นิมฺมโลตอบโจทย์

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ปัตติทานมัย #ปัตตานุโมทนามัย ?? #ถาม : ถ้าคนเลี้ยงผีแบบพวกกุมารทอง ขวางโสดาบันไหมคะ? จัดในสีลัพพตปรามาสไหม? #ตอบ : เลี้ยงผีหรือ? จะนิยามคำว่า “เลี้ยงผี” ว่าอย่างไร? ถ้าเรานิยามคล้ายๆ กับว่า “อุทิศบุญ” .. เวลาเรามีของอะไร ของกินนะ สมมุติเรามีของกิน แล้วเราก็ตั้งใจแบ่งให้กับสรรพสัตว์ เคยมีครูบาอาจารย์ท่านใช้วิธีอย่างนี้ ท่านใช้วิธีว่า เวลามีอาหารมา ท่านจะเสกอาหารนั้นเป็นอีกชุดหนึ่ง ให้กับเหล่าโอปปาติกะที่ต้องการอาหาร ท่านก็ทำอย่างนี้ได้เหมือนกันนะ ..ที่ได้ยินมานะ มันขึ้นอยู่กับว่า... คำว่า “เลี้ยงผี” นี่เราจะให้ความหมายอย่างไร มันแปลกๆ เหมือนกัน มันจะจัดอยู่ในประเภทเลี้ยงเอาไว้เพื่อทำอะไร? คำว่า “เลี้ยงผี” เนี่ยส่วนใหญ่เหมือนกับว่า.. ต้องการให้ผีนั้นมาทำประโยชน์ให้กับเรา เหมือนกับหมอผี.. เลี้ยงผีเพื่อให้ผีนั้นมาทำประโยชน์ให้กับเรา ถ้าเลี้ยงผีลักษณะอย่างนี้นะ น่าจะไม่ใช่! แต่ถ้าเป็นการ... “เผื่อแผ่” ได้อาหารมาก็ ‘เผื่อแผ่กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย’ “สรรพสัตว์ทั้งหลาย” ในลักษณะของโอปปาติกะบางเหล่า บางพวกเนี่ย เขาต้องการอาหารที่เป็นรูปธรรมอย่างนี้ เห็นแล้วก็อยากกิน อยากจะได้ด้วย อย่างนี้ บางทีท่านก็ใช้วิธีเสก ให้มันเป็นหลายๆ ชุด แล้วก็ “เอ้า! เอาไปนะ ใครปรารถนาก็มารับไปนะ” ประมาณนี้นะ อันนี้ต้องบอกไว้ก่อนนะ “ที่ได้ยินมา” บางทีเราอาจจะไปได้ยินว่า.. ครูบาอาจารย์ท่านนั้น ใช้วิธีอย่างนี้ แล้วก็จะไปปรามาสท่าน ก็จะกลายเป็นว่า นึกว่า ‘ท่านเลี้ยงผีในลักษณะหมอผี’ ไม่ใช่อย่างนั้น!! อย่างนี้เป็นวิธีการที่เรียกว่า อาศัย “ความกรุณา” แล้วก็ให้เขาได้บรรเทาทุกข์ จากสถานะ หรืออัตภาพนั้น สภาวะนั้น ถามว่า “ขวางโสดาบันไหม?” มันก็ขึ้นอยู่กับ “เจตนา” ขึ้นอยู่กับเจตนาว่าจะเลี้ยง “เพื่ออะไร?” ถ้าต้องการให้เขามาเป็นบริวาร อย่างนี้น่าจะไม่ใช่!! ถ้าโยมจะต้องเป็นผู้เลี้ยงเองเนี่ย ขอแนะนำว่า.. สมมุติว่ารับกุมารทองมา เรามองกุมารทองนั้นว่าเป็นอย่างไร? เหมือนเป็นเทวดารับใช้เราหรือเปล่า? ถ้ามองในแง่นั้นเนี่ยนะ มันจะรู้สึกว่าดูไม่เหมาะเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นเหมือนสรรพสัตว์ เราแผ่เมตตาเหมือนกับ กุมารทอง หรือใครก็ตาม เป็นหนึ่งในสรรพสัตว์ ที่เราจะแผ่เมตตาไปให้ ไม่ว่าเราจะมีบุญอะไร เราก็แผ่เมตตาไปให้ เขาก็เป็นหนึ่งในสรรพสัตว์ ที่สามารถรับได้ ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องเลี้ยงใครเป็นพิเศษ อย่างนี้จะดีกว่า คล้ายๆ กับว่า เป็นการทำบุญของเราในแง่หนึ่ง มันมีบุญในแง่ว่า “ปัตติทานมัย-อุทิศส่วนกุศล” กับบุญในแง่ของ “ปัตตานุโมทนามัย-อนุโมทนาบุญกุศลของผู้อื่น” ที่เขาอุทิศมา เราทำบุญด้วยการอุทิศส่วนกุศล เฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่สรรพสัตว์ สรรพสัตว์ทั้งหลายก็ทำบุญด้วยการอนุโมทนา ยินดีในความดีของผู้อื่น ในคราวที่เราอุทิศส่วนกุศล เรามีบุญอะไร เราก็อุทิศส่วนกุศลไป เรามีบุญในแง่ของการให้ทาน .. ให้ทานเป็นอาหาร ให้ทานเป็นปัจจัย ๔ ทำแล้ว..เราก็อุทิศให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายไป ใครรับรู้..อนุโมทนา ก็อนุโมทนาไป อย่างนี้นะ อย่างนี้น่าจะเหมาะกว่า พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=EPmTbFz10Xw (นาทีที่ 1.40.55- 1.46.07)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ปัตติทานมัย #ปัตตานุโมทนามัย ?? #ถาม : ถ้าคนเลี้ยงผีแบบพวกกุมารทอง ขวางโสดาบันไหมคะ? จัดในสีลัพพตปรามาสไหม? #ตอบ : เลี้ยงผีหรือ? จะนิยามคำว่า “เลี้ยงผี” ว่าอย่างไร? ถ้าเรานิยามคล้ายๆ กับว่า “อุทิศบุญ” .. เวลาเรามีของอะไร ของกินนะ สมมุติเรามีของกิน แล้วเราก็ตั้งใจแบ่งให้กับสรรพสัตว์ เคยมีครูบาอาจารย์ท่านใช้วิธีอย่างนี้ ท่านใช้วิธีว่า เวลามีอาหารมา ท่านจะเสกอาหารนั้นเป็นอีกชุดหนึ่ง ให้กับเหล่าโอปปาติกะที่ต้องการอาหาร ท่านก็ทำอย่างนี้ได้เหมือนกันนะ ..