นิมฺมโลตอบโจทย์

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ไม่ดื่มสุราปฏิเสธอย่างไรดี #ถาม : นมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ ถ้าเราไม่ดื่มเหล้า แต่เจ้านาย และลูกค้าบริษัทฯ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ มักชักชวนให้ดื่ม เวลาไปทานข้าว หรือมีงานเลี้ยง ..เราก็ปฏิเสธไป เขาถามเหตุผลว่า “ทำไมไม่ดื่ม?” เลยตอบไปว่า “เรารักษาศีล ๕” และอธิบายแต่ละข้อให้ฟัง แต่เจ้านายก็บอกว่า “ไม่ต้องยึดถือมากหรอก งั้นยู (you) ดื่มไวน์ (wine) แทนก็ได้ เพื่อสุขภาพ” คำถาม คือ ถ้าเขาไม่เข้าใจ เลยคิดว่า หรือควรบอกไปว่า เราแพ้แอลกอฮอล์แทน เขาจะได้ไม่คะยั้นคะยอให้ดื่ม แบบนี้จะกลายเป็นผิดศีลข้อมุสาหรือไม่? #ตอบ : ดีนะ ก็บอกไปเลยว่า “แพ้” แต่ไม่ต้องบอกว่า “แพ้แอลกอฮอล์” แค่บอกว่า “แพ้” ..”เราแพ้ ถ้ากินแล้วแพ้” ไอ้ที่ว่า “แพ้” เนี่ย ไม่ได้แพ้แอลกอฮอล์ แต่ “แพ้ใจตัวเอง!” แล้วก็จะทำให้เราควบคุม ความประพฤติตัวเองไม่ได้ ถ้าเจ้านายบอกคะยั้นคะยอให้ดื่มเนี่ยนะ ก็บอก “เราแพ้” บอกไปเลยก็ได้ ถ้าเขาคะยั้นคะยอ ..ก็บอกว่า “ต้องการพนักงาน หรือต้องการลูกน้อง ที่มีสติ หรือ ขาดสติ?!” “ต้องการพนักงานเมา แล้วเอาน้ำไปราดหัวคนอื่นไหม?” อะไรประมาณนี้นะ ..เขาก็ไม่อยากได้ใช่ไหม? ใครเมาแล้ว “ทำชื่อเสียง” ..ไม่ค่อยมี มักจะเป็น..”ชื่อเสีย” !! โอกาสที่จะมีเรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นกับเรา ถ้าเราดื่มแอลกอฮอล์นะ จะมีโอกาสเป็นไปได้มาก เพราะฉะนั้น อย่ายินดีที่จะให้เราเมาเลย บอกว่า “เราไม่รู้ประมาณว่า จะดื่มแค่ไหนจึงจะเมา” แล้วที่ว่า “ศีล ๕ รักษาไว้” ..ดีแล้วนะ “ขอให้ท่านดีใจ ที่ได้มีลูกน้อง หรือมีพนักงาน ที่รักษาศีลได้” ..ดีกว่านะ อย่าได้ดีใจ ที่จะเห็นเรา เป็นผู้ไม่มีศีลเลย เรียกว่า ได้แก้วมณีแล้ว จงรู้ค่าแก้วมณีนั้นด้วย ขออนุโมทนานะโยม รักษาความดีอันนี้เอาไว้ แล้วเวลาจะบอกว่าแพ้เนี่ย อย่าบอกว่า “แพ้แอลกอฮอล์” บอกว่า “แพ้” เฉย ๆ ถ้าดื่มเหล้าแล้ว “แพ้” ถ้าดื่มแอลกอฮอล์แล้วจะ “แพ้” ..แพ้อะไร? ..แพ้ใจตัวเอง ! ..แล้วแพ้กิเลส ! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=VIh9T9loA58 (นาทีที่ 1:24:17 – 1:27:23)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ไม่ดื่มสุราปฏิเสธอย่างไรดี #ถาม : นมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ ถ้าเราไม่ดื่มเหล้า แต่เจ้านาย และลูกค้าบริษัทฯ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ มักชักชวนให้ดื่ม เวลาไปทานข้าว หรือมีงานเลี้ยง ..เราก็ปฏิเสธไป เขาถามเหตุผลว่า “ทำไมไม่ดื่ม?” เลยตอบไปว่า “เรารักษาศีล ๕” และอธิบายแต่ละข้อให้ฟัง แต่เจ้านายก็บอกว่า “ไม่ต้องยึดถือมากหรอก งั้นยู (you) ดื่มไวน์ (wine) แทนก็ได้ เพื่อสุขภาพ” คำถาม คือ ถ้าเขาไม่เข้าใจ เลยคิดว่า หรือควรบอกไปว่า เราแพ้แอลกอฮอล์แทน เขาจะได้ไม่คะยั้นคะยอให้ดื่ม แบบนี้จะกลายเป็นผิดศีลข้อมุสาหรือไม่? #ตอบ : ดีนะ ก็บอกไปเลยว่า “แพ้” แต่ไม่ต้องบอกว่า “แพ้แอลกอฮอล์” แค่บอกว่า “แพ้” ..”เราแพ้ ถ้ากินแล้วแพ้” ไอ้ที่ว่า “แพ้” เนี่ย ไม่ได้แพ้แอลกอฮอล์ แต่ “แพ้ใจตัวเอง!” แล้วก็จะทำให้เราควบคุม ความประพฤติตัวเองไม่ได้ ถ้าเจ้านายบอกคะยั้นคะยอให้ดื่มเนี่ยนะ ก็บอก “เราแพ้” บอกไปเลยก็ได้ ถ้าเขาคะยั้นคะยอ ..ก็บอกว่า “ต้องการพนักงาน หรือต้องการลูกน้อง ที่มีสติ หรือ ขาดสติ?!” “ต้องการพนักงานเมา แล้วเอาน้ำไปราดหัวคนอื่นไหม?” อะไรประมาณนี้นะ ..เขาก็ไม่อยากได้ใช่ไหม? ใครเมาแล้ว “ทำชื่อเสียง” ..ไม่ค่อยมี มักจะเป็น..”ชื่อเสีย” !! โอกาสที่จะมีเรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นกับเรา ถ้าเราดื่มแอลกอฮอล์นะ จะมีโอกาสเป็นไปได้มาก เพราะฉะนั้น อย่ายินดีที่จะให้เราเมาเลย บอกว่า “เราไม่รู้ประมาณว่า จะดื่มแค่ไหนจึงจะเมา” แล้วที่ว่า “ศีล ๕ รักษาไว้” ..ดีแล้วนะ “ขอให้ท่านดีใจ ที่ได้มีลูกน้อง หรือมีพนักงาน ที่รักษาศีลได้” ..ดีกว่านะ อย่าได้ดีใจ ที่จะเห็นเรา เป็นผู้ไม่มีศีลเลย เรียกว่า ได้แก้วมณีแล้ว จงรู้ค่าแก้วมณีนั้นด้วย ขออนุโมทนานะโยม รักษาความดีอันนี้เอาไว้ แล้วเวลาจะบอกว่าแพ้เนี่ย อย่าบอกว่า “แพ้แอลกอฮอล์” บอกว่า “แพ้” เฉย ๆ ถ้าดื่มเหล้าแล้ว “แพ้” ถ้าดื่มแอลกอฮอล์แล้วจะ “แพ้” ..แพ้อะไร? ..แพ้ใจตัวเอง ! ..แล้วแพ้กิเลส ! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=VIh9T9loA58 (นาทีที่ 1:24:17 – 1:27:23)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #กรรมฐานสำหรับผู้สูงอายุ #ถาม : อายุ ๖๐ กว่าแล้ว จะทำสมาธิแบบไหนดี ให้ได้สมาธิ? #ตอบ : ไม่เกี่ยวกับอายุนะ จะมีที่สังเกตนิดหนึ่งเท่านั้นเองว่า เวลา ‘อายุมาก’ ถ้านั่งนิ่งๆ มันจะ ‘หลับง่าย’ (ถ้าไม่เคยฝึกมาก่อนเลยนะ) สมมติว่า.. จะเริ่มฝึกเมื่อตอนอายุ ๖๐ ควรจะ “เจริญสติ ในท่าเคลื่อนไหว” อย่านั่งสมาธิแบบนิ่งๆ พอนั่งนิ่งๆ เนี่ยนะ ด้วยความล้าของร่างกาย ที่อายุมาก บางทีพอนั่งนิ่ง มันจะเป็นไปได้ง่ายที่จะขาดสติ ..หลับไป ทีนี้ก็ให้ “มีความเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นตัวกระตุ้น” กรรมฐานที่มันมีการเคลื่อนไหว เช่น “เดิน” อายุ ๖๐ น่าจะยังเดินได้ ..ก็เดิน หรือ ถ้าจะ “นั่ง” ก็ให้นั่งแบบมีความเคลื่อนไหว กรรมฐานที่เหมาะ ก็อย่างเช่น ที่หลวงพ่อเทียนท่านสอน มีการขยับ ๑๔ จังหวะ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นตัวรู้ขึ้นมา ท่านบอกว่า “กระตุ้นธาตุรู้” คือ ไม่ให้มันเคลิ้ม ไม่ให้มันง่วงซึม หรือว่า ไม่ให้มันเบลอๆ ไป เวลานั่งนานๆ บางทีถ้าอายุมาก มันจะเบลอ หรือ อาจจะหลับไปได้ ก็ให้มีการขยับ ถ้า ๑๔ จังหวะ รู้สึกว่ามากไป ก็อาจจะแค่พลิกมือ พลิกไป-พลิกมาก็ได้ พลิกไป-พลิกมา ก็ใช้ได้อยู่ จะ กำ-แบ กำ-แบ ก็ได้ คือให้มัน ‘มีความเคลื่อนไหว’ กระตุ้นตัวรู้ขึ้นมา กระตุ้นความรู้สึกตัวขึ้นมา แล้วเวลา ‘เผลอไป-ให้รู้ทัน’ มีความเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นตัวกระตุ้นขึ้นมาแล้วเนี่ยนะ เผลอไป-ให้รู้ทัน บางทีทำแล้ว มันทำซ้ำ ๆ มันก็ชินใช่ไหม? พอชิน บางทีก็เผลอไป แต่ด้วยความที่ มันมีการขยับอยู่นี้ มันก็จะเห็นว่า ‘เผลอ’ ได้ง่ายขึ้น มันดีกว่านั่งนิ่งๆ แล้วหลับ ตอนที่มันหลับไป.. มันไม่ได้เห็นสภาวะอะไร ! มันได้แค่พักผ่อน แต่ตอนนี้เราต้องการจะเจริญสติ ..เพื่อให้เห็นความจริง การหลับไป มันไม่ได้มีข้อมูลอะไรให้จิตดู เพราะฉะนั้น ตื่นขึ้นมา (จากการที่เราเคลื่อนไหว) เคลื่อนไหว-แล้วเผลอไป-แล้วรู้ทัน เห็น ‘เผลอ’ ดีกว่านะ เคลื่อนไหวๆ อยู่..แล้วฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่าน..แล้วรู้ว่าฟุ้งซ่าน ก็ดีกว่าหลับนะ คนอายุ ๖๐ กว่าแล้ว ถือว่าอายุมากแล้ว ก็ลองใช้.. “การเคลื่อนไหวของร่างกาย” เข้ามาช่วยนะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=CJuUJuMo19g (นาทีที่ 2:02:30 – 2:05:15)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #กรรมฐานสำหรับผู้สูงอายุ #ถาม : อายุ ๖๐ กว่าแล้ว จะทำสมาธิแบบไหนดี ให้ได้สมาธิ? #ตอบ : ไม่เกี่ยวกับอายุนะ จะมีที่สังเกตนิดหนึ่งเท่านั้นเองว่า เวลา ‘อายุมาก’ ถ้านั่งนิ่งๆ มันจะ ‘หลับง่าย’ (ถ้าไม่เคยฝึกมาก่อนเลยนะ) สมมติว่า.. จะเริ่มฝึกเมื่อตอนอายุ ๖๐ ควรจะ “เจริญสติ ในท่าเคลื่อนไหว” อย่านั่งสมาธิแบบนิ่งๆ พอนั่งนิ่งๆ เนี่ยนะ ด้วยความล้าของร่างกาย ที่อายุมาก บางทีพอนั่งนิ่ง มันจะเป็นไปได้ง่ายที่จะขาดสติ ..หลับไป ทีนี้ก็ให้ “มีความเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นตัวกระตุ้น” กรรมฐานที่มันมีการเคลื่อนไหว เช่น “เดิน” อายุ ๖๐ น่าจะยังเดินได้ ..