นิมฺมโลตอบโจทย์

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #มิจฉาวณิชชา #อาชีพที่ไม่ควรประกอบ ?? #ถาม : กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ผมทำอาชีพเกี่ยวกับการฆ่าชีวิตสัตว์ ทุกทีที่ผมทำงานเสร็จ จะเข้าวัดไปทำบุญ อุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศล ให้กับชีวิตที่ผมฆ่าไป แบบนี้พอจะ “แบ่งเบาบาป” ของผมได้ไหมครับ? #ตอบ : ก็ยังดีกว่าไม่ทำ แต่ถามว่ามันสมน้ำสมเนื้อกันไหม? ถ้าว่ากันซื่อๆ เลยนะ “มันไม่สมน้ำสมเนื้อเท่าไหร่หรอก” เราฆ่าเขา แล้วเราไปทำบุญอุทิศให้เขาเนี่ยนะ ลองนึกถึงตัวเอง.. ‘ถ้าเราถูกฆ่า แล้วคนฆ่าเรา ไปถวายสังฆทานอุทิศให้เรา..เรายอมไหม?’ ถ้าคำตอบว่า ‘ยอม’ ก็แสดงทำได้ ทำต่อไป เพราะฉะนั้น ไอ้อาชีพที่ทำอยู่เนี่ย มันเป็นอาชีพที่ว่า “เสี่ยง” เสี่ยง..นี่พูดแบบ’เบา’ที่สุดนะ จริงๆ มันคืออาชีพที่เรียกว่า “มิจฉาวณิชชา” เป็นการเลี้ยงชีพ เป็นการค้าขาย หรือการทำอาชีพที่ “อุบาสกในพุทธศาสนา ควรเลี่ยง” เป็นอาชีพที่ไม่ควรประกอบ มีอะไรบ้าง? คือ ๑. ค้าอาวุธ ๒. ค้ามนุษย์ ๓. ค้าสัตว์..อย่างที่โยมทำมานี้ ๔. ค้าน้ำเมาหรือสิ่งมึนเมา สิ่งเสพติดต่างๆ ๕. ค้ายาพิษ การค้าขายอย่างนี้นะ ถ้าทำ มันจะมีรายได้เยอะ เพราะเป็นอาชีพที่มีรายได้เข้าง่าย แต่จริงๆ มันเป็นอาชีพที่มันไปสร้างเวร ไปสร้างอกุศล ลูกค้าของเราก็จะเป็นลูกค้าที่เสี่ยงด้วย เมื่อเขาใช้บริการแล้ว เขาจะเกิดอกุศล หรือว่าสัตว์ที่เราค้าเนี่ย เขาถูกทำร้าย เขาจะไม่ชอบใจ เพราะฉะนั้นตอนนี้ ถ้ายังเลิกไม่ได้ ยังหาอาชีพอื่นไม่ได้ ทำไปแล้วก็ทำบุญอุทิศให้เขา อย่างนี้ยังดีกว่าไม่ทำ!! แต่ถามว่ามันสมน้ำสมเนื้อกันไหม? กับการที่เราฆ่าสัตว์ แล้วเราไปทำบุญอุทิศให้ ..มันสมน้ำสมเนื้อกันไหม? คำตอบมันจะออกมาว่า “ไม่สมน้ำสมเนื้อ” เพราะฉะนั้นถ้าเลี่ยงได้ ให้ไปลองหาลู่ทางในการทำอาชีพอื่น แต่ยอมรับว่ามันไม่ใช่หาง่ายนะ เพราะฉะนั้นในระหว่างนี้ ยังเลิกไม่ได้กับอาชีพนี้ ทำบุญอุทิศไปก่อน ก็ยังดี ยังดีกว่าไม่ทำ แต่ถ้าจะให้แนะนำจริงๆ ก็คือว่า “ลองหาลู่ทางในการเปลี่ยนอาชีพ” เปลี่ยนอาชีพ ให้เป็นอาชีพที่.. - ไม่ไปเบียดเบียนชีวิตใคร - ไม่ไปทำให้ใครเขาเดือดร้อน ในแง่ของไปค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ ค้าเนื้อสัตว์ ค้าน้ำเมา ค้ายาพิษอะไรเนี่ย คือเลี่ยงมิจฉาวณิชชา ..ลองไปหาอาชีพอื่น มีโยมที่รู้จักกัน มีอยู่คนหนึ่งเขาทำอาชีพเลี้ยงกุ้ง ทำนากุ้ง เป็นบ่อกุ้ง - เลี้ยงกุ้ง เอากุ้งไปขาย พอมาสนใจธรรมะ มาฟังธรรม รู้ว่าอาชีพนี้ไม่ดี มันเป็นการก่อเวร แล้วก็เป็นมิจฉาวณิชชา ตามที่พระพุทธเจ้าแสดงเอาไว้ แต่ยังเลิกไม่ได้ คล้ายๆ ทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ ก็ทำต่อไปก่อน แต่ก็ทำอย่างที่โยมว่าเนี่ย..ทำบุญไปด้วย ค้าขายชีวิตสัตว์ ด้วยใจที่รู้ว่า ‘มันมีโทษ’ มันก็จะ ‘คอยหาลู่ทางที่จะทำอย่างไร ที่จะเปลี่ยนอาชีพ?’ มันไม่ได้ทำด้วยใจที่เหลิงกับรายได้ที่เข้ามา แต่จะทำ “อย่างระมัดระวัง” แล้วถ้ามีโอกาสก็จะเปลี่ยน และในที่สุดก็เปลี่ยนได้ ก็เปลี่ยนอาชีพได้ มันเหมือนกับว่า รู้อยู่ว่าถ่าน (ถ่านหุงข้าว) ตอนจุดไฟนะ เวลาถ่านมันแดงเนี่ย ไม่มีควันนะ คนไม่รู้ก็จะจับถ่านอย่างเต็มมือ มันก็จะลวกมือพอง ไหม้เต็มที่ แต่ถ้ารู้อยู่ว่า ‘ถ่านนี้จะต้องร้อนแน่ๆ เลย’ รู้อยู่ว่า ‘ร้อน’ มันจะจับด้วยความระมัดระวัง และใช้เวลากับถ่านนี้ไม่นาน เช่นเดียวกัน ถ้าโยมรู้อยู่ว่า ‘อาชีพนี้ มันเป็นอาชีพที่ไม่ควรทำ’ ‘มันเป็นอาชีพที่ไปเบียดเบียนชีวิตสัตว์..มีโทษ’ แต่ตอนนี้มันยังเลิกไม่ได้ ด้วยสถานการณ์อะไรต่างๆ นาๆ แต่ตั้งใจจะเลิก ตั้งใจจะเปลี่ยนอาชีพ อย่างน้อยๆ บอกกับคนในครอบครัวว่า “ช่วยกันหาลู่ทาง” อาจจะเปลี่ยนในรุ่นเราไม่ได้ รุ่นลูกเปลี่ยนได้..ก็โอเค (ok) ถ้าเปลี่ยนในรุ่นเราได้..ดีมาก ก็คล้ายๆ กับว่า เหมือนกับเรามีถ่านเพลิงอยู่ จำเป็นต้องจับมัน จะจับใช้เวลากับมันไม่นาน แล้วจะหาวิธีที่จะจับแล้วมือพองน้อยที่สุด ไม่ได้จับทั้งมือ “มันจะจับอย่างไรดีนะ?” “จะหาอะไรจับ?” แต่มันแน่นอนมีโทษ! มันมีโทษอยู่ เพราะฉะนั้น ถ้าเลี่ยงได้..ให้เลี่ยง ถ้าทำอาชีพอื่นได้..ให้ทำ แต่ตอนนี้ถ้ายังเลี่ยงไม่ได้ ยังทำอาชีพนี้อยู่ ก็ทำอาชีพนี้ไป ..แล้วหาโอกาสทำบุญ ก็ยังดีกว่าไม่ทำ แต่ถามว่า “มันสมน้ำสมเนื้อกันไหม?” .. ไม่พอนะ! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=Ct5Sn_isBNI (นาทีที่ 1.37.10-1.43.40

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #มิจฉาวณิชชา #อาชีพที่ไม่ควรประกอบ ?? #ถาม : กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ผมทำอาชีพเกี่ยวกับการฆ่าชีวิตสัตว์ ทุกทีที่ผมทำงานเสร็จ จะเข้าวัดไปทำบุญ อุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศล ให้กับชีวิตที่ผมฆ่าไป แบบนี้พอจะ “แบ่งเบาบาป” ของผมได้ไหมครับ? #ตอบ : ก็ยังดีกว่าไม่ทำ แต่ถามว่ามันสมน้ำสมเนื้อกันไหม? ถ้าว่ากันซื่อๆ เลยนะ “มันไม่สมน้ำสมเนื้อเท่าไหร่หรอก” เราฆ่าเขา แล้วเราไปทำบุญอุทิศให้เขาเนี่ยนะ ลองนึกถึงตัวเอง.. ‘ถ้าเราถูกฆ่า แล้วคนฆ่าเรา ไปถวายสังฆทานอุทิศให้เรา..เรายอมไหม?’ ถ้าคำตอบว่า ‘ยอม’ ก็แสดงทำได้ ทำต่อไป เพราะฉะนั้น ไอ้อาชีพที่ทำอยู่เนี่ย มันเป็นอาชีพที่ว่า “เสี่ยง” เสี่ยง..นี่พูดแบบ’เบา’ที่สุดนะ จริงๆ มันคืออาชีพที่เรียกว่า “มิจฉาวณิชชา” เป็นการเลี้ยงชีพ เป็นการค้าขาย หรือการทำอาชีพที่ “อุบาสกในพุทธศาสนา ควรเลี่ยง” เป็นอาชีพที่ไม่ควรประกอบ มีอะไรบ้าง? คือ ๑. ค้าอาวุธ ๒. ค้ามนุษย์ ๓. ค้าสัตว์..อย่างที่โยมทำมานี้ ๔. ค้าน้ำเมาหรือสิ่งมึนเมา สิ่งเสพติดต่างๆ ๕. ค้ายาพิษ การค้าขายอย่างนี้นะ ถ้าทำ มันจะมีรายได้เยอะ เพราะเป็นอาชีพที่มีรายได้เข้าง่าย แต่จริงๆ มันเป็นอาชีพที่มันไปสร้างเวร ไปสร้างอกุศล ลูกค้าของเราก็จะเป็นลูกค้าที่เสี่ยงด้วย เมื่อเขาใช้บริการแล้ว เขาจะเกิดอกุศล หรือว่าสัตว์ที่เราค้าเนี่ย เขาถูกทำร้าย เขาจะไม่ชอบใจ เพราะฉะนั้นตอนนี้ ถ้ายังเลิกไม่ได้ ยังหาอาชีพอื่นไม่ได้ ทำไปแล้วก็ทำบุญอุทิศให้เขา อย่างนี้ยังดีกว่าไม่ทำ!! แต่ถามว่ามันสมน้ำสมเนื้อกันไหม? กับการที่เราฆ่าสัตว์ แล้วเราไปทำบุญอุทิศให้ ..มันสมน้ำสมเนื้อกันไหม? คำตอบมันจะออกมาว่า “ไม่สมน้ำสมเนื้อ” เพราะฉะนั้นถ้าเลี่ยงได้ ให้ไปลองหาลู่ทางในการทำอาชีพอื่น แต่ยอมรับว่ามันไม่ใช่หาง่ายนะ เพราะฉะนั้นในระหว่างนี้ ยังเลิกไม่ได้กับอาชีพนี้ ทำบุญอุทิศไปก่อน ก็ยังดี ยังดีกว่าไม่ทำ แต่ถ้าจะให้แนะนำจริงๆ ก็คือว่า “ลองหาลู่ทางในการเปลี่ยนอาชีพ” เปลี่ยนอาชีพ ให้เป็นอาชีพที่.. – ไม่ไปเบียดเบียนชีวิตใคร – ไม่ไปทำให้ใครเขาเดือดร้อน ในแง่ของไปค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ ค้าเนื้อสัตว์ ค้าน้ำเมา ค้ายาพิษอะไรเนี่ย คือเลี่ยงมิจฉาวณิชชา ..ลองไปหาอาชีพอื่น มีโยมที่รู้จักกัน มีอยู่คนหนึ่งเขาทำอาชีพเลี้ยงกุ้ง ทำนากุ้ง เป็นบ่อกุ้ง – เลี้ยงกุ้ง เอากุ้งไปขาย พอมาสนใจธรรมะ มาฟังธรรม รู้ว่าอาชีพนี้ไม่ดี มันเป็นการก่อเวร แล้วก็เป็นมิจฉาวณิชชา ตามที่พระพุทธเจ้าแสดงเอาไว้ แต่ยังเลิกไม่ได้ คล้ายๆ ทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ ก็ทำต่อไปก่อน แต่ก็ทำอย่างที่โยมว่าเนี่ย..ทำบุญไปด้วย ค้าขายชีวิตสัตว์ ด้วยใจที่รู้ว่า ‘มันมีโทษ’ มันก็จะ ‘คอยหาลู่ทางที่จะทำอย่างไร ที่จะเปลี่ยนอาชีพ?’ มันไม่ได้ทำด้วยใจที่เหลิงกับรายได้ที่เข้ามา แต่จะทำ “อย่างระมัดระวัง” แล้วถ้ามีโอกาสก็จะเปลี่ยน และในที่สุดก็เปลี่ยนได้ ก็เปลี่ยนอาชีพได้ มันเหมือนกับว่า รู้อยู่ว่าถ่าน (ถ่านหุงข้าว) ตอนจุดไฟนะ เวลาถ่านมันแดงเนี่ย ไม่มีควันนะ คนไม่รู้ก็จะจับถ่านอย่างเต็มมือ มันก็จะลวกมือพอง ไหม้เต็มที่ แต่ถ้ารู้อยู่ว่า ‘ถ่านนี้จะต้องร้อนแน่ๆ เลย’ รู้อยู่ว่า ‘ร้อน’ มันจะจับด้วยความระมัดระวัง และใช้เวลากับถ่านนี้ไม่นาน เช่นเดียวกัน ถ้าโยมรู้อยู่ว่า ‘อาชีพนี้ มันเป็นอาชีพที่ไม่ควรทำ’ ‘มันเป็นอาชีพที่ไปเบียดเบียนชีวิตสัตว์..มีโทษ’ แต่ตอนนี้มันยังเลิกไม่ได้ ด้วยสถานการณ์อะไรต่างๆ นาๆ แต่ตั้งใจจะเลิก ตั้งใจจะเปลี่ยนอาชีพ อย่างน้อยๆ บอกกับคนในครอบครัวว่า “ช่วยกันหาลู่ทาง” อาจจะเปลี่ยนในรุ่นเราไม่ได้ รุ่นลูกเปลี่ยนได้..ก็โอเค (ok) ถ้าเปลี่ยนในรุ่นเราได้..ดีมาก ก็คล้ายๆ กับว่า เหมือนกับเรามีถ่านเพลิงอยู่ จำเป็นต้องจับมัน จะจับใช้เวลากับมันไม่นาน แล้วจะหาวิธีที่จะจับแล้วมือพองน้อยที่สุด ไม่ได้จับทั้งมือ “มันจะจับอย่างไรดีนะ?” “จะหาอะไรจับ?” แต่มันแน่นอนมีโทษ! มันมีโทษอยู่ เพราะฉะนั้น ถ้าเลี่ยงได้..ให้เลี่ยง ถ้าทำอาชีพอื่นได้..ให้ทำ แต่ตอนนี้ถ้ายังเลี่ยงไม่ได้ ยังทำอาชีพนี้อยู่ ก็ทำอาชีพนี้ไป ..แล้วหาโอกาสทำบุญ ก็ยังดีกว่าไม่ทำ แต่ถามว่า “มันสมน้ำสมเนื้อกันไหม?” .. ไม่พอนะ! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=Ct5Sn_isBNI (นาทีที่ 1.37.10-1.43.40

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ใครยอมก่อนคนนั้นชนะ ?? #ถาม : ถ้าเรามีปัญหาทะเลาะกับคนในครอบครัว และเรายอมที่จะพูดว่า “ขอโทษ” ก่อน เพื่อหยุดปัญหา เราทำถูกไหมคะ? #ตอบ : ถ้าทะเลาะกัน.. ถ้าลงทะเลาะกันแล้วนะ ถ้าเรายอมที่จะพูด “ขอโทษ” ก่อนเนี่ยนะ ..ดีมากเลย! ขออนุโมทนาเลย!! ส่วนเราจะเลวอย่างที่เขาว่าหรือเปล่า? ..ยกเอาไว้ก่อน แต่ที่พูดขอโทษเอาไว้..ใช้ได้!! เราอาจจะไม่เห็นโทษอันนั้น แต่ยอมขอโทษ ถือว่าดีมาก เหมือนได้ทำตามพระอานนท์ .. พระอานนท์ ตอนสังคายนาครั้งที่ ๑ ตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลายให้เวลาพระอานนท์ ๓ เดือน ว่า “๓ เดือน จะมาทำสังคายนา” ตอนนั้นพระอานนท์ยังเป็นแค่โสดาบัน ประมาณว่าให้เวลา ๓ เดือน ไปทำอรหัตตผลให้ได้..เพื่อที่จะเข้าประชุม เพราะว่าที่ประชุมนี้ ผู้มีคุณสมบัติที่จะเข้าประชุมได้ ต้องเป็นพระอรหันต์ แต่พระอานนท์ก็เป็นพระผู้ทรงจำพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ไว้อย่างมากที่สุด การทำสังคายนาจะขาดพระอานนท์ก็ไม่ได้ ประมาณอย่างนี้ เป็นภาระของพระอานนท์ที่จะต้องทำ สรุปแล้วในที่สุดพระอานนท์ก็เป็นพระอรหันต์จนได้ นี่เล่าสั้นๆ ย่อๆ นะ ทีนี้พอไปเข้าที่ประชุม พอพระอานนท์เล่าถึงตอนที่มารมาแกล้ง ทำให้พระอานนท์ลืมที่จะขออาราธนาให้พระพุทธเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ พระพุทธเจ้าเปิดโอกาสให้พระอานนท์อาราธนา แต่พระอานนท์ไม่ทันได้อาราธนา สงฆ์ทั้งหลายในที่นั้นก็ปรับอาบัติ เป็นอาบัติทุกกฏ ปรับเป็นอาบัติที่ไม่ยอมอาราธนาให้พระพุทธเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ต่อ ทั้งที่พระพุทธเจ้าเปิดโอกาสให้ตั้ง ๑๐ กว่าครั้ง พระอานนท์จริงๆ แล้วมองไม่เห็นอาบัติของตัวเองนะ แต่ก็ยอมแสดงอาบัติ พระอานนท์เนี่ย เหมือนกับบอกว่าท่านไม่ผิด ประมาณว่า ที่ไม่อาราธนาเนี่ย ไม่ใช่ว่าสะเพร่า หรือละเลยอะไร แต่เพราะมารมันมาดลใจ ให้หลงลืมไป มันไม่ใช่เป็นความผิดของท่าน ประมาณนี้ แต่ถ้าสงฆ์ลงความเห็นว่า ‘ท่านผิด’ .. ท่านก็จะยอมแสดงอาบัติ ..เหมือนกัน ..เราทะเลาะกันในบ้านเนี่ยนะ ถ้าเราต่างฝ่ายต่างไม่ยอมนะ ..ไม่จบ เรายอมเขาซะก่อนนะ เขาเห็นว่าเรายอมแล้ว..เขาก็จะอ่อนลง จริงๆ คนเวลาเอาชนะกัน คนมันทะเลาะกัน มันก็จะเอาชนะกันนะ ถ้าอีกคนหนึ่งยอมแล้วเนี่ย.. ภาระที่จะเอาชนะ(ของอีกฝ่าย)มันหมดไป นึกออกไหม? ก็เรายอมซะแล้ว เหมือนยอมแพ้นะ “ยอมแพ้ ..อ่ะๆๆ.. ฉันยอมแพ้ๆ ยอมๆๆ” พอยอมแล้วเนี่ย ไอ้เรื่องราวอะไรต่างๆ ของอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องการเอาชนะ..มันก็จบแล้ว เพราะว่าชนะแล้ว ก็เหลือแต่ว่า จะมาปรับความเข้าใจกัน ปรับทัศนคติกัน “อ้าว..เธอผิดแล้ว ! โอเค(ok) งั้นฉันก็ขออภัยด้วยนะ ที่ฉัน ..อย่างนั้น ..อย่างนี้..” มันต่างฝ่ายต่างขออภัยซึ่งกันและกัน มันก็จบได้นะ เพราะฉะนั้น “คนขอโทษก่อน คือคนชนะ” ก็ขออนุโมทนาด้วย ถ้าเรามีการทะเลาะกัน .. “ใครยอมก่อน คนนั้นชนะ” ก็แล้วกัน! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=D8kDeGhAg4k (นาทีที่ 1.42.35 -1.46.39)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ใครยอมก่อนคนนั้นชนะ ?? #ถาม : ถ้าเรามีปัญหาทะเลาะกับคนในครอบครัว และเรายอมที่จะพูดว่า “ขอโทษ” ก่อน เพื่อหยุดปัญหา เราทำถูกไหมคะ? #ตอบ : ถ้าทะเลาะกัน.. ถ้าลงทะเลาะกันแล้วนะ ถ้าเรายอมที่จะพูด “ขอโทษ” ก่อนเนี่ยนะ ..ดีมากเลย! ขออนุโมทนาเลย!! ส่วนเราจะเลวอย่างที่เขาว่าหรือเปล่า? ..ยกเอาไว้ก่อน แต่ที่พูดขอโทษเอาไว้..ใช้ได้!! เราอาจจะไม่เห็นโทษอันนั้น แต่ยอมขอโทษ ถือว่าดีมาก เหมือนได้ทำตามพระอานนท์ .. พระอานนท์ ตอนสังคายนาครั้งที่ ๑ ตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลายให้เวลาพระอานนท์ ๓ เดือน ว่า “๓ เดือน จะมาทำสังคายนา” ตอนนั้นพระอานนท์ยังเป็นแค่โสดาบัน ประมาณว่าให้เวลา ๓ เดือน ไปทำอรหัตตผลให้ได้..เพื่อที่จะเข้าประชุม เพราะว่าที่ประชุมนี้ ผู้มีคุณสมบัติที่จะเข้าประชุมได้ ต้องเป็นพระอรหันต์ แต่พระอานนท์ก็เป็นพระผู้ทรงจำพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ไว้อย่างมากที่สุด การทำสังคายนาจะขาดพระอานนท์ก็ไม่ได้ ประมาณอย่างนี้ เป็นภาระของพระอานนท์ที่จะต้องทำ สรุปแล้วในที่สุดพระอานนท์ก็เป็นพระอรหันต์จนได้ นี่เล่าสั้นๆ ย่อๆ นะ ทีนี้พอไปเข้าที่ประชุม พอพระอานนท์เล่าถึงตอนที่มารมาแกล้ง ทำให้พระอานนท์ลืมที่จะขออาราธนาให้พระพุทธเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ พระพุทธเจ้าเปิดโอกาสให้พระอานนท์อาราธนา แต่พระอานนท์ไม่ทันได้อาราธนา สงฆ์ทั้งหลายในที่นั้นก็ปรับอาบัติ เป็นอาบัติทุกกฏ ปรับเป็นอาบัติที่ไม่ยอมอาราธนาให้พระพุทธเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ต่อ ทั้งที่พระพุทธเจ้าเปิดโอกาสให้ตั้ง ๑๐ กว่าครั้ง พระอานนท์จริงๆ แล้วมองไม่เห็นอาบัติของตัวเองนะ แต่ก็ยอมแสดงอาบัติ พระอานนท์เนี่ย เหมือนกับบอกว่าท่านไม่ผิด ประมาณว่า ที่ไม่อาราธนาเนี่ย ไม่ใช่ว่าสะเพร่า หรือละเลยอะไร แต่เพราะมารมันมาดลใจ ให้หลงลืมไป มันไม่ใช่เป็นความผิดของท่าน ประมาณนี้ แต่ถ้าสงฆ์ลงความเห็นว่า ‘ท่านผิด’ .. ท่านก็จะยอมแสดงอาบัติ ..