ที่ได้ยินมานะ มันขึ้นอยู่กับว่า… คำว่า “เลี้ยงผี” นี่เราจะให้ความหมายอย่างไร มันแปลกๆ เหมือนกัน มันจะจัดอยู่ในประเภทเลี้ยงเอาไว้เพื่อทำอะไร? คำว่า “เลี้ยงผี” เนี่ยส่วนใหญ่เหมือนกับว่า.. ต้องการให้ผีนั้นมาทำประโยชน์ให้กับเรา เหมือนกับหมอผี.. เลี้ยงผีเพื่อให้ผีนั้นมาทำประโยชน์ให้กับเรา ถ้าเลี้ยงผีลักษณะอย่างนี้นะ น่าจะไม่ใช่! แต่ถ้าเป็นการ… “เผื่อแผ่” ได้อาหารมาก็ ‘เผื่อแผ่กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย’ “สรรพสัตว์ทั้งหลาย” ในลักษณะของโอปปาติกะบางเหล่า บางพวกเนี่ย เขาต้องการอาหารที่เป็นรูปธรรมอย่างนี้ เห็นแล้วก็อยากกิน อยากจะได้ด้วย อย่างนี้ บางทีท่านก็ใช้วิธีเสก ให้มันเป็นหลายๆ ชุด แล้วก็ “เอ้า! เอาไปนะ ใครปรารถนาก็มารับไปนะ” ประมาณนี้นะ อันนี้ต้องบอกไว้ก่อนนะ “ที่ได้ยินมา” บางทีเราอาจจะไปได้ยินว่า.. ครูบาอาจารย์ท่านนั้น ใช้วิธีอย่างนี้ แล้วก็จะไปปรามาสท่าน ก็จะกลายเป็นว่า นึกว่า ‘ท่านเลี้ยงผีในลักษณะหมอผี’ ไม่ใช่อย่างนั้น!! อย่างนี้เป็นวิธีการที่เรียกว่า อาศัย “ความกรุณา” แล้วก็ให้เขาได้บรรเทาทุกข์ จากสถานะ หรืออัตภาพนั้น สภาวะนั้น ถามว่า “ขวางโสดาบันไหม?” มันก็ขึ้นอยู่กับ “เจตนา” ขึ้นอยู่กับเจตนาว่าจะเลี้ยง “เพื่ออะไร?” ถ้าต้องการให้เขามาเป็นบริวาร อย่างนี้น่าจะไม่ใช่!! ถ้าโยมจะต้องเป็นผู้เลี้ยงเองเนี่ย ขอแนะนำว่า.. สมมุติว่ารับกุมารทองมา เรามองกุมารทองนั้นว่าเป็นอย่างไร? เหมือนเป็นเทวดารับใช้เราหรือเปล่า? ถ้ามองในแง่นั้นเนี่ยนะ มันจะรู้สึกว่าดูไม่เหมาะเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นเหมือนสรรพสัตว์ เราแผ่เมตตาเหมือนกับ กุมารทอง หรือใครก็ตาม เป็นหนึ่งในสรรพสัตว์ ที่เราจะแผ่เมตตาไปให้ ไม่ว่าเราจะมีบุญอะไร เราก็แผ่เมตตาไปให้ เขาก็เป็นหนึ่งในสรรพสัตว์ ที่สามารถรับได้ ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องเลี้ยงใครเป็นพิเศษ อย่างนี้จะดีกว่า คล้ายๆ กับว่า เป็นการทำบุญของเราในแง่หนึ่ง มันมีบุญในแง่ว่า “ปัตติทานมัย-อุทิศส่วนกุศล” กับบุญในแง่ของ “ปัตตานุโมทนามัย-อนุโมทนาบุญกุศลของผู้อื่น” ที่เขาอุทิศมา เราทำบุญด้วยการอุทิศส่วนกุศล เฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่สรรพสัตว์ สรรพสัตว์ทั้งหลายก็ทำบุญด้วยการอนุโมทนา ยินดีในความดีของผู้อื่น ในคราวที่เราอุทิศส่วนกุศล เรามีบุญอะไร เราก็อุทิศส่วนกุศลไป เรามีบุญในแง่ของการให้ทาน .. ให้ทานเป็นอาหาร ให้ทานเป็นปัจจัย ๔ ทำแล้ว..เราก็อุทิศให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายไป ใครรับรู้..อนุโมทนา ก็อนุโมทนาไป อย่างนี้นะ อย่างนี้น่าจะเหมาะกว่า พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=EPmTbFz10Xw (นาทีที่ 1.40.55- 1.46.07)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #จิตตั้งมั่น ?? #ถาม : ตอนนี้ผมยังไม่เห็นตัวผู้รู้ กับอารมณ์ ..ไม่แยกกัน มันยังเป็นเราตลอด จะต้องภาวนาอย่างไรต่อ? #ตอบ : ตัวผู้รู้เนี่ยไม่ใช่จะเกิดกันง่ายๆ นะ เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่เกิด ก็ไม่ต้องเดือนร้อนใจอะไร ให้รู้สึกตัวแล้วทำสมถะไป วิธีทำให้ “ผู้รู้” เกิดเนี่ย .. วิธีง่ายๆ ก็คือ ทำสมถะ ไปก่อน สมมติว่าคนที่ใช้ลมหายใจเป็นจุดตั้งต้นทำสมถะ ก็ดูลมหายใจ หรือเห็นกายหายใจ แล้วพอมันเผลอไป ..รู้ทันว่าจิตเผลอ ตอนรู้ว่าจิตเผลอเนี่ยเพียงแค่มีสติรู้สึกตัวว่า ‘จิตเมื่อกี้มันเผลอ’ ยังไม่ถึงขั้นว่าจะเกิดตัว “ผู้รู้” “ผู้รู้” จะเกิดได้..