ก็เดิน หรือ ถ้าจะ “นั่ง” ก็ให้นั่งแบบมีความเคลื่อนไหว กรรมฐานที่เหมาะ ก็อย่างเช่น ที่หลวงพ่อเทียนท่านสอน มีการขยับ ๑๔ จังหวะ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นตัวรู้ขึ้นมา ท่านบอกว่า “กระตุ้นธาตุรู้” คือ ไม่ให้มันเคลิ้ม ไม่ให้มันง่วงซึม หรือว่า ไม่ให้มันเบลอๆ ไป เวลานั่งนานๆ บางทีถ้าอายุมาก มันจะเบลอ หรือ อาจจะหลับไปได้ ก็ให้มีการขยับ ถ้า ๑๔ จังหวะ รู้สึกว่ามากไป ก็อาจจะแค่พลิกมือ พลิกไป-พลิกมาก็ได้ พลิกไป-พลิกมา ก็ใช้ได้อยู่ จะ กำ-แบ กำ-แบ ก็ได้ คือให้มัน ‘มีความเคลื่อนไหว’ กระตุ้นตัวรู้ขึ้นมา กระตุ้นความรู้สึกตัวขึ้นมา แล้วเวลา ‘เผลอไป-ให้รู้ทัน’ มีความเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นตัวกระตุ้นขึ้นมาแล้วเนี่ยนะ เผลอไป-ให้รู้ทัน บางทีทำแล้ว มันทำซ้ำ ๆ มันก็ชินใช่ไหม? พอชิน บางทีก็เผลอไป แต่ด้วยความที่ มันมีการขยับอยู่นี้ มันก็จะเห็นว่า ‘เผลอ’ ได้ง่ายขึ้น มันดีกว่านั่งนิ่งๆ แล้วหลับ ตอนที่มันหลับไป.. มันไม่ได้เห็นสภาวะอะไร ! มันได้แค่พักผ่อน แต่ตอนนี้เราต้องการจะเจริญสติ ..เพื่อให้เห็นความจริง การหลับไป มันไม่ได้มีข้อมูลอะไรให้จิตดู เพราะฉะนั้น ตื่นขึ้นมา (จากการที่เราเคลื่อนไหว) เคลื่อนไหว-แล้วเผลอไป-แล้วรู้ทัน เห็น ‘เผลอ’ ดีกว่านะ เคลื่อนไหวๆ อยู่..แล้วฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่าน..แล้วรู้ว่าฟุ้งซ่าน ก็ดีกว่าหลับนะ คนอายุ ๖๐ กว่าแล้ว ถือว่าอายุมากแล้ว ก็ลองใช้.. “การเคลื่อนไหวของร่างกาย” เข้ามาช่วยนะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=CJuUJuMo19g (นาทีที่ 2:02:30 – 2:05:15)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา #ถาม : ถ้าจิตมันถูกกระทบ แล้วจิตอยากหนีไปอยู่เงียบ ๆ อยากนั่งสมาธิเงียบ ๆ ไม่อยากกระทบโลก เห็นความอยากนี้บ่อย ๆ ควรทำอย่างไร? #ตอบ : ดีนะ ที่ว่า “ดี” ไม่ใช่ว่าหนีดีนะ แต่ดีที่ “เห็น” ดีที่เห็น ‘จิตที่อยากหนี’ เก่งนะ.. เห็นอย่างนี้ได้ไม่ง่ายนะ !! คือส่วนใหญ่เนี่ย พอกระทบกับโลก เบื่อโลกมาก ๆ เข้า ก็อยากจะหลบตัวเองไปเงียบ ๆ แล้วก็ไปนั่งสมาธิ แล้วก็พอออกมาเจอโลกยุ่ง ๆ ก็..ไปแอบเข้าสมาธิ เรียกว่า “หลบ” มันก็ดี คือ อย่างน้อย ๆ ก็ยังมีที่ไปสงบบ้าง แต่ว่าสมมติว่า มันมีปัญหาอยู่เนี่ยนะ แล้วเราก็ทนปัญหาไม่ได้ ..แล้วก็เข้าสมาธิ ..ออกมา..เจอปัญหา ..แล้วเราก็เข้าสมาธิ อย่างนี้นะ.. ..มันไม่ได้แก้ปัญหา! เพราะฉะนั้น มันต้องเข้าไปแก้ปัญหาด้วย ! หรือว่ามันไม่ได้เกิดปัญญา มีทุกข์เกิดขึ้น.. ก็เข้าสมาธิ.. ..แล้วก็ออกมา ! เจอทุกข์..ก็เข้าสมาธิ… อย่างนี้นะ ครูบาอาจารย์ไม่สนับสนุนในแง่นี้นะ มีบางท่านนะ พอเป็นไข้ ท่านก็เข้าสมาธิ เข้าฌาน พอเข้าฌาน ก็ไม่รับรู้ในเวทนาที่เกิดขึ้น ครูบาอาจารย์บอก “อย่างนี้ใช้ไม่ได้ อย่างนี้ คือ หนี ให้ดูเวทนา ไม่ใช่ไปหนีเข้าสมาธิ” แล้วไม่เห็นเวทนาแสดงความจริง มันก็เลยไม่เห็นเลยว่า ‘ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์’ ไม่เห็นเลยว่า ‘รูปเป็นทุกข์’ ไม่เห็นเลยว่า ‘เวทนาเป็นทุกข์’ ไม่เห็นเลยว่า ‘สังขารเป็นทุกข์’ มันหลบไป หลบไปมีความสุข แล้วพอใจในภพแห่งนักปฏิบัติตรงนั้น มันเลยไม่ได้มาดูความจริงว่า ‘ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์’ มันก็เลยไม่พ้นทุกข์ เพราะไม่เห็นทุกข์ ประมาณอย่างนี้นะ ถ้าระดับผู้ปฏิบัติ ถ้าหนีอย่างนี้นะ ครูบาอาจารย์จะไล่ออกมา บอกว่า “อย่าไปนั่งเพียงหวังสุขในสมาธิ” มันสุขในสมาธินะ มันไม่ยั่งยืน แล้วก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง จุดหมายปลายทางจริง ๆ เราต้องมาเข้าใจว่า ‘โลกเป็นอย่างนี้ ขันธ์ ๕ เป็นอย่างนี้.. ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา’ เห็นอย่างนี้ เข้าใจอย่างนี้ แล้วจึงจะพ้นจากการ เวียนว่ายตายเกิดไปได้ พ้นจากวงจรแห่งทุกข์ทั้งหลายนี้ไปได้ เข้าสู่ความสุขที่แท้จริง คือ เข้าพระนิพพานได้ ไม่ใช่หนี! แต่นี่ดีนะ..ดี! คือคนที่ไปเข้าสมาธิ มักจะยากที่จะเห็นตัวนี้ด้วยตนเอง ถ้าเห็นเองได้นะ ขออนุโมทนาเลย..ดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ทำสมาธิ นึกออกนะ? คือไม่ใช่จะไม่ทำสมาธิ แต่ไม่ได้ทำสมาธิเพื่อหนี! แต่ทำสมาธิเพื่อให้มีกำลัง ในการที่จะมาดูความจริง ของขันธ์ ๕ ได้แจ่มแจ้ง คือจิตถ้าไม่มีสมาธิเนี่ย มันไม่มีกำลังพอที่จะมาเจริญปัญญา ก็ต้องมีสมาธิ แต่สมาธิที่ว่านี้มันมี ๒ แบบ คือ ๑. สมาธิแบบ “อารัมณูปนิชฌาน” คือ จิตรวมอยู่กับอารมณ์ ๒. “ลักขณูปนิชฌาน” คือ จิตตั้งมั่น ไม่รวมอยู่กับอารมณ์ พร้อมเจริญปัญญา เกิดมรรคผล อย่างนี้ก็เรียกว่า ถ้าทำสมาธิควรทำให้ได้ทั้ง ๒ แบบ เวลาจิตรวมอยู่กับอารมณ์ ก็รวมไปก่อนนะ พอมันเผลอ ก็ให้รู้ทัน จิตที่เผลอไป มันก็คือ เผลอจากอารมณ์กรรมฐานของเรา พอเวลามันเผลอไป..รู้ทัน ให้รู้ด้วย ‘ใจเป็นกลาง’ ตอนรู้ด้วยใจเป็นกลาง จะเกิดสมาธิตัวที่ ๒ เรียกว่า “แยกธาตุแยกขันธ์” เรียกว่า “จิตตั้งมั่น” ขึ้นมา หรือ อยู่กับอารมณ์กรรมฐานไป พอมันเผลอ พอเริ่มเผลอปุ๊ป! มันจะเห็นจิตเคลื่อน พอเห็นจิตเคลื่อน รู้ทันว่าจิตเคลื่อนนะ มันจะได้จิตตั้งมั่น..ไม่เคลื่อน ! ก็จะเกิดสภาวะสมาธิแบบที่ ๒ คือ จิตตั้งมั่นขึ้นมาได้เหมือนกัน แยกธาตุแยกขันธ์ได้ชั่วขณะ ก็ทำสมาธิได้ แต่อย่าไปตั้งเป้าหมายว่า ‘จะเอาให้เงียบ ๆ’ หรือ ‘หนี’ แต่ให้ทำสมาธิเพื่อให้จิตมีกำลัง เพื่อที่จะมาเจริญปัญญา เจริญปัญญา คือ เห็นความจริง เห็นความจริง คือ มันต้องเห็นตัวปัญหา ปัญหา คือ ขันธ์ ๕ นี้ ก็ต้องมาแผชิญหน้ากับปัญหา ไม่ใช่หนีปัญหา ไม่ใช่หลบออกไปที่ไหนก็ไม่รู้ แล้วก็พอกลับมา ปัญหายังไม่หายไป ก็หลบไปอีก อย่างนี้เรียกว่า “เอาสมาธิเป็นที่หลบ” อย่างนี้ไม่ใช่เป้าหมายของการภาวนา สมาธิต้องเอาไว้เพื่อให้จิต มีกำลังพร้อมจะเจริญปัญญา พอพร้อมที่จะเจริญปัญญา คือ - ไปเผชิญปัญหา - เห็นปัญหา - ยอมรับปัญหา..ว่ามีปัญหา - แล้วก็เห็นความจริงของปัญหานั้น ว่ามันเป็นสภาพอย่างนี้ “รู้” ที่มา คือ สมุทัย แล้วก็ “ละ” สมุทัยนั้นเสีย ..ก็เข้าสู่นิโรธ ต้องทำสมาธินะ! สมาธิต้องทำ! แต่ทำแบบมีจุดมุ่งหมาย..ไม่ใช่หนี! จุดมุ่งหมายที่ว่านั้น คือ เสริมคุณภาพจิต ‘ให้มีกำลัง’ มากพอที่จะไปเจริญปัญญาต่อไป พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=QpoPodr-MSQ&t=4704s (นาทีที่ 1:18:28 – 1:24:33)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #สมาธิเพื่อการเจริญปัญญา #ถาม : ถ้าจิตมันถูกกระทบ แล้วจิตอยากหนีไปอยู่เงียบ ๆ อยากนั่งสมาธิเงียบ ๆ ไม่อยากกระทบโลก เห็นความอยากนี้บ่อย ๆ ควรทำอย่างไร? #ตอบ : ดีนะ ที่ว่า “ดี” ไม่ใช่ว่าหนีดีนะ แต่ดีที่ “เห็น” ดีที่เห็น ‘จิตที่อยากหนี’ เก่งนะ.. เห็นอย่างนี้ได้ไม่ง่ายนะ !! คือส่วนใหญ่เนี่ย พอกระทบกับโลก เบื่อโลกมาก ๆ เข้า ก็อยากจะหลบตัวเองไปเงียบ ๆ แล้วก็ไปนั่งสมาธิ แล้วก็พอออกมาเจอโลกยุ่ง ๆ ก็..ไปแอบเข้าสมาธิ เรียกว่า “หลบ” มันก็ดี คือ อย่างน้อย ๆ ก็ยังมีที่ไปสงบบ้าง แต่ว่าสมมติว่า มันมีปัญหาอยู่เนี่ยนะ แล้วเราก็ทนปัญหาไม่ได้ ..แล้วก็เข้าสมาธิ ..ออกมา..เจอปัญหา ..แล้วเราก็เข้าสมาธิ อย่างนี้นะ.. ..มันไม่ได้แก้ปัญหา! เพราะฉะนั้น มันต้องเข้าไปแก้ปัญหาด้วย ! หรือว่ามันไม่ได้เกิดปัญญา มีทุกข์เกิดขึ้น.. ก็เข้าสมาธิ.. ..แล้วก็ออกมา ! เจอทุกข์..ก็เข้าสมาธิ… อย่างนี้นะ ครูบาอาจารย์ไม่สนับสนุนในแง่นี้นะ มีบางท่านนะ พอเป็นไข้ ท่านก็เข้าสมาธิ เข้าฌาน พอเข้าฌาน ก็ไม่รับรู้ในเวทนาที่เกิดขึ้น ครูบาอาจารย์บอก “อย่างนี้ใช้ไม่ได้ อย่างนี้ คือ หนี ให้ดูเวทนา ไม่ใช่ไปหนีเข้าสมาธิ” แล้วไม่เห็นเวทนาแสดงความจริง มันก็เลยไม่เห็นเลยว่า ‘ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์’ ไม่เห็นเลยว่า ‘รูปเป็นทุกข์’ ไม่เห็นเลยว่า ‘เวทนาเป็นทุกข์’ ไม่เห็นเลยว่า ‘สังขารเป็นทุกข์’ มันหลบไป หลบไปมีความสุข แล้วพอใจในภพแห่งนักปฏิบัติตรงนั้น มันเลยไม่ได้มาดูความจริงว่า ‘ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์’ มันก็เลยไม่พ้นทุกข์ เพราะไม่เห็นทุกข์ ประมาณอย่างนี้นะ ถ้าระดับผู้ปฏิบัติ ถ้าหนีอย่างนี้นะ ครูบาอาจารย์จะไล่ออกมา บอกว่า “อย่าไปนั่งเพียงหวังสุขในสมาธิ” มันสุขในสมาธินะ มันไม่ยั่งยืน แล้วก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง จุดหมายปลายทางจริง ๆ เราต้องมาเข้าใจว่า ‘โลกเป็นอย่างนี้ ขันธ์ ๕ เป็นอย่างนี้.. ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา’ เห็นอย่างนี้ เข้าใจอย่างนี้ แล้วจึงจะพ้นจากการ เวียนว่ายตายเกิดไปได้ พ้นจากวงจรแห่งทุกข์ทั้งหลายนี้ไปได้ เข้าสู่ความสุขที่แท้จริง คือ เข้าพระนิพพานได้ ไม่ใช่หนี! แต่นี่ดีนะ..