เหมือนกัน ..เราทะเลาะกันในบ้านเนี่ยนะ ถ้าเราต่างฝ่ายต่างไม่ยอมนะ ..ไม่จบ เรายอมเขาซะก่อนนะ เขาเห็นว่าเรายอมแล้ว..เขาก็จะอ่อนลง จริงๆ คนเวลาเอาชนะกัน คนมันทะเลาะกัน มันก็จะเอาชนะกันนะ ถ้าอีกคนหนึ่งยอมแล้วเนี่ย.. ภาระที่จะเอาชนะ(ของอีกฝ่าย)มันหมดไป นึกออกไหม? ก็เรายอมซะแล้ว เหมือนยอมแพ้นะ “ยอมแพ้ ..อ่ะๆๆ.. ฉันยอมแพ้ๆ ยอมๆๆ” พอยอมแล้วเนี่ย ไอ้เรื่องราวอะไรต่างๆ ของอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องการเอาชนะ..มันก็จบแล้ว เพราะว่าชนะแล้ว ก็เหลือแต่ว่า จะมาปรับความเข้าใจกัน ปรับทัศนคติกัน “อ้าว..เธอผิดแล้ว ! โอเค(ok) งั้นฉันก็ขออภัยด้วยนะ ที่ฉัน ..อย่างนั้น ..อย่างนี้..” มันต่างฝ่ายต่างขออภัยซึ่งกันและกัน มันก็จบได้นะ เพราะฉะนั้น “คนขอโทษก่อน คือคนชนะ” ก็ขออนุโมทนาด้วย ถ้าเรามีการทะเลาะกัน .. “ใครยอมก่อน คนนั้นชนะ” ก็แล้วกัน! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=D8kDeGhAg4k (นาทีที่ 1.42.35 -1.46.39)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #เจ้ากรรมนายเวร ?? #ถาม : “เจ้ากรรมนายเวร” หมายถึงอะไร? #ตอบ : “เจ้ากรรมนายเวร” เอาเฉพาะคำนี้เลยนะ.. ไม่มีในพระไตรปิฎก เป็นคำที่คนไทยใช้กันเอง แต่ถ้าว่าโดยความหมาย มันก็คือ “ผู้ที่จองเวร” เมื่อเราทำกรรมต่างๆ ไว้ในอดีต เราทำกรรมอะไร เคยล่วงเกินใครไว้ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นอดีต..ในชาตินี้ อดีต..ในชาติก่อนๆ ล่วงเกินใครไว้ ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือแม้ด้วยใจ แล้วคนที่ถูกล่วงเกินนั้น “ผูกโกรธและจองเวร” คนไทยก็จะเรียกคนผูกโกรธและจองเวรนั้นว่า.. “เจ้ากรรมนายเวร” อันนี้เป็นคำที่คนไทยเรียกกันเองนะ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า เจ้ากรรมนายเวร คือ ผู้เคยมีเวรมีกรรมต่อกันมาแต่ชาติก่อน คำจึงนี้หมายถึง ผู้ที่ยังจองเวรกันอยู่ ลองคิดง่ายๆ เอาเราเองก็แล้วกัน เราเองมีคนที่เราไม่ชอบหน้าบ้างไหม? คนที่เหม็นขี้หน้า มีไหม? เจอแล้ว อยากจะขัดขวาง เวลาเขาได้ดี ไม่ดีใจด้วย เวลาเขาจะเจริญ ถ้าขัดขวางได้ เราจะขัดขวาง ถ้ามีคนแบบนี้อยู่กับชีวิตของเราเนี่ยนะ เรากำลังเป็น “เจ้ากรรมนายเวร” ของเขา นึกออกไหม? เรา ‘จองเวร’ เขา ไม่ยินดีในความเจริญของเขา ไม่ยินดีที่จะเห็นเขามีความสุข พยามยามทำเท่าที่จะทำได้ ที่จะขัดขวางเขา หรือทำให้เขามีทุกข์ ยิ่งเห็นเขาทุกข์ เรายิ่งสะใจ ถ้ามีคนอย่างนั้นอยู่ในชีวิตของเรา ที่เราคิดอย่างนี้อยู่นะ เรานี้ล่ะ เป็น “เจ้ากรรมนายเวร” ของเขา เราเป็นผู้จองเวร เป็นผู้ผูกโกรธ เป็นผู้หาช่องทางที่จะทำให้เขาพินาศฉิบหาย ประมาณนี้ คล้ายๆ กับว่า โกรธแค้นที่เขาทำเราเจ็บแสบ เพราะฉะนั้น ‘มันจะต้องถูกล่า และถูกทำลาย อย่างสาสมที่มันได้ทำกับเราไว้!!’ คิดอย่างนี้นะ..เป็นเจ้ากรรมนายเวรแล้ว นึกออกไหม? เพราะฉะนั้นถ้าเราไปทำใคร จนเขาโกรธแค้น แล้วเขาไม่ละความพยายามที่จะทำร้ายเรา คนไทยเราก็จะเรียกคนประเภทนั้นว่า “เจ้ากรรมนายเวร” แล้วทีนี้จะทำอย่างไรล่ะ? ประการที่ ๑ ถ้าเราระลึกได้ว่า.. ‘เราเคยล่วงเกินใคร ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือแม้ด้วยใจ’ ถ้าระลึกได้นะ ควรจะไปขอขมา ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ ไปขอโทษ ขอขมากับบุคคลเหล่านั้น ให้เห็นว่า เราพลาดพลั้งไป เผลอไป ต้องไปแสดงให้เขาเห็นว่า เราสำนึกผิดจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ขอโทษเป็นพิธี.. เดี๋ยวนี้มันจะมีประเภทว่า ไป bully (ระราน, หาเรื่อง) หรือไป comment (แสดงความคิดเห็น) แบบด่า ทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักกันเลย เพียงแค่มีความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน หรือว่าความเห็นในเรื่องต่างๆ ไม่ตรงกัน มีคนชงเรื่อง ยกประเด็นอะไรขึ้นมาสักอย่างหนึ่ง แล้วก็ไปด่า ด่าแล้วด่าอีก ด่าซ้ำด่าซาก จนเขาทนไม่ได้ ไปฟ้องศาล อย่างนี้นะ ‘โอ้ ตายละหว่า! การด่ามีค่าขึ้นมาแล้ว’ กลายเป็นว่าจะต้องชดใช้ มีค่าเสียหายจากการถูกด่า เราไม่อยากจะจ่ายเงิน ก็ไป “พี่ครับ ขอโทษครับ” อะไรอย่างนี้ ..มันไม่ทันแล้ว ประมาณอย่างนี้ บางทีเขาถูกกระทำแล้ว หรือถูกล่วงเกิน จนไม่ยอมแล้ว เราไปเพียงแค่ขอโทษเนี่ยนะ เขาไม่ยอม อย่างนี้เรียกว่า เราไปล่วงเกินเขา จนเขาไม่ยอม ทีนี้แสดงว่าที่เราทำไป มันหนักหนาสาหัสจนเขาไม่ยอม ถ้าจะให้ดี ก็ควรจะระมัดระวังการแสดงออก ทั้งทางกาย ทางวาจา หรือแม้แต่จะคิดในใจ ถ้าจะมี ‘การล่วงเกินใคร’ เกิดขึ้นมา มันจะมีการปรุงขึ้นมาก่อนในใจ ถ้ารู้ทันในใจ เกิดดับอยู่ในใจ ก็เรียกว่าใช้ได้ ไม่ไปแสดงออกทางกาย ไม่ไปแสดงออกทางวาจา ก็เรียกว่าปลอดภัยระดับหนึ่ง ทีนี้ถ้าเผลอออกไปทางกาย ทางวาจาแล้ว ก็ควรจะไปขอขมากัน ในขณะเดียวกัน ถ้ามีใครทำร้ายเรา ล่วงเกินเราด้วยกาย ด้วยวาจา หรือแม้ด้วยใจ.. ถ้าเรารู้.. ก็ควรให้อภัย เรารู้อยู่แล้วว่า.. เราไม่อยากให้.. เจ้ากรรมนายเวร มา “จองเวร” กับเรา เราในฐานะที่อยากจะให้.. เจ้ากรรมนายเวร “ให้อภัย” กับเรา เวลาคนอื่นเขาทำกับเรา เราก็ควรจะ “ให้อภัย” กับเขาด้วย ไม่ใช่ขอให้คนอื่นให้อภัยกับเรา แต่ ‘กูจะจองเวรกับมึง!’ อย่างนี้รู้สึกจะไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไหร่ ถ้าเราคิดจะให้เจ้ากรรมนายเวร “ให้อภัย” แก่เรา เราควรจะแสดงออก ซึ่งความสำนึกผิด ที่เราทำกับเขาไว้ และถ้ามีใครทำอะไรกับเรา เราก็ควรที่จะยับยั้งชั่งใจ ไม่จองเวร ไม่คิดพยาบาทเขา ไม่คิดให้ร้ายเขา ให้สมกับที่เราปรารถนา ให้เจ้ากรรมนายเวรให้อภัยกับเรา เพราะฉะนั้นเราควรจะให้อภัย กับคนที่ล่วงเกินเราด้วย นึกออกไหม? ไม่งั้นก็.. “มึงอย่ามาจองเวรกู” แต่ “กูจะจองเวรมึง” อะไรอย่างนี้ อย่างนี้ดูแปลกๆ ไหม? คล้ายๆ เห็นแก่ตัวเกินไป ใช่ไหม? ไอ้คนที่จองเวรเราอยู่ ก็เห็นเรายังซ่าส์เหลือเกิน ก็สั่งสอนสักหน่อย ประมาณนี้ เข้าใจไหม? ..มันก็คือ ไม่ใช่ว่าเห็นเจ้ากรรมนายเวรเนี่ยเป็นตัวซวย หรือว่าเป็นตัวล้างตัวผลาญเรา จริงๆ แล้วเนี่ย ที่เขาคิดไม่ดีกับเรา เพราะเราทำไม่ดีกับเขาไว้ก่อน แต่ตอนนี้เราสำนึกหรือยัง? หรือว่าเรารู้หรือเปล่า? ระลึกชาติได้ไหม? อะไรประมาณนี้นะ เพราะฉะนั้น อย่าไปมองเจ้ากรรมนายเวรในแง่ว่า “เป็นตัวผู้ร้าย” มาก่อกวนชีวิตเรา แต่ให้มองว่า เรานี่แหละเคยทำไม่ดีกับเขาไว้ ไม่งั้นเขาไม่จองเวรขนาดนี้หรอก เข้าใจไหม? ให้ดูอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เราจะระวังการกระทำของเรา เราจะระวังของเรา เราจะไม่ไปล่วงเกินใคร เราจะระวังการแสดงออกทางกาย ทางวาจาของเรา และในขณะเดียวกัน ถ้ามีใครล่วงเกินเรา เราจะให้อภัย เราจะรู้สึกว่า.. แม้แต่ความโกรธที่เกิดขึ้นมาในใจเราเนี่ย เกิดทีไร ก็ทุกข์ทีนั้น เราปฏิบัติไปเนี่ยนะ เราดูใจของเรา เราเจริญสติ เจริญกรรมฐานของเรา ในการดูจิตดูใจ ความโกรธเกิดขึ้นมาทีไร เรารู้อยู่แล้ว.. โกรธปุ๊บ ทุกข์ทันที โกรธปุ๊บ ร้อนรนขึ้นมาทันที มันทุกข์ขึ้นมาทันที อย่าว่าแต่พัฒนาขึ้นมาไปเป็นผูกโกรธ หรือเป็นจองเวรเลยนะ การผูกโกรธและจองเวรเกิดขึ้น แสดงว่า มันโกรธขึ้นมา แล้วไม่รู้สึกตัว แล้วก็..ปรุงแล้วปรุงอีก คิดแล้วคิดอีก จนกลายเป็นจองเวร อาฆาต พยาบาท ‘โกรธร้อยปี อย่ามาดีร้อยชาติ’ ประมาณอย่างนี้นะ เพราะฉะนั้น โกรธเกิดขึ้นที่ใด .. เรารู้อยู่แล้วว่า ‘มันเป็นทุกข์ทันที’ เราจะไม่ปล่อยให้มันขยาย หรือให้มันเลยเถิด ..กลายเป็น “ผูกโกรธ” หรือ “จองเวร” นะ ที่ทำได้แน่ๆ คือ ถ้ามีใครทำร้ายเรา ล่วงเกินเราด้วยกาย ด้วยวาจา หรือแม้ด้วยใจ เรารู้ เราจะไม่ผูกโกรธ เราจะไม่จองเวร แต่ถ้ามีใครจองเวรเราอยู่เนี่ย เราบังคับเขาไม่ได้เลย มีทางเดียวคือ - ทำดีให้เขาดู..จนเขายอม - หรือ ทำตนเองให้พ้นโลกไป เหมือนกับพระองคุลิมาล พระองคุลิมาลก็สร้างกรรมไว้เยอะนะ สร้างอกุศลกรรมเอาไว้เยอะ ไปทำร้ายคนเอาไว้ ถึงกับเขาเสียชีวิตเลยก็มีใช่ไหม? ฆ่าคนตั้งมากมาย ทำให้ญาติๆ ต้องพลัดพรากจากคนที่เขารัก เขาก็ผูกโกรธ ผูกความแค้น ผูกความพยาบาท แต่ความโกรธ ความแค้น ความพยาบาทจะไม่ส่งผลไปแล้ว เพราะการทำร้ายกันสำเร็จ มันต้องมีขันธ์ ๕ มารองรับ แต่พระองคุลิมาล นิพพานเสียแล้ว ขันธ์ ๕ เปรียบเหมือนเปลวไฟที่หมดเชื้อแล้ว ไม่มีขันธ์ ๕ จะมารองรับวิบากอีกแล้ว ถ้าเรากลัวเจ้ากรรมนายเวรจะมาทำร้ายเราไม่จบไม่สิ้น จงเร่งเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้ขันธ์ ๕ นี้ที่เกิด-ดับ แล้วมันไม่เกิดอีก ขันธ์ ๕ ดับหมดแล้ว ก็หมดไปเลย ถ้ากลัวเรื่องเจ้ากรรมนายเวร ให้มาเตือนตัวเองว่า.. “เราควรจะเร่งที่จะมาเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ให้บรรลุมรรคผลนิพพาน..พ้นไป” พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=OprPtoR6LMk (นาทีที่ 47.46-58.26)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #เจ้ากรรมนายเวร ?? #ถาม : “เจ้ากรรมนายเวร” หมายถึงอะไร? #ตอบ : “เจ้ากรรมนายเวร” เอาเฉพาะคำนี้เลยนะ.. ไม่มีในพระไตรปิฎก เป็นคำที่คนไทยใช้กันเอง แต่ถ้าว่าโดยความหมาย มันก็คือ “ผู้ที่จองเวร” เมื่อเราทำกรรมต่างๆ ไว้ในอดีต เราทำกรรมอะไร เคยล่วงเกินใครไว้ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นอดีต..ในชาตินี้ อดีต..ในชาติก่อนๆ ล่วงเกินใครไว้ ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือแม้ด้วยใจ แล้วคนที่ถูกล่วงเกินนั้น “ผูกโกรธและจองเวร” คนไทยก็จะเรียกคนผูกโกรธและจองเวรนั้นว่า.. “เจ้ากรรมนายเวร” อันนี้เป็นคำที่คนไทยเรียกกันเองนะ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า เจ้ากรรมนายเวร คือ ผู้เคยมีเวรมีกรรมต่อกันมาแต่ชาติก่อน คำจึงนี้หมายถึง ผู้ที่ยังจองเวรกันอยู่ ลองคิดง่ายๆ เอาเราเองก็แล้วกัน เราเองมีคนที่เราไม่ชอบหน้าบ้างไหม? คนที่เหม็นขี้หน้า มีไหม? เจอแล้ว อยากจะขัดขวาง เวลาเขาได้ดี ไม่ดีใจด้วย เวลาเขาจะเจริญ ถ้าขัดขวางได้ เราจะขัดขวาง ถ้ามีคนแบบนี้อยู่กับชีวิตของเราเนี่ยนะ เรากำลังเป็น “เจ้ากรรมนายเวร” ของเขา นึกออกไหม? เรา ‘จองเวร’ เขา ไม่ยินดีในความเจริญของเขา ไม่ยินดีที่จะเห็นเขามีความสุข พยามยามทำเท่าที่จะทำได้ ที่จะขัดขวางเขา หรือทำให้เขามีทุกข์ ยิ่งเห็นเขาทุกข์ เรายิ่งสะใจ ถ้ามีคนอย่างนั้นอยู่ในชีวิตของเรา ที่เราคิดอย่างนี้อยู่นะ เรานี้ล่ะ เป็น “เจ้ากรรมนายเวร” ของเขา เราเป็นผู้จองเวร เป็นผู้ผูกโกรธ เป็นผู้หาช่องทางที่จะทำให้เขาพินาศฉิบหาย ประมาณนี้ คล้ายๆ กับว่า โกรธแค้นที่เขาทำเราเจ็บแสบ เพราะฉะนั้น ‘มันจะต้องถูกล่า และถูกทำลาย อย่างสาสมที่มันได้ทำกับเราไว้!!’ คิดอย่างนี้นะ..เป็นเจ้ากรรมนายเวรแล้ว นึกออกไหม? เพราะฉะนั้นถ้าเราไปทำใคร จนเขาโกรธแค้น แล้วเขาไม่ละความพยายามที่จะทำร้ายเรา คนไทยเราก็จะเรียกคนประเภทนั้นว่า “เจ้ากรรมนายเวร” แล้วทีนี้จะทำอย่างไรล่ะ? ประการที่ ๑ ถ้าเราระลึกได้ว่า.. ‘เราเคยล่วงเกินใคร ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือแม้ด้วยใจ’ ถ้าระลึกได้นะ ควรจะไปขอขมา ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ ไปขอโทษ ขอขมากับบุคคลเหล่านั้น ให้เห็นว่า เราพลาดพลั้งไป เผลอไป ต้องไปแสดงให้เขาเห็นว่า เราสำนึกผิดจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ขอโทษเป็นพิธี.. เดี๋ยวนี้มันจะมีประเภทว่า ไป bully (ระราน, หาเรื่อง) หรือไป comment (แสดงความคิดเห็น) แบบด่า ทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักกันเลย เพียงแค่มีความเห็นทางการเมืองไม่ตรงกัน หรือว่าความเห็นในเรื่องต่างๆ ไม่ตรงกัน มีคนชงเรื่อง ยกประเด็นอะไรขึ้นมาสักอย่างหนึ่ง แล้วก็ไปด่า ด่าแล้วด่าอีก ด่าซ้ำด่าซาก จนเขาทนไม่ได้ ไปฟ้องศาล อย่างนี้นะ ‘โอ้ ตายละหว่า! การด่ามีค่าขึ้นมาแล้ว’ กลายเป็นว่าจะต้องชดใช้ มีค่าเสียหายจากการถูกด่า เราไม่อยากจะจ่ายเงิน ก็ไป “พี่ครับ ขอโทษครับ” อะไรอย่างนี้ ..มันไม่ทันแล้ว ประมาณอย่างนี้ บางทีเขาถูกกระทำแล้ว หรือถูกล่วงเกิน จนไม่ยอมแล้ว เราไปเพียงแค่ขอโทษเนี่ยนะ เขาไม่ยอม อย่างนี้เรียกว่า เราไปล่วงเกินเขา จนเขาไม่ยอม ทีนี้แสดงว่าที่เราทำไป มันหนักหนาสาหัสจนเขาไม่ยอม ถ้าจะให้ดี ก็ควรจะระมัดระวังการแสดงออก ทั้งทางกาย ทางวาจา หรือแม้แต่จะคิดในใจ ถ้าจะมี ‘การล่วงเกินใคร’ เกิดขึ้นมา มันจะมีการปรุงขึ้นมาก่อนในใจ ถ้ารู้ทันในใจ เกิดดับอยู่ในใจ ก็เรียกว่าใช้ได้ ไม่ไปแสดงออกทางกาย ไม่ไปแสดงออกทางวาจา ก็เรียกว่าปลอดภัยระดับหนึ่ง ทีนี้ถ้าเผลอออกไปทางกาย ทางวาจาแล้ว ก็ควรจะไปขอขมากัน ในขณะเดียวกัน ถ้ามีใครทำร้ายเรา ล่วงเกินเราด้วยกาย ด้วยวาจา หรือแม้ด้วยใจ.. ถ้าเรารู้.. ก็ควรให้อภัย เรารู้อยู่แล้วว่า.. เราไม่อยากให้.. เจ้ากรรมนายเวร มา “จองเวร” กับเรา เราในฐานะที่อยากจะให้.. เจ้ากรรมนายเวร “ให้อภัย” กับเรา เวลาคนอื่นเขาทำกับเรา เราก็ควรจะ “ให้อภัย” กับเขาด้วย ไม่ใช่ขอให้คนอื่นให้อภัยกับเรา แต่ ‘กูจะจองเวรกับมึง!’ อย่างนี้รู้สึกจะไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไหร่ ถ้าเราคิดจะให้เจ้ากรรมนายเวร “ให้อภัย” แก่เรา เราควรจะแสดงออก ซึ่งความสำนึกผิด ที่เราทำกับเขาไว้ และถ้ามีใครทำอะไรกับเรา เราก็ควรที่จะยับยั้งชั่งใจ ไม่จองเวร ไม่คิดพยาบาทเขา ไม่คิดให้ร้ายเขา ให้สมกับที่เราปรารถนา ให้เจ้ากรรมนายเวรให้อภัยกับเรา เพราะฉะนั้นเราควรจะให้อภัย กับคนที่ล่วงเกินเราด้วย นึกออกไหม? ไม่งั้นก็.. “มึงอย่ามาจองเวรกู” แต่ “กูจะจองเวรมึง” อะไรอย่างนี้ อย่างนี้ดูแปลกๆ ไหม? คล้ายๆ เห็นแก่ตัวเกินไป ใช่ไหม? ไอ้คนที่จองเวรเราอยู่ ก็เห็นเรายังซ่าส์เหลือเกิน ก็สั่งสอนสักหน่อย ประมาณนี้ เข้าใจไหม? ..มันก็คือ ไม่ใช่ว่าเห็นเจ้ากรรมนายเวรเนี่ยเป็นตัวซวย หรือว่าเป็นตัวล้างตัวผลาญเรา จริงๆ แล้วเนี่ย ที่เขาคิดไม่ดีกับเรา เพราะเราทำไม่ดีกับเขาไว้ก่อน แต่ตอนนี้เราสำนึกหรือยัง? หรือว่าเรารู้หรือเปล่า? ระลึกชาติได้ไหม? อะไรประมาณนี้นะ เพราะฉะนั้น อย่าไปมองเจ้ากรรมนายเวรในแง่ว่า “เป็นตัวผู้ร้าย” มาก่อกวนชีวิตเรา แต่ให้มองว่า เรานี่แหละเคยทำไม่ดีกับเขาไว้ ไม่งั้นเขาไม่จองเวรขนาดนี้หรอก เข้าใจไหม? ให้ดูอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เราจะระวังการกระทำของเรา เราจะระวังของเรา เราจะไม่ไปล่วงเกินใคร เราจะระวังการแสดงออกทางกาย ทางวาจาของเรา และในขณะเดียวกัน ถ้ามีใครล่วงเกินเรา เราจะให้อภัย เราจะรู้สึกว่า.. แม้แต่ความโกรธที่เกิดขึ้นมาในใจเราเนี่ย เกิดทีไร ก็ทุกข์ทีนั้น เราปฏิบัติไปเนี่ยนะ เราดูใจของเรา เราเจริญสติ เจริญกรรมฐานของเรา ในการดูจิตดูใจ ความโกรธเกิดขึ้นมาทีไร เรารู้อยู่แล้ว.. โกรธปุ๊บ ทุกข์ทันที โกรธปุ๊บ ร้อนรนขึ้นมาทันที มันทุกข์ขึ้นมาทันที อย่าว่าแต่พัฒนาขึ้นมาไปเป็นผูกโกรธ หรือเป็นจองเวรเลยนะ การผูกโกรธและจองเวรเกิดขึ้น แสดงว่า มันโกรธขึ้นมา แล้วไม่รู้สึกตัว แล้วก็..ปรุงแล้วปรุงอีก คิดแล้วคิดอีก จนกลายเป็นจองเวร อาฆาต พยาบาท ‘โกรธร้อยปี อย่ามาดีร้อยชาติ’ ประมาณอย่างนี้นะ เพราะฉะนั้น โกรธเกิดขึ้นที่ใด .. เรารู้อยู่แล้วว่า ‘มันเป็นทุกข์ทันที’ เราจะไม่ปล่อยให้มันขยาย หรือให้มันเลยเถิด ..กลายเป็น “ผูกโกรธ” หรือ “จองเวร” นะ ที่ทำได้แน่ๆ คือ ถ้ามีใครทำร้ายเรา ล่วงเกินเราด้วยกาย ด้วยวาจา หรือแม้ด้วยใจ เรารู้ เราจะไม่ผูกโกรธ เราจะไม่จองเวร แต่ถ้ามีใครจองเวรเราอยู่เนี่ย เราบังคับเขาไม่ได้เลย มีทางเดียวคือ – ทำดีให้เขาดู..จนเขายอม – หรือ ทำตนเองให้พ้นโลกไป เหมือนกับพระองคุลิมาล พระองคุลิมาลก็สร้างกรรมไว้เยอะนะ สร้างอกุศลกรรมเอาไว้เยอะ ไปทำร้ายคนเอาไว้ ถึงกับเขาเสียชีวิตเลยก็มีใช่ไหม? ฆ่าคนตั้งมากมาย ทำให้ญาติๆ ต้องพลัดพรากจากคนที่เขารัก เขาก็ผูกโกรธ ผูกความแค้น ผูกความพยาบาท แต่ความโกรธ ความแค้น ความพยาบาทจะไม่ส่งผลไปแล้ว เพราะการทำร้ายกันสำเร็จ มันต้องมีขันธ์ ๕ มารองรับ แต่พระองคุลิมาล นิพพานเสียแล้ว ขันธ์ ๕ เปรียบเหมือนเปลวไฟที่หมดเชื้อแล้ว ไม่มีขันธ์ ๕ จะมารองรับวิบากอีกแล้ว ถ้าเรากลัวเจ้ากรรมนายเวรจะมาทำร้ายเราไม่จบไม่สิ้น จงเร่งเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้ขันธ์ ๕ นี้ที่เกิด-ดับ แล้วมันไม่เกิดอีก ขันธ์ ๕ ดับหมดแล้ว ก็หมดไปเลย ถ้ากลัวเรื่องเจ้ากรรมนายเวร ให้มาเตือนตัวเองว่า.. “เราควรจะเร่งที่จะมาเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ให้บรรลุมรรคผลนิพพาน..พ้นไป” พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=OprPtoR6LMk (นาทีที่ 47.46-58.26)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #มาร ?? #ถาม : “มาร” หมายถึงอะไร? #ตอบ : ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) แสดงไว้ว่า “มาร” หมายถึง (๑) สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ (๒) ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวาง ไม่ให้บรลุความดี มี ๕ คือ ๑. กิเลสมาร - มาร คือกิเลส ๒. ขันธมาร - มาร คือเบญจขันธ์ ๓. อภิสังขารมาร - มาร คืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม ๔. เทวปุตตมาร - มาร คือเทพบุตร ๕. มัจจุมาร - มาร คือความตาย ก็คือสิ่งที่มาขัดขวาง ไม่ให้เราทำความดีได้สำเร็จนั่นเอง มันมีอะไรบ้าง.. ๑. กิเลสที่เกิดขึ้นในใจ (กิเลสมาร) ก็เป็นมาร กิเลสเกิดขึ้นมาทีไร เราก็ไม่ได้อยู่ในคุณความดี คือกิเลสเกิดปุ๊บ เราก็เศร้าหมองทันที ๒. ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ในความหมายนี้มักจะหมายถึงว่า เวลาเราจะทำความดีอะไรแล้ว.. เจ็บป่วย คำว่า “ขันธมาร” ที่มักจะเน้นกันก็คือ ในแง่ของเจ็บป่วยทางกาย เช่น พอคิดจะไปทำความดีอะไรสักอย่าง แล้วมีความเจ็บป่วย ทำให้ไปไม่ได้ หรือทำไม่ได้ เช่นว่า คิดจะมาทำกรรรมฐานตอนแก่ จะเดินจงกรมก็ไม่ไหว หัวเข่าลั่นค่อกๆ แค่กๆ เอี๊ยดๆ อ๊าดๆ จะเดินจงกรมก็ไม่ได้ จะนั่งก็โอย ลุกโอย อะไรอย่างนี้นะ คือตรงข้อว่าขันธมารเนี่ย เน้นที่ “รูปขันธ์” ๓. อภิสังขารมาร อภิสังขาร แปลว่า สภาพที่ปรุงแต่งแห่งการกระทำของบุคล เป็นความปรุงแต่งในการทำกรรม มีปรุงเป็นบุญ ปรุงเป็นบาป ปรุงเป็นบาปเนี่ยนะ เขาเรียกว่า “อปุญ” คือปรุงที่ไม่ใช่บุญ ถ้าด้วยศัพท์นะ..ก็มี “ปุญญาภิสังขาร”, “อปุญญาภิสังขาร” แล้วก็ “อเนญชาภิสังขาร” ในความปรุงแต่งในใจเราเนี่ย มันจะแบ่งออกมาเป็น ๓ อย่าง อย่างนี้ ๓.๑ (ปุญญาภิสังขาร) อภิสังขารที่ปรุงเป็นบุญ ก็คิดจะให้ทาน จะรักษาศีล จะเจริญภาวนา เป็นต้น ..ปรุงไป นี่แค่ปรุงเฉยๆ นะ! ๓.๒ (อปุญญาภิสังขาร) อภิสังขารปรุงที่จะไม่เป็นบุญ เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ เช่น ปรุงไปคิดประทุษร้ายเขา คิดโลภ คิดอยากได้ หรือปรุงอะไรที่มันเพ้อเจ้อ เลื่อนลอย ฟุ้งซ่าน อันนี้ก็เป็น “อปุญ” - อปุญญาภิสังขาร ๓.๓ (อาเนญชาภิสังขาร) อภิสังขารที่เป็นอเนญชา สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) คิดอีกแบบหนึ่ง คือปรุงความว่างๆ เป็นการทำกรรมฐานแบบปัดๆ ๆ ๆ ออกไป พยายามทำให้มันว่างๆ อันนี้เขาก็เรียกว่า “อาเนญชาภิสังขาร” เป็นความปรุงแต่งนะ ก็เป็นกุศลที่เป็นอรูปาวจร มีความว่างๆ เกิดความว่างๆ เกิดขึ้นมาเนี่ยนะ แล้วก็คิดว่า ‘ไอ้ความว่างเนี่ย เป็นเรื่องดี’ หรือว่าบางคนอาจจะเข้าใจว่าตรงนี้เป็น ‘นิพพาน’ แล้วก็ได้ กลายเป็นว่า “หลงผิดไป” จริงๆ แล้ว มันคือเป็นความปรุงแต่งอย่างหนึ่ง ยังเป็น “อภิสังขาร” ..แล้วก็ถ้าหลงเชื่อ หรือว่าวนเวียนอยู่แค่นี้ มันก็วนอยู่กับการปรุงแต่ง ก็กลายเป็นตัวขัดขวาง ไม่ให้พัฒนาต่อไป กลายเป็น “อภิสังขารมาร” เพราะฉะนั้นจริงๆ อภิสังขารมาร ก็เพียงแค่รู้จัก รู้ทัน ปรุงเป็นบุญ..ก็รู้ทัน, ปรุงเป็นอบุญ..ก็รู้ทัน, ปรุงว่างๆ..ก็รู้ทัน รู้ว่า.. นี้เป็น “การปรุงแต่งภพขึ้นมา” ๔. เทวปุตตมาร มาร ๓ ข้อแรก เป็นเรื่องของตนเอง แต่เทวปุตตมาร เป็นเรื่องของบุคคลอื่น โดยในศัพท์เทพบุตรก็คือ “เป็นเทวดา” มีเทวปุตตมารหลายระดับ ตั้งแต่พญามาร.. ในพุทธประวัติเคยได้ยินใช่ไหม..? จะมีพญามารมาจากชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เป็นเทวดาชั้นสูงสุดของกามาวจร ที่ขี้ริษยา “ขี้ริษยา” ก็คือ ถ้าเห็นคนอื่นดีเกินหน้าตัวเอง จะไม่สบายใจ เห็นคุณความดีของคนอื่น ที่เกินหน้าเกินตาตัวเอง รู้สึกว่าจะไปดีกว่าเรา ไปก่อนเรา ประมาณนี้ หรือพ้นจากอำนาจของเรา ก็รู้สึกไม่ชอบใจ เกิดทุกข์ เกิดทุกข์ที่เห็นคนอื่นดี ‘เกิน’ ตัวเอง ถ้าใครดีแบบจิ๊บๆ จ้อยๆ ดีแบบเล็กๆ น้อยๆ เนี่ย เขายังรู้สึกว่าอยู่เหนือกว่าอยู่เนี่ยนะ เขาก็เฉยๆ แต่ถ้าดีจัดๆ ดีระดับที่ว่า จะพ้นจากอำนาจเขา คือระดับที่ว่าจะเกิดมรรคผล มารจะทนไม่ได้ คือ สำหรับพวกเราทั่วไป ก็คือทำกุศลจะเกิดมรรคผล ระดับพระพุทธเจ้า ก็คือจะตรัสรู้เนี่ยนะ.. มารทนไม่ได้! ทนไม่ได้ คือมีใจ ‘ริษยา’ ไม่มีความปรารถนาเห็นใครพัฒนาเกินตัวเองไป พอมีใจริษยา ก็เลยเข้ามาขัดขวาง เช่นว่า รู้อยู่ว่า เจ้าชายสิทธัตถะเนี่ย ถ้าครองเรือน อย่างมากก็เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มารก็จะไม่ขัดขวางอะไร แต่พอเจ้าชายสิทธัตถะจะออกบวช ‘อ้าว! อย่างนี้มีโอกาสจะมาตรัสรู้’ ก็รีบเลย วันไหนจะออกบวชก็ไปกระซิบเลย บอกว่า.. “อย่าเพิ่งออกบวช! อีก ๗ วัน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว กลับไปวังเถิดๆ” นี่คือ ขัดขวางแล้ว แต่พอเจ้าชายสิทธัตถะออกบวชจริงๆ ก็ไปเรียนกับอาฬารดาบส และอุททกดาบส..มารไม่ขวางเลย!! เพราะมารรู้อยู่ว่า “สมาธิแบบฤษีเนี่ย ไม่ตรัสรู้หรอก” ..เรียนไปเลย ปล่อยให้เรียนไปเลย พอออกจากสำนักฤษี มาทรมานตัวเอง มารก็ไม่ขัดขวางเลย เพราะรู้ว่า “การทำทุกรกิริยานั้น อย่างไรก็ไม่ตรัสรู้” มารก็..ปล่อยไป ..’ให้ทรมานไป ให้ตายไปเลย’ ประมาณนี้ ในมารคงคิดอย่างนั้นนะ ‘ทรมานให้ตายไปเลย’ ไม่ขัดขวางเลย ไม่มายุ่งเลย ไม่มีมาพูดด้วยเลยสักแอะหนึ่งนะ แต่พอหันมาเสวยพระกระยาหารเนี่ยนะ เจ้าชายสิทธัตถะนะ หันมาเสวยพระกระยาหาร แล้วมาระลึกถึง..การทำสมาธิแบบตอนเด็กๆ เมื่อคราวที่พุทธบิดาทำพิธีแรกนาขวัญ ตอนนั้นนะ สมาธิแบบตอนที่ทำตอนเด็กๆ ไม่เหมือนกับสมาธิที่เรียนกับฤษี พระองค์เห็นเลยว่า.. ‘อ้า! มันมีสมาธิแบบหนึ่งที่เคยทำ ซึ่งไม่เหมือนกับตอนที่เรียนกับฤษีทั้งสอง’ ตอนนั้นก็ตัดสินใจเลยว่า ‘ช่องทางนี้ล่ะ น่าจะใช่ช่องทางที่จะพาไปสู่การตรัสรู้ได้’ แล้วก็คิดว่า ‘จะใช้วิธีนี้’ พอคิดจะใช้วิธีนี้นะ ตอนนั้นนั่งที่ใต้ต้นโพธิ์แล้วนะ มารรู้เลย ‘อ้า! ถ้าทำสมาธิแบบนี้นะ ตรัสรู้แน่’ .. มารขวางเลย!!! วิธีจะขวางก็คือว่า พระโพธิสัตว์เนี่ยนั่งแล้ว – นั่งขัดสมาธิแล้ว – เตรียมจะเข้าสมาธินั้นแล้ว!! วิธีที่จะให้หยุดยั้งทันที จะทำอย่างไรล่ะ? จะมาอ้อนวอนคงไม่ได้แล้ว..ก็ยกทัพมาเลย ยกทัพมา.. มากันเรียกว่า มากันมืดฟ้ามัวดิน เทวดาอื่นมากมายนะ เห็นเจ้าชายสิทธัตถะกำลังจะนั่ง ณ โคนโพธิ์ ก็รู้แล้วว่า คราวนี้พระองค์จะตรัสรู้แล้ว ในใจเทวดาทั้งหลายนะ เทวดาที่ดีๆ ทั้งหลายเนี่ย ก็อยากจะมาดู คล้ายๆ ว่าจะมาเป็นพยาน จะมาดูเหตุการณ์สำคัญของโลก ว่า.. ‘พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ขอเห็นหน่อย ตอนตรัสรู้เป็นอย่างไร?’ ห้อมล้อมอยู่เต็มเลย.. มาดู แต่พอพญามารมานะ เทวดาพวกนี้หลบหนีหายไปเลย ในตำราบอกว่าไปอยู่ขอบจักรวาลเลย กลัวพญามารขนาดนั้น แต่ความน่ากลัวขนาดนั้นเนี่ย ไม่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะนั้นหวั่นไหวเลย ตอนนั้นพระองค์นั่งแล้ว พญามารทำทุกวิธีที่จะให้พระองค์ลุกออกจากบัลลังก์นั้น ก็ไม่สำเร็จเลย ขู่ทางไหน อาวุธอะไรใส่มา ก็ไม่สำเร็จสักอย่าง สุดท้ายใช้วิธีโหวต (vote)! โหวตอย่างไร? พญามารบอกว่าที่นั่งนี้เป็นของเขา เจ้าชายสิทธัตถะแย้งว่า “มีใครเป็นพยาน?” มาก็ว่า “พวกเราทั้งหลายนี่ไง” ก็สมุนของพญามารนั่นล่ะ สมุนของพญามารที่มากันมือฟ้ามัวดินนั้นเป็นพยานให้มารทั้งหมดเลย มีพระโพธิสัตว์องค์เดียวอยู่ตรงนั้น ไม่มีใครเป็นพยานให้พระองค์เลย ถ้าโหวต (vote) กันเนี่ย แพ้เลยนะ นับเปอร์เซนต์ (percent) กันไม่ได้เลยนะ เพราะพญามารเนี่ย ยกทัพมานับไม่ถ้วนเลย เป็นเทวดานับไม่ถ้วนเลย เจ้าชายสิทธัตถะตอนนั้นเป็นพระโพธิสัตว์นะ ยังไม่ตรัสรู้นะ ไม่มีใครจะเป็นพยาน ก็เอามือเนี่ย คลายจากท่าสมาธิ ไปเตะที่แผ่นดิน ขอให้พระแม่ธรณีเป็นพยาน ท่าของการที่มือคลายออกมา แล้วเอาข้างขวาเตะที่พื้นดินเนี่ยนะ ตรงนี้เรียกว่า “ท่ามารวิชัย” (มา-ระ-วิ-ชัย) - แปลว่า ชนะมาร ทำไมถึงชนะมาร? เพราะว่าพระแม่ธรณีออกมาเป็นพยานว่า “พระองค์ คือพระโพธิสัตว์ สร้างบารมีมามากจริงนะ” แล้วก็เอาน้ำเท่าที่พระองค์ทำบุญสร้างบารมี แล้วมีการกรวดน้ำ ขอเอาเฉพาะน้ำในการกรวดน้ำ ที่พระองค์สร้างสมมา ตั้งแต่สร้างบารมีมา จะมาแสดงให้ดูว่า พระองค์สร้างบารมีมาจำนวนนับไม่ถ้วน ก็บีบมวยผมออกมา น้ำออกมาท่วมพญามารไปเลย ท่านี้จึงเรียกว่า “ท่ามารวิชัย” แต่บางคนเนี่ยไปเรียกท่านี้ผิดๆ ไปเรียกว่า ท่าสะดุ้งมาร จริงๆ ไม่ใช่สะดุ้ง ไม่ใช่ว่า มารมา..ตกใจ! คลายออกมาจากท่านั่งสมาธิ ไม่ใช่อย่างนั้นนะ มีการคลายมาเพื่อจะขอให้พระแม่ธรณี หรือขอให้แผ่นดินเป็นพยาน เป็นพยานว่าพระองค์สร้างบารมีมา แล้วบัลลังก์ที่นั่งนี้ได้มาโดยชอบ ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของที่นั่งตรงนี้มาก่อน รับหญ้าจากโสตถิยพราหมณ์มา ๘ กำ แล้วพระองค์ก็มาปูเอง เลือกที่นั่งเอง ปูเอง ที่ตรงนั้นไม่ได้มีเจ้าของมาก่อน มารมาตู่ แต่จะเอาเสียงส่วนมากเข้ามาข่ม อย่างนี้ใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเสียงส่วนใหญ่เนี่ยบางทีใช้ไม่ได้นะ มันต้องขึ้นอยู่กับว่า เป็นธรรมไหม? มันเป็นธรรมหรือเปล่า? ๕. มัจจุมาร มารคือความตาย ความตายก็เป็นตัวขัดขวางนะ กำลังทำความดี จะสำเร็จอยู่แล้ว ..ตายเสียก่อน ก็เลยหมดเวลา ชาติที่ความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นชาติที่เหมาะที่จะพัฒนาตัวเอง เพราะมนุษย์เวลาสุขก็ไม่สุขมากไปจนทำให้เหลิง ทุกข์ก็ไม่ทุกข์จนขนาดที่ว่า ทุกข์แบบสัตว์นรก ก็ทุกข์พอทนได้ แต่ทุกข์เป็นการกระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท มันเป็นชาติที่เหมาะ ที่จะมาพัฒนาตัวเอง แล้วก็สามารถทำให้บรรลุมรรคผลได้ในชาตินี้ แต่!! ถ้าคิดจะทำความดีกว่าจะให้พ้นทุกข์ได้ มันต้องมีเวลา ใช่ไหม? การจะทำให้มรรคผลเกิดขึ้นเนี่ย ไม่ใช่.. “เอาล่ะ ฉันจะทำตอนนี้!”.. แล้วก็ได้เลย นับอีก ๕ วินาทีต่อไป มันไม่ใช่อย่างนั้น ! มันก็ต้องค่อยๆ สะสมตามกำลังของเรา ถ้าเราสั่งสมมาดี อดีตสั่งสมมาดีนะ ฟังธรรมประโยคเดียว หรือคาถาเดียว..