากดี อยากพ้นทุกข์ แล้วก็มาหาวิธีที่จะไปถึงเป้าหมายนั้น แล้วลงมือทำ!! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=3j6v3Ssm8dk&t=1943s (นาทีที่ 33:05 – 36.27)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #คัดลอกข้อมูลอย่างไรไม่ให้ผิดศีล #ถาม : ถ้าเรามีความจำเป็นจะต้องคัดลอกข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต (internet) มาใช้เพื่อการทำงาน เพื่อประกอบอาชีพ จะผิดศีลข้อ ๒ ไหมคะ? #ตอบ : ก็ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลนั้น เขายินดีให้เราคัดลอกไหม? คือเขาเต็มใจไหม? ถ้าเขาต้องการเผยแพร่ ก็คัดลอกได้ และถ้าให้ดีคือ อ้างอิงด้วย! ไม่ใช่คัดลอกแล้วก็มาเป็นของเรา นึกออกไหม? การคัดลอก ถ้าจะไม่ให้ผิดศีลข้อ ๒ คือ - ดูว่าเขาหวงข้อมูลนั้นไหม? - เขามีคำไหมว่า “ห้ามคัดลอก”? ถ้าเขามีข้อความระบุอะไรประมาณนี้นะ แสดงว่าคัดลอกไม่ได้ แต่ถ้าเขาต้องการเผยแพร่สิ่งที่เขามีอยู่นั้น (ข้อมูลหรือข้อความนั้น) ก็ไม่ใช่ว่าจะคัดลอกมาเป็น “ของเรา”! ก็ต้องอ้างอิงด้วยว่า “ข้อความนี้มาจาก...(ที่ไหน)” อ้างอิงเจ้าของเขาด้วย เช่น เอามาจาก nimmalo.com ประมาณอย่างนี้ ก็อ้างด้วยว่า มาจากที่นี่ หรือว่าข้อความจากเว็บ (web) ไหน ก็ต้องบอก สำนักข่าวนั้น..ว่าอย่างนี้ หรือคำพูดนี้ของใคร ก็อ้างคำพูดไปด้วย ไม่ใช่ว่าลอกมา แล้วบอกเป็นของเรา หรือว่าไม่อ้างอิงเลย ไม่อ้างอิงเลย ก็เหมือนขโมย!! แม้เขาจะเป็นเว็บ (web) หรือว่าเป็นแหล่งที่ไม่ได้หวงข้อมูล ก็ควรจะอ้างอิงอยู่ดี ไม่ใช่ว่า ‘เออ! หนังสือนี่ดีจัง..’ (เคยมีเรื่องอย่างนี้นะ) ‘โอ้..หนังสือนี่ดีจัง! ..เอาไปพิมพ์แจกดีกว่า’ เอาไปพิมพ์..แล้วไม่ได้บอกว่าใครเขียน เคยมีเหตุการณ์อย่างนี้นะ หนังสือนั้นดีจริง ควรจะเผยแพร่ แต่ควรจะบอกด้วยว่า “ใครเขียน” ไม่ใช่เอาไปพิมพ์แล้วก็เลยไม่รู้ว่าใครเขียน? กลายเป็นวรรณกรรมที่ปริศนาว่า “ใครเป็นคนเขียน?” ..สืบไป ..สืบมา โอ้! “อาจารย์วศิน อินทสระ” ท่านเขียนเอาไว้ แล้วพอไปพิมพ์ไปตั้งชื่อใหม่ว่า สามเดือนก่อนปรินิพพาน ประมาณนี้ จริง ๆ หนังสือเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมของอาจารย์วศิน เขียนเอาไว้นานแล้ว ชื่อเรื่อง “พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน” (เป็นหนังสือที่ตัดตอนจากหนังสือเรื่อง “พระอานนท์พุทธอนุชา”) มีคนอ่านแล้วชอบใจ ก็ไปให้โรงพิมพ์ไปพิมพ์ซ้ำ แต่ไม่อ้างอิงชื่อผู้ประพันธ์ อย่างนี้ “ผิดมารยาท” ต้องอ้างอิงด้วย! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=gioUZb0Nzbc (นาทีที่ 1:34:26 – 1:37:18)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #คัดลอกข้อมูลอย่างไรไม่ให้ผิดศีล #ถาม : ถ้าเรามีความจำเป็นจะต้องคัดลอกข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต (internet) มาใช้เพื่อการทำงาน เพื่อประกอบอาชีพ จะผิดศีลข้อ ๒ ไหมคะ? #ตอบ : ก็ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลนั้น เขายินดีให้เราคัดลอกไหม? คือเขาเต็มใจไหม? ถ้าเขาต้องการเผยแพร่ ก็คัดลอกได้ และถ้าให้ดีคือ อ้างอิงด้วย! ไม่ใช่คัดลอกแล้วก็มาเป็นของเรา นึกออกไหม? การคัดลอก ถ้าจะไม่ให้ผิดศีลข้อ ๒ คือ – ดูว่าเขาหวงข้อมูลนั้นไหม? – เขามีคำไหมว่า “ห้ามคัดลอก”? ถ้าเขามีข้อความระบุอะไรประมาณนี้นะ แสดงว่าคัดลอกไม่ได้ แต่ถ้าเขาต้องการเผยแพร่สิ่งที่เขามีอยู่นั้น (ข้อมูลหรือข้อความนั้น) ก็ไม่ใช่ว่าจะคัดลอกมาเป็น “ของเรา”! ก็ต้องอ้างอิงด้วยว่า “ข้อความนี้มาจาก…(ที่ไหน)” อ้างอิงเจ้าของเขาด้วย เช่น เอามาจาก nimmalo.com ประมาณอย่างนี้ ก็อ้างด้วยว่า มาจากที่นี่ หรือว่าข้อความจากเว็บ (web) ไหน ก็ต้องบอก สำนักข่าวนั้น..ว่าอย่างนี้ หรือคำพูดนี้ของใคร ก็อ้างคำพูดไปด้วย ไม่ใช่ว่าลอกมา แล้วบอกเป็นของเรา หรือว่าไม่อ้างอิงเลย ไม่อ้างอิงเลย ก็เหมือนขโมย!! แม้เขาจะเป็นเว็บ (web) หรือว่าเป็นแหล่งที่ไม่ได้หวงข้อมูล ก็ควรจะอ้างอิงอยู่ดี ไม่ใช่ว่า ‘เออ! หนังสือนี่ดีจัง..’ (เคยมีเรื่องอย่างนี้นะ) ‘โอ้..หนังสือนี่ดีจัง! ..เอาไปพิมพ์แจกดีกว่า’ เอาไปพิมพ์..แล้วไม่ได้บอกว่าใครเขียน เคยมีเหตุการณ์อย่างนี้นะ หนังสือนั้นดีจริง ควรจะเผยแพร่ แต่ควรจะบอกด้วยว่า “ใครเขียน” ไม่ใช่เอาไปพิมพ์แล้วก็เลยไม่รู้ว่าใครเขียน? กลายเป็นวรรณกรรมที่ปริศนาว่า “ใครเป็นคนเขียน?” ..สืบไป ..สืบมา โอ้! “อาจารย์วศิน อินทสระ” ท่านเขียนเอาไว้ แล้วพอไปพิมพ์ไปตั้งชื่อใหม่ว่า สามเดือนก่อนปรินิพพาน ประมาณนี้ จริง ๆ หนังสือเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมของอาจารย์วศิน เขียนเอาไว้นานแล้ว ชื่อเรื่อง “พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน” (เป็นหนังสือที่ตัดตอนจากหนังสือเรื่อง “พระอานนท์พุทธอนุชา”) มีคนอ่านแล้วชอบใจ ก็ไปให้โรงพิมพ์ไปพิมพ์ซ้ำ แต่ไม่อ้างอิงชื่อผู้ประพันธ์ อย่างนี้ “ผิดมารยาท” ต้องอ้างอิงด้วย! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=gioUZb0Nzbc (นาทีที่ 1:34:26 – 1:37:18)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #อินทรีย์อ่อน #ถาม : ถ้า “อินทรีย์อ่อน” ควรทำอย่างไรดีครับ? #ตอบ : อินทรีย์เนี่ย มีอะไรบ้าง?.. ๑. ศรัทธา ๒. วิริยะ ๓. สติ ๔. สมาธิ ๕. ปัญญา .. ๕ อย่างด้วยกัน อันไหนอ่อนล่ะ? ก็ดูสิ! (๑) ถ้า “ศรัทธาอ่อน” ก็ต้องมาเติม.. สมมติว่า ศรัทธาในพระรัตนตรัย ช่วงนี้เราไม่ค่อยศรัทธาเลย ก็อาจจะต้องมาอ่านพุทธประวัติ หรือ ประวัติของพระอริยเจ้า หรือ ประวัติของครูบาอาจารย์ ประมาณนี้นะ “เสริมศรัทธา” (๒) ถ้า “ความเพียรอ่อน” ก็อาจจะต้องตั้งใจให้มากขึ้น ความเพียรเนี่ย บางทีมันมาจากที่ว่า ไม่กล้าลงมือทำ ก็ต้องลงมือทำเลย! สมมติว่าจะทำในรูปแบบ ไม่ได้เริ่มซักที ก็ต้องเริ่มเลย! หรือว่า เริ่มแล้วก็ทำแค่แป๊บเดียว มันก็ต้องยืดเวลาไปอีก เพื่อให้เติมความเพียรลงไป ความเพียรจะเกิดขึ้นง่าย ๆ เลย คือ “มีสติรู้” ทุกครั้งที่มีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร (๓) ทีนี้มาข้อ “สติ” คือทำได้เรื่อย ๆ ฝึกไปเรื่อย ๆ รู้ทันกายบ้าง รู้ทันใจบ้าง มีขอบเขตสโคป (scope) อยู่แค่ “รู้กาย” หรือ “รู้ใจ” ถ้ารู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางได้ ก็จะเห็นความจริงของกายของใจ แสดงออกมาในแง่ - ไม่เที่ยง - เป็นทุกข์ -เป็นอนัตตา การเห็นอย่างนี้ก็ต้อง “ฝึกสมาธิ” ด้วย (๔) “สมาธิ” ในแง่นี้ก็คือ ฝึกสมถะนั่นเอง ฝึกสมถะได้สมาธิ สมาธิก็มี ๒ แบบ มี (๔.๑) สมาธิแบบจิตไหลไปรวมอยู่กับอารมณ์ ก็ฝึกได้ ถ้า.. - ไม่ได้บังคับ - ไม่ได้เพ่ง - ไม่ได้เคร่งเครียดอะไร มีความสุขกับอารมณ์ใด จิตรวมอยู่กับอารมณ์นั้น ก็ถือว่าใช้ได้ เป็นสมาธิแบบหนึ่ง เอาไว้พักผ่อน จะสมาธิอีกอย่างหนึ่ง คือ (๔.๒) สมาธิแบบจิตตั้งมั่น คือ จิตไม่ได้ไหลรวมกับอยู่กับอารมณ์ รู้อยู่ รู้อยู่ แต่จิตไม่ไหลไปรวมอยู่กับอารมณ์ เรียกว่า “จิตตั้งมั่น” จะฝึกอย่างนี้ได้ก็คือ ทำสมถะไว้สักอย่างหนึ่ง แล้วพอเผลอไป แล้วรู้ทัน รู้ด้วยใจเป็นกลาง ก็ได้ตั้งมั่นขณะหนึ่ง หรือ เห็นมาตั้งแต่เคลื่อนเลย ตอนเคลื่อน คือมันจิตไม่ตั้งมั่น เห็นตอนไม่ตั้งมั่น ได้ตั้งมั่นพอดี จะมีวิธีทำง่าย ๆ ๒ วิธีอย่างนี้ ..ก็ทำ ก็เป็นการ “เสริมอินทรีย์ในแง่ของสมาธิ” (๕) “ปัญญา” – เสริมอินทรีย์ในแง่ของปัญญา.. ปัญญาในที่นี้ หมายถึงเห็นความจริง นับตั้งแต่เห็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม ทีนี้ถ้ามันยังไม่เกิดปัญญา อาจจะต้องคิดนำ เวลาเห็นสภาวะอะไรไปแล้ว เช่นว่า เห็นความโกรธ ก็คิดนำว่า ‘อ้าว! เมื่อกี้ไม่โกรธ ตอนนี้โกรธ แสดงว่าความโกรธไม่เที่ยง’.. อย่างนี้ก็ได้นะ คือเวลาเห็นอะไรมันเปลี่ยนแปลง อาจจะต้องคิดไปก่อนว่า ‘เออ! เมื่อกี้ไม่มี ตอนนี้มี’ หรือว่า ‘เมื่อกี้มี แล้วตอนนี้ไม่มี’ อาจจะต้องพูดในใจ สอนมันบ้าง หรือว่า ‘ไม่ได้อยากเผลอเลย มันเผลอเอง’ คิดไปก่อนก็ได้ เห็นเผลอแล้ว แต่มันไม่เห็นในแง่ของไตรลักษณ์ ก็พูดในใจไปก่อน ‘เออนะ! มันบังคับไม่ได้นะ’ เหมือนอยากสงบ มันไม่สงบ ก็สอนตัวเองไว้บ้าง ‘เออเนี่ยแหละ จิตเนี่ยมันแสดงความจริงแล้ว มันบังคับไม่ได้ มันเป็นอนัตตา’ คือพูดสอนในใจ แต่ว่าให้รู้ว่าอันนี้คือคิดสอนตนเองนะ อันนี้คือเป็นการพูดในใจนะ ยังไม่ใช่ขึ้นวิปัสสนาจริง ไม่ได้เกิดปัญญาที่แท้จริง มันยังเป็นพูดสอนในใจ ยังไว้ใจไม่ได้ แต่ว่าคล้าย ๆ กับว่า “นำร่อง” นำร่องให้มันหัดมองในแง่ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ..แง่ใดแง่หนึ่งบ้าง อย่างนี้ก็เรียกว่า “บ่มอินทรีย์” ที่ต้องทำมาก ๆ เลยก็คือ ความเพียรนะ ต้องเริ่ม!! ถ้าใครยังไม่ได้เริ่มเลย ก็ต้องเริ่ม อินทรีย์จึงจะแก่ ที่ว่า อินทรีย์อ่อน.. “อ่อน” ในที่นี้ คือ “ไม่แก่” ใช่ไหม? “แก่” ในที่นี้ คือ ทำมาจนมีกำลังเข้มแข็ง “แก่” ในที่นี้ไม่ใช่ “แก่หง่อม” แก่ คือ “มีกำลังเข้มแข็ง” ที่ตรงข้ามกับอ่อน พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=2stxRE4fuGc&t=4286s (นาทีที่ 1:06:54 – 1:11:25)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #อินทรีย์อ่อน #ถาม : ถ้า “อินทรีย์อ่อน” ควรทำอย่างไรดีครับ? #ตอบ : อินทรีย์เนี่ย มีอะไรบ้าง?.. ๑. ศรัทธา ๒. วิริยะ ๓. สติ ๔. สมาธิ ๕. ปัญญา .. ๕ อย่างด้วยกัน อันไหนอ่อนล่ะ? ก็ดูสิ! (๑) ถ้า “ศรัทธาอ่อน” ก็ต้องมาเติม.. สมมติว่า ศรัทธาในพระรัตนตรัย ช่วงนี้เราไม่ค่อยศรัทธาเลย ก็อาจจะต้องมาอ่านพุทธประวัติ หรือ ประวัติของพระอริยเจ้า หรือ ประวัติของครูบาอาจารย์ ประมาณนี้นะ “เสริมศรัทธา” (๒) ถ้า “ความเพียรอ่อน” ก็อาจจะต้องตั้งใจให้มากขึ้น ความเพียรเนี่ย บางทีมันมาจากที่ว่า ไม่กล้าลงมือทำ ก็ต้องลงมือทำเลย! สมมติว่าจะทำในรูปแบบ ไม่ได้เริ่มซักที ก็ต้องเริ่มเลย! หรือว่า เริ่มแล้วก็ทำแค่แป๊บเดียว มันก็ต้องยืดเวลาไปอีก เพื่อให้เติมความเพียรลงไป ความเพียรจะเกิดขึ้นง่าย ๆ เลย คือ “มีสติรู้” ทุกครั้งที่มีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร (๓) ทีนี้มาข้อ “สติ” คือทำได้เรื่อย ๆ ฝึกไปเรื่อย ๆ รู้ทันกายบ้าง รู้ทันใจบ้าง มีขอบเขตสโคป (scope) อยู่แค่ “รู้กาย” หรือ “รู้ใจ” ถ้ารู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางได้ ก็จะเห็นความจริงของกายของใจ แสดงออกมาในแง่ – ไม่เที่ยง – เป็นทุกข์ -เป็นอนัตตา การเห็นอย่างนี้ก็ต้อง “ฝึกสมาธิ” ด้วย (๔) “สมาธิ” ในแง่นี้ก็คือ ฝึกสมถะนั่นเอง ฝึกสมถะได้สมาธิ สมาธิก็มี ๒ แบบ มี (๔.