ดี! คือคนที่ไปเข้าสมาธิ มักจะยากที่จะเห็นตัวนี้ด้วยตนเอง ถ้าเห็นเองได้นะ ขออนุโมทนาเลย..ดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ทำสมาธิ นึกออกนะ? คือไม่ใช่จะไม่ทำสมาธิ แต่ไม่ได้ทำสมาธิเพื่อหนี! แต่ทำสมาธิเพื่อให้มีกำลัง ในการที่จะมาดูความจริง ของขันธ์ ๕ ได้แจ่มแจ้ง คือจิตถ้าไม่มีสมาธิเนี่ย มันไม่มีกำลังพอที่จะมาเจริญปัญญา ก็ต้องมีสมาธิ แต่สมาธิที่ว่านี้มันมี ๒ แบบ คือ ๑. สมาธิแบบ “อารัมณูปนิชฌาน” คือ จิตรวมอยู่กับอารมณ์ ๒. “ลักขณูปนิชฌาน” คือ จิตตั้งมั่น ไม่รวมอยู่กับอารมณ์ พร้อมเจริญปัญญา เกิดมรรคผล อย่างนี้ก็เรียกว่า ถ้าทำสมาธิควรทำให้ได้ทั้ง ๒ แบบ เวลาจิตรวมอยู่กับอารมณ์ ก็รวมไปก่อนนะ พอมันเผลอ ก็ให้รู้ทัน จิตที่เผลอไป มันก็คือ เผลอจากอารมณ์กรรมฐานของเรา พอเวลามันเผลอไป..รู้ทัน ให้รู้ด้วย ‘ใจเป็นกลาง’ ตอนรู้ด้วยใจเป็นกลาง จะเกิดสมาธิตัวที่ ๒ เรียกว่า “แยกธาตุแยกขันธ์” เรียกว่า “จิตตั้งมั่น” ขึ้นมา หรือ อยู่กับอารมณ์กรรมฐานไป พอมันเผลอ พอเริ่มเผลอปุ๊ป! มันจะเห็นจิตเคลื่อน พอเห็นจิตเคลื่อน รู้ทันว่าจิตเคลื่อนนะ มันจะได้จิตตั้งมั่น..ไม่เคลื่อน ! ก็จะเกิดสภาวะสมาธิแบบที่ ๒ คือ จิตตั้งมั่นขึ้นมาได้เหมือนกัน แยกธาตุแยกขันธ์ได้ชั่วขณะ ก็ทำสมาธิได้ แต่อย่าไปตั้งเป้าหมายว่า ‘จะเอาให้เงียบ ๆ’ หรือ ‘หนี’ แต่ให้ทำสมาธิเพื่อให้จิตมีกำลัง เพื่อที่จะมาเจริญปัญญา เจริญปัญญา คือ เห็นความจริง เห็นความจริง คือ มันต้องเห็นตัวปัญหา ปัญหา คือ ขันธ์ ๕ นี้ ก็ต้องมาแผชิญหน้ากับปัญหา ไม่ใช่หนีปัญหา ไม่ใช่หลบออกไปที่ไหนก็ไม่รู้ แล้วก็พอกลับมา ปัญหายังไม่หายไป ก็หลบไปอีก อย่างนี้เรียกว่า “เอาสมาธิเป็นที่หลบ” อย่างนี้ไม่ใช่เป้าหมายของการภาวนา สมาธิต้องเอาไว้เพื่อให้จิต มีกำลังพร้อมจะเจริญปัญญา พอพร้อมที่จะเจริญปัญญา คือ – ไปเผชิญปัญหา – เห็นปัญหา – ยอมรับปัญหา..ว่ามีปัญหา – แล้วก็เห็นความจริงของปัญหานั้น ว่ามันเป็นสภาพอย่างนี้ “รู้” ที่มา คือ สมุทัย แล้วก็ “ละ” สมุทัยนั้นเสีย ..ก็เข้าสู่นิโรธ ต้องทำสมาธินะ! สมาธิต้องทำ! แต่ทำแบบมีจุดมุ่งหมาย..ไม่ใช่หนี! จุดมุ่งหมายที่ว่านั้น คือ เสริมคุณภาพจิต ‘ให้มีกำลัง’ มากพอที่จะไปเจริญปัญญาต่อไป พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=QpoPodr-MSQ&t=4704s (นาทีที่ 1:18:28 – 1:24:33)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #สมาธิที่ขาดสติ #ถาม : “การเจริญสติ” สามารถทำพร้อมไปกับ “การนั่งสมาธิ” ได้หรือไม่ หรือควรทำแยกกัน? #ตอบ : “สติ” ควรทำตลอด ไม่มีเวลาไหนที่ไม่ควรทำ สมาธิ ถ้าขาดสติเนี่ย น่ากลัวนะ ทำสมาธิ เอาแต่สมาธิ แล้วไม่เน้นสติ!..? “สติ” คือ ความรู้สึกตัว คือ ความระลึกได้ว่า ตนเองทำอะไรอยู่ รู้สภาวะ รู้กายรู้ใจ เพราะฉะนั้นการที่มีสติ มันจำเป็นอยู่เสมอ มีพุทธศาสนสุภาษิตอยู่คำหนึ่งว่า “สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา” แปลว่า “สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง” “จำปรารถนา” หมายความว่า แม้เราไม่ปรารถนา ก็ ‘ต้อง’ ปรารถนา มัน ’จำปรารถนา’ เหมือน โต๊ะ จำปรารถนา พื้น ถ้าไม่มีพื้น ก็ตั้งโต๊ะไม่ได้ แม้ไม่อยากจะมีพื้น ก็ต้องมี มันต้องมี! “สติ” มันต้องมี ในที่ทุกสถาน ในการณ์ทุกเมื่อ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ จะคอยบอกคอยย้ำเตือน กับลูกศิษย์อยู่เสมอก็คือว่า “อย่าขาดสติ!” “สติ” อีกแง่หนึ่ง ก็คือ “ความไม่ประมาท” ถ้า “มีสติ” อยู่เมื่อไหร่ ก็ยัง “ไม่ประมาท” อยู่เมื่อนั้น ถ้า “ขาดสติ” เมื่อไหร่ ก็ “ประมาท” ทันที ถ้าเราจะปฏิบัติให้ตรง ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็ควรจะ “มีสติยู่เสมอ” พระพุทธเจ้า พระองค์มีปัจฉิมโอวาทเอาไว้ว่า “ท่านทั้งหลาย พึงทำความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด” เพราะว่าสังขารทั้งหลาย มีอันเสื่อมไปเป็นธรรมดา ถ้าเราปล่อยใจขาดสติไป แม้จะมุ่งไปเอาสมาธิ แต่สมาธินั้นขาดสติ สมาธินั้นกลับเป็นของที่น่ากลัว และทำร้ายตัวเองได้ เช่น พระเทวทัต จิตเป็นอกุศลก็ไม่รู้ ก็คือ ขาดสติ ขาดสติ ไม่รู้ว่า.. จิตกำลังเป็นอกุศล จิตกำลังแค้นเคือง จิตกำลังอยากใหญ่ ..แล้วทำสมาธิ มีความโลภ มีความแค้น มีความอยากใหญ่ ..ไปหลอกเจ้าชายอชาติศัตรู (พระเทวทัต) มีสมาธินะ สามารถเหาะได้ แปลงกายได้ หลอกเจ้าชายได้ อย่างนี้ “สมาธิที่ขาดสติ” เพราะว่า “จิตที่เป็นอกุศลอยู่ ก็ไม่รู้ ไม่เห็น” “สติ” ก็คือ รู้ทัน “รู้ทันจิต” ที่มันเป็นอกุศล “รู้ทันกิเลส” ที่เกิดขึ้นในใจ สภาวะที่เป็นอยู่ขณะนี้ จิตขณะนี้มันเป็น กุศล? หรือ อกุศล? ก็ให้ “รู้” ด้วย เพราะฉะนั้น ขาดสติไม่ได้เลย ถ้าคิดจะเจริญสมาธิ หรือคิดจะนั่งสมาธิ สิ่งสำคัญ ก่อนจะนั่งสมาธิ คือ เจริญสติให้เป็นก่อน มองออกไหมว่า.. ขณะนี้ ‘เป็นกิเลส?’ หรือ ‘ไม่ใช่กิเลส?’ ขณะนี้ ’เป็นกุศล?’ หรือ ‘อกุศล?’ มองสภาวะให้ออกก่อน ไม่อย่างนั้นแล้ว เราจะไปเจริญอกุศลอย่างเพ่งๆ คิดจะทำสมาธิ แต่ไปเจริญอกุศลอย่างเพ่งเอาไว้ด้วย มันก็กลายเป็นว่า เพราะขาดสติ ทำให้ทำมิจฉาสมาธิ ต้องระวังด้วยนะ! จริง ๆ แล้ว “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในการณ์ทุกเมื่อ” “สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา” “สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง” ไม่ใช่ว่าจะนั่งสมาธิล้วนๆ ไม่เอาสติ..ไม่มีนะ ต้องมีสติอยู่เสมอ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=lIRLHmJNZjM (นาทีที่ 45:44 – 50:20)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #สมาธิที่ขาดสติ #ถาม : “การเจริญสติ” สามารถทำพร้อมไปกับ “การนั่งสมาธิ” ได้หรือไม่ หรือควรทำแยกกัน? #ตอบ : “สติ” ควรทำตลอด ไม่มีเวลาไหนที่ไม่ควรทำ สมาธิ ถ้าขาดสติเนี่ย น่ากลัวนะ ทำสมาธิ เอาแต่สมาธิ แล้วไม่เน้นสติ!..? “สติ” คือ ความรู้สึกตัว คือ ความระลึกได้ว่า ตนเองทำอะไรอยู่ รู้สภาวะ รู้กายรู้ใจ เพราะฉะนั้นการที่มีสติ มันจำเป็นอยู่เสมอ มีพุทธศาสนสุภาษิตอยู่คำหนึ่งว่า “สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา” แปลว่า “สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง” “จำปรารถนา” หมายความว่า แม้เราไม่ปรารถนา ก็ ‘ต้อง’ ปรารถนา มัน ’จำปรารถนา’ เหมือน โต๊ะ จำปรารถนา พื้น ถ้าไม่มีพื้น ก็ตั้งโต๊ะไม่ได้ แม้ไม่อยากจะมีพื้น ก็ต้องมี มันต้องมี! “สติ” มันต้องมี ในที่ทุกสถาน ในการณ์ทุกเมื่อ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ จะคอยบอกคอยย้ำเตือน กับลูกศิษย์อยู่เสมอก็คือว่า “อย่าขาดสติ!” “สติ” อีกแง่หนึ่ง ก็คือ “ความไม่ประมาท” ถ้า “มีสติ” อยู่เมื่อไหร่ ก็ยัง “ไม่ประมาท” อยู่เมื่อนั้น ถ้า “ขาดสติ” เมื่อไหร่ ก็ “ประมาท” ทันที ถ้าเราจะปฏิบัติให้ตรง ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็ควรจะ “มีสติยู่เสมอ” พระพุทธเจ้า พระองค์มีปัจฉิมโอวาทเอาไว้ว่า “ท่านทั้งหลาย พึงทำความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด” เพราะว่าสังขารทั้งหลาย มีอันเสื่อมไปเป็นธรรมดา ถ้าเราปล่อยใจขาดสติไป แม้จะมุ่งไปเอาสมาธิ แต่สมาธินั้นขาดสติ สมาธินั้นกลับเป็นของที่น่ากลัว และทำร้ายตัวเองได้ เช่น พระเทวทัต จิตเป็นอกุศลก็ไม่รู้ ก็คือ ขาดสติ ขาดสติ ไม่รู้ว่า.. จิตกำลังเป็นอกุศล จิตกำลังแค้นเคือง จิตกำลังอยากใหญ่ ..แล้วทำสมาธิ มีความโลภ มีความแค้น มีความอยากใหญ่ ..ไปหลอกเจ้าชายอชาติศัตรู (พระเทวทัต) มีสมาธินะ สามารถเหาะได้ แปลงกายได้ หลอกเจ้าชายได้ อย่างนี้ “สมาธิที่ขาดสติ” เพราะว่า “จิตที่เป็นอกุศลอยู่ ก็ไม่รู้ ไม่เห็น” “สติ” ก็คือ รู้ทัน “รู้ทันจิต” ที่มันเป็นอกุศล “รู้ทันกิเลส” ที่เกิดขึ้นในใจ สภาวะที่เป็นอยู่ขณะนี้ จิตขณะนี้มันเป็น กุศล? หรือ อกุศล? ก็ให้ “รู้” ด้วย เพราะฉะนั้น ขาดสติไม่ได้เลย ถ้าคิดจะเจริญสมาธิ หรือคิดจะนั่งสมาธิ สิ่งสำคัญ ก่อนจะนั่งสมาธิ คือ เจริญสติให้เป็นก่อน มองออกไหมว่า.. ขณะนี้ ‘เป็นกิเลส?’ หรือ ‘ไม่ใช่กิเลส?’ ขณะนี้ ’เป็นกุศล?’ หรือ ‘อกุศล?’ มองสภาวะให้ออกก่อน ไม่อย่างนั้นแล้ว เราจะไปเจริญอกุศลอย่างเพ่งๆ คิดจะทำสมาธิ แต่ไปเจริญอกุศลอย่างเพ่งเอาไว้ด้วย มันก็กลายเป็นว่า เพราะขาดสติ ทำให้ทำมิจฉาสมาธิ ต้องระวังด้วยนะ! จริง ๆ แล้ว “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในการณ์ทุกเมื่อ” “สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา” “สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง” ไม่ใช่ว่าจะนั่งสมาธิล้วนๆ ไม่เอาสติ..ไม่มีนะ ต้องมีสติอยู่เสมอ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=lIRLHmJNZjM (นาทีที่ 45:44 – 50:20)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #แผ่เมตตา #ถาม : ทุกครั้งที่โยมนำคุณพ่อสวดมนต์ นั่งสมาธิ ผ่าน Facetime หลังแผ่ส่วนกุศลเรียบร้อยแล้ว ท่านมักจะคุยเรื่องความทุกข์เก่า ๆ เอ่ยถึงบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว คนที่เกลียดท่าน ตำหนิท่าน เหตุการณ์ที่ทำให้ท่านจิตตก ใจท่านไม่สงบเลยเจ้าค่ะ โยมจึงเปิดภาพพระพุทธเจ้า ให้ท่านดูหลาย ๆ ภาพ พี่สาวรายงานโยมว่า ท่านนั่งพูดคนเดียวบ่อย ๆ บางทีโมโห ก่นด่าอยู่คนเดียวเสียงดัง มีธรรมวิธีข้อไหน จะนำใจของคุณพ่อให้ทุกข์น้อยลง? และ ท่านสามารถฝึกพ้นทุกข์ได้ไหม? ท่านจะจำวิธีทำสติ สมาธิ อนุโมทนาบุญ ได้อย่างไร? #ตอบ : ที่โยมนำพ่อสวดมนต์นั่งสมาธิ ก็ถือว่าดีนะ ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ ทีนี้ก่อนจะแผ่ส่วนกุศล ให้นำคุณพ่อเจริญเมตตาก่อน ให้เห็นน้อมมาที่ตัวเองก่อน “เจริญเมตตา ให้เมตตาตนเองก่อน” บอกโยมพ่ออย่างนี้นะ เวลาเจริญเมตตา ให้เมตตาตนเองก่อน ทำเมตตาให้เกิดขึ้น แล้วค่อยแผ่ออกไป เวลาเมตตาตนเอง ในบทสวด ที่พระสวดจะใช้คำว่า “อะหัง สุขิโต โหมิ” แปลว่า ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุข เราก็นำคุณพ่ออย่างนี้เลยนะ ถ้ามีบทสวด เราก็ใช้บทสวด ถ้าไม่มีบท เราก็พูดนำ.. “ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุข” “ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากทุกข์ทั้งปวง” “ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้จองเวรใคร” คำนี้สำคัญนะ! “ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้พยาบาทใคร” สองคำนี้สำคัญ! สองคำนี้ล่ะ คือ ปัญหา แล้วเราจะนำใจคุณพ่อให้น้อมมาเห็นปัญหาตรงนี้ เราปรารถนาความสุข ก็บอกให้ตัวเองมีความสุข ตรงนี้จะเกิดขึ้นง่าย นี่คือ เมตตาตนเอง “ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุข” “อย่าได้มีทุกข์” “อย่าได้จองเวรใคร” ไอ้ ‘จองเวร’ นั่นล่ะ เป็นตัวขัดขวางให้ไม่สุขแท้จริง “อย่าได้พยาบาทใคร” ไอ้ ‘พยาบาท’ ก็เป็นตัวปัญหาอีกตัวหนึ่ง ที่ทำให้เราไม่มีความสุขเช่นเดียวกัน มันก็คือภาพรวมของ ”โทสะ” นั่นเอง แต่เป็นโทสะที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก กว่าจะไปเป็นพยาบาทได้ มันก็ต้องโกรธ ..แล้วก็คิดแล้วคิดอีก กลายเป็นพยาบาท พยาบาทเสร็จแล้ว ..จองเวรข้ามภพข้ามชาติ ไอ้จองเวรนี้ล่ะ เป็นตัวหนัก หนักสุด จองเวรนี้คือ เจอเมื่อไหร่ก็จะแก้แค้น แม้จะข้ามภพข้ามชาติ เหมือนอย่างที่พระเทวทัตจองเวรกับพระโพธิสัตว์ จนกระทั่งมาเป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็ยังจองเวรอยู่ “การจองเวร” ก็คือมาจากโทสะนั่นเอง เพราะฉะนั้นเวลาเรานำสวดมนต์นั่งสมาธิผ่านมาแล้ว ก่อนจะไปแผ่ส่วนกุศล คือมีบุญอะไรจะไปแผ่ให้คนอื่น ทำบุญอีกตัวหนึ่งขึ้นมาก่อน คือ “เจริญเมตตา” และเริ่มที่ “เมตตาตนเอง” อธิบายด้วยว่า เจริญเมตตาตนเอง คือ ขอให้ตนเองนี้มีความสุข ตัวคุณพ่อเองก็นึกถึงว่า.. ‘ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุข อย่าได้มีทุกข์ อย่าจองเวรใคร จิตนี้อย่าไปจองเวรใคร จิตนี้อย่าไปพยาบาทใคร จิตนี้จงอย่าได้มีทุกข์ใด ๆ (ไอ้ทุกข์ทั้งหลายก็มีจากจองเวรและพยาบาทนี้) จงรักษาตน ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งหลาย ทั้งสิ้น ทั้งปวง’ ก็คือ มีปัญญา.. มีสติ มีปัญญา รู้ทันสภาวะ มีทุกข์เกิดขึ้นมา เบื้องต้นเลย ส่วนใหญ่มันจะมาจากจิตที่มีกิเลส คือโทสะ คืออยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไร จิตคิดถึงคนที่เกลียดท่าน ตำหนิท่าน ไปคิดถึงคน ๆ นั้นนะ โทสะเกิดขึ้นทันที แว็บเดียวที่คิดถึง..ก็ทุกข์เลย โทสะเกิดขึ้น ทุกข์ทันที เพราะฉะนั้นให้รู้ทันตัวขัดขวางความสุข คือไอ้โทสะนี้ รู้ทันมัน ก่อนที่มันจะขยายกลายเป็นพยาบาท และเป็นจองเวร เวลาจูงใจให้เจริญเมตตา ทำอย่างนี้ แล้วก็ค่อยแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย แผ่ออกไป ยังไม่ต้องระบุว่าให้กับคนที่เกลียดหรือคนที่เป็นศัตรูก็ได้ แผ่ออกไปแบบทั่ว ๆ ไป ถ้าไปนึกถึงศัตรูก่อนนะ บางทีเมตตาหายไปเลย กลายเป็นโทสะขึ้นมาอีก ให้คิดแบบทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องนึกถึงหน้าใครก็ได้ ถ้าจะนึก ให้นึกถึงหน้าคนที่เรารักก่อน คนในครอบครัว คนใกล้ชิดที่เป็นมิตรกัน - แผ่เมตตาออกไปจนถึงคนไม่รู้จัก - สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เขาทุกข์อยู่ ขอให้เขาพ้นทุกข์ไป ขอจงมีความสุข ใครที่มีทุกข์อยู่ก็ขอให้พ้นทุกข์ - ใครที่ประสบความสำเร็จอะไร เราดีใจด้วย - แล้วก็ข้อสุดท้าย เจริญอุเบกขา ทำในใจว่า ‘สัตว์โลกเป็นตามกรรม’ กรรมมี ๓ แบบ “สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม” โดยภาพรวมก็คือ ใครทำกรรมดี ..ย่อมได้รับวิบากที่ดี ที่เป็นสุข ใครทำกรรมที่ไม่ดี ..ย่อมได้รับวิบากที่ไม่ดี ที่เป็นทุกข์ และกรรมที่ทำได้ง่ายมาก คือ มโนกรรม กรรมทำได้ ๓ ทาง ก็คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อยู่บ้านไม่ได้ไปไหน มีมโนกรรม คิดถึงคนไม่ชอบ แล้วเครียด..ทุกข์ คิดถึงคนไม่ชอบ แล้วก็มีโทสะ..ทุกข์ อันนี้เรียกว่าทำกรรมแล้ว เป็น “มโนกรรมที่เป็นอกุศล” ..ให้รู้ทัน! รู้ทันมโนกรรมที่เป็นอกุศล แล้วเมตตาตนเองไป คิดอย่างนี้ซ้ำ ๆ ‘มีทุกข์เกิดขึ้นมาให้เมตตาตนเอง มีทุกข์เกิดขึ้นมาให้เมตตาตนเอง อย่าได้พยาบาทใคร อย่าได้จองเวรใคร ขอให้จิตนี้พ้นทุกข์’ เมตตาตนเอง แล้วก็แผ่ออกไป แผ่ออกไปซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ถ้าทำได้ครบถ้วนอย่างนี้ แรก ๆ อาจจะยังติดขัดบ้าง เพราะยังไม่คุ้น แต่พูดซ้ำ ทุกวัน ๆ ๆ จิตใจก็จะคุ้นชินที่จะเจริญเมตตา ขอให้มีฉันทะในการที่จะนำคุณพ่อให้พ้นจากความคิดในแง่ร้ายแบบนี้ ด้วยการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นั่นก็คือ “เจริญพรหมวิหาร” นั่นเอง ก่อนที่จะแผ่ส่วนกุศล ตัวนี้เป็นกุศลสำคัญที่จะทำให้คุณพ่อพัฒนาขึ้น ..ลองทำดู แล้วตอนแผ่ส่วนกุศลก็นึกถึงบุญ ใน ๓ รูปแบบ คือ บุญจากการให้ทาน บุญจากการรักษาศีล บุญจากการเจริญภาวนา บุญจากการให้ทานมีทั้งวัตถุทาน อภัยทาน ธรรมทาน ตัวเจริญเมตตาเมื่อสักครู่นี้ เป็น “อภัยทาน” มีอานิสงส์มากกว่าวัตถุทานด้วย แล้วบุญที่ได้จากการเจริญเมตตานั้น เราเป็นผู้ได้ก่อนเลย เราเจริญเมตตา เราเป็นสุขก่อนเลย ..