สำหรับคนทั่วๆ ไปที่ไม่ชำนาญการทำฌานนะ ผู้รู้จะมาได้ใน ๒ ลักษณะ ลักษณะที่ (๑) คือ ทำสมถะไป แล้วจิตเผลอจากจุดตั้งต้นนั้น ในลักษณะที่เราเห็นว่ามันเคลื่อน ตอนมันเคลื่อนเนี่ย ถ้าเราเห็นว่าเคลื่อน จิตขณะที่เห็นมันจะไม่เคลื่อน เหมือนถ้าเห็นว่าเผลอ จิตขณะที่เห็นมันจะไม่เผลอ ทีนี้ถ้าเราเห็นว่าจิตมันมีการเคลื่อนจากจุดตั้งต้นนี้ ไปไหนก็แล้วแต่นะ ไปจากนี้ไปเนี่ย จิตมันมีการเคลื่อน แล้วเราเห็นทันตอนจิตเคลื่อน ขณะที่เห็นว่าจิตเคลื่อน.. จิตจะไม่เคลื่อน ไอ้คำว่า ‘จิตไม่คลื่อน’ ก็คือ “จิตตั้งมั่น” นั่นเอง จิตที่เคลื่อน คือจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตตั้งมั่น เรียกอีกอย่างว่า มีจิตที่เป็น “ผู้รู้” ทีนี้มันขึ้นอยู่กับว่าตอนที่เราเห็นสภาวะเนี่ย เราเห็นได้ในแง่ไหน? ถ้าจิตมันเคลื่อนไปแล้วตั้งนาน ค่อยเห็นว่าเผลอ มันจะไม่เห็นว่าจิตเคลื่อนแล้ว สมมติว่าเรามองอะไรสักอย่างนะ มอง.... ขณะนั้นจิตเคลื่อนไปแล้ว! สมมติว่ามองหนังสือก็ได้ (พระอาจารย์ยกตัวอย่าง หนังสือที่วางอยู่บนโต๊ะด้านหน้า) สมมติว่ามองหนังสือแล้วก็มอง... จริงๆ จิตเคลื่อนไปตั้งนานแล้ว จิตเคลื่อนไปตั้งแต่มันเห็นแล้ว พอเห็นไปแล้วก็มองไปเนี่ยนะ ขณะนั้นเนี่ยมันคือเผลอ ถ้าเราจะเห็นว่าจิตมันอยู่ที่หนังสือเนี่ยนะ จะเห็นว่าจิตมันเผลอไป มันไม่ทันเห็นว่าจิตเคลื่อนแล้ว (๒) แต่ถ้าเห็นว่าเผลอ ก็มีโอกาสได้จิตตั้งมั่น อีกวิธีหนึ่ง ก็คือเห็นว่าจิตเผลอ แต่เห็นด้วยใจเป็นกลาง เห็นว่าจิตมันเผลอเนี่ยนะ มันถลำไปตรงนี้เนี่ยนะ แล้วเห็นเฉยๆ มีสภาวะเผลอเกิดขึ้น แล้วดูด้วยใจเป็นกลาง ก็จะได้เห็นจิตตั้งมั่นตอนเห็นเผลอนี้ ซึ่งก็คือ ได้จิตที่เป็น “ผู้รู้” เช่นเดียวกัน ก็จะมีวิธีทำ “จิตตั้งมั่น” ให้เกิด “จิตผู้รู้” ได้ ๒ วิธี คือ ๑. ทำสมถะไป แล้วเห็นตอนจิตที่มันเคลื่อนออกจากสมถะนี้ จากองค์ภาวนานี้ ๒. กับอีกวิธีหนึ่ง คือมันเผลอไปแล้ว อยู่ตรงไหนก็แล้วแต่ เห็นสภาวะนั้นด้วยใจเห็นกลาง มี ๒ วิธีสำหรับคนที่ไม่ชำนาญการทำฌาน สังเกตได้ว่าหลังจากที่มีจิตตั้งมั่นเกิดขึ้นมาเนี่ย มันจะรู้สึกว่าสภาวะที่เห็นนั้นถูกรู้ และไอ้ตอนสภาวะที่เห็นถูกรู้เนี่ยนะ มันไม่ได้เน้นมาที่ตัวผู้รู้หรอก แต่มันมีความรู้สึกว่า “สิ่งหนึ่งถูกรู้” ไอ้ตอนที่รู้สึกว่ามี “สิ่งหนึ่งถูกรู้” นะ มันมี “ผู้รู้” อยู่แล้วในตัว เรียกว่าเมื่อมีสิ่งหนึ่งถูกรู้ มีอีกสิ่งหนึ่งเป็นผู้รู้ มันเกิดขึ้นพร้อมกัน ดับไปพร้อมกัน.. สภาวะอย่างนี้นะ เราอาจจะไม่ทันสังเกตขนาดว่าเห็น “ผู้รู้” แต่เห็นว่ามี “สิ่งหนึ่งถูกรู้” ก็ใช้ได้ และถ้ายังไม่เห็นแม้กระทั่งว่า สิ่งหนึ่งถูกรู้อะไรอย่างนี้นะ ก็ใจเย็นๆ ใจเย็นๆ ไม่ต้องใจร้อน ทำสมถะไป เห็นเผลอแล้วรู้ทัน จิตเผลอไปแล้วรู้ทัน รู้ทันเสร็จแล้วทำสมถะต่อ สังเกตตรงนี้นิดหนึ่งว่า ตอนเห็นว่าเผลอแล้วเนี่ยนะ อย่าไปแก้ไขความเผลอนั้น เผลอคือเผลอ เผลอก็ช่างมัน! เผลอคือเผลอ เผลอก็ช่างมัน! รู้แล้วก็พอ ไม่ต้องไปแก้ไข เพราะแก้ไม่ได้ ไม่ควรแก้ จิตเนี่ยเกิด-ดับป็นขณะ จิตขณะหนึ่งเนี่ย อยู่กับองค์กรรมฐานที่เป็นสมถะ จิตอีกขณะหนึ่งนะ เผลอไปแล้ว จิตอีกขณะหนึ่ง เห็นว่าจิตเมื่อกี้เผลอ จิตที่เผลอเนี่ยกลายเป็นอดีตแล้ว เพราะว่าจิตขณะรู้นี้เป็นจิตปัจจุบัน เพราะฉะนั้นไม่ได้มีหน้าที่ ไม่ได้มีภาระอะไรที่จะไปแก้ไขไอ้จิตที่เผลอนี้ จิตที่รู้เป็นจิตปัจจุบัน อันนี้เป็นจิตปัจจุบันนะ เห็นจิตเมื่อกี้ว่าเผลอ จิตปัจจุบันที่เห็นว่าเผลอเนี่ย เป็นจิตผู้รู้ เพราะฉะนั้นขณะที่รู้เนี่ย จิตเผลอดับไปแล้ว เพราะปัจจุบันเป็นจิตรู้ไปแล้ว งานที่จะไปแก้ไขอดีตเนี่ย..ไม่มีเลย มีแค่ว่า รู้เฉยๆ รู้เฉยๆ แล้วจิตที่รู้นี้ก็ดับ ! มันจะเกิดขึ้นมาแว๊บเดียว แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นมา.. อย่าให้มันล่องลอยไปที่อื่น ให้กลับมาที่องค์ภาวนาใหม่ ถ้าดูลมหายใจ ก็ดูลมหายใจใหม่ เอาจิตดวงใหม่มาทำสมถะ ไม่ใช่เอาจิตที่เผลอไปกลับมาทำสมถะ ซึ่งทำไม่ได้! เข้าใจไหม? จิตที่เผลอดับไปแล้ว ตั้งแต่มีจิตรู้ จิตที่เผลอเนี่ยนะ ดับไปแล้วตั้งแต่มีจิตรู้ เพราะฉะนั้นจิตรู้ดับไปแล้ว เอาจิตดวงใหม่มาทำสมถกรรมฐาน ไม่ใช่ไปดึงจิตอดีตที่ดับไปแล้ว..