ก็บรรลุ เช่นท่านพระพาหิยะ แต่เราเนี่ยคงไม่ได้สร้างสมบารมีมาขนาดนั้น อย่างมากเลย เราก็น่าจะเป็นประเภท “เนยยะ” เนยยะ คือ ผู้ที่พอแนะนำได้ พอจะฝึกสอนอบรมให้เข้าใจธรรมได้ คือ ฟังธรรมแล้ว ฟังธรรมอีก มาฝึกฝนแล้ว ฝึกฝนอีก มันก็ต้องใช้เวลา ใช้เวลาในการพัฒนา ในระหว่างพัฒนานั้น.. ตายไปซะก่อน อันนี้น่าเสียดาย เรียกว่า ความตายมาขัดขวาง ทำให้การทำความดีสูงๆ ขึ้นไปไม่สำเร็จ ..หมดเวลา หมดเวลาเนี่ย ถ้าไปเป็นเทวดา บางทีก็เหลิงกับความสุขในขั้นทิพย์ เหาะไปไหนก็สบายๆ เวลาดูอะไรก็น่าดูน่าชม เป็นผู้ชาย ตายไป เป็นเทพบุตร เจอเทพธิดาก็ ‘โอ้โห! สวยจังเลย’ ก็เพลินไปกับเทพธิดา เป็นเทพธิดา ตายไป เจอเทพบุตร ‘โอ้! หล่อจัง’ ก็เพลินไปกับเทพบุตร มันน่าหลงน่าเพลิน ความเป็นมนุษย์เนี่ยพอดีๆ ที่จะฝึกตน.. แต่ตายไปซะเสียก่อน ก็เรียกว่า หมดเวลาของการพัฒนา ในชาติของความเป็นมนุษน์นี้ เพราะฉะนั้น สิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาทั้ง ๕ อย่างก็คือ (๑) กิเลส (๒) อภิสังขาร (๓) ขันธ์ (๔) เทวบุตร (๕) มัจจุ ก็เป็นตัวขัดขวาง ในการที่เราจะบรรลุคุณความดียิ่งๆ ขึ้นไป นี่คือ “มาร” นะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=OprPtoR6LMk (นาทีที่ 33.00-47.45)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #มาร ?? #ถาม : “มาร” หมายถึงอะไร? #ตอบ : ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต) แสดงไว้ว่า “มาร” หมายถึง (๑) สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ (๒) ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวาง ไม่ให้บรลุความดี มี ๕ คือ ๑. กิเลสมาร – มาร คือกิเลส ๒. ขันธมาร – มาร คือเบญจขันธ์ ๓. อภิสังขารมาร – มาร คืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม ๔. เทวปุตตมาร – มาร คือเทพบุตร ๕. มัจจุมาร – มาร คือความตาย ก็คือสิ่งที่มาขัดขวาง ไม่ให้เราทำความดีได้สำเร็จนั่นเอง มันมีอะไรบ้าง.. ๑. กิเลสที่เกิดขึ้นในใจ (กิเลสมาร) ก็เป็นมาร กิเลสเกิดขึ้นมาทีไร เราก็ไม่ได้อยู่ในคุณความดี คือกิเลสเกิดปุ๊บ เราก็เศร้าหมองทันที ๒. ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ในความหมายนี้มักจะหมายถึงว่า เวลาเราจะทำความดีอะไรแล้ว.. เจ็บป่วย คำว่า “ขันธมาร” ที่มักจะเน้นกันก็คือ ในแง่ของเจ็บป่วยทางกาย เช่น พอคิดจะไปทำความดีอะไรสักอย่าง แล้วมีความเจ็บป่วย ทำให้ไปไม่ได้ หรือทำไม่ได้ เช่นว่า คิดจะมาทำกรรรมฐานตอนแก่ จะเดินจงกรมก็ไม่ไหว หัวเข่าลั่นค่อกๆ แค่กๆ เอี๊ยดๆ อ๊าดๆ จะเดินจงกรมก็ไม่ได้ จะนั่งก็โอย ลุกโอย อะไรอย่างนี้นะ คือตรงข้อว่าขันธมารเนี่ย เน้นที่ “รูปขันธ์” ๓. อภิสังขารมาร อภิสังขาร แปลว่า สภาพที่ปรุงแต่งแห่งการกระทำของบุคล เป็นความปรุงแต่งในการทำกรรม มีปรุงเป็นบุญ ปรุงเป็นบาป ปรุงเป็นบาปเนี่ยนะ เขาเรียกว่า “อปุญ” คือปรุงที่ไม่ใช่บุญ ถ้าด้วยศัพท์นะ..ก็มี “ปุญญาภิสังขาร”, “อปุญญาภิสังขาร” แล้วก็ “อเนญชาภิสังขาร” ในความปรุงแต่งในใจเราเนี่ย มันจะแบ่งออกมาเป็น ๓ อย่าง อย่างนี้ ๓.๑ (ปุญญาภิสังขาร) อภิสังขารที่ปรุงเป็นบุญ ก็คิดจะให้ทาน จะรักษาศีล จะเจริญภาวนา เป็นต้น ..ปรุงไป นี่แค่ปรุงเฉยๆ นะ! ๓.๒ (อปุญญาภิสังขาร) อภิสังขารปรุงที่จะไม่เป็นบุญ เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ เช่น ปรุงไปคิดประทุษร้ายเขา คิดโลภ คิดอยากได้ หรือปรุงอะไรที่มันเพ้อเจ้อ เลื่อนลอย ฟุ้งซ่าน อันนี้ก็เป็น “อปุญ” – อปุญญาภิสังขาร ๓.๓ (อาเนญชาภิสังขาร) อภิสังขารที่เป็นอเนญชา สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) คิดอีกแบบหนึ่ง คือปรุงความว่างๆ เป็นการทำกรรมฐานแบบปัดๆ ๆ ๆ ออกไป พยายามทำให้มันว่างๆ อันนี้เขาก็เรียกว่า “อาเนญชาภิสังขาร” เป็นความปรุงแต่งนะ ก็เป็นกุศลที่เป็นอรูปาวจร มีความว่างๆ เกิดความว่างๆ เกิดขึ้นมาเนี่ยนะ แล้วก็คิดว่า ‘ไอ้ความว่างเนี่ย เป็นเรื่องดี’ หรือว่าบางคนอาจจะเข้าใจว่าตรงนี้เป็น ‘นิพพาน’ แล้วก็ได้ กลายเป็นว่า “หลงผิดไป” จริงๆ แล้ว มันคือเป็นความปรุงแต่งอย่างหนึ่ง ยังเป็น “อภิสังขาร” ..แล้วก็ถ้าหลงเชื่อ หรือว่าวนเวียนอยู่แค่นี้ มันก็วนอยู่กับการปรุงแต่ง ก็กลายเป็นตัวขัดขวาง ไม่ให้พัฒนาต่อไป กลายเป็น “อภิสังขารมาร” เพราะฉะนั้นจริงๆ อภิสังขารมาร ก็เพียงแค่รู้จัก รู้ทัน ปรุงเป็นบุญ..ก็รู้ทัน, ปรุงเป็นอบุญ..ก็รู้ทัน, ปรุงว่างๆ..ก็รู้ทัน รู้ว่า.. นี้เป็น “การปรุงแต่งภพขึ้นมา” ๔. เทวปุตตมาร มาร ๓ ข้อแรก เป็นเรื่องของตนเอง แต่เทวปุตตมาร เป็นเรื่องของบุคคลอื่น โดยในศัพท์เทพบุตรก็คือ “เป็นเทวดา” มีเทวปุตตมารหลายระดับ ตั้งแต่พญามาร.. ในพุทธประวัติเคยได้ยินใช่ไหม..? จะมีพญามารมาจากชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เป็นเทวดาชั้นสูงสุดของกามาวจร ที่ขี้ริษยา “ขี้ริษยา” ก็คือ ถ้าเห็นคนอื่นดีเกินหน้าตัวเอง จะไม่สบายใจ เห็นคุณความดีของคนอื่น ที่เกินหน้าเกินตาตัวเอง รู้สึกว่าจะไปดีกว่าเรา ไปก่อนเรา ประมาณนี้ หรือพ้นจากอำนาจของเรา ก็รู้สึกไม่ชอบใจ เกิดทุกข์ เกิดทุกข์ที่เห็นคนอื่นดี ‘เกิน’ ตัวเอง ถ้าใครดีแบบจิ๊บๆ จ้อยๆ ดีแบบเล็กๆ น้อยๆ เนี่ย เขายังรู้สึกว่าอยู่เหนือกว่าอยู่เนี่ยนะ เขาก็เฉยๆ แต่ถ้าดีจัดๆ ดีระดับที่ว่า จะพ้นจากอำนาจเขา คือระดับที่ว่าจะเกิดมรรคผล มารจะทนไม่ได้ คือ สำหรับพวกเราทั่วไป ก็คือทำกุศลจะเกิดมรรคผล ระดับพระพุทธเจ้า ก็คือจะตรัสรู้เนี่ยนะ.. มารทนไม่ได้! ทนไม่ได้ คือมีใจ ‘ริษยา’ ไม่มีความปรารถนาเห็นใครพัฒนาเกินตัวเองไป พอมีใจริษยา ก็เลยเข้ามาขัดขวาง เช่นว่า รู้อยู่ว่า เจ้าชายสิทธัตถะเนี่ย ถ้าครองเรือน อย่างมากก็เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มารก็จะไม่ขัดขวางอะไร แต่พอเจ้าชายสิทธัตถะจะออกบวช ‘อ้าว! อย่างนี้มีโอกาสจะมาตรัสรู้’ ก็รีบเลย วันไหนจะออกบวชก็ไปกระซิบเลย บอกว่า.. “อย่าเพิ่งออกบวช! อีก ๗ วัน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว กลับไปวังเถิดๆ” นี่คือ ขัดขวางแล้ว แต่พอเจ้าชายสิทธัตถะออกบวชจริงๆ ก็ไปเรียนกับอาฬารดาบส และอุททกดาบส..มารไม่ขวางเลย!! เพราะมารรู้อยู่ว่า “สมาธิแบบฤษีเนี่ย ไม่ตรัสรู้หรอก” ..เรียนไปเลย ปล่อยให้เรียนไปเลย พอออกจากสำนักฤษี มาทรมานตัวเอง มารก็ไม่ขัดขวางเลย เพราะรู้ว่า “การทำทุกรกิริยานั้น อย่างไรก็ไม่ตรัสรู้” มารก็..ปล่อยไป ..’ให้ทรมานไป ให้ตายไปเลย’ ประมาณนี้ ในมารคงคิดอย่างนั้นนะ ‘ทรมานให้ตายไปเลย’ ไม่ขัดขวางเลย ไม่มายุ่งเลย ไม่มีมาพูดด้วยเลยสักแอะหนึ่งนะ แต่พอหันมาเสวยพระกระยาหารเนี่ยนะ เจ้าชายสิทธัตถะนะ หันมาเสวยพระกระยาหาร แล้วมาระลึกถึง..การทำสมาธิแบบตอนเด็กๆ เมื่อคราวที่พุทธบิดาทำพิธีแรกนาขวัญ ตอนนั้นนะ สมาธิแบบตอนที่ทำตอนเด็กๆ ไม่เหมือนกับสมาธิที่เรียนกับฤษี พระองค์เห็นเลยว่า.. ‘อ้า! มันมีสมาธิแบบหนึ่งที่เคยทำ ซึ่งไม่เหมือนกับตอนที่เรียนกับฤษีทั้งสอง’ ตอนนั้นก็ตัดสินใจเลยว่า ‘ช่องทางนี้ล่ะ น่าจะใช่ช่องทางที่จะพาไปสู่การตรัสรู้ได้’ แล้วก็คิดว่า ‘จะใช้วิธีนี้’ พอคิดจะใช้วิธีนี้นะ ตอนนั้นนั่งที่ใต้ต้นโพธิ์แล้วนะ มารรู้เลย ‘อ้า! ถ้าทำสมาธิแบบนี้นะ ตรัสรู้แน่’ .. มารขวางเลย!!! วิธีจะขวางก็คือว่า พระโพธิสัตว์เนี่ยนั่งแล้ว – นั่งขัดสมาธิแล้ว – เตรียมจะเข้าสมาธินั้นแล้ว!! วิธีที่จะให้หยุดยั้งทันที จะทำอย่างไรล่ะ? จะมาอ้อนวอนคงไม่ได้แล้ว..ก็ยกทัพมาเลย ยกทัพมา.. มากันเรียกว่า มากันมืดฟ้ามัวดิน เทวดาอื่นมากมายนะ เห็นเจ้าชายสิทธัตถะกำลังจะนั่ง ณ โคนโพธิ์ ก็รู้แล้วว่า คราวนี้พระองค์จะตรัสรู้แล้ว ในใจเทวดาทั้งหลายนะ เทวดาที่ดีๆ ทั้งหลายเนี่ย ก็อยากจะมาดู คล้ายๆ ว่าจะมาเป็นพยาน จะมาดูเหตุการณ์สำคัญของโลก ว่า.. ‘พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ขอเห็นหน่อย ตอนตรัสรู้เป็นอย่างไร?’ ห้อมล้อมอยู่เต็มเลย.. มาดู แต่พอพญามารมานะ เทวดาพวกนี้หลบหนีหายไปเลย ในตำราบอกว่าไปอยู่ขอบจักรวาลเลย กลัวพญามารขนาดนั้น แต่ความน่ากลัวขนาดนั้นเนี่ย ไม่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะนั้นหวั่นไหวเลย ตอนนั้นพระองค์นั่งแล้ว พญามารทำทุกวิธีที่จะให้พระองค์ลุกออกจากบัลลังก์นั้น ก็ไม่สำเร็จเลย ขู่ทางไหน อาวุธอะไรใส่มา ก็ไม่สำเร็จสักอย่าง สุดท้ายใช้วิธีโหวต (vote)! โหวตอย่างไร? พญามารบอกว่าที่นั่งนี้เป็นของเขา เจ้าชายสิทธัตถะแย้งว่า “มีใครเป็นพยาน?” มาก็ว่า “พวกเราทั้งหลายนี่ไง” ก็สมุนของพญามารนั่นล่ะ สมุนของพญามารที่มากันมือฟ้ามัวดินนั้นเป็นพยานให้มารทั้งหมดเลย มีพระโพธิสัตว์องค์เดียวอยู่ตรงนั้น ไม่มีใครเป็นพยานให้พระองค์เลย ถ้าโหวต (vote) กันเนี่ย แพ้เลยนะ นับเปอร์เซนต์ (percent) กันไม่ได้เลยนะ เพราะพญามารเนี่ย ยกทัพมานับไม่ถ้วนเลย เป็นเทวดานับไม่ถ้วนเลย เจ้าชายสิทธัตถะตอนนั้นเป็นพระโพธิสัตว์นะ ยังไม่ตรัสรู้นะ ไม่มีใครจะเป็นพยาน ก็เอามือเนี่ย คลายจากท่าสมาธิ ไปเตะที่แผ่นดิน ขอให้พระแม่ธรณีเป็นพยาน ท่าของการที่มือคลายออกมา แล้วเอาข้างขวาเตะที่พื้นดินเนี่ยนะ ตรงนี้เรียกว่า “ท่ามารวิชัย” (มา-ระ-วิ-ชัย) – แปลว่า ชนะมาร ทำไมถึงชนะมาร? เพราะว่าพระแม่ธรณีออกมาเป็นพยานว่า “พระองค์ คือพระโพธิสัตว์ สร้างบารมีมามากจริงนะ” แล้วก็เอาน้ำเท่าที่พระองค์ทำบุญสร้างบารมี แล้วมีการกรวดน้ำ ขอเอาเฉพาะน้ำในการกรวดน้ำ ที่พระองค์สร้างสมมา ตั้งแต่สร้างบารมีมา จะมาแสดงให้ดูว่า พระองค์สร้างบารมีมาจำนวนนับไม่ถ้วน ก็บีบมวยผมออกมา น้ำออกมาท่วมพญามารไปเลย ท่านี้จึงเรียกว่า “ท่ามารวิชัย” แต่บางคนเนี่ยไปเรียกท่านี้ผิดๆ ไปเรียกว่า ท่าสะดุ้งมาร จริงๆ ไม่ใช่สะดุ้ง ไม่ใช่ว่า มารมา..ตกใจ! คลายออกมาจากท่านั่งสมาธิ ไม่ใช่อย่างนั้นนะ มีการคลายมาเพื่อจะขอให้พระแม่ธรณี หรือขอให้แผ่นดินเป็นพยาน เป็นพยานว่าพระองค์สร้างบารมีมา แล้วบัลลังก์ที่นั่งนี้ได้มาโดยชอบ ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของที่นั่งตรงนี้มาก่อน รับหญ้าจากโสตถิยพราหมณ์มา ๘ กำ แล้วพระองค์ก็มาปูเอง เลือกที่นั่งเอง ปูเอง ที่ตรงนั้นไม่ได้มีเจ้าของมาก่อน มารมาตู่ แต่จะเอาเสียงส่วนมากเข้ามาข่ม อย่างนี้ใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเสียงส่วนใหญ่เนี่ยบางทีใช้ไม่ได้นะ มันต้องขึ้นอยู่กับว่า เป็นธรรมไหม? มันเป็นธรรมหรือเปล่า? ๕. มัจจุมาร มารคือความตาย ความตายก็เป็นตัวขัดขวางนะ กำลังทำความดี จะสำเร็จอยู่แล้ว ..ตายเสียก่อน ก็เลยหมดเวลา ชาติที่ความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นชาติที่เหมาะที่จะพัฒนาตัวเอง เพราะมนุษย์เวลาสุขก็ไม่สุขมากไปจนทำให้เหลิง ทุกข์ก็ไม่ทุกข์จนขนาดที่ว่า ทุกข์แบบสัตว์นรก ก็ทุกข์พอทนได้ แต่ทุกข์เป็นการกระตุ้นให้เกิดความไม่ประมาท มันเป็นชาติที่เหมาะ ที่จะมาพัฒนาตัวเอง แล้วก็สามารถทำให้บรรลุมรรคผลได้ในชาตินี้ แต่!! ถ้าคิดจะทำความดีกว่าจะให้พ้นทุกข์ได้ มันต้องมีเวลา ใช่ไหม? การจะทำให้มรรคผลเกิดขึ้นเนี่ย ไม่ใช่.. “เอาล่ะ ฉันจะทำตอนนี้!”.. แล้วก็ได้เลย นับอีก ๕ วินาทีต่อไป มันไม่ใช่อย่างนั้น ! มันก็ต้องค่อยๆ สะสมตามกำลังของเรา ถ้าเราสั่งสมมาดี อดีตสั่งสมมาดีนะ ฟังธรรมประโยคเดียว หรือคาถาเดียว..ก็บรรลุ เช่นท่านพระพาหิยะ แต่เราเนี่ยคงไม่ได้สร้างสมบารมีมาขนาดนั้น อย่างมากเลย เราก็น่าจะเป็นประเภท “เนยยะ” เนยยะ คือ ผู้ที่พอแนะนำได้ พอจะฝึกสอนอบรมให้เข้าใจธรรมได้ คือ ฟังธรรมแล้ว ฟังธรรมอีก มาฝึกฝนแล้ว ฝึกฝนอีก มันก็ต้องใช้เวลา ใช้เวลาในการพัฒนา ในระหว่างพัฒนานั้น.. ตายไปซะก่อน อันนี้น่าเสียดาย เรียกว่า ความตายมาขัดขวาง ทำให้การทำความดีสูงๆ ขึ้นไปไม่สำเร็จ ..หมดเวลา หมดเวลาเนี่ย ถ้าไปเป็นเทวดา บางทีก็เหลิงกับความสุขในขั้นทิพย์ เหาะไปไหนก็สบายๆ เวลาดูอะไรก็น่าดูน่าชม เป็นผู้ชาย ตายไป เป็นเทพบุตร เจอเทพธิดาก็ ‘โอ้โห! สวยจังเลย’ ก็เพลินไปกับเทพธิดา เป็นเทพธิดา ตายไป เจอเทพบุตร ‘โอ้! หล่อจัง’ ก็เพลินไปกับเทพบุตร มันน่าหลงน่าเพลิน ความเป็นมนุษย์เนี่ยพอดีๆ ที่จะฝึกตน.. แต่ตายไปซะเสียก่อน ก็เรียกว่า หมดเวลาของการพัฒนา ในชาติของความเป็นมนุษน์นี้ เพราะฉะนั้น สิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาทั้ง ๕ อย่างก็คือ (๑) กิเลส (๒) อภิสังขาร (๓) ขันธ์ (๔) เทวบุตร (๕) มัจจุ ก็เป็นตัวขัดขวาง ในการที่เราจะบรรลุคุณความดียิ่งๆ ขึ้นไป นี่คือ “มาร” นะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=OprPtoR6LMk (นาทีที่ 33.00-47.45)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #๓แนวทางปฏิบัติ ?? #ถาม : ดิฉันเพิ่งเริ่มปฏิบัติธรรมในช่วงโควิด (covid) ที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้ตัวเองคิดมาก จึงเริ่มด้วยการนั่งสมาธิ และเดินจงกรม สวดมนต์ ทำวัตรปกติ แต่มีข้อสงสัย ในการเจริญวิปัสสนา อยากจะสอบถามว่า “เราสามารถที่จะเจริญวิปัสสนาไปได้เลยหรือไม่?” เพราะบางคนก็บอกไว้ว่า.. “จะต้องเจริญสมถกรรมฐานก่อน จึงจะไปถึงขึ้นวิปัสสนากรรมฐาน” รบกวนพระอาจารย์ให้คำแนะนำ #ตอบ : คนที่มาปฏิบัติธรรม มีหลายประเภทด้วยกัน (๑) บางคนใช้ “สมถะนำ แล้ววิปัสสนาตาม” (๒) บางคนใช้ “วิปัสสนานำ แล้วสมถะตาม” (๓) บางคน เก่งมาก “ทั้งสมถะและวิปัสสนา ไปพร้อมกัน” มี ๓ ประเภทนี้ ไม่มีประเภทที่ ๔ ว่า “ไม่เอาทั้งสมถะและวิปัสสนา” พวกนี้คือไม่ภาวนา (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ยุคนัทธกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค) (๑) ทีนี้คนแบบไหนที่ใช้สมถะนำ แล้ววิปัสสนาตาม? คนที่ใช้ “สมถะนำ แล้ววิปัสสนาตาม” (ในพระสูตรใช้คำว่า “เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น”) บางทีครูบาอาจารย์จะเรียกว่า “ใช้สมาธินำปัญญา” “สมถะ” ก็คือ ทำสมาธิ “วิปัสสนา” ก็คือ เจริญปัญญา คนประเภทนี้ คือคนประเภทที่ทำ “สมาธิได้ง่าย” มีจริตในแง่ที่ว่า ถ้าได้อารมณ์ที่พอใจ แล้วจิตไปอยู่กับอารมณ์นั้นเนี่ยนะ จิตจะอยู่กับอารมณ์นั้นได้นิ่งๆ นานๆ และพัฒนาไปเรื่อยๆ จนถึงเข้าฌาน และถ้าบางทีคนเข้าฌานชำนาญ ก็พัฒนาฌานไปเรื่อยๆ เป็นฌานที่ ๑-๒-๓-๔ บางทีก็ถึงอรูปฌาน เป็นฌานที่ ๕-๖-๗-๘ นี่คือ คนที่มีจริต มาในแง่ที่ว่า “ทำสมาธิง่าย” โดยมากแล้ว มักจะไม่ได้มาฝึก ในชาตินี้ชาติเดียว จะเคยฝึก เคยทำมาแล้วหลายชาติ พอมาถึงชาตินี้ พอได้ครูบาอาจารย์แนะนำให้ทำสมถะ ให้รู้อารมณ์นี้ เขาก็ได้อารมณ์นั้น แล้วก็ไปฝึก ไม่นาน ย้ำว่า “ไม่นาน” ก็ทำได้นะ ไม่นาน! คนประเภทนี้เนี่ย “ทำสมถะง่าย” ให้ทำสมถะไปก่อน ..