แล้วก็แผ่ไปให้ผู้อื่น อย่างนี้ การแผ่ส่วนกุศล จะมีอานุภาพมากขึ้น เพราะใจเป็นบุญจริง ๆ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=wW0q91-EkRw&t=2399s (นาทีที่ 30:43 – 40.02)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #แผ่เมตตา #ถาม : ทุกครั้งที่โยมนำคุณพ่อสวดมนต์ นั่งสมาธิ ผ่าน Facetime หลังแผ่ส่วนกุศลเรียบร้อยแล้ว ท่านมักจะคุยเรื่องความทุกข์เก่า ๆ เอ่ยถึงบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว คนที่เกลียดท่าน ตำหนิท่าน เหตุการณ์ที่ทำให้ท่านจิตตก ใจท่านไม่สงบเลยเจ้าค่ะ โยมจึงเปิดภาพพระพุทธเจ้า ให้ท่านดูหลาย ๆ ภาพ พี่สาวรายงานโยมว่า ท่านนั่งพูดคนเดียวบ่อย ๆ บางทีโมโห ก่นด่าอยู่คนเดียวเสียงดัง มีธรรมวิธีข้อไหน จะนำใจของคุณพ่อให้ทุกข์น้อยลง? และ ท่านสามารถฝึกพ้นทุกข์ได้ไหม? ท่านจะจำวิธีทำสติ สมาธิ อนุโมทนาบุญ ได้อย่างไร? #ตอบ : ที่โยมนำพ่อสวดมนต์นั่งสมาธิ ก็ถือว่าดีนะ ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ ทีนี้ก่อนจะแผ่ส่วนกุศล ให้นำคุณพ่อเจริญเมตตาก่อน ให้เห็นน้อมมาที่ตัวเองก่อน “เจริญเมตตา ให้เมตตาตนเองก่อน” บอกโยมพ่ออย่างนี้นะ เวลาเจริญเมตตา ให้เมตตาตนเองก่อน ทำเมตตาให้เกิดขึ้น แล้วค่อยแผ่ออกไป เวลาเมตตาตนเอง ในบทสวด ที่พระสวดจะใช้คำว่า “อะหัง สุขิโต โหมิ” แปลว่า ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุข เราก็นำคุณพ่ออย่างนี้เลยนะ ถ้ามีบทสวด เราก็ใช้บทสวด ถ้าไม่มีบท เราก็พูดนำ.. “ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุข” “ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากทุกข์ทั้งปวง” “ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้จองเวรใคร” คำนี้สำคัญนะ! “ขอให้ข้าพเจ้าอย่าได้พยาบาทใคร” สองคำนี้สำคัญ! สองคำนี้ล่ะ คือ ปัญหา แล้วเราจะนำใจคุณพ่อให้น้อมมาเห็นปัญหาตรงนี้ เราปรารถนาความสุข ก็บอกให้ตัวเองมีความสุข ตรงนี้จะเกิดขึ้นง่าย นี่คือ เมตตาตนเอง “ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุข” “อย่าได้มีทุกข์” “อย่าได้จองเวรใคร” ไอ้ ‘จองเวร’ นั่นล่ะ เป็นตัวขัดขวางให้ไม่สุขแท้จริง “อย่าได้พยาบาทใคร” ไอ้ ‘พยาบาท’ ก็เป็นตัวปัญหาอีกตัวหนึ่ง ที่ทำให้เราไม่มีความสุขเช่นเดียวกัน มันก็คือภาพรวมของ ”โทสะ” นั่นเอง แต่เป็นโทสะที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก กว่าจะไปเป็นพยาบาทได้ มันก็ต้องโกรธ ..แล้วก็คิดแล้วคิดอีก กลายเป็นพยาบาท พยาบาทเสร็จแล้ว ..จองเวรข้ามภพข้ามชาติ ไอ้จองเวรนี้ล่ะ เป็นตัวหนัก หนักสุด จองเวรนี้คือ เจอเมื่อไหร่ก็จะแก้แค้น แม้จะข้ามภพข้ามชาติ เหมือนอย่างที่พระเทวทัตจองเวรกับพระโพธิสัตว์ จนกระทั่งมาเป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็ยังจองเวรอยู่ “การจองเวร” ก็คือมาจากโทสะนั่นเอง เพราะฉะนั้นเวลาเรานำสวดมนต์นั่งสมาธิผ่านมาแล้ว ก่อนจะไปแผ่ส่วนกุศล คือมีบุญอะไรจะไปแผ่ให้คนอื่น ทำบุญอีกตัวหนึ่งขึ้นมาก่อน คือ “เจริญเมตตา” และเริ่มที่ “เมตตาตนเอง” อธิบายด้วยว่า เจริญเมตตาตนเอง คือ ขอให้ตนเองนี้มีความสุข ตัวคุณพ่อเองก็นึกถึงว่า.. ‘ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุข อย่าได้มีทุกข์ อย่าจองเวรใคร จิตนี้อย่าไปจองเวรใคร จิตนี้อย่าไปพยาบาทใคร จิตนี้จงอย่าได้มีทุกข์ใด ๆ (ไอ้ทุกข์ทั้งหลายก็มีจากจองเวรและพยาบาทนี้) จงรักษาตน ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งหลาย ทั้งสิ้น ทั้งปวง’ ก็คือ มีปัญญา.. มีสติ มีปัญญา รู้ทันสภาวะ มีทุกข์เกิดขึ้นมา เบื้องต้นเลย ส่วนใหญ่มันจะมาจากจิตที่มีกิเลส คือโทสะ คืออยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไร จิตคิดถึงคนที่เกลียดท่าน ตำหนิท่าน ไปคิดถึงคน ๆ นั้นนะ โทสะเกิดขึ้นทันที แว็บเดียวที่คิดถึง..ก็ทุกข์เลย โทสะเกิดขึ้น ทุกข์ทันที เพราะฉะนั้นให้รู้ทันตัวขัดขวางความสุข คือไอ้โทสะนี้ รู้ทันมัน ก่อนที่มันจะขยายกลายเป็นพยาบาท และเป็นจองเวร เวลาจูงใจให้เจริญเมตตา ทำอย่างนี้ แล้วก็ค่อยแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย แผ่ออกไป ยังไม่ต้องระบุว่าให้กับคนที่เกลียดหรือคนที่เป็นศัตรูก็ได้ แผ่ออกไปแบบทั่ว ๆ ไป ถ้าไปนึกถึงศัตรูก่อนนะ บางทีเมตตาหายไปเลย กลายเป็นโทสะขึ้นมาอีก ให้คิดแบบทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องนึกถึงหน้าใครก็ได้ ถ้าจะนึก ให้นึกถึงหน้าคนที่เรารักก่อน คนในครอบครัว คนใกล้ชิดที่เป็นมิตรกัน – แผ่เมตตาออกไปจนถึงคนไม่รู้จัก – สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เขาทุกข์อยู่ ขอให้เขาพ้นทุกข์ไป ขอจงมีความสุข ใครที่มีทุกข์อยู่ก็ขอให้พ้นทุกข์ – ใครที่ประสบความสำเร็จอะไร เราดีใจด้วย – แล้วก็ข้อสุดท้าย เจริญอุเบกขา ทำในใจว่า ‘สัตว์โลกเป็นตามกรรม’ กรรมมี ๓ แบบ “สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม” โดยภาพรวมก็คือ ใครทำกรรมดี ..ย่อมได้รับวิบากที่ดี ที่เป็นสุข ใครทำกรรมที่ไม่ดี ..ย่อมได้รับวิบากที่ไม่ดี ที่เป็นทุกข์ และกรรมที่ทำได้ง่ายมาก คือ มโนกรรม กรรมทำได้ ๓ ทาง ก็คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อยู่บ้านไม่ได้ไปไหน มีมโนกรรม คิดถึงคนไม่ชอบ แล้วเครียด..ทุกข์ คิดถึงคนไม่ชอบ แล้วก็มีโทสะ..ทุกข์ อันนี้เรียกว่าทำกรรมแล้ว เป็น “มโนกรรมที่เป็นอกุศล” ..ให้รู้ทัน! รู้ทันมโนกรรมที่เป็นอกุศล แล้วเมตตาตนเองไป คิดอย่างนี้ซ้ำ ๆ ‘มีทุกข์เกิดขึ้นมาให้เมตตาตนเอง มีทุกข์เกิดขึ้นมาให้เมตตาตนเอง อย่าได้พยาบาทใคร อย่าได้จองเวรใคร ขอให้จิตนี้พ้นทุกข์’ เมตตาตนเอง แล้วก็แผ่ออกไป แผ่ออกไปซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ถ้าทำได้ครบถ้วนอย่างนี้ แรก ๆ อาจจะยังติดขัดบ้าง เพราะยังไม่คุ้น แต่พูดซ้ำ ทุกวัน ๆ ๆ จิตใจก็จะคุ้นชินที่จะเจริญเมตตา ขอให้มีฉันทะในการที่จะนำคุณพ่อให้พ้นจากความคิดในแง่ร้ายแบบนี้ ด้วยการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นั่นก็คือ “เจริญพรหมวิหาร” นั่นเอง ก่อนที่จะแผ่ส่วนกุศล ตัวนี้เป็นกุศลสำคัญที่จะทำให้คุณพ่อพัฒนาขึ้น ..ลองทำดู แล้วตอนแผ่ส่วนกุศลก็นึกถึงบุญ ใน ๓ รูปแบบ คือ บุญจากการให้ทาน บุญจากการรักษาศีล บุญจากการเจริญภาวนา บุญจากการให้ทานมีทั้งวัตถุทาน อภัยทาน ธรรมทาน ตัวเจริญเมตตาเมื่อสักครู่นี้ เป็น “อภัยทาน” มีอานิสงส์มากกว่าวัตถุทานด้วย แล้วบุญที่ได้จากการเจริญเมตตานั้น เราเป็นผู้ได้ก่อนเลย เราเจริญเมตตา เราเป็นสุขก่อนเลย ..แล้วก็แผ่ไปให้ผู้อื่น อย่างนี้ การแผ่ส่วนกุศล จะมีอานุภาพมากขึ้น เพราะใจเป็นบุญจริง ๆ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=wW0q91-EkRw&t=2399s (นาทีที่ 30:43 – 40.02)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ปฏิเสธการให้เงินกับคนขี้เกียจทำงาน #ถาม : การปฏิเสธการให้เงินใช้ กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะว่าเขาขี้เกียจทำงาน ไม่กระตือรือร้น เขาคิดอยู่เสมอว่า คนรอบ ๆ ข้างจะช่วยเขา จึงทำให้เขาเคยตัวเป็นนิสัย โยมกำลังช่วยอยู่ แต่ด้วยเหตุผลข้างบนนี้ ทำให้โยมไม่อยากช่วยแล้ว..จะบาปไหม? #ตอบ : บางทีเราอาจจะต้องให้เขาเรียนรู้บ้างว่า ผลของการขี้เกียจนั้นเป็นอย่างไร? ก็สามารถให้บทเรียนเขาได้ แต่ต้องระวังว่า ไม่ใช่เพราะโกรธ หรือ แค้น ไม่ใช่เพราะมีโทสะ แต่ทำด้วยใจอุเบกขา ปรารถนาให้เขาเรียนรู้ว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของ ๆ ตน ถ้าทำอกุศลกรรม ก็จะได้รับผลที่เป็นอกุศล คือ ไม่น่าพอใจ “ความขี้เกียจ เป็น อกุศล” เพราะฉะนั้น ผลของความขี้เกียจเนี่ย ไม่เป็นที่รักของคนอื่นเลย คนก็จะมองในแง่ที่ว่า ‘คนนี้ไม่น่าคบหา’ ‘ไม่น่าใช้งาน’ ‘ไม่น่าจ้าง’ ‘ไม่ควรที่จะได้รับค่าจ้างแพง ๆ’ เพราะว่า.. ผลงานเป็นที่ประจักษ์ว่าไม่ได้ตามที่สั่ง เพราะว่า “ขี้เกียจ” ก็ควรจะให้เขาได้เรียนรู้ผลของความขี้เกียจนั้น แต่ด้วยใจอุเบกขา ไม่ใช่โทสะ ..ทำได้นะ ทำได้ คือเป็นการช่วยเขาอย่างหนึ่ง เป็นการช่วยให้เขาได้รู้ว่า ความขี้เกียจมีโทษอย่างนี้ เขาจะได้เข็ดจากความขี้เกียจนั้น แล้วก็ไม่ขี้เกียจอีก ..ขยันมากขึ้น เรียกว่าเจตนาเพื่อจะช่วยเหลือเขานั่นล่ะ แต่เพราะเขาทำเหตุที่ไม่ดี คือ ขี้เกียจ เขาย่อมได้รับผลที่ไม่ดี คือให้เขาเห็นผลของกฏแห่งกรรมนั่นเอง ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลที่ดี ทำกรรมที่ไม่ดี ก็ย่อมได้รับผลที่ไม่ดี นี่เขาทำกรรมไม่ดี ทำเหตุไม่ดี ก็จะได้รับผลไม่ดี ก็สามารถทำได้นะ แต่ “ระวังใจ” เท่านั้นเอง ใจของเราต้องเป็นกุศลด้วย กุศลในที่นี้คือ “วางอุเบกขา” ออกอากาศวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=SAEU0b97XBg&t=6502s (นาทีที่ 1.45.45-1.48.19)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ปฏิเสธการให้เงินกับคนขี้เกียจทำงาน #ถาม : การปฏิเสธการให้เงินใช้ กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะว่าเขาขี้เกียจทำงาน ไม่กระตือรือร้น เขาคิดอยู่เสมอว่า คนรอบ ๆ ข้างจะช่วยเขา จึงทำให้เขาเคยตัวเป็นนิสัย โยมกำลังช่วยอยู่ แต่ด้วยเหตุผลข้างบนนี้ ทำให้โยมไม่อยากช่วยแล้ว..