กลับมา ดึงให้ตายก็ไม่กลับ! เพราะจิตนั้นดับไปแล้ว จิตนั้นตายไปแล้ว ถ้าเรามีจิตดวงใหม่ที่ไปพยายามดึงไอ้จิตที่เผลอไปแล้วเนี่ยกลับมา มันเป็นงานที่ทำไม่ได้ และไม่มีทางสำเร็จ แล้วมันก็เลยกลายเป็นว่า ‘ทำไมกูทำไม่ได้ ๆ’ หงุดหงิดอยู่กับตัวเองนั่นเอง หงุดหงิดกับท้อแท้ ‘โอ้ย! ฉันคงไม่มีบารมี’ กลายเป็นคำถามว่า.. “สงสัยชาติที่แล้วเราไม่เคยทำ?” จริงๆ อาจจะเคยทำ แต่ทำอย่างนี้ คือพยายามไปแก้จิตอดีต ซึ่งทำไม่ได้ นึกออกไหม? เพราะฉะนั้นทำตามนี้นะ คือเห็นว่าจิตเผลอเมื่อกี้ มีจิตรู้..พอ จิตรู้..พอ จิตรู้ที่ถูกต้อง ต้องมีลักษณะอย่างนี้ว่า “ไร้น้ำหนัก บางเฉียบ เงียบกริบ” “ไร้น้ำหนัก” คือ เป็นจิตรู้.. รู้เฉยๆ รู้เบาๆ ไม่ใช่ว่าเพ่งไปว่า ‘เอ้ย! ฉันเห็นแล้ว’ เพ่งแบบเอาจริงเอาจัง มันก็เกินไป มันมีน้ำหนัก “บางเฉียบ” คือ มันเกิดแล้วมันก็ดับเลย “เงียบกริบ” คือ มันพูดอะไรไม่ทันเลย ตอนรู้เนี่ยนะ ไม่มีแม้แต่คำว่า “รู้” เพราะฉะนั้นไอ้ที่มีคำไล่ตามหลังว่า “เผลอหนอ” อะไรเนี่ยนะ มันเป็นตอนที่มันปรุงคำพูดทีหลังแล้ว ไอ้ตอนรู้จริงๆ นะ มันแว๊บเดียว มันหนึ่งชั่วขณะจิต มันไวมาก ไวกว่ากระแสไฟฟ้าที่มันเกิดดับด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้น ไอ้ตอนที่มันรู้นะ ไม่ต้องไปกังวลว่าจะต้องพูด ไม่ต้องไปกังวล ถ้าตอนนี้ยังไม่เกิดตัวผู้รู้ ก็ทำสมถะไปเรื่อยๆ ดูจิตที่มันเผลอไป พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=S5au3v0vMYI (นาทีที่ 1.35.04-1.42.42)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #จิตตั้งมั่น ?? #ถาม : ตอนนี้ผมยังไม่เห็นตัวผู้รู้ กับอารมณ์ ..ไม่แยกกัน มันยังเป็นเราตลอด จะต้องภาวนาอย่างไรต่อ? #ตอบ : ตัวผู้รู้เนี่ยไม่ใช่จะเกิดกันง่ายๆ นะ เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่เกิด ก็ไม่ต้องเดือนร้อนใจอะไร ให้รู้สึกตัวแล้วทำสมถะไป วิธีทำให้ “ผู้รู้” เกิดเนี่ย .. วิธีง่ายๆ ก็คือ ทำสมถะ ไปก่อน สมมติว่าคนที่ใช้ลมหายใจเป็นจุดตั้งต้นทำสมถะ ก็ดูลมหายใจ หรือเห็นกายหายใจ แล้วพอมันเผลอไป ..รู้ทันว่าจิตเผลอ ตอนรู้ว่าจิตเผลอเนี่ยเพียงแค่มีสติรู้สึกตัวว่า ‘จิตเมื่อกี้มันเผลอ’ ยังไม่ถึงขั้นว่าจะเกิดตัว “ผู้รู้” “ผู้รู้” จะเกิดได้..สำหรับคนทั่วๆ ไปที่ไม่ชำนาญการทำฌานนะ ผู้รู้จะมาได้ใน ๒ ลักษณะ ลักษณะที่ (๑) คือ ทำสมถะไป แล้วจิตเผลอจากจุดตั้งต้นนั้น ในลักษณะที่เราเห็นว่ามันเคลื่อน ตอนมันเคลื่อนเนี่ย ถ้าเราเห็นว่าเคลื่อน จิตขณะที่เห็นมันจะไม่เคลื่อน เหมือนถ้าเห็นว่าเผลอ จิตขณะที่เห็นมันจะไม่เผลอ ทีนี้ถ้าเราเห็นว่าจิตมันมีการเคลื่อนจากจุดตั้งต้นนี้ ไปไหนก็แล้วแต่นะ ไปจากนี้ไปเนี่ย จิตมันมีการเคลื่อน แล้วเราเห็นทันตอนจิตเคลื่อน ขณะที่เห็นว่าจิตเคลื่อน.. จิตจะไม่เคลื่อน ไอ้คำว่า ‘จิตไม่คลื่อน’ ก็คือ “จิตตั้งมั่น” นั่นเอง จิตที่เคลื่อน คือจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตตั้งมั่น เรียกอีกอย่างว่า มีจิตที่เป็น “ผู้รู้” ทีนี้มันขึ้นอยู่กับว่าตอนที่เราเห็นสภาวะเนี่ย เราเห็นได้ในแง่ไหน? ถ้าจิตมันเคลื่อนไปแล้วตั้งนาน ค่อยเห็นว่าเผลอ มันจะไม่เห็นว่าจิตเคลื่อนแล้ว สมมติว่าเรามองอะไรสักอย่างนะ มอง…. ขณะนั้นจิตเคลื่อนไปแล้ว! สมมติว่ามองหนังสือก็ได้ (พระอาจารย์ยกตัวอย่าง หนังสือที่วางอยู่บนโต๊ะด้านหน้า) สมมติว่ามองหนังสือแล้วก็มอง… จริงๆ จิตเคลื่อนไปตั้งนานแล้ว จิตเคลื่อนไปตั้งแต่มันเห็นแล้ว พอเห็นไปแล้วก็มองไปเนี่ยนะ ขณะนั้นเนี่ยมันคือเผลอ ถ้าเราจะเห็นว่าจิตมันอยู่ที่หนังสือเนี่ยนะ จะเห็นว่าจิตมันเผลอไป มันไม่ทันเห็นว่าจิตเคลื่อนแล้ว (๒) แต่ถ้าเห็นว่าเผลอ ก็มีโอกาสได้จิตตั้งมั่น อีกวิธีหนึ่ง ก็คือเห็นว่าจิตเผลอ แต่เห็นด้วยใจเป็นกลาง เห็นว่าจิตมันเผลอเนี่ยนะ มันถลำไปตรงนี้เนี่ยนะ แล้วเห็นเฉยๆ มีสภาวะเผลอเกิดขึ้น แล้วดูด้วยใจเป็นกลาง ก็จะได้เห็นจิตตั้งมั่นตอนเห็นเผลอนี้ ซึ่งก็คือ ได้จิตที่เป็น “ผู้รู้” เช่นเดียวกัน ก็จะมีวิธีทำ “จิตตั้งมั่น” ให้เกิด “จิตผู้รู้” ได้ ๒ วิธี คือ ๑. ทำสมถะไป แล้วเห็นตอนจิตที่มันเคลื่อนออกจากสมถะนี้ จากองค์ภาวนานี้ ๒. กับอีกวิธีหนึ่ง คือมันเผลอไปแล้ว อยู่ตรงไหนก็แล้วแต่ เห็นสภาวะนั้นด้วยใจเห็นกลาง มี ๒ วิธีสำหรับคนที่ไม่ชำนาญการทำฌาน สังเกตได้ว่าหลังจากที่มีจิตตั้งมั่นเกิดขึ้นมาเนี่ย มันจะรู้สึกว่าสภาวะที่เห็นนั้นถูกรู้ และไอ้ตอนสภาวะที่เห็นถูกรู้เนี่ยนะ มันไม่ได้เน้นมาที่ตัวผู้รู้หรอก แต่มันมีความรู้สึกว่า “สิ่งหนึ่งถูกรู้” ไอ้ตอนที่รู้สึกว่ามี “สิ่งหนึ่งถูกรู้” นะ มันมี “ผู้รู้” อยู่แล้วในตัว เรียกว่าเมื่อมีสิ่งหนึ่งถูกรู้ มีอีกสิ่งหนึ่งเป็นผู้รู้ มันเกิดขึ้นพร้อมกัน ดับไปพร้อมกัน.. สภาวะอย่างนี้นะ เราอาจจะไม่ทันสังเกตขนาดว่าเห็น “ผู้รู้” แต่เห็นว่ามี “สิ่งหนึ่งถูกรู้” ก็ใช้ได้ และถ้ายังไม่เห็นแม้กระทั่งว่า สิ่งหนึ่งถูกรู้อะไรอย่างนี้นะ ก็ใจเย็นๆ ใจเย็นๆ ไม่ต้องใจร้อน ทำสมถะไป เห็นเผลอแล้วรู้ทัน จิตเผลอไปแล้วรู้ทัน รู้ทันเสร็จแล้วทำสมถะต่อ สังเกตตรงนี้นิดหนึ่งว่า ตอนเห็นว่าเผลอแล้วเนี่ยนะ อย่าไปแก้ไขความเผลอนั้น เผลอคือเผลอ เผลอก็ช่างมัน! เผลอคือเผลอ เผลอก็ช่างมัน! รู้แล้วก็พอ ไม่ต้องไปแก้ไข เพราะแก้ไม่ได้ ไม่ควรแก้ จิตเนี่ยเกิด-ดับป็นขณะ จิตขณะหนึ่งเนี่ย อยู่กับองค์กรรมฐานที่เป็นสมถะ จิตอีกขณะหนึ่งนะ เผลอไปแล้ว จิตอีกขณะหนึ่ง เห็นว่าจิตเมื่อกี้เผลอ จิตที่เผลอเนี่ยกลายเป็นอดีตแล้ว เพราะว่าจิตขณะรู้นี้เป็นจิตปัจจุบัน เพราะฉะนั้นไม่ได้มีหน้าที่ ไม่ได้มีภาระอะไรที่จะไปแก้ไขไอ้จิตที่เผลอนี้ จิตที่รู้เป็นจิตปัจจุบัน อันนี้เป็นจิตปัจจุบันนะ เห็นจิตเมื่อกี้ว่าเผลอ จิตปัจจุบันที่เห็นว่าเผลอเนี่ย เป็นจิตผู้รู้ เพราะฉะนั้นขณะที่รู้เนี่ย จิตเผลอดับไปแล้ว เพราะปัจจุบันเป็นจิตรู้ไปแล้ว งานที่จะไปแก้ไขอดีตเนี่ย..ไม่มีเลย มีแค่ว่า รู้เฉยๆ รู้เฉยๆ แล้วจิตที่รู้นี้ก็ดับ ! มันจะเกิดขึ้นมาแว๊บเดียว แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้นจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นมา.. อย่าให้มันล่องลอยไปที่อื่น ให้กลับมาที่องค์ภาวนาใหม่ ถ้าดูลมหายใจ ก็ดูลมหายใจใหม่ เอาจิตดวงใหม่มาทำสมถะ ไม่ใช่เอาจิตที่เผลอไปกลับมาทำสมถะ ซึ่งทำไม่ได้! เข้าใจไหม? จิตที่เผลอดับไปแล้ว ตั้งแต่มีจิตรู้ จิตที่เผลอเนี่ยนะ ดับไปแล้วตั้งแต่มีจิตรู้ เพราะฉะนั้นจิตรู้ดับไปแล้ว เอาจิตดวงใหม่มาทำสมถกรรมฐาน ไม่ใช่ไปดึงจิตอดีตที่ดับไปแล้ว..กลับมา ดึงให้ตายก็ไม่กลับ! เพราะจิตนั้นดับไปแล้ว จิตนั้นตายไปแล้ว ถ้าเรามีจิตดวงใหม่ที่ไปพยายามดึงไอ้จิตที่เผลอไปแล้วเนี่ยกลับมา มันเป็นงานที่ทำไม่ได้ และไม่มีทางสำเร็จ แล้วมันก็เลยกลายเป็นว่า ‘ทำไมกูทำไม่ได้ ๆ’ หงุดหงิดอยู่กับตัวเองนั่นเอง หงุดหงิดกับท้อแท้ ‘โอ้ย! ฉันคงไม่มีบารมี’ กลายเป็นคำถามว่า.. “สงสัยชาติที่แล้วเราไม่เคยทำ?” จริงๆ อาจจะเคยทำ แต่ทำอย่างนี้ คือพยายามไปแก้จิตอดีต ซึ่งทำไม่ได้ นึกออกไหม? เพราะฉะนั้นทำตามนี้นะ คือเห็นว่าจิตเผลอเมื่อกี้ มีจิตรู้..พอ จิตรู้..พอ จิตรู้ที่ถูกต้อง ต้องมีลักษณะอย่างนี้ว่า “ไร้น้ำหนัก บางเฉียบ เงียบกริบ” “ไร้น้ำหนัก” คือ เป็นจิตรู้.. รู้เฉยๆ รู้เบาๆ ไม่ใช่ว่าเพ่งไปว่า ‘เอ้ย! ฉันเห็นแล้ว’ เพ่งแบบเอาจริงเอาจัง มันก็เกินไป มันมีน้ำหนัก “บางเฉียบ” คือ มันเกิดแล้วมันก็ดับเลย “เงียบกริบ” คือ มันพูดอะไรไม่ทันเลย ตอนรู้เนี่ยนะ ไม่มีแม้แต่คำว่า “รู้” เพราะฉะนั้นไอ้ที่มีคำไล่ตามหลังว่า “เผลอหนอ” อะไรเนี่ยนะ มันเป็นตอนที่มันปรุงคำพูดทีหลังแล้ว ไอ้ตอนรู้จริงๆ นะ มันแว๊บเดียว มันหนึ่งชั่วขณะจิต มันไวมาก ไวกว่ากระแสไฟฟ้าที่มันเกิดดับด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้น ไอ้ตอนที่มันรู้นะ ไม่ต้องไปกังวลว่าจะต้องพูด ไม่ต้องไปกังวล ถ้าตอนนี้ยังไม่เกิดตัวผู้รู้ ก็ทำสมถะไปเรื่อยๆ ดูจิตที่มันเผลอไป พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=S5au3v0vMYI (นาทีที่ 1.35.04-1.42.42)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ตำหนิพระในใจ ?? #ถาม : โยมเคยตำหนิพระในใจเหมือนกัน แต่ท่านนั้นได้มรณภาพไปแล้ว โยมจะขอขมาได้อย่างไร? #ตอบ : จุดธูปขอขมา ..