๑) สมาธิแบบจิตไหลไปรวมอยู่กับอารมณ์ ก็ฝึกได้ ถ้า.. – ไม่ได้บังคับ – ไม่ได้เพ่ง – ไม่ได้เคร่งเครียดอะไร มีความสุขกับอารมณ์ใด จิตรวมอยู่กับอารมณ์นั้น ก็ถือว่าใช้ได้ เป็นสมาธิแบบหนึ่ง เอาไว้พักผ่อน จะสมาธิอีกอย่างหนึ่ง คือ (๔.๒) สมาธิแบบจิตตั้งมั่น คือ จิตไม่ได้ไหลรวมกับอยู่กับอารมณ์ รู้อยู่ รู้อยู่ แต่จิตไม่ไหลไปรวมอยู่กับอารมณ์ เรียกว่า “จิตตั้งมั่น” จะฝึกอย่างนี้ได้ก็คือ ทำสมถะไว้สักอย่างหนึ่ง แล้วพอเผลอไป แล้วรู้ทัน รู้ด้วยใจเป็นกลาง ก็ได้ตั้งมั่นขณะหนึ่ง หรือ เห็นมาตั้งแต่เคลื่อนเลย ตอนเคลื่อน คือมันจิตไม่ตั้งมั่น เห็นตอนไม่ตั้งมั่น ได้ตั้งมั่นพอดี จะมีวิธีทำง่าย ๆ ๒ วิธีอย่างนี้ ..ก็ทำ ก็เป็นการ “เสริมอินทรีย์ในแง่ของสมาธิ” (๕) “ปัญญา” – เสริมอินทรีย์ในแง่ของปัญญา.. ปัญญาในที่นี้ หมายถึงเห็นความจริง นับตั้งแต่เห็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม ทีนี้ถ้ามันยังไม่เกิดปัญญา อาจจะต้องคิดนำ เวลาเห็นสภาวะอะไรไปแล้ว เช่นว่า เห็นความโกรธ ก็คิดนำว่า ‘อ้าว! เมื่อกี้ไม่โกรธ ตอนนี้โกรธ แสดงว่าความโกรธไม่เที่ยง’.. อย่างนี้ก็ได้นะ คือเวลาเห็นอะไรมันเปลี่ยนแปลง อาจจะต้องคิดไปก่อนว่า ‘เออ! เมื่อกี้ไม่มี ตอนนี้มี’ หรือว่า ‘เมื่อกี้มี แล้วตอนนี้ไม่มี’ อาจจะต้องพูดในใจ สอนมันบ้าง หรือว่า ‘ไม่ได้อยากเผลอเลย มันเผลอเอง’ คิดไปก่อนก็ได้ เห็นเผลอแล้ว แต่มันไม่เห็นในแง่ของไตรลักษณ์ ก็พูดในใจไปก่อน ‘เออนะ! มันบังคับไม่ได้นะ’ เหมือนอยากสงบ มันไม่สงบ ก็สอนตัวเองไว้บ้าง ‘เออเนี่ยแหละ จิตเนี่ยมันแสดงความจริงแล้ว มันบังคับไม่ได้ มันเป็นอนัตตา’ คือพูดสอนในใจ แต่ว่าให้รู้ว่าอันนี้คือคิดสอนตนเองนะ อันนี้คือเป็นการพูดในใจนะ ยังไม่ใช่ขึ้นวิปัสสนาจริง ไม่ได้เกิดปัญญาที่แท้จริง มันยังเป็นพูดสอนในใจ ยังไว้ใจไม่ได้ แต่ว่าคล้าย ๆ กับว่า “นำร่อง” นำร่องให้มันหัดมองในแง่ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ..แง่ใดแง่หนึ่งบ้าง อย่างนี้ก็เรียกว่า “บ่มอินทรีย์” ที่ต้องทำมาก ๆ เลยก็คือ ความเพียรนะ ต้องเริ่ม!! ถ้าใครยังไม่ได้เริ่มเลย ก็ต้องเริ่ม อินทรีย์จึงจะแก่ ที่ว่า อินทรีย์อ่อน.. “อ่อน” ในที่นี้ คือ “ไม่แก่” ใช่ไหม? “แก่” ในที่นี้ คือ ทำมาจนมีกำลังเข้มแข็ง “แก่” ในที่นี้ไม่ใช่ “แก่หง่อม” แก่ คือ “มีกำลังเข้มแข็ง” ที่ตรงข้ามกับอ่อน พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=2stxRE4fuGc&t=4286s (นาทีที่ 1:06:54 – 1:11:25)

อ่านต่อ ...
Loading...