จะบาปไหม? #ตอบ : บางทีเราอาจจะต้องให้เขาเรียนรู้บ้างว่า ผลของการขี้เกียจนั้นเป็นอย่างไร? ก็สามารถให้บทเรียนเขาได้ แต่ต้องระวังว่า ไม่ใช่เพราะโกรธ หรือ แค้น ไม่ใช่เพราะมีโทสะ แต่ทำด้วยใจอุเบกขา ปรารถนาให้เขาเรียนรู้ว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของ ๆ ตน ถ้าทำอกุศลกรรม ก็จะได้รับผลที่เป็นอกุศล คือ ไม่น่าพอใจ “ความขี้เกียจ เป็น อกุศล” เพราะฉะนั้น ผลของความขี้เกียจเนี่ย ไม่เป็นที่รักของคนอื่นเลย คนก็จะมองในแง่ที่ว่า ‘คนนี้ไม่น่าคบหา’ ‘ไม่น่าใช้งาน’ ‘ไม่น่าจ้าง’ ‘ไม่ควรที่จะได้รับค่าจ้างแพง ๆ’ เพราะว่า.. ผลงานเป็นที่ประจักษ์ว่าไม่ได้ตามที่สั่ง เพราะว่า “ขี้เกียจ” ก็ควรจะให้เขาได้เรียนรู้ผลของความขี้เกียจนั้น แต่ด้วยใจอุเบกขา ไม่ใช่โทสะ ..ทำได้นะ ทำได้ คือเป็นการช่วยเขาอย่างหนึ่ง เป็นการช่วยให้เขาได้รู้ว่า ความขี้เกียจมีโทษอย่างนี้ เขาจะได้เข็ดจากความขี้เกียจนั้น แล้วก็ไม่ขี้เกียจอีก ..ขยันมากขึ้น เรียกว่าเจตนาเพื่อจะช่วยเหลือเขานั่นล่ะ แต่เพราะเขาทำเหตุที่ไม่ดี คือ ขี้เกียจ เขาย่อมได้รับผลที่ไม่ดี คือให้เขาเห็นผลของกฏแห่งกรรมนั่นเอง ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลที่ดี ทำกรรมที่ไม่ดี ก็ย่อมได้รับผลที่ไม่ดี นี่เขาทำกรรมไม่ดี ทำเหตุไม่ดี ก็จะได้รับผลไม่ดี ก็สามารถทำได้นะ แต่ “ระวังใจ” เท่านั้นเอง ใจของเราต้องเป็นกุศลด้วย กุศลในที่นี้คือ “วางอุเบกขา” ออกอากาศวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=SAEU0b97XBg&t=6502s (นาทีที่ 1.45.45-1.48.19)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ไวยาวัจกร #ถาม : กราบนมัสการค่ะ มีความเข้าใจว่า การมอบปัจจัยโดยตรงที่พระสงฆ์ คือ “ผิด” แต่หลายครั้ง เวลาตักบาตร คนอื่นใส่เงินในย่ามกันทุกคน มีเราคนเดียวไม่ได้ใส่ แบบนี้ แปลว่า.. เรายึดติดเกินไปหรือเปล่าคะ? แล้วควรหรือไม่ สำหรับยุคนี้? #ตอบ : ถ้าเรารู้ว่ามันผิด แล้วจะทำทำไมล่ะ?.. ใช่ไหม? คนอื่นเขาไม่รู้ ..เขาเลยทำ คนอื่นเขาไม่รู้ เลยทำ ..ก็ปล่อยเขาไป สถานการณ์ตรงนั้น ถ้าเราจะไปบอกว่า “คุณอย่าไปทำอย่างนั้น!” เราอาจจะถูกมองไม่ดี บางทีเราคนเดียวใช่ไหม? แล้วเขาใส่กันมา ๑๐ คนแล้ว เรา..ผู้ปฏิบัติถูก อาจจะถูก”ผู้เข้าใจผิด”มองเราไม่ดี เพราะฉะนั้น ไม่เป็นไร เขาไม่รู้ เขาจึงทำอย่างนั้น แต่เรารู้แล้ว ถ้าเราทำ.. แสดงว่า.. “เราไม่เอื้อเฟื้อ” เพราะฉะนั้น เมื่อรู้แล้ว ถ้าเราจะถวายปัจจัย เราก็ไปตามถวายไปที่วัด ถ้าท่านมีลูกศิษย์มาด้วย ก็เอาปัจจัยนี้ฝากกับลูกศิษย์ บอกลูกศิษย์ว่า “นำปัจจัยนี้ถวายพระอาจารย์” แล้วก็บอกกับพระด้วยว่า “ได้ถวายปัจจัย ฝากไว้กับลูกศิษย์” เรียกว่า..ให้ท่านไป cross check (ตรวจสอบยืนยันความถูกต้อง) กันเอง คือ มอบปัจจัยให้กับลูกศิษย์ แล้วก็บอกกล่าวกับพระภิกษุด้วย ว่า “ได้มอบให้กับลูกศิษย์ไว้” “ลูกศิษย์” ในที่นี้ก็จะเป็นไวยาวัจกร คือ คอยจัดการช่วยเหลือรับใช้ ผู้ที่เป็น “ไวยาวัจกร” คือ รับปัจจัยของเราไปแล้ว ก็ไปจัดการตามที่พระประสงค์ ต้องการอะไรที่เหมาะกับสมณเพศ ท่านก็จะไปบอกกับลูกศิษย์ (ผู้ที่เป็น “ไวยาวัจกร”) อันนี้เป็นวิธีที่ถูก เรารู้วิธีที่ถูกแล้ว ก็ควรจะทำให้ถูก ไม่ใช่ไปทำผิดตามคนที่เขาไม่รู้ มันก็เลยยิ่งตอกย้ำความผิดกับไปใหญ่ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=yOFtaItcsO0&t=6079s (นาทีที่ 1.38.48-1.41.16 )

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ไวยาวัจกร #ถาม : กราบนมัสการค่ะ มีความเข้าใจว่า การมอบปัจจัยโดยตรงที่พระสงฆ์ คือ “ผิด” แต่หลายครั้ง เวลาตักบาตร คนอื่นใส่เงินในย่ามกันทุกคน มีเราคนเดียวไม่ได้ใส่ แบบนี้ แปลว่า.. เรายึดติดเกินไปหรือเปล่าคะ? แล้วควรหรือไม่ สำหรับยุคนี้? #ตอบ : ถ้าเรารู้ว่ามันผิด แล้วจะทำทำไมล่ะ?.. ใช่ไหม? คนอื่นเขาไม่รู้ ..เขาเลยทำ คนอื่นเขาไม่รู้ เลยทำ ..ก็ปล่อยเขาไป สถานการณ์ตรงนั้น ถ้าเราจะไปบอกว่า “คุณอย่าไปทำอย่างนั้น!” เราอาจจะถูกมองไม่ดี บางทีเราคนเดียวใช่ไหม? แล้วเขาใส่กันมา ๑๐ คนแล้ว เรา..ผู้ปฏิบัติถูก อาจจะถูก”ผู้เข้าใจผิด”มองเราไม่ดี เพราะฉะนั้น ไม่เป็นไร เขาไม่รู้ เขาจึงทำอย่างนั้น แต่เรารู้แล้ว ถ้าเราทำ.. แสดงว่า.. “เราไม่เอื้อเฟื้อ” เพราะฉะนั้น เมื่อรู้แล้ว ถ้าเราจะถวายปัจจัย เราก็ไปตามถวายไปที่วัด ถ้าท่านมีลูกศิษย์มาด้วย ก็เอาปัจจัยนี้ฝากกับลูกศิษย์ บอกลูกศิษย์ว่า “นำปัจจัยนี้ถวายพระอาจารย์” แล้วก็บอกกับพระด้วยว่า “ได้ถวายปัจจัย ฝากไว้กับลูกศิษย์” เรียกว่า..ให้ท่านไป cross check (ตรวจสอบยืนยันความถูกต้อง) กันเอง คือ มอบปัจจัยให้กับลูกศิษย์ แล้วก็บอกกล่าวกับพระภิกษุด้วย ว่า “ได้มอบให้กับลูกศิษย์ไว้” “ลูกศิษย์” ในที่นี้ก็จะเป็นไวยาวัจกร คือ คอยจัดการช่วยเหลือรับใช้ ผู้ที่เป็น “ไวยาวัจกร” คือ รับปัจจัยของเราไปแล้ว ก็ไปจัดการตามที่พระประสงค์ ต้องการอะไรที่เหมาะกับสมณเพศ ท่านก็จะไปบอกกับลูกศิษย์ (ผู้ที่เป็น “ไวยาวัจกร”) อันนี้เป็นวิธีที่ถูก เรารู้วิธีที่ถูกแล้ว ก็ควรจะทำให้ถูก ไม่ใช่ไปทำผิดตามคนที่เขาไม่รู้ มันก็เลยยิ่งตอกย้ำความผิดกับไปใหญ่ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=yOFtaItcsO0&t=6079s (นาทีที่ 1.38.48-1.41.16 )

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ทำบุญ #กรวดน้ำไม่จำกัดเวลา #ถาม : เวลาที่เหมาะสม สำหรับการกรวดน้ำหลังจากทำบุญ ควรเป็นเวลาก่อนเพลไหมคะ? #ตอบ : “เพล” หมายถึง ๑๑.๐๐ น. .. “ก่อนเพลไหม?” .. “ไม่จำเป็น!” อันนี้ทำไมถามว่าเป็นเวลาก่อนเพล!?! คือ สมมติว่า เราจะอุทิศให้ “เปรต” เนี่ยนะ เปรตไม่ได้ถือศีลข้อ “วิกาลโภชนาฯ” ดังนั้น ทำบุญตอนบ่าย ก็อุทิศตอนบ่ายได้ ทำบุญตอนเย็น ก็อุทิศตอนเย็นได้ “บุญ” มันไม่ใช่ว่าจะจำกัดเวลา สมมติว่า เราใส่บาตรตอนเช้า ใส่เสร็จแล้ว มีความปลื้มใจ ปีติใจ กับการทำบุญนั้น ก็อุทิศ-กรวดน้ำได้เลย ไม่ต้องรอก่อนเพล! สมมติ..ลองแทนใจนะ ลองแทนใจ “เปรต” ที่กำลังรอรับส่วนบุญอยู่นี้ เห็น..เรากำลังใส่บาตร.. ‘เอ.. เขาจะอุทิศให้เราไหมหนอ?’ เราใส่บาตรเสร็จ แล้วเราเดินกลับบ้าน เราทำอะไรไปเรื่อย ๆ เนี่ยนะ ไม่ได้สนใจจะอุทิศให้ใคร ไม่ได้กรวดน้ำเลย ..เขาร้องไห้กลับไปแล้ว จะมากรวดน้ำทีหลังนี่..เขาไม่รู้แล้ว! กำลังมีบุญอยู่ตอนไหน ..กรวดน้ำตอนนั้น กำลังมีบุญอยู่ขณะไหน กำลังปลื้มใจ บุญยังไม่หดหายไปไหนเลยนะ.. ก็กรวดน้ำตอนนั้น! ไม่ต้องรอก่อนเพล-หลังเพลอะไรไม่เกี่ยวเลย กำลังมีความปลื้มใจปีติใจในบุญ ให้อุทิศตอนนั้น! ในเวลาที่กำลังมีความปลื้มใจปีติใจ เรื่อง “ก่อนเพล-หลังเพล” นั้นไม่เกี่ยว ไม่ต้องไปรอ แล้วไม่จำกัดว่า หลังเพลจะอุทิศไม่ได้นะ..อุทิศได้ ทำบุญ ตอนเย็น, ตอนค่ำ, ตอนดึก ถ้ามีนะ..ก็อุทิศได้ “เนื้อนาบุญ” ก็ไม่ใช่จำกัดเฉพาะพระเท่านั้นนะ ใครก็ตาม มีศีล เราก็ให้ได้ เพราะฉะนั้น.. เวลาที่เหมาะสมสำหรับการกรวดน้ำ คือ “เวลาที่กำลังมีบุญ” บุญเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อย่าเพิ่งให้เวลาปล่อยไปเนิ่นนาน เพราะผู้ที่จะมาอนุโมทนา เขาจะหมดกำลังใจ แล้วก็หมดหวัง ร้องไห้กลับไปซะก่อน ออกอากาศวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=H8orzKIbpYQ&t=6962s (นาทีที่ 1.53.24-1.56.05)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ทำบุญ #กรวดน้ำไม่จำกัดเวลา #ถาม : เวลาที่เหมาะสม สำหรับการกรวดน้ำหลังจากทำบุญ ควรเป็นเวลาก่อนเพลไหมคะ? #ตอบ : “เพล” หมายถึง ๑๑.๐๐ น. .. “ก่อนเพลไหม?” .. “ไม่จำเป็น!” อันนี้ทำไมถามว่าเป็นเวลาก่อนเพล!?! คือ สมมติว่า เราจะอุทิศให้ “เปรต” เนี่ยนะ เปรตไม่ได้ถือศีลข้อ “วิกาลโภชนาฯ” ดังนั้น ทำบุญตอนบ่าย ก็อุทิศตอนบ่ายได้ ทำบุญตอนเย็น ก็อุทิศตอนเย็นได้ “บุญ” มันไม่ใช่ว่าจะจำกัดเวลา สมมติว่า เราใส่บาตรตอนเช้า ใส่เสร็จแล้ว มีความปลื้มใจ ปีติใจ กับการทำบุญนั้น ก็อุทิศ-กรวดน้ำได้เลย ไม่ต้องรอก่อนเพล! สมมติ..ลองแทนใจนะ ลองแทนใจ “เปรต” ที่กำลังรอรับส่วนบุญอยู่นี้ เห็น..เรากำลังใส่บาตร.. ‘เอ.. เขาจะอุทิศให้เราไหมหนอ?’ เราใส่บาตรเสร็จ แล้วเราเดินกลับบ้าน เราทำอะไรไปเรื่อย ๆ เนี่ยนะ ไม่ได้สนใจจะอุทิศให้ใคร ไม่ได้กรวดน้ำเลย ..