นี้เป็นวิธีขอขมาแบบไทย ๆ เลยนะ.. ที่จริงไม่ต้องจุดธูปก็ได้ เป็นความเคยชินทำตามกันมา เวลาจะนึกถึงใครที่ตายไปแล้ว เรามักจะใช้จุดธูป แต่จะว่าไป จุดธูปก็มีประโยชน์เหมือนกัน เป็นการรวมใจเราเองให้ได้สมาธิ ประมาณว่า ‘เอาละนะ ฉันจะนึกถึงท่านรูปนี้ หรือคน ๆ นี้’ ในกรณีนี้แม้ไม่จุดธูปก็ไม่เป็นไร ก็คือไปหน้าหิ้งพระ ถ้าท่านเป็นพระนะ ไปหน้าหิ้งพระ แล้วก็ขอให้พระรัตนตรัยเป็นตัวแทน แล้วก็สื่อถึงท่าน ยิ่งถ้าท่านเป็นพระดี ดีเลิศ ๆ เลย ยิ่งง่าย! “ยิ่งเลิศ – ยิ่งง่าย” โยมอาจจะงง! ยิ่งเลิศทำไม่ยิ่งง่าย? ยิ่งเลิศ ถ้าไปล่วงเกินท่านแล้วไม่ขอขมาเนี่ย.. ยิ่งแย่! แต่ถ้าเราคิดจะขอขมา มันยิ่งง่าย.. ทำไมถึงยิ่งง่าย? ถ้ายิ่งเป็นพระอรหันต์นะ ภาวะความเป็นพระอรหันต์เนี่ย จิตจะไม่มีขอบเขต จิตไม่มีขอบเขต หมายความว่า.. ขอขมาที่ไหนก็ได้ ขอขมาที่บ้านโยมก็ได้ ขอขมาที่หน้าหิ้งพระบ้านโยมได้เลย ..ขอให้ใจเราถึงเท่านั้นเอง! “ขอขมาด้วยใจจริง จากความสำนึกผิดจริง ๆ จากการที่เราได้ประมาทพลาดพลั้ง คิดไม่ดีกับท่าน” ..อย่างนี้ก็สามารถทำได้ ก็มีเหลือวิธีเดียวที่จะทำได้นี้แหละ ถ้าท่านมีชีวิตอยู่ ก็ต้องไปขอขมากับตัวท่านเลย ทีนี้ท่านมรณภาพแล้วก็ต้องใช้วิธีที่แนะมานี้ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.facebook.com/nimmalo/videos/1290812144648942 (นาทีที่ 1.32.55-1.35.01)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ตำหนิพระในใจ ?? #ถาม : โยมเคยตำหนิพระในใจเหมือนกัน แต่ท่านนั้นได้มรณภาพไปแล้ว โยมจะขอขมาได้อย่างไร? #ตอบ : จุดธูปขอขมา ..นี้เป็นวิธีขอขมาแบบไทย ๆ เลยนะ.. ที่จริงไม่ต้องจุดธูปก็ได้ เป็นความเคยชินทำตามกันมา เวลาจะนึกถึงใครที่ตายไปแล้ว เรามักจะใช้จุดธูป แต่จะว่าไป จุดธูปก็มีประโยชน์เหมือนกัน เป็นการรวมใจเราเองให้ได้สมาธิ ประมาณว่า ‘เอาละนะ ฉันจะนึกถึงท่านรูปนี้ หรือคน ๆ นี้’ ในกรณีนี้แม้ไม่จุดธูปก็ไม่เป็นไร ก็คือไปหน้าหิ้งพระ ถ้าท่านเป็นพระนะ ไปหน้าหิ้งพระ แล้วก็ขอให้พระรัตนตรัยเป็นตัวแทน แล้วก็สื่อถึงท่าน ยิ่งถ้าท่านเป็นพระดี ดีเลิศ ๆ เลย ยิ่งง่าย! “ยิ่งเลิศ – ยิ่งง่าย” โยมอาจจะงง! ยิ่งเลิศทำไม่ยิ่งง่าย? ยิ่งเลิศ ถ้าไปล่วงเกินท่านแล้วไม่ขอขมาเนี่ย.. ยิ่งแย่! แต่ถ้าเราคิดจะขอขมา มันยิ่งง่าย.. ทำไมถึงยิ่งง่าย? ถ้ายิ่งเป็นพระอรหันต์นะ ภาวะความเป็นพระอรหันต์เนี่ย จิตจะไม่มีขอบเขต จิตไม่มีขอบเขต หมายความว่า.. ขอขมาที่ไหนก็ได้ ขอขมาที่บ้านโยมก็ได้ ขอขมาที่หน้าหิ้งพระบ้านโยมได้เลย ..ขอให้ใจเราถึงเท่านั้นเอง! “ขอขมาด้วยใจจริง จากความสำนึกผิดจริง ๆ จากการที่เราได้ประมาทพลาดพลั้ง คิดไม่ดีกับท่าน” ..อย่างนี้ก็สามารถทำได้ ก็มีเหลือวิธีเดียวที่จะทำได้นี้แหละ ถ้าท่านมีชีวิตอยู่ ก็ต้องไปขอขมากับตัวท่านเลย ทีนี้ท่านมรณภาพแล้วก็ต้องใช้วิธีที่แนะมานี้ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.facebook.com/nimmalo/videos/1290812144648942 (นาทีที่ 1.32.55-1.35.01)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ทุนน้อยทำให้มาก ?? #ถาม : จริงหรือไม่ที่ว่า ผู้ที่นั่งสมาธิได้ผลเร็วนั้น จะต้องสะสมบารมีมาตั้งแต่ชาติก่อน? #ตอบ : ถ้าจะพูดเรื่องของการฝึกสมาธิเนี่ย ผู้ที่จะได้ผลเร็วก็มักจะมีความคุ้นเคย คือเคยทำมาก่อน ถ้าไม่เคยทำมา แล้วเราเพิ่งมาเริ่มต้นชาตินี้ชาติแรกเนี่ยนะ ก็ยากอยู่ เพราะบางทีจิตมันคุ้นเคยที่จะฟุ้งซ่าน จะบอกให้ทำฌานหรือจะบอกให้ทำสมาธิ..