ทำสมถะไปก่อนนะ ทำสมถะไป.. จนฝึก จนทำสมถะได้ชำนาญแล้วเนี่ย ครูบาอาจารย์จะคอยชี้แนะว่า “อย่าเอาแต่สงบ” อย่าเอาแต่สงบนะ! คนที่ทำสมถะได้แล้วเนี่ย จิตจะสงบ พอทำความสงบได้ ครูบาอาจารย์จะบอกว่า “อย่าเอาแต่สงบ” อย่าเอาแต่สงบ แล้วจะทำอย่างไร? ..ต้องเอาจิตที่มีสมถะแล้ว - มาทำงาน แต่ทีนี่ความคุ้นเคยในการที่มันอยู่นิ่งๆ แล้วเนี่ยนะ จะออกมาทำงานอะไรเนี่ยนะ? ..ครูบาอาจารย์ก็จะบอกว่า “ให้มาดูกาย” (เจริญกายคตาสติกรรมฐาน) ให้มาพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ถ้าดูข้างในได้ (ส่วนใหญ่จะดูข้างในได้ด้วย) คนทำสมถะเนี่ยนะ คืออินทรีย์จะแก่กล้าขึ้นมา สามารถรับรู้แม้กระทั่งข้างในได้ ก็ดูไปเลย.. หัวใจ ปอด ตับ ลำไส้น้อย ลำไส้ใหญ่ อะไรเนี่ย ก็จะทำได้ แล้วคราวนี้ จะพัฒนากันต่อไปก็คือ มา “ดูนามธรรม” แสดงความจริง - แสดงไตรลักษณ์ให้ดู เพราะถ้าเห็นแต่กายแสดงอสุภะ ยังไม่พอ!! อสุภะยังไม่ใช่ไตรลักษณ์นะ ไตรลักษณ์ คือ ความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่มีลักษณะ ๓ อย่าง มีแค่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภะ ยังไม่ใช่ไตรลักษณ์ “อสุภะ” คือเห็นร่างกายแสดงความน่ารังเกียจ ไม่สวย ไม่งาม แต่ไม่สวย ไม่งามเนี่ย เพียงแค่สงบระงับราคะลงไปได้ แต่ว่าจะน่ารังกียจ จริงหรือเปล่า? ยังไม่แน่นะ.. หนอนชอบนะ ! เพราะฉะนั้น “เห็นอสุภะเนี่ยนะ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา” จะขึ้น “วิปัสสนาแท้ๆ” ก็คือ ตอนที่ว่า “เห็นกายใจแสดงไตรลักษณ์” คือร่างกายนี้ถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กาย “แสดงทุกขลักษณะ” ให้ดู หรือแสดงว่า ร่างกายนี้ มันทำงานของมันเอง เรามันบังคับไม่ได้ กาย “แสดงอนัตตา” ให้ดู แล้วเห็นกายแสดงไตรลักษณ์ให้ดูแล้วเนี่ย..ยังไม่พอ!!! เพราะจริงๆ ตัวการใหญ่ คือ “จิต” ต้องมาดูถึง “จิต” ด้วย ฉะนั้น คนที่ใช้ “สมถะนำ แล้ววิปัสสนาตาม” ก็คือ “อาศัยสมถะเป็นบาทฐาน-ไปเจริญวิปัสสนา” ทำสมถะให้เต็มที่เลย..ถึงขั้นฌาน (๒) ส่วนใครที่ “ทำสมถะไม่ได้” เป็นประเภทที่เรียกว่า.. ช่างคิด ช่างนึก ช่างปรุง ช่างแต่ง.. ทำสมถะยาก ก็ไม่จำเป็น ที่จะต้องทำสมถะถึงขั้นฌาน แต่ต้องทำสมถะเหมือนกัน!! อย่างที่บอกแล้ว คือ สงบ แม้เล็กน้อย เพื่อให้.. เห็นว่า จิตมันเคลื่อน เห็นว่า จิตมันเผลอ เห็นว่า จิตมันทำงาน พวกนี้ว่าโดยหลักแล้วเนี่ย สมถะทำได้นิดเดียว คือ ทำฌานไม่ได้ แต่เจริญวิปัสสนาไปก่อน (ในพระสูตรใช้คำว่า “เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น”) สมถะเนี่ยยังทำไม่ได้เต็มที่ แต่เจริญวิปัสสนาไปก่อน คือ เห็นจิตแสดงไตรลักษณ์ก่อน เช่น เวลาเผลอไป เห็นจิตที่เผลอ จิตที่เผลอ แสดงไตรลักษณ์ คือ มันดับไปแล้ว “แสดงไตรลักษณ์” คือ จิตไม่เที่ยง จิตเป็นอนัตตา เห็นจิตเป็นอนัตตาแล้ว ร่างกายเนี่ยไม่มีปัญหาเลย เพราะตัวการใหญ่คือตัวจิต!! เมื่อเห็น “จิตไม่ใช่เรา” แล้ว ก็จะเห็นว่า “ทั้งกายทั้งจิตไม่ใช่เรา” เพราะฉะนั้น ตอนที่จะเห็นจิตแสดงไตรลักษณ์ ถึงขั้นอนัตตาเนี่ยนะ จะย้อนมาเข้าใจตัวผู้รู้ แสดงไตรลักษณ์ให้ดู ตอนนั้น คือถึงขั้นมรรคผล ขณะตอนเข้ามรรคผลเนี่ยนะ จิตจะเข้าฌาน และโดยมากจิตจะเข้าฌานเอง มันพร้อมพอนะ! ทีนี้มันก็เลยกลายเป็นว่า.. “เจริญวิปัสสนามาก่อน แล้วสมถะตามหลัง” นี้ประเภทที่ ๒ (๓) ส่วนประเภทที่ ๓ คือ.. “ดูจิตเก่งด้วย แล้วทำสมถะดีมากด้วย ไปด้วยกันเลย” ประเภทนี้ดีมาก หายาก! (ในพระสูตรใช้คำว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป”) เพราะฉะนั้นที่โยมถามว่า “จะฝึกวิปัสสนาไปก่อนเลยได้ไหม?” คำตอบก็จะอยู่ที่ข้อ ๒ “เจริญวิปัสสนามาก่อน แล้วสมถะตามหลัง” คือยังสมถะขั้นฌานยังไม่ได้ ก็เจริญวิปัสสนาไปก่อน แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่ทำสมถะเลย ..มันควรจะมีสมถะรองรับไว้สักนิดหนึ่งนะ ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ จะไปพิจารณาอะไร เป็นไตรลักษณ์ไปหมดเลย ควรจะหาที่อยู่อะไรสักที่หนึ่ง ทำสมถะ แม้เล็กน้อย อาจจะเพียงระดับ ขณิกสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ เพื่อเป็นบาทฐานให้เห็นว่า ‘จิตมันทำงานอย่างไร?’ นะ.. จึงจะปลอดภัย อย่าไป!! เจริญวิปัสสนาล้วนๆ แบบไม่ทำสมถะเลย มันน่าจะไม่สำเร็จนะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=2xgbsnPJQlg (นาทีที่ 1.53.16-1.59.52 )

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #๓แนวทางปฏิบัติ ?? #ถาม : ดิฉันเพิ่งเริ่มปฏิบัติธรรมในช่วงโควิด (covid) ที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้ตัวเองคิดมาก จึงเริ่มด้วยการนั่งสมาธิ และเดินจงกรม สวดมนต์ ทำวัตรปกติ แต่มีข้อสงสัย ในการเจริญวิปัสสนา อยากจะสอบถามว่า “เราสามารถที่จะเจริญวิปัสสนาไปได้เลยหรือไม่?” เพราะบางคนก็บอกไว้ว่า.. “จะต้องเจริญสมถกรรมฐานก่อน จึงจะไปถึงขึ้นวิปัสสนากรรมฐาน” รบกวนพระอาจารย์ให้คำแนะนำ #ตอบ : คนที่มาปฏิบัติธรรม มีหลายประเภทด้วยกัน (๑) บางคนใช้ “สมถะนำ แล้ววิปัสสนาตาม” (๒) บางคนใช้ “วิปัสสนานำ แล้วสมถะตาม” (๓) บางคน เก่งมาก “ทั้งสมถะและวิปัสสนา ไปพร้อมกัน” มี ๓ ประเภทนี้ ไม่มีประเภทที่ ๔ ว่า “ไม่เอาทั้งสมถะและวิปัสสนา” พวกนี้คือไม่ภาวนา (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ยุคนัทธกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค) (๑) ทีนี้คนแบบไหนที่ใช้สมถะนำ แล้ววิปัสสนาตาม? คนที่ใช้ “สมถะนำ แล้ววิปัสสนาตาม” (ในพระสูตรใช้คำว่า “เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น”) บางทีครูบาอาจารย์จะเรียกว่า “ใช้สมาธินำปัญญา” “สมถะ” ก็คือ ทำสมาธิ “วิปัสสนา” ก็คือ เจริญปัญญา คนประเภทนี้ คือคนประเภทที่ทำ “สมาธิได้ง่าย” มีจริตในแง่ที่ว่า ถ้าได้อารมณ์ที่พอใจ แล้วจิตไปอยู่กับอารมณ์นั้นเนี่ยนะ จิตจะอยู่กับอารมณ์นั้นได้นิ่งๆ นานๆ และพัฒนาไปเรื่อยๆ จนถึงเข้าฌาน และถ้าบางทีคนเข้าฌานชำนาญ ก็พัฒนาฌานไปเรื่อยๆ เป็นฌานที่ ๑-๒-๓-๔ บางทีก็ถึงอรูปฌาน เป็นฌานที่ ๕-๖-๗-๘ นี่คือ คนที่มีจริต มาในแง่ที่ว่า “ทำสมาธิง่าย” โดยมากแล้ว มักจะไม่ได้มาฝึก ในชาตินี้ชาติเดียว จะเคยฝึก เคยทำมาแล้วหลายชาติ พอมาถึงชาตินี้ พอได้ครูบาอาจารย์แนะนำให้ทำสมถะ ให้รู้อารมณ์นี้ เขาก็ได้อารมณ์นั้น แล้วก็ไปฝึก ไม่นาน ย้ำว่า “ไม่นาน” ก็ทำได้นะ ไม่นาน! คนประเภทนี้เนี่ย “ทำสมถะง่าย” ให้ทำสมถะไปก่อน ..ทำสมถะไปก่อนนะ ทำสมถะไป.. จนฝึก จนทำสมถะได้ชำนาญแล้วเนี่ย ครูบาอาจารย์จะคอยชี้แนะว่า “อย่าเอาแต่สงบ” อย่าเอาแต่สงบนะ! คนที่ทำสมถะได้แล้วเนี่ย จิตจะสงบ พอทำความสงบได้ ครูบาอาจารย์จะบอกว่า “อย่าเอาแต่สงบ” อย่าเอาแต่สงบ แล้วจะทำอย่างไร? ..ต้องเอาจิตที่มีสมถะแล้ว – มาทำงาน แต่ทีนี่ความคุ้นเคยในการที่มันอยู่นิ่งๆ แล้วเนี่ยนะ จะออกมาทำงานอะไรเนี่ยนะ? ..ครูบาอาจารย์ก็จะบอกว่า “ให้มาดูกาย” (เจริญกายคตาสติกรรมฐาน) ให้มาพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ถ้าดูข้างในได้ (ส่วนใหญ่จะดูข้างในได้ด้วย) คนทำสมถะเนี่ยนะ คืออินทรีย์จะแก่กล้าขึ้นมา สามารถรับรู้แม้กระทั่งข้างในได้ ก็ดูไปเลย.. หัวใจ ปอด ตับ ลำไส้น้อย ลำไส้ใหญ่ อะไรเนี่ย ก็จะทำได้ แล้วคราวนี้ จะพัฒนากันต่อไปก็คือ มา “ดูนามธรรม” แสดงความจริง – แสดงไตรลักษณ์ให้ดู เพราะถ้าเห็นแต่กายแสดงอสุภะ ยังไม่พอ!! อสุภะยังไม่ใช่ไตรลักษณ์นะ ไตรลักษณ์ คือ ความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่มีลักษณะ ๓ อย่าง มีแค่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภะ ยังไม่ใช่ไตรลักษณ์ “อสุภะ” คือเห็นร่างกายแสดงความน่ารังเกียจ ไม่สวย ไม่งาม แต่ไม่สวย ไม่งามเนี่ย เพียงแค่สงบระงับราคะลงไปได้ แต่ว่าจะน่ารังกียจ จริงหรือเปล่า? ยังไม่แน่นะ.. หนอนชอบนะ ! เพราะฉะนั้น “เห็นอสุภะเนี่ยนะ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา” จะขึ้น “วิปัสสนาแท้ๆ” ก็คือ ตอนที่ว่า “เห็นกายใจแสดงไตรลักษณ์” คือร่างกายนี้ถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา กาย “แสดงทุกขลักษณะ” ให้ดู หรือแสดงว่า ร่างกายนี้ มันทำงานของมันเอง เรามันบังคับไม่ได้ กาย “แสดงอนัตตา” ให้ดู แล้วเห็นกายแสดงไตรลักษณ์ให้ดูแล้วเนี่ย..ยังไม่พอ!!! เพราะจริงๆ ตัวการใหญ่ คือ “จิต” ต้องมาดูถึง “จิต” ด้วย ฉะนั้น คนที่ใช้ “สมถะนำ แล้ววิปัสสนาตาม” ก็คือ “อาศัยสมถะเป็นบาทฐาน-ไปเจริญวิปัสสนา” ทำสมถะให้เต็มที่เลย..ถึงขั้นฌาน (๒) ส่วนใครที่ “ทำสมถะไม่ได้” เป็นประเภทที่เรียกว่า.. ช่างคิด ช่างนึก ช่างปรุง ช่างแต่ง.. ทำสมถะยาก ก็ไม่จำเป็น ที่จะต้องทำสมถะถึงขั้นฌาน แต่ต้องทำสมถะเหมือนกัน!! อย่างที่บอกแล้ว คือ สงบ แม้เล็กน้อย เพื่อให้.. เห็นว่า จิตมันเคลื่อน เห็นว่า จิตมันเผลอ เห็นว่า จิตมันทำงาน พวกนี้ว่าโดยหลักแล้วเนี่ย สมถะทำได้นิดเดียว คือ ทำฌานไม่ได้ แต่เจริญวิปัสสนาไปก่อน (ในพระสูตรใช้คำว่า “เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น”) สมถะเนี่ยยังทำไม่ได้เต็มที่ แต่เจริญวิปัสสนาไปก่อน คือ เห็นจิตแสดงไตรลักษณ์ก่อน เช่น เวลาเผลอไป เห็นจิตที่เผลอ จิตที่เผลอ แสดงไตรลักษณ์ คือ มันดับไปแล้ว “แสดงไตรลักษณ์” คือ จิตไม่เที่ยง จิตเป็นอนัตตา เห็นจิตเป็นอนัตตาแล้ว ร่างกายเนี่ยไม่มีปัญหาเลย เพราะตัวการใหญ่คือตัวจิต!! เมื่อเห็น “จิตไม่ใช่เรา” แล้ว ก็จะเห็นว่า “ทั้งกายทั้งจิตไม่ใช่เรา” เพราะฉะนั้น ตอนที่จะเห็นจิตแสดงไตรลักษณ์ ถึงขั้นอนัตตาเนี่ยนะ จะย้อนมาเข้าใจตัวผู้รู้ แสดงไตรลักษณ์ให้ดู ตอนนั้น คือถึงขั้นมรรคผล ขณะตอนเข้ามรรคผลเนี่ยนะ จิตจะเข้าฌาน และโดยมากจิตจะเข้าฌานเอง มันพร้อมพอนะ! ทีนี้มันก็เลยกลายเป็นว่า.. “เจริญวิปัสสนามาก่อน แล้วสมถะตามหลัง” นี้ประเภทที่ ๒ (๓) ส่วนประเภทที่ ๓ คือ.. “ดูจิตเก่งด้วย แล้วทำสมถะดีมากด้วย ไปด้วยกันเลย” ประเภทนี้ดีมาก หายาก! (ในพระสูตรใช้คำว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป”) เพราะฉะนั้นที่โยมถามว่า “จะฝึกวิปัสสนาไปก่อนเลยได้ไหม?” คำตอบก็จะอยู่ที่ข้อ ๒ “เจริญวิปัสสนามาก่อน แล้วสมถะตามหลัง” คือยังสมถะขั้นฌานยังไม่ได้ ก็เจริญวิปัสสนาไปก่อน แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่ทำสมถะเลย ..มันควรจะมีสมถะรองรับไว้สักนิดหนึ่งนะ ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ จะไปพิจารณาอะไร เป็นไตรลักษณ์ไปหมดเลย ควรจะหาที่อยู่อะไรสักที่หนึ่ง ทำสมถะ แม้เล็กน้อย อาจจะเพียงระดับ ขณิกสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ เพื่อเป็นบาทฐานให้เห็นว่า ‘จิตมันทำงานอย่างไร?’ นะ.. จึงจะปลอดภัย อย่าไป!! เจริญวิปัสสนาล้วนๆ แบบไม่ทำสมถะเลย มันน่าจะไม่สำเร็จนะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=2xgbsnPJQlg (นาทีที่ 1.53.16-1.59.52 )

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #รู้ว่าผิดเดี๋ยวมันก็ถูก. #เป็นกลาง ?? #ถาม : มีวิธีรู้ได้อย่างไรว่า “เป็นกลาง” รู้จากจิต ไม่ได้รู้จากสมอง? #ตอบ : ..จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นกลาง? วิธีรู้ได้ง่ายๆ คือ “รู้ตอนที่-ไม่เป็นกลาง” “ไม่เป็นกลาง” ก็คือเข้าไปแทรกแซง แง่ใดแง่หนึ่ง เช่น - แทรกแซงในแง่ที่ว่า ไม่ชอบใจ อยากจะให้มันดับไป - หรืออยากจะเข้าไปแก้ไข จากที่มันไม่ดี ให้มันดีขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่า เข้าไปแทรกแซง - หรือ ‘ดีเหลือเกิน! อยากให้มันอยู่นานๆ’ อันนี้ก็แทรกแซง ‘อยากจะให้มันอยู่อย่างนี้นานๆ’ เข้าไปประคองมันไว้ ‘อยากให้มันสว่างอย่างนี้นานๆ’ ‘อยากให้มันเบาๆ อย่างนี้นานๆ’ อย่างนี้นะ ..แล้วไปประคองสภาวะอย่างนั้นไว้ อย่างนี้ก็ไม่เป็นกลาง ที่ว่าไม่เป็นกลางนั้น เพราะมันไม่ใช่ “รู้เฉยๆ” แต่มี “รู้” แล้วไป “ประคอง” การแทรกแซงแบบ ‘จิตดี’ แล้วเข้าไป ‘ประคอง’ อาจจะดูยากสักนิดหนึ่ง แต่การแทรกแซงแบบ ‘จิตไม่ดี’ แล้วเข้าไป ‘แก้ไข’ จะดูง่ายกว่า เพราะฉะนั้น ก็หัดเริ่มสังเกตจาก จิตที่ไม่ดี แล้วรู้ว่า ‘เมื่อกี้จิตไม่ดี’ เช่น รู้ว่า ‘จิตเมื่อกี้ มีกิเลส’ แล้วเรา “ไม่ชอบใจ” จิตเมื่อกี้นี้ แสดงว่าเรา “ไม่เป็นกลาง” รู้ทัน “ตอนไม่เป็นกลาง” จะเป็นกลางพอดี!! ให้รู้อย่างนี้นะ วิธีจะรู้ได้อย่างไรว่าจะเป็นกลาง? ..คือรู้ตอนไม่เป็นกลาง ถ้ามันไม่ยอมเป็นกลางสักที ก็รู้ไปเรื่อยๆ สักวันก็จะเข้าใจ มันคล้ายๆ กับว่า เหมือนเรายิงปืน จะยิงอย่างไรให้ถูกเป้า? ก็ให้รู้ว่า ไอ้ลูกเมื่อกี้เนี่ย มันยิงผิดเป้าหรือเปล่า? ออกจากจุดเป้าหมายเนี่ย .. ไปทางซ้าย? ไปทางขวา? ไปทางกี่นาฬิกา? ความห่างเท่าไหร่? ประมาณอย่างนี้นะ รู้ว่า เมื่อกี้ผิด.. ใช้ได้ รู้ว่าเมื่อกี้ผิด แล้วก็ลองใหม่ รู้แล้วว่า เมื่อกี้ผิด ผิดทางไหนอีก? ..