เขาร้องไห้กลับไปแล้ว จะมากรวดน้ำทีหลังนี่..เขาไม่รู้แล้ว! กำลังมีบุญอยู่ตอนไหน ..กรวดน้ำตอนนั้น กำลังมีบุญอยู่ขณะไหน กำลังปลื้มใจ บุญยังไม่หดหายไปไหนเลยนะ.. ก็กรวดน้ำตอนนั้น! ไม่ต้องรอก่อนเพล-หลังเพลอะไรไม่เกี่ยวเลย กำลังมีความปลื้มใจปีติใจในบุญ ให้อุทิศตอนนั้น! ในเวลาที่กำลังมีความปลื้มใจปีติใจ เรื่อง “ก่อนเพล-หลังเพล” นั้นไม่เกี่ยว ไม่ต้องไปรอ แล้วไม่จำกัดว่า หลังเพลจะอุทิศไม่ได้นะ..อุทิศได้ ทำบุญ ตอนเย็น, ตอนค่ำ, ตอนดึก ถ้ามีนะ..ก็อุทิศได้ “เนื้อนาบุญ” ก็ไม่ใช่จำกัดเฉพาะพระเท่านั้นนะ ใครก็ตาม มีศีล เราก็ให้ได้ เพราะฉะนั้น.. เวลาที่เหมาะสมสำหรับการกรวดน้ำ คือ “เวลาที่กำลังมีบุญ” บุญเกิดขึ้นเมื่อไหร่ อย่าเพิ่งให้เวลาปล่อยไปเนิ่นนาน เพราะผู้ที่จะมาอนุโมทนา เขาจะหมดกำลังใจ แล้วก็หมดหวัง ร้องไห้กลับไปซะก่อน ออกอากาศวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=H8orzKIbpYQ&t=6962s (นาทีที่ 1.53.24-1.56.05)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #กระทง(ไม่)หลงทาง #ถาม : เคยได้ยินว่า “ถ้าเราทำบุญร่วมกับใคร ก็จะมีโอกาสมาพบกันอีก ในชาติภพต่อ ๆ ไป” ถ้าเราไม่อยากเจอกับคนนั้นอีก เราไม่ควรทำบุญร่วมกับคนนั้นหรือเปล่า? #ตอบ : “ทำบุญ” .. ทำบุญกับใคร ก็ดีทั้งนั้นล่ะ! ถ้าไม่อยากเจอกันอีกนะ ให้ทำบุญที่เป็น “กรรมฐาน” ทำบุญที่เป็นกรรมฐานนี้ จะเป็น “สมถกรรมฐาน” - “วิปัสสนากรรมฐาน” คู่กัน ถ้าเราทำกรรมฐาน แล้วเขาไม่ทำ.. ก็ไม่เจอกัน ! เรียกว่า เราสร้างบุญในแง่ที่ว่า ระดับสูงหน่อย เขามาไม่ถึง ก็ไม่เจอกัน จะให้ดีเลย ก็คืออธิษฐานว่า “จะอยู่กับคนนั้น” คือเราต้องการอยู่กับใคร ก็อธิษฐาน.. มีเหมือนกันนะ ในสมัยพุทธกาล มีโยมอยู่คู่หนึ่ง อธิษฐานมาเจอกันมาทุกชาติ พอมาถึงชาตินี้ ก็ยังมีความพอใจ ที่จะอยู่ด้วยกันต่อ แล้วก็ยังบอกว่า “ยังขอเจอกันทุกชาติไป” ก็.. - ทั้งคู่ต่างเป็นคนดี - ทั้งคู่ต่างมีความพอใจที่จะอยู่ด้วยกันต่อ - ต่างก็รักษาศีล - ต่างก็มีความซื่อสัตย์ต่อกัน - มีความประพฤติดีงาม อยู่แล้วพอใจ อย่างนี้เขาอยากเจอกันต่อ ก็เป็นความปรารถนาของเขา ส่วนการ “ไม่อยากเจอกับคนนั้นอีก” ให้ดูว่าเรามีโทสะไหม? ถ้ามีโทสะ - ให้รู้ทันโทสะ มันจะพัฒนาตนเองได้ดีกว่า ถ้ามีความ “อยาก” ที่จะ “ไม่” มันคือ “ตัณหา” อย่างหนึ่ง - ให้รู้ทันตัณหาไป ตัณหาในกรณีนี้ มันเป็น “อยาก” ที่จะ”ไม่” ไม่ได้ “อยาก” เจอ ก็คือ “อยาก” ที่จะ “ไม่เจอ” ให้รู้ทัน “ตัณหา” ที่เกิดขึ้นในใจ เราภาวนาของเราไปดีกว่า จะทำบุญร่วมกับใครนี้นะ เราก็เคยทำบุญร่วมกันมากับคนมากมาย ครูบาอาจารย์เคยเปรียบเทียบว่า “คนเรานี้ การที่จะอยู่กับใคร หรือว่า จะจากกันไปนะ มันไม่แน่ไม่นอน” ครูบาอาจารย์เทียบเหมือนกับกระทง เคยไปลอยกระทงไหม? นี่เดี๋ยวจะเดือนสิบสองแล้วนะ “ลอยกระทง” กระทง ปล่อยจากมือ ๒ มือ ดูคู่กันดีนะ กระแสน้ำก็พัดไป..จากกัน จากกระทงนี้ ไปใกล้กับกระทงโน้น จากกับกระทงโน้น แล้วไปใกล้กับกระทงโน้นอีก เขาเรียกเป็น “ความไม่แน่นอนของสังสารวัฏ” เพราะฉะนั้น เราอย่าไปผูกใจกับใคร! ดูว่ามันเป็น “ความอ่อนแอทางใจ” ของเราเอง พอใกล้ใคร..ก็ชอบ ใกล้ใคร..ใจก็อ่อน นี่เป็นความอ่อนแอทางใจของเราหรือเปล่า? ลองดูก็แล้วกันนะ ถ้าเห็นอย่างนี้จะปลอดภัยกว่า ส่วนชาติหน้าจะไปเจอใคร มันก็เรื่องของกระทง ที่ลอยไปตามสังสารวัฏ ลอยไปตามกระแสความเกิด-ดับ ในสังสารวัฏ ถ้าเบื่อ ก็มาทำกรรมฐาน ทำกรรมฐาน ให้มันไม่ลอย ไม่เป็นกระทงที่ลอยไปตามยถาอย่างนั้น อีกต่อไป ให้เห็น..แล้วเบื่อ ดีกว่า เพราะฉะนั้น ในระหว่างนี้ “ให้ดูใจตัวเอง” ให้ดูใจตัวเองว่า มันอ่อนแอในแง่ที่ว่า มัน “หลง” พอใจ “หลง” ไม่พอใจ กับคนใกล้เคียงหรือเปล่า? ถ้าดูตรงนี้ได้ทัน ก็จะปลอดภัย ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไหน ตอนนี้เราอยู่ในฐานะที่จะพอใจเขาได้ไหม? ถ้าไม่ควรจะพอใจ มีความพอใจเกิดขึ้น ก็ไม่ทำตาม ให้รู้ทันอย่างนี้ดีกว่า ดีกว่าจะมาอธิษฐานว่า ‘อย่าเจอคนนี้’ มันเป็นอย่างไร ? คล้าย ๆ กับว่า ถ้ายังเวียนเกิดเวียนตาย ก็เหมือนกระทงยังอยู่ในกระแสน้ำ เดี๋ยวมันก็ไปใกล้กระทงโน้น เดี๋ยวมันก็ใกล้กระทงนี้ อันนี้เล่นยาก เขาเรียกว่า ในเมื่อมันยังไม่สามารถละกิเลสในแง่ของกาม หรือว่ากามภพ มันยังอยู่ในกามภพ มันก็อดไม่ได้ ที่จะพอใจคนโน้นคนนี้ ลำบากนะ! ให้รู้ทันว่า ตอนนี้เราอยู่ในฐานะที่จะพอใจเขาได้ไหม? ถ้าไม่ควรจะอยู่ในฐานะที่จะพอใจใคร ตอนนี้นะ ก็อย่าไปพอใจ รู้ทันว่า ‘ตอนนี้เป็นเรื่องต้องห้าม’ ก็อย่าไปยุ่งเกี่ยว!! ออกอากาศวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=IPviWygnkFA (นาทีที่ 47.55-53.46)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #กระทง(ไม่)หลงทาง #ถาม : เคยได้ยินว่า “ถ้าเราทำบุญร่วมกับใคร ก็จะมีโอกาสมาพบกันอีก ในชาติภพต่อ ๆ ไป” ถ้าเราไม่อยากเจอกับคนนั้นอีก เราไม่ควรทำบุญร่วมกับคนนั้นหรือเปล่า? #ตอบ : “ทำบุญ” .. ทำบุญกับใคร ก็ดีทั้งนั้นล่ะ! ถ้าไม่อยากเจอกันอีกนะ ให้ทำบุญที่เป็น “กรรมฐาน” ทำบุญที่เป็นกรรมฐานนี้ จะเป็น “สมถกรรมฐาน” – “วิปัสสนากรรมฐาน” คู่กัน ถ้าเราทำกรรมฐาน แล้วเขาไม่ทำ.. ก็ไม่เจอกัน ! เรียกว่า เราสร้างบุญในแง่ที่ว่า ระดับสูงหน่อย เขามาไม่ถึง ก็ไม่เจอกัน จะให้ดีเลย ก็คืออธิษฐานว่า “จะอยู่กับคนนั้น” คือเราต้องการอยู่กับใคร ก็อธิษฐาน.. มีเหมือนกันนะ ในสมัยพุทธกาล มีโยมอยู่คู่หนึ่ง อธิษฐานมาเจอกันมาทุกชาติ พอมาถึงชาตินี้ ก็ยังมีความพอใจ ที่จะอยู่ด้วยกันต่อ แล้วก็ยังบอกว่า “ยังขอเจอกันทุกชาติไป” ก็.. – ทั้งคู่ต่างเป็นคนดี – ทั้งคู่ต่างมีความพอใจที่จะอยู่ด้วยกันต่อ – ต่างก็รักษาศีล – ต่างก็มีความซื่อสัตย์ต่อกัน – มีความประพฤติดีงาม อยู่แล้วพอใจ อย่างนี้เขาอยากเจอกันต่อ ก็เป็นความปรารถนาของเขา ส่วนการ “ไม่อยากเจอกับคนนั้นอีก” ให้ดูว่าเรามีโทสะไหม? ถ้ามีโทสะ – ให้รู้ทันโทสะ มันจะพัฒนาตนเองได้ดีกว่า ถ้ามีความ “อยาก” ที่จะ “ไม่” มันคือ “ตัณหา” อย่างหนึ่ง – ให้รู้ทันตัณหาไป ตัณหาในกรณีนี้ มันเป็น “อยาก” ที่จะ”ไม่” ไม่ได้ “อยาก” เจอ ก็คือ “อยาก” ที่จะ “ไม่เจอ” ให้รู้ทัน “ตัณหา” ที่เกิดขึ้นในใจ เราภาวนาของเราไปดีกว่า จะทำบุญร่วมกับใครนี้นะ เราก็เคยทำบุญร่วมกันมากับคนมากมาย ครูบาอาจารย์เคยเปรียบเทียบว่า “คนเรานี้ การที่จะอยู่กับใคร หรือว่า จะจากกันไปนะ มันไม่แน่ไม่นอน” ครูบาอาจารย์เทียบเหมือนกับกระทง เคยไปลอยกระทงไหม? นี่เดี๋ยวจะเดือนสิบสองแล้วนะ “ลอยกระทง” กระทง ปล่อยจากมือ ๒ มือ ดูคู่กันดีนะ กระแสน้ำก็พัดไป..จากกัน จากกระทงนี้ ไปใกล้กับกระทงโน้น จากกับกระทงโน้น แล้วไปใกล้กับกระทงโน้นอีก เขาเรียกเป็น “ความไม่แน่นอนของสังสารวัฏ” เพราะฉะนั้น เราอย่าไปผูกใจกับใคร! ดูว่ามันเป็น “ความอ่อนแอทางใจ” ของเราเอง พอใกล้ใคร..ก็ชอบ ใกล้ใคร..ใจก็อ่อน นี่เป็นความอ่อนแอทางใจของเราหรือเปล่า? ลองดูก็แล้วกันนะ ถ้าเห็นอย่างนี้จะปลอดภัยกว่า ส่วนชาติหน้าจะไปเจอใคร มันก็เรื่องของกระทง ที่ลอยไปตามสังสารวัฏ ลอยไปตามกระแสความเกิด-ดับ ในสังสารวัฏ ถ้าเบื่อ ก็มาทำกรรมฐาน ทำกรรมฐาน ให้มันไม่ลอย ไม่เป็นกระทงที่ลอยไปตามยถาอย่างนั้น อีกต่อไป ให้เห็น..แล้วเบื่อ ดีกว่า เพราะฉะนั้น ในระหว่างนี้ “ให้ดูใจตัวเอง” ให้ดูใจตัวเองว่า มันอ่อนแอในแง่ที่ว่า มัน “หลง” พอใจ “หลง” ไม่พอใจ กับคนใกล้เคียงหรือเปล่า? ถ้าดูตรงนี้ได้ทัน ก็จะปลอดภัย ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไหน ตอนนี้เราอยู่ในฐานะที่จะพอใจเขาได้ไหม? ถ้าไม่ควรจะพอใจ มีความพอใจเกิดขึ้น ก็ไม่ทำตาม ให้รู้ทันอย่างนี้ดีกว่า ดีกว่าจะมาอธิษฐานว่า ‘อย่าเจอคนนี้’ มันเป็นอย่างไร ? คล้าย ๆ กับว่า ถ้ายังเวียนเกิดเวียนตาย ก็เหมือนกระทงยังอยู่ในกระแสน้ำ เดี๋ยวมันก็ไปใกล้กระทงโน้น เดี๋ยวมันก็ใกล้กระทงนี้ อันนี้เล่นยาก เขาเรียกว่า ในเมื่อมันยังไม่สามารถละกิเลสในแง่ของกาม หรือว่ากามภพ มันยังอยู่ในกามภพ มันก็อดไม่ได้ ที่จะพอใจคนโน้นคนนี้ ลำบากนะ! ให้รู้ทันว่า ตอนนี้เราอยู่ในฐานะที่จะพอใจเขาได้ไหม? ถ้าไม่ควรจะอยู่ในฐานะที่จะพอใจใคร ตอนนี้นะ ก็อย่าไปพอใจ รู้ทันว่า ‘ตอนนี้เป็นเรื่องต้องห้าม’ ก็อย่าไปยุ่งเกี่ยว!! ออกอากาศวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=IPviWygnkFA (นาทีที่ 47.55-53.46)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ธรรมดาต้องพลัดพราก #ถาม : เราจะทำใจให้ “เบิกบาน” ได้อย่างไร? ขณะที่เราจะต้อง “พลัดพรากจากสิ่งที่รัก” #ตอบ : ยังไม่ต้องเบิกบานก็ได้ ..