มันไม่คุ้น มาเริ่มต้นใหม่เลย จิตมันมีอนุสัย มีความคุ้นชินที่จะไปมีราคะ โทสะ โมหะอย่างนี้นะ นิวรณ์ต่างๆ ก็ไม่เคยเห็น หรือว่าไม่เคยฝึกในการละนิวรณ์ บางทียังไม่เห็นว่านิวรณ์เป็นอย่างไร? สภาวะที่เป็นรูปธรรม นามธรรม.. ให้มาเจริญสติดู กาย เวทนา จิต ธรรม มันยังไม่คุ้นเลย ยังไม่คุ้น จิตยังไม่คุ้น จะบอกให้รู้สึกตัว ก็ต้องเรียนอยู่นานเหมือนกัน บางทีไม่คุ้น มันไม่ใช่ว่า “มาแบบใสๆ” นะ บางคนเนี่ยถ้ามาแบบใสๆ ก็คือว่า แม้จะไม่ได้ฝึกสมาธิมา แต่เป็นคนดีมา อย่างนี้โอเค (ok) พอได้ เป็นคนดี รักษาศีลมาก่อน ให้ทานมาก่อน อย่างนี้นะ ในสังสารวัฏวนเวียนอยู่ในสุขคติ เวลาจะมาฝึก ก็จะง่ายหน่อย แต่กระนั้นก็ยังเป็นเรื่องยาก เพราะว่าจิตมันมักจะอยู่ในเรื่องของกามาวจร (กามาวจร หมายถึงว่าเที่ยวไปในกาม) เพราะฉะนั้นมันคุ้นชินในการที่จะไหลเพลินไปในเรื่องของกาม ซึ่งกามก็เป็นศัตรูของสมาธิ ฉะนั้นถ้าไม่เคยฝึกมาก่อน มาเริ่มฝึกครั้งแรกในชาตินี้ แน่นอนก็ยากสักหน่อย อย่างที่ว่าแหละ เพราะว่าเอาจริงๆ แล้วเนี่ย คนส่วนใหญ่มันไม่ได้มาแบบผ้าขาว ไม่ได้มาแบบใสๆ แต่มันขมุกขมัวมา มันไม่ได้มีแต่บุญกุศลมา แล้วก็มาแบบมีจิตใสๆ... “ท่านอาจารย์ครับ ผมขอฝึกสมาธิ” แล้วมาแบบจิตใสกิ๊งมาเลยเนี่ยนะ โอ้โห! หายากๆ ส่วนใหญ่เราเนี่ย พลาดมาแล้วทั้งนั้น เราพลาดไปตามกิเลส ไปผิดศีลบ้าง ทำผิดบ้าง พูดผิดบ้าง อะไรอย่างนี้นะ มันอาจจะไม่ใช่ชาตินี้ อาจจะเป็นชาติก่อน บางทีก็เผลอไปกินเหล้าในชาติก่อน มันส่งผลมาถึงชาติปัจจุบัน ทำให้มีโมหะมาก เหล้าเนี่ยนะ สุรา เมรัย สิ่งเสพติดทั้งหลายเนี่ย ระวังนะ! มันทำให้มึนเมาเนี่ยนะ มันไม่ได้เมาเฉพาะที่ไอ้หัวกะโหลก หรือในสมองเท่านั้นเอง มันเมาเข้าจิตไปเลย!! จิตนี้มันเสพความเมาไปด้วยนะ ตายจากชาตินี้ไปเนี่ย มันเก็บสะสมโมหะไป เก็บสะสมโมหะไป ชาติหน้าเกิดมาเนี่ย สมมติว่าชาตินี้ เป็นชาติหน้า ของชาติที่แล้ว ชาตินี้มาเนี่ย ครูบาอาจารย์เห็น.. ‘อื้อหือ ทำไมมันมืดอย่างนี้?’ คือมันเป็นวิบากมาจากชาติก่อน ที่ไปทำความมึนเมาให้กับตัวเอง มันก็ยิ่งยากไปใหญ่เลย นึกออกไหม? แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะฝึกไม่ได้ ถามมาอย่างนี้นะ ไม่ใช่ว่าไม่เคยสะสมบารมีมาเลย แล้วจะทำยาก แล้วก็เลยท้อถอย.. ก็ไม่ควรท้อถอยด้วย ควรจะรู้สึกว่า.. ‘ถ้าเราเนี่ยอาจจะเป็นคนที่ไม่เคยสะสมมา เพราะฉะนั้นชาตินี้ต้องทำให้เยอะ’ เหมือนกับคนมีทุนน้อย ต้องสะสมให้มาก ถูกไหม? ไม่ใช่มีทุนน้อยก็เลยไม่ทำเลย ก็ยิ่งน้อยไปใหญ่เลย นึกออกไหม? ควรรู้สึกว่า ‘เรามีบุญน้อย มีบารมีน้อย ฉะนั้นชาตินี้ต้องทำให้มาก’ ไม่ใช่ว่ามีบุญน้อย แล้วเลยไม่ทำ เลยไม่ประสบความสำเร็จสักที แล้วก็ไม่พ้นทุกข์สักที เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่า ‘ไม่เคยสะสมมา’ ควรเร่งสะสม และควรรีบสะสม และควรเร่งด้วยความไม่ประมาท ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ คนมีของเก่ามาก แต่ประมาท ก็อาจจะไม่ได้ประสบความสำเร็จในชาตินี้ คนมีของเก่าน้อยแต่ไม่ประมาท.. หรือคนมีบารมีน้อยแต่ไม่ประมาท ก็สามารถที่จะทำให้สำเร็จได้ เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับว่า พอถึงขณะนี้ เวลานี้ เราประมาท หรือไม่ประมาท? เราปล่อยเวลาให่ผ่านไปโดยมีประโยชน์ หรือปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยสะสมกิเลส เวลาผ่านไป มันก็ไม่ได้ผ่านไปเปล่านะ ผ่านไปโดยมีบุญ เราก็สะสมบุญ ผ่านไปโดยมีกุศล เราก็สะสมกุศล ผ่านไปโดยมีกิเลส เราสะสมกิเลส ผ่านไปโดยมีบาป สะสมบาป ผ่านไปโดยมีอกุศล สะสมอกุศล จิตเนี่ยนะมันไม่ได้ผ่านเกิด-ดับขึ้นมาโดยที่ไม่มีอะไรสะสมเข้าไปเลย มันก็จะเลือกสะสม เอาง่ายๆ ตอนนี้รู้สึกตัวไหม? ถ้าตอนนี้ผ่านไปโดยไม่รู้สึกตัว เรากำลังมีวิถีจิตหนึ่งเกิดขึ้นมา แล้วก็มีโมหะปนอยู่ด้วย จิตก็ดับไปพร้อมกับโมหะ แล้วก็สะสมโมหะไปแล้วหนึ่งขณะด้วย ..