ผิดทางนี้ คราวนี้ ผิดทางนี้.. เอาใหม่! ถ้ารู้ว่าผิด เดี๋ยวมันก็จะถูก แล้วมันจะง่ายกว่ายิงปืน ง่ายกว่ายิงเป้าหมายแบบรูปธรรม เพราะว่าในทางดูจิตเนี่ยนะ .. “แค่รู้” ว่า เมื่อกี้ไม่เป็นกลาง “แค่รู้เฉยๆ” มันเป็นกลางพอดีเลย!! มันขึ้นอยู่กับว่า รู้ในขณะนั้นนะ ถ้า .. - รู้แล้ว เราอยากจะ ‘แก้ไข’ - รู้แล้ว อยากจะ ‘ประคอง’ แก้ไข และ ประคอง คือ รู้แล้ว “ไม่เป็นกลาง” พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=fMFUWARWefs (นาทีที่ 1.28.05- 1.30.30)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #รู้ว่าผิดเดี๋ยวมันก็ถูก. #เป็นกลาง ?? #ถาม : มีวิธีรู้ได้อย่างไรว่า “เป็นกลาง” รู้จากจิต ไม่ได้รู้จากสมอง? #ตอบ : ..จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นกลาง? วิธีรู้ได้ง่ายๆ คือ “รู้ตอนที่-ไม่เป็นกลาง” “ไม่เป็นกลาง” ก็คือเข้าไปแทรกแซง แง่ใดแง่หนึ่ง เช่น – แทรกแซงในแง่ที่ว่า ไม่ชอบใจ อยากจะให้มันดับไป – หรืออยากจะเข้าไปแก้ไข จากที่มันไม่ดี ให้มันดีขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่า เข้าไปแทรกแซง – หรือ ‘ดีเหลือเกิน! อยากให้มันอยู่นานๆ’ อันนี้ก็แทรกแซง ‘อยากจะให้มันอยู่อย่างนี้นานๆ’ เข้าไปประคองมันไว้ ‘อยากให้มันสว่างอย่างนี้นานๆ’ ‘อยากให้มันเบาๆ อย่างนี้นานๆ’ อย่างนี้นะ ..แล้วไปประคองสภาวะอย่างนั้นไว้ อย่างนี้ก็ไม่เป็นกลาง ที่ว่าไม่เป็นกลางนั้น เพราะมันไม่ใช่ “รู้เฉยๆ” แต่มี “รู้” แล้วไป “ประคอง” การแทรกแซงแบบ ‘จิตดี’ แล้วเข้าไป ‘ประคอง’ อาจจะดูยากสักนิดหนึ่ง แต่การแทรกแซงแบบ ‘จิตไม่ดี’ แล้วเข้าไป ‘แก้ไข’ จะดูง่ายกว่า เพราะฉะนั้น ก็หัดเริ่มสังเกตจาก จิตที่ไม่ดี แล้วรู้ว่า ‘เมื่อกี้จิตไม่ดี’ เช่น รู้ว่า ‘จิตเมื่อกี้ มีกิเลส’ แล้วเรา “ไม่ชอบใจ” จิตเมื่อกี้นี้ แสดงว่าเรา “ไม่เป็นกลาง” รู้ทัน “ตอนไม่เป็นกลาง” จะเป็นกลางพอดี!! ให้รู้อย่างนี้นะ วิธีจะรู้ได้อย่างไรว่าจะเป็นกลาง? ..คือรู้ตอนไม่เป็นกลาง ถ้ามันไม่ยอมเป็นกลางสักที ก็รู้ไปเรื่อยๆ สักวันก็จะเข้าใจ มันคล้ายๆ กับว่า เหมือนเรายิงปืน จะยิงอย่างไรให้ถูกเป้า? ก็ให้รู้ว่า ไอ้ลูกเมื่อกี้เนี่ย มันยิงผิดเป้าหรือเปล่า? ออกจากจุดเป้าหมายเนี่ย .. ไปทางซ้าย? ไปทางขวา? ไปทางกี่นาฬิกา? ความห่างเท่าไหร่? ประมาณอย่างนี้นะ รู้ว่า เมื่อกี้ผิด.. ใช้ได้ รู้ว่าเมื่อกี้ผิด แล้วก็ลองใหม่ รู้แล้วว่า เมื่อกี้ผิด ผิดทางไหนอีก? ..ผิดทางนี้ คราวนี้ ผิดทางนี้.. เอาใหม่! ถ้ารู้ว่าผิด เดี๋ยวมันก็จะถูก แล้วมันจะง่ายกว่ายิงปืน ง่ายกว่ายิงเป้าหมายแบบรูปธรรม เพราะว่าในทางดูจิตเนี่ยนะ .. “แค่รู้” ว่า เมื่อกี้ไม่เป็นกลาง “แค่รู้เฉยๆ” มันเป็นกลางพอดีเลย!! มันขึ้นอยู่กับว่า รู้ในขณะนั้นนะ ถ้า .. – รู้แล้ว เราอยากจะ ‘แก้ไข’ – รู้แล้ว อยากจะ ‘ประคอง’ แก้ไข และ ประคอง คือ รู้แล้ว “ไม่เป็นกลาง” พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=fMFUWARWefs (นาทีที่ 1.28.05- 1.30.30)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #หาเลี้ยงชีพ ?? #ถาม : ถ้าเพื่อนร่วมงานที่สนิท ต้องโดนให้ออกจากงานหลายคน เรามีวิธีพูดอย่างไร หรือทำอย่างไรดี ให้เขาสบายใจ? #ตอบ : ช่วงนี้ ถ้าใครมีงานอยู่ ถือว่ามีบุญมาก แต่งานที่ว่าเนี่ยนะ ถ้าต้องโดนให้ออกจากงาน .. มันก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ คือสถานการณ์ปัจจุบันขณะนี้ มันเป็นแบบนี้ มันก็ต้องเห็นใจผู้จ้างเราด้วย ประมาณว่า เขาก็ต้องรับภาระเรื่องรายได้ รายจ่าย อะไรต่างๆ ก็ต้องมีการปรับลดพนักงานบ้าง แล้วเราก็เป็นผู้เสียสละนั้น แต่งานเนี่ย มันไม่ใช่มีเฉพาะต้องไปรับจ้างเขาอย่างเดียว ! เราออกจากงานที่ต้องมีผู้จ้างเนี่ยนะ แต่มันไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องไปหา “ผู้จ้างคนอื่นมาจ้างเรา” เสมอไป มันมีงานอื่น ที่เราสามารถทำเองก็ได้ ความสามารถเราคงไม่ได้มีอย่างเดียว เราไม่ได้เกิดมาแล้ว มีความสามารถอย่างเดียว แบบที่เขาจ้างเราไปทำ ถ้าคนมีความสามารถเพียงอย่างเดียว แบบที่เขาจ้างเราไปทำเนี่ยนะ เราก็ต้องฝึก ให้มันมีความสามารถอื่นขึ้นมาบ้าง วิธีง่ายๆ เลย ก็เช่นว่า ถ้าสมมติว่า เราถูกให้ออกจากงาน เป็นประมาณ งานรับจ้าง งานรับเงินเดือน อย่างนี้นะ ถ้าเรามีญาติ หรือเรามีพี่น้อง หรือพ่อแม่ อยู่ต่างจังหวัด มีที่ดิน เราลองเปลี่ยนดูบ้าง ลองเปลี่ยนไปใช้ที่ดินนั้นเรียนรู้ ใช้ภูมิปัญญาเดิมๆ ที่เราไม่ได้ใช้มานาน .. แต่ว่าพ่อแม่ยังมีอยู่ หรือบ้านญาติๆ ยังมีอยู่ ไปลองใช้วิถีเดิมๆ ของเรา ที่เป็นเกษตรกร ทำความรู้ความเข้าใจ ในการที่จะหาเลี้ยงชีพ แบบที่เป็นเจ้านายตัวเอง ประมาณว่า “สร้างงานให้กับตัวเอง” คืองานเนี่ยนะ.. มันไม่ใช่ว่า จะต้องไป ‘รับจ้าง’ คนอื่นอย่างเดียว เราก็ ‘สร้างงาน’ ให้เกิดกับตัวเอง บางทีอาจจะไปใช้วิธีขายของออนไลน์ (online) ก็ได้ เดี๋ยวนี้มีคนใช้วิธีนี้กันเยอะ ถ้าเรามีความรู้ความสามารถในแง่นี้ มีเทคนิค (technic/technique : ศิลปะ, วิธีการ, ฝีมือ) ในการนำเสนอ ก็ลองใช้วิธีทำธุรกิจ โดยให้ตัวเองเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นได้ ไปปลูกต้นไม้ ไปทำเกษตร .. หรือไปลองดูว่า เรามีความสามารถอื่นอะไรอีกไหม? ความสามารถที่นอกจากที่เขาจ้างเรา เราอาจจะมีทางออกที่ดีกว่า และกลายเป็นว่า สิ่งใหม่ที่เราทำ ..ทำด้วยความพอใจ ทำด้วยความสบายใจ.. งานก็ออกมาดี งานออกมาดีแล้ว บางทีก็กลายเป็นว่า งานนี้..ดีกว่างานเดิมอีก ทำแล้ว มีความสบายใจ ทำแล้ว มีความสุขใจ รายได้ก็พอเลี้ยงตัวได้ บางทีรายได้มากกว่าเดิม อย่าไปอาลัยอาวรณ์ ในสิ่งที่เราบังคับไม่ได้ เขาไม่จ้างเรา ก็ไม่ต้องไปอาลัยอาวรณ์ ไม่ต้องไปโกรธแค้นเขาด้วย เข้าใจ ..เข้าใจซึ่งกันและกัน พอเข้าใจซึ่งกันและกันแล้วเนี่ย เราก็ออกมา อย่างมีมิตรภาพกับที่เดิม แถมใช้ช่วงเวลาอย่างนี้ สร้างงานให้กับตัวเอง งานเนี่ยไม่ต้องรอว่า จะต้องมีคนจ้างเรา เราจึงจะเป็นผู้มีงาน แต่เราเนี่ย สามารถสร้างสรรค์โอกาสให้กับตัวเองได้ ใช้เวลา ใช้ความสามารถ ที่เรามีอยู่หลากหลาย พัฒนาขึ้นมา! ถ้ามันยังไม่พอ ก็เรียนรู้มันไป! ในระหว่างนี้อาจจะมีการเรียนรู้ ผิดบ้าง ถูกบ้าง ผิดก็เป็นการเรียนรู้ คือรู้ว่าอันนี้ผิด จะไม่ทำอย่างนี้อีก ..เรียนรู้ไป ก็เรียกว่า ขอให้กำลังใจก็แล้วกัน สำหรับคนที่ถูกออกจากงาน หลายๆคน ให้กำลังใจเขา แล้วก็บอกว่า.. มันไม่ได้มีวิธีเลี้ยงชีวิตวิธีเดียว คือไปรับจ้างเขา เราสามารถหาเลี้ยงชีพ สามารถสร้างรายได้ อีกหลากหลายวิธี แล้วความสามารถเรามีอยู่ ค้นพบตัวเองให้เจอ แล้วก็ไปทำ..งานที่ตัวเองพอใจ แล้วมีรายได้ เลี้ยงตัวเองได้ ที่สำคัญคือ ทำด้วยความสุขใจ ทำด้วยความพอใจ พัฒนาฝีมือไปเรื่อยๆ นะ พัฒนาฝีมือไปเรื่อยๆ พัฒนาช่องทางไปเรื่อยๆ พัฒนาความชำนาญไปเรื่อยๆ หวังว่าจะให้โอกาสนี้ เป็นโอกาสที่เราจะพัฒนาตัวเองไปนะ พัฒนาตัวเองขึ้นไป ก็ขอเป็นกำลังใจให้ก็แล้วกันนะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=nIM-ifMiEcs (นาทีที่ 2.00.07-2.05.35 )

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #หาเลี้ยงชีพ ?? #ถาม : ถ้าเพื่อนร่วมงานที่สนิท ต้องโดนให้ออกจากงานหลายคน เรามีวิธีพูดอย่างไร หรือทำอย่างไรดี ให้เขาสบายใจ? #ตอบ : ช่วงนี้ ถ้าใครมีงานอยู่ ถือว่ามีบุญมาก แต่งานที่ว่าเนี่ยนะ ถ้าต้องโดนให้ออกจากงาน .. มันก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ คือสถานการณ์ปัจจุบันขณะนี้ มันเป็นแบบนี้ มันก็ต้องเห็นใจผู้จ้างเราด้วย ประมาณว่า เขาก็ต้องรับภาระเรื่องรายได้ รายจ่าย อะไรต่างๆ ก็ต้องมีการปรับลดพนักงานบ้าง แล้วเราก็เป็นผู้เสียสละนั้น แต่งานเนี่ย มันไม่ใช่มีเฉพาะต้องไปรับจ้างเขาอย่างเดียว ! เราออกจากงานที่ต้องมีผู้จ้างเนี่ยนะ แต่มันไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องไปหา “ผู้จ้างคนอื่นมาจ้างเรา” เสมอไป มันมีงานอื่น ที่เราสามารถทำเองก็ได้ ความสามารถเราคงไม่ได้มีอย่างเดียว เราไม่ได้เกิดมาแล้ว มีความสามารถอย่างเดียว แบบที่เขาจ้างเราไปทำ ถ้าคนมีความสามารถเพียงอย่างเดียว แบบที่เขาจ้างเราไปทำเนี่ยนะ เราก็ต้องฝึก ให้มันมีความสามารถอื่นขึ้นมาบ้าง วิธีง่ายๆ เลย ก็เช่นว่า ถ้าสมมติว่า เราถูกให้ออกจากงาน เป็นประมาณ งานรับจ้าง งานรับเงินเดือน อย่างนี้นะ ถ้าเรามีญาติ หรือเรามีพี่น้อง หรือพ่อแม่ อยู่ต่างจังหวัด มีที่ดิน เราลองเปลี่ยนดูบ้าง ลองเปลี่ยนไปใช้ที่ดินนั้นเรียนรู้ ใช้ภูมิปัญญาเดิมๆ ที่เราไม่ได้ใช้มานาน .. แต่ว่าพ่อแม่ยังมีอยู่ หรือบ้านญาติๆ ยังมีอยู่ ไปลองใช้วิถีเดิมๆ ของเรา ที่เป็นเกษตรกร ทำความรู้ความเข้าใจ ในการที่จะหาเลี้ยงชีพ แบบที่เป็นเจ้านายตัวเอง ประมาณว่า “สร้างงานให้กับตัวเอง” คืองานเนี่ยนะ.. มันไม่ใช่ว่า จะต้องไป ‘รับจ้าง’ คนอื่นอย่างเดียว เราก็ ‘สร้างงาน’ ให้เกิดกับตัวเอง บางทีอาจจะไปใช้วิธีขายของออนไลน์ (online) ก็ได้ เดี๋ยวนี้มีคนใช้วิธีนี้กันเยอะ ถ้าเรามีความรู้ความสามารถในแง่นี้ มีเทคนิค (technic/technique : ศิลปะ, วิธีการ, ฝีมือ) ในการนำเสนอ ก็ลองใช้วิธีทำธุรกิจ โดยให้ตัวเองเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นได้ ไปปลูกต้นไม้ ไปทำเกษตร .. หรือไปลองดูว่า เรามีความสามารถอื่นอะไรอีกไหม? ความสามารถที่นอกจากที่เขาจ้างเรา เราอาจจะมีทางออกที่ดีกว่า และกลายเป็นว่า สิ่งใหม่ที่เราทำ ..ทำด้วยความพอใจ ทำด้วยความสบายใจ.. งานก็ออกมาดี งานออกมาดีแล้ว บางทีก็กลายเป็นว่า งานนี้..ดีกว่างานเดิมอีก ทำแล้ว มีความสบายใจ ทำแล้ว มีความสุขใจ รายได้ก็พอเลี้ยงตัวได้ บางทีรายได้มากกว่าเดิม อย่าไปอาลัยอาวรณ์ ในสิ่งที่เราบังคับไม่ได้ เขาไม่จ้างเรา ก็ไม่ต้องไปอาลัยอาวรณ์ ไม่ต้องไปโกรธแค้นเขาด้วย เข้าใจ ..เข้าใจซึ่งกันและกัน พอเข้าใจซึ่งกันและกันแล้วเนี่ย เราก็ออกมา อย่างมีมิตรภาพกับที่เดิม แถมใช้ช่วงเวลาอย่างนี้ สร้างงานให้กับตัวเอง งานเนี่ยไม่ต้องรอว่า จะต้องมีคนจ้างเรา เราจึงจะเป็นผู้มีงาน แต่เราเนี่ย สามารถสร้างสรรค์โอกาสให้กับตัวเองได้ ใช้เวลา ใช้ความสามารถ ที่เรามีอยู่หลากหลาย พัฒนาขึ้นมา! ถ้ามันยังไม่พอ ก็เรียนรู้มันไป! ในระหว่างนี้อาจจะมีการเรียนรู้ ผิดบ้าง ถูกบ้าง ผิดก็เป็นการเรียนรู้ คือรู้ว่าอันนี้ผิด จะไม่ทำอย่างนี้อีก ..เรียนรู้ไป ก็เรียกว่า ขอให้กำลังใจก็แล้วกัน สำหรับคนที่ถูกออกจากงาน หลายๆคน ให้กำลังใจเขา แล้วก็บอกว่า.. มันไม่ได้มีวิธีเลี้ยงชีวิตวิธีเดียว คือไปรับจ้างเขา เราสามารถหาเลี้ยงชีพ สามารถสร้างรายได้ อีกหลากหลายวิธี แล้วความสามารถเรามีอยู่ ค้นพบตัวเองให้เจอ แล้วก็ไปทำ..งานที่ตัวเองพอใจ แล้วมีรายได้ เลี้ยงตัวเองได้ ที่สำคัญคือ ทำด้วยความสุขใจ ทำด้วยความพอใจ พัฒนาฝีมือไปเรื่อยๆ นะ พัฒนาฝีมือไปเรื่อยๆ พัฒนาช่องทางไปเรื่อยๆ พัฒนาความชำนาญไปเรื่อยๆ หวังว่าจะให้โอกาสนี้ เป็นโอกาสที่เราจะพัฒนาตัวเองไปนะ พัฒนาตัวเองขึ้นไป ก็ขอเป็นกำลังใจให้ก็แล้วกันนะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=nIM-ifMiEcs (นาทีที่ 2.00.07-2.05.35 )

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ปฏิบัติทั้งวันทั้งคืน ?? #ถาม : “ในรูปแบบ” จะทำทั้งวันได้อย่างไร? (ยืน เดิน นั่ง และก่อนนอน) #ตอบ : รูปแบบ จริงๆ เนี่ย คงจะหาคนทำทั้งวันยากอยู่เหมือนกันนะ “ในรูปแบบ” หมายถึงว่า เราว่างจากธุระต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แล้วก็แบ่งเวลามา เพื่อจะมาทำในรูปแบบ รูปแบบ ที่ว่าก็คือ - นั่งกรรมฐานในรูปแบบ - หรือ เดินจงกรมในรูปแบบ ในรูปแบบ ก็คือว่ามีท่ามาตรฐานที่เราฝึกๆ กันมา “นอกรูปแบบ” ก็คือ ชีวิตประจำวัน เดินไปห้องน้ำ ปกติเราคงไม่ใช่เดินท่าในรูปแบบ ไปเข้าห้องน้ำ หรือเราจะไปขึ้นรถเมล์ ขึ้นรถไฟฟ้า ฯลฯ เราคงไม่ใช่เดินจงกรมในท่าในรูปแบบ ไปขึ้นรถเมล์ หรือขึ้นรถไฟฟ้า หรือลงเรือเจ้าพระยา อย่างนี้นะ ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะฉะนั้นคำว่า “ในรูปแบบ” ก็คือ ว่างจากภารกิจต่างๆ แล้วเอาเวลานั้นมาทำในรูปแบบ ผู้ที่จะทำในรูปแบบทั้งวันได้ก็น่าจะเป็นเฉพาะนักบวชที่ไม่มีธุระอื่น แล้วก็อยู่ในที่ๆ ไม่มีหมู่คณะ หรือไม่มีธุระ เกี่ยวกับหมู่คณะ เช่น พระท่านไปอยู่ตามป่า ตามเขา วิเวก อย่างนี้นะ กรณีอย่างนี้ท่านอิสระ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร แล้วก็ทำในรูปแบบได้ทั้งวัน จะนั่งทั้งวันก็ได้ เดินทั้งวันก็ได้ ยืนทั้งวัน ก็ไม่ว่าอะไร หรือจะสลับกันไป ระหว่าง.. ยืน เดิน นั่ง ทั้งวัน ไม่นอนก็ได้..คืออิสระ ทีนี้ถ้ามีหมู่คณะเนี่ย บางทีมีธุระ ซึ่งเป็นของส่วนรวม ก็ต้องช่วยทำ ถ้าไม่ทำ ก็กลายเป็นบกพร่องไป การที่จะทำในรูปแบบทั้งวัน โดยเฉพาะถ้าเป็นโยมเนี่ยนะ เป็นเรื่องที่น่าจะเป็นไปไม่ได้ หรือเป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้นขอให้เข้าใจคำว่า..ปฏิบัติธรรม.. (๑) ในรูปแบบ กับ (๒) ในชีวิตประจำวัน มันเป็นการปฏิบัติ ๒ อย่าง (๑) “ในรูปแบบ” ก็คือ “ว่าง” จากธุระอื่นๆ ทำธุระอะไรเรียบร้อยแล้ว แบ่งเวลาที่จะมาทำในรูปแบบ.. ในรูปแบบก็เช่น สวดมนต์ เสร็จแล้วก็นั่งทำกรรมฐาน ซึ่งก็มีทั้งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน จะดูลมหายใจ จะมีคำบริกรรมอะไรก็ว่าไป อย่างนี้เรียกว่า “ทำในรูปแบบ” กำหนดเวลาขึ้นมา.. อย่างน้อยเท่าไหร่? อย่างมากไม่ว่า อย่างน้อยเท่าไหร่? มากกว่านี้ไม่เป็นไร ประมาณอย่างนี้ ทำให้เป็นประจำ!!! เพราะฉะนั้นคำว่าปฏิบัติธรรม “ทั้งวัน” เนี่ย มันไม่ใช่ทำในรูปแบบ “ทั้งวัน” มันจะอยู่ในลักษะที่เรียกว่าทำทั้ง “ในรูปแบบ” และ “ในชีวิตประจำวัน” (๒) (ในชีวิตประจำวัน) คือ “นอกรูปแบบ” ในชีวิตประจำวัน ก็ทำ!! คือเจริญสติแบบที่ “ไร้รูปแบบ” ขยับเขยื่อนเคลื่อนไหว ทำการงานอะไร? ล้างถ้วยล้างจาน ตัดหญ้า กวาดบ้าน ดูแลต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ พรวนดิน ฯลฯ ..