แค่ยอมรับ แค่ยอมรับว่า ‘มันเรื่องปกติ’ เป็นเรื่องปกติ ของทุกชีวิตที่เกิดมา.. พระพุทธเจ้าสอนให้ทุกคน พิจารณาอยู่เนือง ๆ (เนือง ๆ แปลว่า บ่อย ๆ) พิจารณาบ่อย ๆ ว่า เราจะต้อง ‘มีความแก่ เป็นธรรมดา’ ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เราจะต้อง ‘มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา’ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เราจะต้อง ‘มีความตาย เป็นธรรมดา’ ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เราจะต้อง ‘มีความพลัดพราก จากของรักของเจริญใจ เป็นธรรมดา’ คือมีของรัก แล้วก็ต้องพลัดพรากอยู่ดี นอกจากจะไม่รักอะไรเลย ก็จะไม่ต้องพลัดพรากใช่ไหม? แต่มันมีรักแล้ว ก็จะต้องพลัดพราก เป็นเรื่องธรรมดา ที่จะต้องพลัดพราก จากของรัก จากคนรัก ถ้าดูอย่างนี้ ถ้าพิจารณาบ่อย ๆ แล้วเกิดมีความพลัดพรากขึ้นมา ..ก็ ‘ว่าแล้ว! กูว่าแล้ว! ว่าจะต้องพลัดพราก’ ..ก็เห็นเป็นธรรมดา จะไม่ทุกข์ จะไม่โศก จนกลายเป็นเรื่องทำร้ายตัวเอง มันอาจจะทุกข์ อาจจะโศก อาจจะกระเทือนใจบ้าง แต่เราพิจารณาอยู่บ่อย ๆ อยู่แล้ว “เราจะต้องมีความพลัดพราก เป็นธรรมดา” พอพิจารณาอย่างนี้ พอมันเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ ก็..เป็นธรรมดา มันลงที่ คำ “ธรรมดา” ได้เมื่อไหร่ ก็ไม่จำเป็นต้องบอกว่าให้ “เบิกบาน” “เบิกบาน” นี่อาจจะไม่จำเป็นเลย แต่มีความเข้าใจว่ามันเป็นเรื่อง “ธรรมดา” ความเบิกบานจะไม่มี ก็ยังไม่มีปัญหาอะไร มันไม่ต้องมาแสร้งทำเบิกบาน ในยามที่ต้องมีความพลัดพราก แต่พลัดพรากแล้วเข้าใจ เข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เป็นอย่างนี้ ที่มันเป็นทุกข์.. เพราะว่ารู้สึกไม่ธรรมดา!! ‘ทำไมต้องเป็นกู?’ ‘ทำไมต้องเกิดกับชีวิตฉัน?’ มันไม่ยอมรับความจริง พอไม่ยอมรับความจริง ก็จะเป็นทุกข์ เพราะมันปรารถนาในสิ่งที่ฝืนกับความจริง แต่ถ้าเห็นความจริง..เป็นความจริง ยอมรับมันได้ ไม่ขัดกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ คือ มันไม่เที่ยง เคยมีความสุข สุขนั้นไม่เที่ยง เห็นความไม่เที่ยง แล้วไม่ขัดแย้ง ยอมรับความจริง.. ไม่ทุกข์ เข้าใจไหม? มันบังคับไม่ได้ บังคับใจเขาไม่ได้ บังคับใจตัวเองยังไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น.. ถ้ามันมีความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นมา ธรรมดา.. มันอยู่นอกความควบคุม อยู่นอกการบังคับ ไม่สามารถบังคับอะไรได้ ใจตัวเองก็ยังบังคับไม่ได้ ถ้าเห็น ‘ธรรมดา’ จะปลอดภัย ไม่ต้องไปแสร้งทำเบิกบาน แม้ไม่เบิกบาน แต่มีความเข้าใจอยู่ มันก็เรียกว่า เป็นการสงบระงับ ขอเพียงไม่ทุกข์ เท่านั้นพอ วิธีไม่ทุกข์ที่จะปลอดภัย ก็คือ ‘เข้าใจ’ ความเป็นธรรมดา ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มันเป็นเพียง.. ปรากฏการณ์หนึ่งในชีวิตเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น.. ความพลัดพรากก็เป็นเรื่องปกติ ถ้าเราไม่รัก ก็ไม่เกิดการพลัดพรากอย่างนี้ ไม่พลัดพรากจากคนรัก ไม่เกิดพลัดพรากจากของรัก ถ้าเราไม่รักคนนี้ ก็จะไม่เกิดความพลัดพราก..จากคนรักคนนี้ ถ้าไม่รักของสิ่งนี้ มันก็จะไม่เกิดการพลัดพราก..จากของสิ่งนี้ ทั้ง ๆ ที่มันก็จะต้องแตกสลายเป็นธรรมดา เราก็รู้สึก ‘ธรรมดา’ ว่ามันจะต้องแตกสลายไป อาจจะเผลอรักไปแล้ว แต่ก็เป็นเวลาที่เราจะทำความเข้าใจว่า ‘มันเป็นเรื่องธรรมดา’ ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ ไม่ต้องเบิกบานก็ได้ มันจะมีคุณค่ายิ่งกว่าเบิกบานด้วย มันคือเป็น “ปัญญา” เข้าใจความจริงของชีวิตไปเลย ออกอากาศวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=jZsiBniU64I (นาทีที่ 2.04.31-2.08.51)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ธรรมดาต้องพลัดพราก #ถาม : เราจะทำใจให้ “เบิกบาน” ได้อย่างไร? ขณะที่เราจะต้อง “พลัดพรากจากสิ่งที่รัก” #ตอบ : ยังไม่ต้องเบิกบานก็ได้ ..แค่ยอมรับ แค่ยอมรับว่า ‘มันเรื่องปกติ’ เป็นเรื่องปกติ ของทุกชีวิตที่เกิดมา.. พระพุทธเจ้าสอนให้ทุกคน พิจารณาอยู่เนือง ๆ (เนือง ๆ แปลว่า บ่อย ๆ) พิจารณาบ่อย ๆ ว่า เราจะต้อง ‘มีความแก่ เป็นธรรมดา’ ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เราจะต้อง ‘มีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา’ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เราจะต้อง ‘มีความตาย เป็นธรรมดา’ ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เราจะต้อง ‘มีความพลัดพราก จากของรักของเจริญใจ เป็นธรรมดา’ คือมีของรัก แล้วก็ต้องพลัดพรากอยู่ดี นอกจากจะไม่รักอะไรเลย ก็จะไม่ต้องพลัดพรากใช่ไหม? แต่มันมีรักแล้ว ก็จะต้องพลัดพราก เป็นเรื่องธรรมดา ที่จะต้องพลัดพราก จากของรัก จากคนรัก ถ้าดูอย่างนี้ ถ้าพิจารณาบ่อย ๆ แล้วเกิดมีความพลัดพรากขึ้นมา ..ก็ ‘ว่าแล้ว! กูว่าแล้ว! ว่าจะต้องพลัดพราก’ ..ก็เห็นเป็นธรรมดา จะไม่ทุกข์ จะไม่โศก จนกลายเป็นเรื่องทำร้ายตัวเอง มันอาจจะทุกข์ อาจจะโศก อาจจะกระเทือนใจบ้าง แต่เราพิจารณาอยู่บ่อย ๆ อยู่แล้ว “เราจะต้องมีความพลัดพราก เป็นธรรมดา” พอพิจารณาอย่างนี้ พอมันเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ ก็..เป็นธรรมดา มันลงที่ คำ “ธรรมดา” ได้เมื่อไหร่ ก็ไม่จำเป็นต้องบอกว่าให้ “เบิกบาน” “เบิกบาน” นี่อาจจะไม่จำเป็นเลย แต่มีความเข้าใจว่ามันเป็นเรื่อง “ธรรมดา” ความเบิกบานจะไม่มี ก็ยังไม่มีปัญหาอะไร มันไม่ต้องมาแสร้งทำเบิกบาน ในยามที่ต้องมีความพลัดพราก แต่พลัดพรากแล้วเข้าใจ เข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เป็นอย่างนี้ ที่มันเป็นทุกข์.. เพราะว่ารู้สึกไม่ธรรมดา!! ‘ทำไมต้องเป็นกู?’ ‘ทำไมต้องเกิดกับชีวิตฉัน?’ มันไม่ยอมรับความจริง พอไม่ยอมรับความจริง ก็จะเป็นทุกข์ เพราะมันปรารถนาในสิ่งที่ฝืนกับความจริง แต่ถ้าเห็นความจริง..เป็นความจริง ยอมรับมันได้ ไม่ขัดกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ คือ มันไม่เที่ยง เคยมีความสุข สุขนั้นไม่เที่ยง เห็นความไม่เที่ยง แล้วไม่ขัดแย้ง ยอมรับความจริง.. ไม่ทุกข์ เข้าใจไหม? มันบังคับไม่ได้ บังคับใจเขาไม่ได้ บังคับใจตัวเองยังไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น.. ถ้ามันมีความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นมา ธรรมดา.. มันอยู่นอกความควบคุม อยู่นอกการบังคับ ไม่สามารถบังคับอะไรได้ ใจตัวเองก็ยังบังคับไม่ได้ ถ้าเห็น ‘ธรรมดา’ จะปลอดภัย ไม่ต้องไปแสร้งทำเบิกบาน แม้ไม่เบิกบาน แต่มีความเข้าใจอยู่ มันก็เรียกว่า เป็นการสงบระงับ ขอเพียงไม่ทุกข์ เท่านั้นพอ วิธีไม่ทุกข์ที่จะปลอดภัย ก็คือ ‘เข้าใจ’ ความเป็นธรรมดา ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มันเป็นเพียง.. ปรากฏการณ์หนึ่งในชีวิตเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น.. ความพลัดพรากก็เป็นเรื่องปกติ ถ้าเราไม่รัก ก็ไม่เกิดการพลัดพรากอย่างนี้ ไม่พลัดพรากจากคนรัก ไม่เกิดพลัดพรากจากของรัก ถ้าเราไม่รักคนนี้ ก็จะไม่เกิดความพลัดพราก..จากคนรักคนนี้ ถ้าไม่รักของสิ่งนี้ มันก็จะไม่เกิดการพลัดพราก..จากของสิ่งนี้ ทั้ง ๆ ที่มันก็จะต้องแตกสลายเป็นธรรมดา เราก็รู้สึก ‘ธรรมดา’ ว่ามันจะต้องแตกสลายไป อาจจะเผลอรักไปแล้ว แต่ก็เป็นเวลาที่เราจะทำความเข้าใจว่า ‘มันเป็นเรื่องธรรมดา’ ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ ไม่ต้องเบิกบานก็ได้ มันจะมีคุณค่ายิ่งกว่าเบิกบานด้วย มันคือเป็น “ปัญญา” เข้าใจความจริงของชีวิตไปเลย ออกอากาศวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=jZsiBniU64I (นาทีที่ 2.04.31-2.08.51)

อ่านต่อ ...
Loading...