ได้หมดทุกอย่าง วิธีอย่างนี้.. ไอ้ที่กวาดบ้านไปปฏิบัติไป..เจริญสติไป อย่างนี้ “ไม่ใช่รูปแบบ” นึกออกไหม? ไปเดินจากบ้าน ออกไปปากซอย ไปซื้อของ เจริญสติไปด้วย อย่างนี้ “ไม่ใช่รูปแบบ” คงไม่มีใครเดินจงกรมในรูปแบบไปปากซอย คงไม่มีนะ ก็ทำได้ทั้งวัน ในกรณีที่ว่า ‘เราตั้งใจจะทำ’ อย่างนี้ จะทำ “ในรูปแบบ” โดยที่ว่าเคลียร์ (clear) ธุระ.. แล้วทำ เมื่อหมดเวลา “ในรูปแบบ” ก็ทำ “นอกรูปแบบ” เช่น ตอนนอน.. ตอนนอน ที่โยมบอกว่าก่อนนอนเนี่ยนะ อาตมาให้ทั้ง ตอนนอน และก่อนนอนหลับเลย นอน.. อยู่ในท่านอนแล้วเนี่ยนะ ยังไม่หลับตราบใด - ก็รู้สึกตัวอยู่ตราบนั้น ถ้าเราฝึกดูลมหายใจ ก็ดูลมหายใจ เห็น ‘กาย’ หายใจ.. นอน.. นอนหายใจ ‘กายนี้’ นอนหายใจ มันกระเพื่อมแบบไหน? ..ก็รู้ไป ดูจนกว่ามันจะหลับตอนไหน? อาจจะตั้งคำถาม หรือว่าตั้งประเด็นไว้ในใจนิดหนึ่งว่า.. “จะดูว่ามันจะหลับ ตอนหายใจเข้าหรือหายใจออก?” อย่างนี้ก็ได้นะ แล้วจะตื่นมา.. ตื่นตอนไหน? “ตื่นตอนหายใจออก หรือหายใจเข้า?” ประมาณอย่างนี้ก็ได้ ดู! แล้วลองสังเกตดูว่า.. แม้แต่นอน เราก็จะไม่ทิ้งเวลาตอนนั้น เอามาเจริญสติด้วย ตอนจะนอน ก็ว่าจะนอนเพื่อจะหลับเนี่ยนะ เราก็ใช้เวลาก่อนจะหลับเนี่ย เจริญสติของเราไปด้วย แม้นอนไม่หลับ เราจะไม่มารำคาญใจว่า ‘ทำไมไม่หลับสักที!’ เราจะรู้สึกว่า..‘ดีเหลือเกิน ที่ไม่หลับ เพราะเราจะได้เจริญสติอยู่ต่อ’ เพราะฉะนั้น ปัญหาการนอนไม่หลับจะไม่เกิด แล้วหลับง่าย แล้วหลับลึก และได้พักผ่อนเต็มที่ หลับสนิท ตื่นขึ้นมาสดใส สดชื่นด้วยนะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=fMFUWARWefs (นาทีที่ 1.22.04-1.28.04)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ปฏิบัติทั้งวันทั้งคืน ?? #ถาม : “ในรูปแบบ” จะทำทั้งวันได้อย่างไร? (ยืน เดิน นั่ง และก่อนนอน) #ตอบ : รูปแบบ จริงๆ เนี่ย คงจะหาคนทำทั้งวันยากอยู่เหมือนกันนะ “ในรูปแบบ” หมายถึงว่า เราว่างจากธุระต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แล้วก็แบ่งเวลามา เพื่อจะมาทำในรูปแบบ รูปแบบ ที่ว่าก็คือ – นั่งกรรมฐานในรูปแบบ – หรือ เดินจงกรมในรูปแบบ ในรูปแบบ ก็คือว่ามีท่ามาตรฐานที่เราฝึกๆ กันมา “นอกรูปแบบ” ก็คือ ชีวิตประจำวัน เดินไปห้องน้ำ ปกติเราคงไม่ใช่เดินท่าในรูปแบบ ไปเข้าห้องน้ำ หรือเราจะไปขึ้นรถเมล์ ขึ้นรถไฟฟ้า ฯลฯ เราคงไม่ใช่เดินจงกรมในท่าในรูปแบบ ไปขึ้นรถเมล์ หรือขึ้นรถไฟฟ้า หรือลงเรือเจ้าพระยา อย่างนี้นะ ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะฉะนั้นคำว่า “ในรูปแบบ” ก็คือ ว่างจากภารกิจต่างๆ แล้วเอาเวลานั้นมาทำในรูปแบบ ผู้ที่จะทำในรูปแบบทั้งวันได้ก็น่าจะเป็นเฉพาะนักบวชที่ไม่มีธุระอื่น แล้วก็อยู่ในที่ๆ ไม่มีหมู่คณะ หรือไม่มีธุระ เกี่ยวกับหมู่คณะ เช่น พระท่านไปอยู่ตามป่า ตามเขา วิเวก อย่างนี้นะ กรณีอย่างนี้ท่านอิสระ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร แล้วก็ทำในรูปแบบได้ทั้งวัน จะนั่งทั้งวันก็ได้ เดินทั้งวันก็ได้ ยืนทั้งวัน ก็ไม่ว่าอะไร หรือจะสลับกันไป ระหว่าง.. ยืน เดิน นั่ง ทั้งวัน ไม่นอนก็ได้..คืออิสระ ทีนี้ถ้ามีหมู่คณะเนี่ย บางทีมีธุระ ซึ่งเป็นของส่วนรวม ก็ต้องช่วยทำ ถ้าไม่ทำ ก็กลายเป็นบกพร่องไป การที่จะทำในรูปแบบทั้งวัน โดยเฉพาะถ้าเป็นโยมเนี่ยนะ เป็นเรื่องที่น่าจะเป็นไปไม่ได้ หรือเป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้นขอให้เข้าใจคำว่า..ปฏิบัติธรรม.. (๑) ในรูปแบบ กับ (๒) ในชีวิตประจำวัน มันเป็นการปฏิบัติ ๒ อย่าง (๑) “ในรูปแบบ” ก็คือ “ว่าง” จากธุระอื่นๆ ทำธุระอะไรเรียบร้อยแล้ว แบ่งเวลาที่จะมาทำในรูปแบบ.. ในรูปแบบก็เช่น สวดมนต์ เสร็จแล้วก็นั่งทำกรรมฐาน ซึ่งก็มีทั้งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน จะดูลมหายใจ จะมีคำบริกรรมอะไรก็ว่าไป อย่างนี้เรียกว่า “ทำในรูปแบบ” กำหนดเวลาขึ้นมา.. อย่างน้อยเท่าไหร่? อย่างมากไม่ว่า อย่างน้อยเท่าไหร่? มากกว่านี้ไม่เป็นไร ประมาณอย่างนี้ ทำให้เป็นประจำ!!! เพราะฉะนั้นคำว่าปฏิบัติธรรม “ทั้งวัน” เนี่ย มันไม่ใช่ทำในรูปแบบ “ทั้งวัน” มันจะอยู่ในลักษะที่เรียกว่าทำทั้ง “ในรูปแบบ” และ “ในชีวิตประจำวัน” (๒) (ในชีวิตประจำวัน) คือ “นอกรูปแบบ” ในชีวิตประจำวัน ก็ทำ!! คือเจริญสติแบบที่ “ไร้รูปแบบ” ขยับเขยื่อนเคลื่อนไหว ทำการงานอะไร? ล้างถ้วยล้างจาน ตัดหญ้า กวาดบ้าน ดูแลต้นไม้ รดน้ำต้นไม้ พรวนดิน ฯลฯ ..ได้หมดทุกอย่าง วิธีอย่างนี้.. ไอ้ที่กวาดบ้านไปปฏิบัติไป..เจริญสติไป อย่างนี้ “ไม่ใช่รูปแบบ” นึกออกไหม? ไปเดินจากบ้าน ออกไปปากซอย ไปซื้อของ เจริญสติไปด้วย อย่างนี้ “ไม่ใช่รูปแบบ” คงไม่มีใครเดินจงกรมในรูปแบบไปปากซอย คงไม่มีนะ ก็ทำได้ทั้งวัน ในกรณีที่ว่า ‘เราตั้งใจจะทำ’ อย่างนี้ จะทำ “ในรูปแบบ” โดยที่ว่าเคลียร์ (clear) ธุระ.. แล้วทำ เมื่อหมดเวลา “ในรูปแบบ” ก็ทำ “นอกรูปแบบ” เช่น ตอนนอน.. ตอนนอน ที่โยมบอกว่าก่อนนอนเนี่ยนะ อาตมาให้ทั้ง ตอนนอน และก่อนนอนหลับเลย นอน.. อยู่ในท่านอนแล้วเนี่ยนะ ยังไม่หลับตราบใด – ก็รู้สึกตัวอยู่ตราบนั้น ถ้าเราฝึกดูลมหายใจ ก็ดูลมหายใจ เห็น ‘กาย’ หายใจ.. นอน.. นอนหายใจ ‘กายนี้’ นอนหายใจ มันกระเพื่อมแบบไหน? ..ก็รู้ไป ดูจนกว่ามันจะหลับตอนไหน? อาจจะตั้งคำถาม หรือว่าตั้งประเด็นไว้ในใจนิดหนึ่งว่า.. “จะดูว่ามันจะหลับ ตอนหายใจเข้าหรือหายใจออก?” อย่างนี้ก็ได้นะ แล้วจะตื่นมา.. ตื่นตอนไหน? “ตื่นตอนหายใจออก หรือหายใจเข้า?” ประมาณอย่างนี้ก็ได้ ดู! แล้วลองสังเกตดูว่า.. แม้แต่นอน เราก็จะไม่ทิ้งเวลาตอนนั้น เอามาเจริญสติด้วย ตอนจะนอน ก็ว่าจะนอนเพื่อจะหลับเนี่ยนะ เราก็ใช้เวลาก่อนจะหลับเนี่ย เจริญสติของเราไปด้วย แม้นอนไม่หลับ เราจะไม่มารำคาญใจว่า ‘ทำไมไม่หลับสักที!’ เราจะรู้สึกว่า..‘ดีเหลือเกิน ที่ไม่หลับ เพราะเราจะได้เจริญสติอยู่ต่อ’ เพราะฉะนั้น ปัญหาการนอนไม่หลับจะไม่เกิด แล้วหลับง่าย แล้วหลับลึก และได้พักผ่อนเต็มที่ หลับสนิท ตื่นขึ้นมาสดใส สดชื่นด้วยนะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=fMFUWARWefs (นาทีที่ 1.22.04-1.28.04)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #จิตผุดคำด่า ?? #ถาม : มีความคิดด่าคนอื่นเกิดขึ้นในหัว... - เราจะต้องทำอย่างไร ไม่ให้เป็นบาปกับเรา? - ถ้าจิตเราหยาบคายขนาดนี้ เราจะอบรมอย่างไร ให้ดีได้? #ตอบ : ตอนจิตคิดด่าคนอื่นเกิดขึ้นในหัว ดูว่า.. ไอ้แว๊บแรกที่เกิดขึ้นมาเนี่ย มันเกิดขึ้นเอง เวลามันปรุงอะไรขึ้นมาเองเนี่ยนะ เวลามันผุดขึ้นมาเนี่ยนะ บางทีมันเป็นไปแบบเขาเรียกว่า ‘ด้วยสัญญาเก่า’ แล้วมันผุดขึ้นมา เราอาจจะเป็นคนที่เคยชิน หรือว่ามีอดีตก่อนหน้านี้เคยชินกับการที่ปากไว สะสมโทสะเอาไว้เยอะ มันก็เป็นไปได้ที่ว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีอะไรเด่นๆ เนี่ยนะ จิตก็ไปจับเอาอารมณ์เก่าๆ ผุดขึ้นมาใหม่ ไอ้ตอนที่ผุดขึ้นมาเนี่ย มันเป็นการทำงานของจิตที่เราบังคับไม่ได้ ถ้าเรารู้ทันไม่ไปปรุงต่อ เราได้ทำงานอย่างหนึ่งคือ เจริญสติ รู้ทันโทสะที่เกิดขึ้น หรือ รู้ทันความปรุงแต่งที่เป็นวจีสังขาร ที่มันปรุงขึ้นมา เห็นจิตมันทำงานเอง เราก็ได้เจริญวิปัสสนา ในแง่..เห็นจิตมันแสดง “ไตรลักษณ์ – ในข้ออนัตตา” ให้ดู ในขณะนั้นเราก็คล้ายๆ ลดความเคยชินของจิต ในการที่จะไปปรุงคำพูด ที่เป็นวจีทุจริตในใจ และมีการเพิ่มความเคยชินขึ้นมาใหม่ คือเคยชินที่จะ “รู้” จิตทำงาน ปรุงขึ้นมา เป็นคำด่าแว็บขึ้นมา เราก็รู้ ถ้าเผลอปรุงคำด่าต่อ มันจะไม่เหมือนกันแล้วนะ! เหมือนกับคนที่เขานึกท่อนเพลงขึ้นมา ไอ้ตอนนึกท่อนเพลงขึ้นมาเนี่ยนะ คนที่ฟังเพลงมากๆ ก็จะ “มีเพลงผุดขึ้นมา” กับตอนที่ “ปรุงร้องเพลงในใจ” ต่อ ..ก็ไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกัน อย่างโยมเนี่ย บางทีจิตมันปรุงคำด่าขึ้นมาเอง ก็ให้แยกให้ชัดระหว่าง - ตอนที่มัน ‘ผุด’ ขึ้นมาคราวแรก - กับตอนที่เรา ‘จงใจ-เจตนา ปรุง’ คำด่าต่อ ไม่เหมือนกันแล้วนะ! ไปลองไปสังเกตดูดีๆ ตอนที่มันผุดขึ้นมา กับ ตอนที่เจตนาปรุงคำด่านั้นต่อ ถ้าเราเห็นว่าจิตมันปรุงขึ้นมา มีความ ‘ปรุง’ ขึ้นมา ‘เอง’ .. ใช้ได้ เห็นแสดงว่า เห็นจิตมันทำงานเอง จิตมันกำลังแสดง “อนัตตา” ให้ดู แต่ถ้ามัน ‘ปรุง’ ขึ้นมา แล้ว ‘ไม่รู้ทัน’ หลงกลไปปรุงคำด่าต่อไป ด้วยความสะใจ เมามันในอารมณ์ เราก็ไปสร้างความคุ้นชินเพิ่มขึ้น ตรงนี้ภาษาพระเรียกว่า ไปสะสม “อนุสัย” ให้มากขึ้น จริงๆ ไอ้ที่ผุดขึ้นมา ก็มาจากผลจากอนุสัยนั่นเอง เราไปทำความคุ้นชินกับการด่า ไม่ว่าจะด่าออกเสียง หรือด่าในใจนะ พอมันผุดขึ้นมาตามอนุสัย.. - ถ้าเรารู้ทัน.. เราจะลดความเข้มข้นของอนุสัยนั้นลง พร้อมกับทำความ ‘เคยชินที่จะรู้’ มากขึ้น ตรงนี้สำคัญ!! เขาเรียกว่าเป็นการ “บั่นทอนกำลังของอนุสัย” แถม “เพิ่มกำลังของตัวรู้” ขึ้นมา - แต่ถ้า ‘ไม่รู้’ แล้วไป ‘ปรุงต่อ’ ก็ไป “เพิ่มกำลังให้กับอนุสัย” ให้มันมากขึ้น ที่เราแก้กันยากมากเหลือเกิน.. ก็คือว่าไม่รู้ แล้วก็ไปปรุงต่อ ไปเพิ่มอนุสัยให้มากขึ้นนะ ถ้าจิตเราเคยชินกับความหยาบคาย มันก็เป็นปกติ ที่มันจะปรุงคำหยาบคายขึ้นมา ให้พิจารณาว่า.. อย่างน้อยๆ ถ้ามันยังไม่ขึ้นวิปัสสนาด้วยกำลังของมันเอง ก็พิจารณานำร่องมันสักหน่อยว่า ‘เนี่ย! จิตมันทำงานเอง ไม่ได้อยากด่าเลย! มันด่าเอง’ อย่างนี้ก็เรียกว่า “คิดนำร่อง” ให้จิตมันหัดมองในแง่ที่ว่า.. “มันเป็นไตรลักษณ์ – ในข้อที่ว่าเป็นอนัตตา” ลองไปทำดูนะ แล้วไม่ต้องไปคิดด่าตัวเอง ว่าไปด่าคนอื่นด้วย ‘ทำไมกูมันเลวอย่างนี้ ไปด่าเขาทำไม?’ อย่างนี้ก็เรียกว่า ไปโกรธจิตตัวเอง ที่มันไปทำอะไรที่มันไม่ถูกใจตัวเอง อย่างนี้ก็กลายเป็น มีโทสะกับการทำงานของจิต แล้วก็เลยไม่รู้ความจริงของจิตไปอีก ก็ควรไปรู้ทันต่อไปอีกทีหนึ่งว่า ‘มีโทสะเกิดขึ้น’ จิตนี่มันวิจิตรจริงๆ นะ มันทำงานหลากหลายมากเลย มันแล้วแต่ว่าเราจะไปเรียนรู้ในแง่มุมไหน ถ้ามันผุดคำด่าขึ้นมาเอง.. แล้วรู้ทัน เราก็จะได้ตัวกุศลสำคัญ.. คือได้เห็นจิตมันทำงานในลักษณะของ “อนัตตา” ให้ดู “แค่รู้เฉยๆ” เนี่ยนะ มันก็จะกลายเป็นว่า สิ่งที่ไม่ดีแท้ๆ เลย กลายเป็นประโยชน์ในแง่เกิดการเรียนรู้ แล้วพัฒนาจิตขึ้นมา ลองไปทำดูนะโยม.. พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=EPmTbFz10Xw (นาทีที่ 1.46.08-1.52.22)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #จิตผุดคำด่า ?? #ถาม : มีความคิดด่าคนอื่นเกิดขึ้นในหัว… – เราจะต้องทำอย่างไร ไม่ให้เป็นบาปกับเรา? – ถ้าจิตเราหยาบคายขนาดนี้ เราจะอบรมอย่างไร ให้ดีได้? #ตอบ : ตอนจิตคิดด่าคนอื่นเกิดขึ้นในหัว ดูว่า.. ไอ้แว๊บแรกที่เกิดขึ้นมาเนี่ย มันเกิดขึ้นเอง เวลามันปรุงอะไรขึ้นมาเองเนี่ยนะ เวลามันผุดขึ้นมาเนี่ยนะ บางทีมันเป็นไปแบบเขาเรียกว่า ‘ด้วยสัญญาเก่า’ แล้วมันผุดขึ้นมา เราอาจจะเป็นคนที่เคยชิน หรือว่ามีอดีตก่อนหน้านี้เคยชินกับการที่ปากไว สะสมโทสะเอาไว้เยอะ มันก็เป็นไปได้ที่ว่า ในระหว่างที่ยังไม่มีอะไรเด่นๆ เนี่ยนะ จิตก็ไปจับเอาอารมณ์เก่าๆ ผุดขึ้นมาใหม่ ไอ้ตอนที่ผุดขึ้นมาเนี่ย มันเป็นการทำงานของจิตที่เราบังคับไม่ได้ ถ้าเรารู้ทันไม่ไปปรุงต่อ เราได้ทำงานอย่างหนึ่งคือ เจริญสติ รู้ทันโทสะที่เกิดขึ้น หรือ รู้ทันความปรุงแต่งที่เป็นวจีสังขาร ที่มันปรุงขึ้นมา เห็นจิตมันทำงานเอง เราก็ได้เจริญวิปัสสนา ในแง่..เห็นจิตมันแสดง “ไตรลักษณ์ – ในข้ออนัตตา” ให้ดู ในขณะนั้นเราก็คล้ายๆ ลดความเคยชินของจิต ในการที่จะไปปรุงคำพูด ที่เป็นวจีทุจริตในใจ และมีการเพิ่มความเคยชินขึ้นมาใหม่ คือเคยชินที่จะ “รู้” จิตทำงาน ปรุงขึ้นมา เป็นคำด่าแว็บขึ้นมา เราก็รู้ ถ้าเผลอปรุงคำด่าต่อ มันจะไม่เหมือนกันแล้วนะ! เหมือนกับคนที่เขานึกท่อนเพลงขึ้นมา ไอ้ตอนนึกท่อนเพลงขึ้นมาเนี่ยนะ คนที่ฟังเพลงมากๆ ก็จะ “มีเพลงผุดขึ้นมา” กับตอนที่ “ปรุงร้องเพลงในใจ” ต่อ ..ก็ไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกัน อย่างโยมเนี่ย บางทีจิตมันปรุงคำด่าขึ้นมาเอง ก็ให้แยกให้ชัดระหว่าง – ตอนที่มัน ‘ผุด’ ขึ้นมาคราวแรก – กับตอนที่เรา ‘จงใจ-เจตนา ปรุง’ คำด่าต่อ ไม่เหมือนกันแล้วนะ! ไปลองไปสังเกตดูดีๆ ตอนที่มันผุดขึ้นมา กับ ตอนที่เจตนาปรุงคำด่านั้นต่อ ถ้าเราเห็นว่าจิตมันปรุงขึ้นมา มีความ ‘ปรุง’ ขึ้นมา ‘เอง’ .. ใช้ได้ เห็นแสดงว่า เห็นจิตมันทำงานเอง จิตมันกำลังแสดง “อนัตตา” ให้ดู แต่ถ้ามัน ‘ปรุง’ ขึ้นมา แล้ว ‘ไม่รู้ทัน’ หลงกลไปปรุงคำด่าต่อไป ด้วยความสะใจ เมามันในอารมณ์ เราก็ไปสร้างความคุ้นชินเพิ่มขึ้น ตรงนี้ภาษาพระเรียกว่า ไปสะสม “อนุสัย” ให้มากขึ้น จริงๆ ไอ้ที่ผุดขึ้นมา ก็มาจากผลจากอนุสัยนั่นเอง เราไปทำความคุ้นชินกับการด่า ไม่ว่าจะด่าออกเสียง หรือด่าในใจนะ พอมันผุดขึ้นมาตามอนุสัย.. – ถ้าเรารู้ทัน.. เราจะลดความเข้มข้นของอนุสัยนั้นลง พร้อมกับทำความ ‘เคยชินที่จะรู้’ มากขึ้น ตรงนี้สำคัญ!! เขาเรียกว่าเป็นการ “บั่นทอนกำลังของอนุสัย” แถม “เพิ่มกำลังของตัวรู้” ขึ้นมา – แต่ถ้า ‘ไม่รู้’ แล้วไป ‘ปรุงต่อ’ ก็ไป “เพิ่มกำลังให้กับอนุสัย” ให้มันมากขึ้น ที่เราแก้กันยากมากเหลือเกิน.. ก็คือว่าไม่รู้ แล้วก็ไปปรุงต่อ ไปเพิ่มอนุสัยให้มากขึ้นนะ ถ้าจิตเราเคยชินกับความหยาบคาย มันก็เป็นปกติ ที่มันจะปรุงคำหยาบคายขึ้นมา ให้พิจารณาว่า.. อย่างน้อยๆ ถ้ามันยังไม่ขึ้นวิปัสสนาด้วยกำลังของมันเอง ก็พิจารณานำร่องมันสักหน่อยว่า ‘เนี่ย! จิตมันทำงานเอง ไม่ได้อยากด่าเลย! มันด่าเอง’ อย่างนี้ก็เรียกว่า “คิดนำร่อง” ให้จิตมันหัดมองในแง่ที่ว่า.. “มันเป็นไตรลักษณ์ – ในข้อที่ว่าเป็นอนัตตา” ลองไปทำดูนะ แล้วไม่ต้องไปคิดด่าตัวเอง ว่าไปด่าคนอื่นด้วย ‘ทำไมกูมันเลวอย่างนี้ ไปด่าเขาทำไม?’ อย่างนี้ก็เรียกว่า ไปโกรธจิตตัวเอง ที่มันไปทำอะไรที่มันไม่ถูกใจตัวเอง อย่างนี้ก็กลายเป็น มีโทสะกับการทำงานของจิต แล้วก็เลยไม่รู้ความจริงของจิตไปอีก ก็ควรไปรู้ทันต่อไปอีกทีหนึ่งว่า ‘มีโทสะเกิดขึ้น’ จิตนี่มันวิจิตรจริงๆ นะ มันทำงานหลากหลายมากเลย มันแล้วแต่ว่าเราจะไปเรียนรู้ในแง่มุมไหน ถ้ามันผุดคำด่าขึ้นมาเอง.. แล้วรู้ทัน เราก็จะได้ตัวกุศลสำคัญ.. คือได้เห็นจิตมันทำงานในลักษณะของ “อนัตตา” ให้ดู “แค่รู้เฉยๆ” เนี่ยนะ มันก็จะกลายเป็นว่า สิ่งที่ไม่ดีแท้ๆ เลย กลายเป็นประโยชน์ในแง่เกิดการเรียนรู้ แล้วพัฒนาจิตขึ้นมา ลองไปทำดูนะโยม.. พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=EPmTbFz10Xw (นาทีที่ 1.46.08-1.52.22)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #เบื่อโลก #ถาม : โยมอายุก็มากแล้ว.. ๗๓ ปี เมื่อก่อนเคยปฏิบัติธรรม แต่หลังๆ ไม่ได้ปฏิบัติเลย คือโยมเบื่อโลก เบื่อวัฏจักร เบื่อโควิด (covid) เข้าใจแล้ว..แต่ยังวางไม่ได้เจ้าค่ะ อยากให้พระอาจารย์แนะนำหน่อย? #ตอบ : ข้องใจตรงที่ว่า “หลังๆ ไม่ได้ปฏิบัติเลย” นี่แหละ เอาเวลาไปทำอะไรหมดเนาะ? ๗๓ ปีแล้ว ก็น่าจะมีเวลาว่างมากพอนะ ตื่นนอนมาเนี่ย จริงๆ ทำได้เลยนะ “รู้สึกตัว” ตื่นขึ้นมา.. ใจเป็นอย่างไร? หรือมารู้ร่างกายก็ได้ ร่างกายมันขยับแล้ว จิตตื่นขึ้นมาแล้ว บางทีตอนจิตตื่นขึ้นมาแล้วเนี่ยนะ ถ้าเราตั้งใจไว้ว่าจะภาวนาเนี่ย ตื่นขึ้นมา เราสามารถที่จะภาวนาได้เลย ตั้งแต่ตื่นนอน จะรู้กายก็ได้ รู้ใจก็ได้ ‘รู้กาย’ ขยับ หรือ ‘รู้ใจ’ ที่มันรับรู้ อะไรขึ้นมาสักอย่างหนึ่ง ตอนตื่นน่ะ แล้วมันรู้สึกอย่างไร? มีความงัวเงีย มีความติดที่นอนหรือไม่? อยากลุกไหม? หรือว่าขี้เกียจ แล้วก็จำเป็นต้องลุก ต้องไป..แล้วก็ขยับตัวไป มีความเคลื่อนไหวของร่างกาย ขยับไป.. เจอตัวเองหน้ากระจกในห้องน้ำ รู้สึกอย่างไร? เวลาน้ำสัมผัสหน้าแล้ว รู้สึกอย่างไร? ล้างหน้า แปรงฟันแล้ว รู้สึกอย่างไร? ถ่ายหนัก ถ่ายเบา รู้สึกอย่างไร? ถ่ายไม่ออก รู้สึกอย่างไร? คือชีวิตของเราเนี่ยแหละ แล้วก็คอยดูจิตตัวเองว่า ในระหว่างวัน ใจเราเป็นอย่างไรบ้าง? ..ในระหว่างที่เรากระทบกับโลก “โลก” คือ กายนี้-ใจนี้ แล้วกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส(โผฏฐัพพะ) ธรรมารมณ์ข้างนอก อายตนะภายใน-อายตนะภายนอก ผัสสะกันเนี่ย (ผัสสะ แปลว่า การถูกต้อง, การกระทบ) รู้สึกอย่างไรบ้าง? มีเวทนาอะไรเกิดขึ้น? มีตัณหาเกิดขึ้นบ้างไหม? ถ้ามีตัณหาเกิดขึ้น เป็นตัณหาประเภทไหน? ตัณหาอยากได้(กามตัณหา) หรือตัณหาอยากผลักออก(วิภวตัณหา) หรืออยากจะเป็นโน่น อยากจะเป็นนี่(ภวตัณหา)? อะไรอย่างนี้นะ “เบื่อโลก”.. เบื่อโลกเนี่ย มันเป็นเบื่อแบบ ‘โทสะ’? หรือ เบื่อแบบ ‘นิพพิทา’? ก็ลองประเมินดู ถ้าเบื่อแบบ “โทสะ” มันก็จะอยากพ้นจากตรงนี้ เพื่อจะไปเกิดในที่ดีๆ อยากจะพ้นจากโควิด (covid) เพื่อจะไปสู่สภาวะที่เป็นสุข ไม่มีโรคภัย คือยังอยากไปเกิดในที่ดีๆ อย่างนี้เรียกว่า ยังไม่ใช่นิพพิทา “นิพพิทา” เนี่ย จะเห็นการปรุงแต่งของจิต ทั้งดี ทั้งชั่ว เห็นความปรุงแต่งซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่รู้จะพ้นความปรุงแต่งอย่างนี้ ได้อย่างไรนะ เรียกว่า ดูจนเบื่อ จนอยากจะพ้นไปจากความปรุงแต่ง แต่ยังพ้นไม่ได้ ดูแล้วดูอีก แล้วจนมันเริ่มเข้าใจ เริ่มมองสภาวะต่างๆ ทั้งกุศลและอกุศล ที่ปรุงอยู่เนี่ย มองด้วย “ใจเป็นกลาง” พอมองด้วยใจเป็นกลางเนี่ย จะกลายเป็นว่า เห็นสภาวะเกิด-ดับ ไม่เข้าไปยินดี ไม่เข้าไปยินร้าย กลายเป็น “อุเบกขา” ตรงนี้เรียกว่า เป็นญาณระดับสูงขึ้นมาอีก เรียกว่า “สังขารุเปกขาญาณ” ลองฝึกไปเรื่อยๆ อย่าเพียงแค่ “เบื่อ..แล้วไม่ปฏิบัติ!!” อันนี้เรียกว่า น่าเสียดายนะ น่าเสียดายว่า อายุก็มากแล้วนะ ไม่อยากจะพูดมากกว่านี้ ก็คือเวลาเหลือน้อยแล้วนะ เวลาเหลือน้อยแล้ว ก็ควรจะเห็นเวลาที่เหลือน้อยเนี่ย แล้วไม่ประมาท แทนที่จะมาหวั่นกลัวต่อความตาย ก็เห็นความตายอยู่ต่อหน้า แล้วรู้ว่าจะต้องตายในเวลาไม่ช้าแล้วเนี่ย กระตุ้นเตือนตัวเองว่า “ต้องไม่ประมาทแล้ว! เวลาเหลือน้อยแล้ว!” จริงๆ ที่พูดว่า “เวลาเหลือน้อย” เนี่ยนะ ไม่ใช่เฉพาะโยมผู้ถามนะ ..ทุกคน! คนอายุน้อยๆ กว่าโยมอาจจะลัดคิวไปก่อนก็ได้ ชาติหน้าของเขา อาจจะมาก่อนโยมก็ได้นะ อันนี้พูดเตือนทุกๆ คนว่า “มันไม่แน่” เวลาของชีวิตเนี่ย มันไม่แน่ เพราะฉะนั้น “อย่าประมาท” แล้วก็ดูว่าการภาวนา หรือว่าการปฏิบัติธรรมเนี่ย มันไม่ใช่แค่เพียงจะต้องมาเดินจงกรม มานั่งสมาธิในรูปแบบ เราสามารถใช้เวลาระหว่างวัน ‘ตลอดเวลา’ เท่าที่ตื่นอยู่ มาปฏิบัติธรรมได้ ฉะนั้นที่โยมบอกว่า.. “เมื่อก่อนเคยปฏิบัติแล้ว แต่หลังๆ ไม่ได้ปฏิบัติ” น่าจะเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมมันมีเพียงแบบเดียว คือต้องนั่งสมาธิ หรือเดินจงกรม หรือสวดมนต์เท่านั้น จึงจะเรียกว่า “ปฏิบัติ” จริงๆ แล้ว ชีวิตที่มีอยู่เนี่ย.. “ตา” กระทบรูป “หู” กระทบเสียง “จมูก” กระทบกลิ่น “ลิ้น” กระทบรส “กาย” กระทบสัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หรือ “ใจ” คิดนึกอะไร? ..แล้วยินดี ยินร้าย เป็นสุข เป็นทุกข์ แล้วปรุงอะไรขึ้นมาต่อ? ปรุงกุศล หรือปรุงกิเลส อย่างนี้นะ รู้ทันมันไป และถ้าจะให้ดี หาที่อยู่ของจิตเอาไว้สักที่หนึ่ง ทำสมถะไปก่อน ในกรณีที่ชีวิตประจำวัน ก็เห็น “ร่างกายเคลื่อนไหว” เป็นที่อยู่ เดินไป ก็เห็นร่างกายเดิน ไม่ต้องเดินจงกรมในรูปแบบ แต่เดินอยู่เนี่ย ก็เห็นกายเนี่ยเคลื่อนไหว เดินไปแบบปกตินี่แหละ แต่มีความรู้สึกตัว มีสติเห็นกายเคลื่อนไหว ก็ถือว่าเจริญสติ เหมือนเดินจงกรม เดินๆ ไป ใจเผลอออกไปข้างนอก-เห็นใจที่เผลอ ก็ยังถือว่าได้ปฏิบัติธรรม คือมีสติเห็นจิต ไม่ใช่ว่าเผลอแล้ว จะไม่มีโอกาสปฏิบัติธรรม เผลอแล้ว-เห็นจิตที่เผลอ แต่ถ้าเผลออย่างเดียว ไม่เห็นจิตที่เผลอ ก็ถือว่าไม่ได้ปฏิบัตินะ เผลอแล้ว-เห็นจิตที่เผลอ นี่เรียกว่าได้ปฏิบัติธรรม และถ้าจะให้เห็นใหม่ หรือได้ปฏิบัติธรรมได้ต่อเนื่องมากขึ้นก็ทำสมถะใหม่.. คือเอาจิตดวงใหม่มารู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของร่างกายต่อ ถ้ารู้หลักของการปฏิบัติ จะไม่มีข้ออ้างว่า “หลังๆ ไม่ได้ปฏิบัติเลย” จะไม่มีคำนี้ออกมา จะมีแต่รู้สึกว่า ‘อ้อ! ตอนนี้ทำในรูปแบบเวลาเท่าไหร่?’ ‘มีเวลาทำในรูปแบบบ้างไหม?’ ‘แล้วในชีวิตประจำวันได้ทำบ้างไหม?’ อะไรอย่างนี้นะ ‘ทำมากน้อยแค่ไหน?’ ‘รู้สึกตัวบ่อยแค่ไหน?’ ‘เห็นกิเลสเยอะแค่ไหน?’ เห็นกิเลสเยอะ.. ดีนะ แสดงว่ามีสติบ่อย ถ้าไม่เห็นกิเลสเลยเนี่ย ก็คงเป็นเพราะไม่ได้ดู เพราะไม่น่าเชื่อว่าจะไม่มีกิเลสแล้ว นึกออกไหม? ถ้าวันนี้ทั้งวัน ไม่เห็นกิเลสเลย เห็นแต่ ‘นังนั่น’ เห็นแต่ ‘อีตานี่’ เห็นแต่ ‘ลุงนั้น’ เห็นแต่ ‘ยัยนี่’ อย่างนี้เรียกว่า ไม่ได้ภาวนา ไม่เห็นกิเลสเลย แล้วที่ว่าเห็นกิเลสเนี่ย ต้องเห็นกิเลสตัวเองนะ ไม่ใช่เห็นกิเลสคนอื่น เห็นกิเลสคนอื่น ไม่ได้ภาวนานะ..ไม่ชื่อว่าภาวนา มันต้องเห็นกิเลสตัวเอง พอเข้าใจเนาะ? พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=2xgbsnPJQlg (นาทีที่ 24.21-31.49)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #เบื่อโลก #ถาม : โยมอายุก็มากแล้ว.. ๗๓ ปี เมื่อก่อนเคยปฏิบัติธรรม แต่หลังๆ ไม่ได้ปฏิบัติเลย คือโยมเบื่อโลก เบื่อวัฏจักร เบื่อโควิด (covid) เข้าใจแล้ว..แต่ยังวางไม่ได้เจ้าค่ะ อยากให้พระอาจารย์แนะนำหน่อย? #ตอบ : ข้องใจตรงที่ว่า “หลังๆ ไม่ได้ปฏิบัติเลย” นี่แหละ เอาเวลาไปทำอะไรหมดเนาะ? ๗๓ ปีแล้ว ก็น่าจะมีเวลาว่างมากพอนะ ตื่นนอนมาเนี่ย จริงๆ ทำได้เลยนะ “รู้สึกตัว” ตื่นขึ้นมา.. ใจเป็นอย่างไร? หรือมารู้ร่างกายก็ได้ ร่างกายมันขยับแล้ว จิตตื่นขึ้นมาแล้ว บางทีตอนจิตตื่นขึ้นมาแล้วเนี่ยนะ ถ้าเราตั้งใจไว้ว่าจะภาวนาเนี่ย ตื่นขึ้นมา เราสามารถที่จะภาวนาได้เลย ตั้งแต่ตื่นนอน จะรู้กายก็ได้ รู้ใจก็ได้ ‘รู้กาย’ ขยับ หรือ ‘รู้ใจ’ ที่มันรับรู้ อะไรขึ้นมาสักอย่างหนึ่ง ตอนตื่นน่ะ แล้วมันรู้สึกอย่างไร? มีความงัวเงีย มีความติดที่นอนหรือไม่? อยากลุกไหม? หรือว่าขี้เกียจ แล้วก็จำเป็นต้องลุก ต้องไป..แล้วก็ขยับตัวไป มีความเคลื่อนไหวของร่างกาย ขยับไป.. เจอตัวเองหน้ากระจกในห้องน้ำ รู้สึกอย่างไร? เวลาน้ำสัมผัสหน้าแล้ว รู้สึกอย่างไร? ล้างหน้า แปรงฟันแล้ว รู้สึกอย่างไร? ถ่ายหนัก ถ่ายเบา รู้สึกอย่างไร? ถ่ายไม่ออก รู้สึกอย่างไร? คือชีวิตของเราเนี่ยแหละ แล้วก็คอยดูจิตตัวเองว่า ในระหว่างวัน ใจเราเป็นอย่างไรบ้าง? ..ในระหว่างที่เรากระทบกับโลก “โลก” คือ กายนี้-ใจนี้ แล้วกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส(โผฏฐัพพะ) ธรรมารมณ์ข้างนอก อายตนะภายใน-อายตนะภายนอก ผัสสะกันเนี่ย (ผัสสะ แปลว่า การถูกต้อง, การกระทบ) รู้สึกอย่างไรบ้าง? มีเวทนาอะไรเกิดขึ้น? มีตัณหาเกิดขึ้นบ้างไหม? ถ้ามีตัณหาเกิดขึ้น เป็นตัณหาประเภทไหน? ตัณหาอยากได้(กามตัณหา) หรือตัณหาอยากผลักออก(วิภวตัณหา) หรืออยากจะเป็นโน่น อยากจะเป็นนี่(ภวตัณหา)? อะไรอย่างนี้นะ “เบื่อโลก”.. เบื่อโลกเนี่ย มันเป็นเบื่อแบบ ‘โทสะ’? หรือ เบื่อแบบ ‘นิพพิทา’? ก็ลองประเมินดู ถ้าเบื่อแบบ “โทสะ” มันก็จะอยากพ้นจากตรงนี้ เพื่อจะไปเกิดในที่ดีๆ อยากจะพ้นจากโควิด (covid) เพื่อจะไปสู่สภาวะที่เป็นสุข ไม่มีโรคภัย คือยังอยากไปเกิดในที่ดีๆ อย่างนี้เรียกว่า ยังไม่ใช่นิพพิทา “นิพพิทา” เนี่ย จะเห็นการปรุงแต่งของจิต ทั้งดี ทั้งชั่ว เห็นความปรุงแต่งซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่รู้จะพ้นความปรุงแต่งอย่างนี้ ได้อย่างไรนะ เรียกว่า ดูจนเบื่อ จนอยากจะพ้นไปจากความปรุงแต่ง แต่ยังพ้นไม่ได้ ดูแล้วดูอีก แล้วจนมันเริ่มเข้าใจ เริ่มมองสภาวะต่างๆ ทั้งกุศลและอกุศล ที่ปรุงอยู่เนี่ย มองด้วย “ใจเป็นกลาง” พอมองด้วยใจเป็นกลางเนี่ย จะกลายเป็นว่า เห็นสภาวะเกิด-ดับ ไม่เข้าไปยินดี ไม่เข้าไปยินร้าย กลายเป็น “อุเบกขา” ตรงนี้เรียกว่า เป็นญาณระดับสูงขึ้นมาอีก เรียกว่า “สังขารุเปกขาญาณ” ลองฝึกไปเรื่อยๆ อย่าเพียงแค่ “เบื่อ..แล้วไม่ปฏิบัติ!!” อันนี้เรียกว่า น่าเสียดายนะ น่าเสียดายว่า อายุก็มากแล้วนะ ไม่อยากจะพูดมากกว่านี้ ก็คือเวลาเหลือน้อยแล้วนะ เวลาเหลือน้อยแล้ว ก็ควรจะเห็นเวลาที่เหลือน้อยเนี่ย แล้วไม่ประมาท แทนที่จะมาหวั่นกลัวต่อความตาย ก็เห็นความตายอยู่ต่อหน้า แล้วรู้ว่าจะต้องตายในเวลาไม่ช้าแล้วเนี่ย กระตุ้นเตือนตัวเองว่า “ต้องไม่ประมาทแล้ว! เวลาเหลือน้อยแล้ว!” จริงๆ ที่พูดว่า “เวลาเหลือน้อย” เนี่ยนะ ไม่ใช่เฉพาะโยมผู้ถามนะ ..ทุกคน! คนอายุน้อยๆ กว่าโยมอาจจะลัดคิวไปก่อนก็ได้ ชาติหน้าของเขา อาจจะมาก่อนโยมก็ได้นะ อันนี้พูดเตือนทุกๆ คนว่า “มันไม่แน่” เวลาของชีวิตเนี่ย มันไม่แน่ เพราะฉะนั้น “อย่าประมาท” แล้วก็ดูว่าการภาวนา หรือว่าการปฏิบัติธรรมเนี่ย มันไม่ใช่แค่เพียงจะต้องมาเดินจงกรม มานั่งสมาธิในรูปแบบ เราสามารถใช้เวลาระหว่างวัน ‘ตลอดเวลา’ เท่าที่ตื่นอยู่ มาปฏิบัติธรรมได้ ฉะนั้นที่โยมบอกว่า.. “เมื่อก่อนเคยปฏิบัติแล้ว แต่หลังๆ ไม่ได้ปฏิบัติ” น่าจะเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมมันมีเพียงแบบเดียว คือต้องนั่งสมาธิ หรือเดินจงกรม หรือสวดมนต์เท่านั้น จึงจะเรียกว่า “ปฏิบัติ” จริงๆ แล้ว ชีวิตที่มีอยู่เนี่ย.. “ตา” กระทบรูป “หู” กระทบเสียง “จมูก” กระทบกลิ่น “ลิ้น” กระทบรส “กาย” กระทบสัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หรือ “ใจ” คิดนึกอะไร? ..แล้วยินดี ยินร้าย เป็นสุข เป็นทุกข์ แล้วปรุงอะไรขึ้นมาต่อ? ปรุงกุศล หรือปรุงกิเลส อย่างนี้นะ รู้ทันมันไป และถ้าจะให้ดี หาที่อยู่ของจิตเอาไว้สักที่หนึ่ง ทำสมถะไปก่อน ในกรณีที่ชีวิตประจำวัน ก็เห็น “ร่างกายเคลื่อนไหว” เป็นที่อยู่ เดินไป ก็เห็นร่างกายเดิน ไม่ต้องเดินจงกรมในรูปแบบ แต่เดินอยู่เนี่ย ก็เห็นกายเนี่ยเคลื่อนไหว เดินไปแบบปกตินี่แหละ แต่มีความรู้สึกตัว มีสติเห็นกายเคลื่อนไหว ก็ถือว่าเจริญสติ เหมือนเดินจงกรม เดินๆ ไป ใจเผลอออกไปข้างนอก-เห็นใจที่เผลอ ก็ยังถือว่าได้ปฏิบัติธรรม คือมีสติเห็นจิต ไม่ใช่ว่าเผลอแล้ว จะไม่มีโอกาสปฏิบัติธรรม เผลอแล้ว-เห็นจิตที่เผลอ แต่ถ้าเผลออย่างเดียว ไม่เห็นจิตที่เผลอ ก็ถือว่าไม่ได้ปฏิบัตินะ เผลอแล้ว-เห็นจิตที่เผลอ นี่เรียกว่าได้ปฏิบัติธรรม และถ้าจะให้เห็นใหม่ หรือได้ปฏิบัติธรรมได้ต่อเนื่องมากขึ้นก็ทำสมถะใหม่.. คือเอาจิตดวงใหม่มารู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของร่างกายต่อ ถ้ารู้หลักของการปฏิบัติ จะไม่มีข้ออ้างว่า “หลังๆ ไม่ได้ปฏิบัติเลย” จะไม่มีคำนี้ออกมา จะมีแต่รู้สึกว่า ‘อ้อ! ตอนนี้ทำในรูปแบบเวลาเท่าไหร่?’ ‘มีเวลาทำในรูปแบบบ้างไหม?’ ‘แล้วในชีวิตประจำวันได้ทำบ้างไหม?’ อะไรอย่างนี้นะ ‘ทำมากน้อยแค่ไหน?’ ‘รู้สึกตัวบ่อยแค่ไหน?’ ‘เห็นกิเลสเยอะแค่ไหน?’ เห็นกิเลสเยอะ.. ดีนะ แสดงว่ามีสติบ่อย ถ้าไม่เห็นกิเลสเลยเนี่ย ก็คงเป็นเพราะไม่ได้ดู เพราะไม่น่าเชื่อว่าจะไม่มีกิเลสแล้ว นึกออกไหม? ถ้าวันนี้ทั้งวัน ไม่เห็นกิเลสเลย เห็นแต่ ‘นังนั่น’ เห็นแต่ ‘อีตานี่’ เห็นแต่ ‘ลุงนั้น’ เห็นแต่ ‘ยัยนี่’ อย่างนี้เรียกว่า ไม่ได้ภาวนา ไม่เห็นกิเลสเลย แล้วที่ว่าเห็นกิเลสเนี่ย ต้องเห็นกิเลสตัวเองนะ ไม่ใช่เห็นกิเลสคนอื่น เห็นกิเลสคนอื่น ไม่ได้ภาวนานะ..ไม่ชื่อว่าภาวนา มันต้องเห็นกิเลสตัวเอง พอเข้าใจเนาะ? พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=2xgbsnPJQlg (นาทีที่ 24.21-31.49)

อ่านต่อ ...
Loading...