อ้าว! ผ่านมาแล้วตอนนี้จากที่ถามเมื่อกี้นี้ ตอนนี้อีก ๑ นาที จากคำถามเมื่อกี้นี้ ถึงคำถามตรงนี้ “ตอนนี้รู้สึกอย่างไร?” “ตอนนี้มีโมหะอยู่หรือเปล่า?” นึกออกไหม? เวลาผ่านไปแต่ละวินาที ๆ จิตเราเกิดขึ้นมา.. มีกิเลสไหม? มีสติไหม? มีสมาธิไหม? มีปัญญาไหม? มีความเพียรไหม? หรือปล่อยล่องลอย มีโมหะ เหมือนไม่มีกิเลสอะไรนะ แต่อย่างน้อยๆ ถ้าไม่รู้สึกตัวนะ มันคือมีโมหะ ดูความน่ากลัวของสังสารวัฏ มันเป็นอย่างนี้นะ.. เราดูเหมือนว่าไม่ได้มีความชั่วอะไร แต่ก็ไม่มีความดีอะไร ! นึกออกไหม? มันก็ลำบากเหมือนกันะ ถามว่า “ไม่ได้ชั่วอะไร แต่ก็มีกุศลอะไรบ้างไหม?” .. “ไม่มี” ในลักษณะถ้าจี้ไปเลยตรงๆ เนี่ย “ไม่มี”.. ลำบากแล้ว! ก็ต้องดูว่าเวลาผ่านไปเนี่ย.. มีความรู้สึกตัวบ้างไหม? มีสติบ้างไหม? มีสมาธิบ้างไหม? มีกรุณาบ้างไหม? มีเมตตาบ้างไหม? มีกุศลเกิดขึ้นในใจบ้างไหม? ถ้าไม่มีเลย นั่งมองหน้าต่าง ใจลอยไปเรื่อยๆ อันนี้”โมหะ”นะ..โมหะ! ฉะนั้นไม่ว่าอดีตเราจะเคยสะสมบารมีบ้างหรือไม่ก็ตามนะ เรารู้ไม่ได้ ชาตินี้เจอคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ใช้ชาตินี้ให้เป็นประโยชน์ที่สุด ไม่ต้องไปคำนึงถึงว่า.. “ชาติก่อนเราสะสมมาบ้างหรือเปล่า?” ..มันรู้ไม่ได้ แล้วถ้ามัวแต่คิดก็เสียเวลาเปล่า กลายเป็นฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้นความจริงคำตอบนี้ - คำถามนี้นะ คือ “ไม่ต้องไปรู้มันก็ได้” ใช้ชีวิตตั้งแต่เดี๋ยวนี้เลย ตั้งแต่รู้คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเนี่ย ใช้ชีวิตให้อยู่กับความไม่ประมาทให้มากที่สุด ตามที่พระพุทธเจ้าทรงเตือนเอาไว้ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานนะ “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม” เสื่อมไปเป็นธรรมดาเนี่ย มันไม่รอให้แก่ แล้วตายนะ มันอาจจะตายตั้งแต่เรารู้สึกว่ายังไม่แก่ก็ได้ มีเหตุให้ตายตั้งเยอะแยะ มันไม่ใช่ว่าต้องมีแก่ตายอย่างเดียว เพราะฉะนั้นอย่าประมาทในชีวิตนะ ใช้ชีวิตที่เกิดมาพบพุทธศาสนาแล้วเนี่ย ใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่าไปคำนึงเพียงว่า ‘ชาติก่อนเราสร้างบารมีมากหรือน้อยหนอ?’ มัวแต่คิดอย่างนี้แล้วไม่รู้สึกตัวเลย คือเรากำลังขาดสติ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=S5au3v0vMYI (นาทีที่ 1.37.33-1.46.50)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ทุนน้อยทำให้มาก ?? #ถาม : จริงหรือไม่ที่ว่า ผู้ที่นั่งสมาธิได้ผลเร็วนั้น จะต้องสะสมบารมีมาตั้งแต่ชาติก่อน? #ตอบ : ถ้าจะพูดเรื่องของการฝึกสมาธิเนี่ย ผู้ที่จะได้ผลเร็วก็มักจะมีความคุ้นเคย คือเคยทำมาก่อน ถ้าไม่เคยทำมา แล้วเราเพิ่งมาเริ่มต้นชาตินี้ชาติแรกเนี่ยนะ ก็ยากอยู่ เพราะบางทีจิตมันคุ้นเคยที่จะฟุ้งซ่าน จะบอกให้ทำฌานหรือจะบอกให้ทำสมาธิ..มันไม่คุ้น มาเริ่มต้นใหม่เลย จิตมันมีอนุสัย มีความคุ้นชินที่จะไปมีราคะ โทสะ โมหะอย่างนี้นะ นิวรณ์ต่างๆ ก็ไม่เคยเห็น หรือว่าไม่เคยฝึกในการละนิวรณ์ บางทียังไม่เห็นว่านิวรณ์เป็นอย่างไร? สภาวะที่เป็นรูปธรรม นามธรรม.. ให้มาเจริญสติดู กาย เวทนา จิต ธรรม มันยังไม่คุ้นเลย ยังไม่คุ้น จิตยังไม่คุ้น จะบอกให้รู้สึกตัว ก็ต้องเรียนอยู่นานเหมือนกัน บางทีไม่คุ้น มันไม่ใช่ว่า “มาแบบใสๆ” นะ บางคนเนี่ยถ้ามาแบบใสๆ ก็คือว่า แม้จะไม่ได้ฝึกสมาธิมา แต่เป็นคนดีมา อย่างนี้โอเค (ok) พอได้ เป็นคนดี รักษาศีลมาก่อน ให้ทานมาก่อน อย่างนี้นะ ในสังสารวัฏวนเวียนอยู่ในสุขคติ เวลาจะมาฝึก ก็จะง่ายหน่อย แต่กระนั้นก็ยังเป็นเรื่องยาก เพราะว่าจิตมันมักจะอยู่ในเรื่องของกามาวจร (กามาวจร หมายถึงว่าเที่ยวไปในกาม) เพราะฉะนั้นมันคุ้นชินในการที่จะไหลเพลินไปในเรื่องของกาม ซึ่งกามก็เป็นศัตรูของสมาธิ ฉะนั้นถ้าไม่เคยฝึกมาก่อน มาเริ่มฝึกครั้งแรกในชาตินี้ แน่นอนก็ยากสักหน่อย อย่างที่ว่าแหละ เพราะว่าเอาจริงๆ แล้วเนี่ย คนส่วนใหญ่มันไม่ได้มาแบบผ้าขาว ไม่ได้มาแบบใสๆ แต่มันขมุกขมัวมา มันไม่ได้มีแต่บุญกุศลมา แล้วก็มาแบบมีจิตใสๆ… “ท่านอาจารย์ครับ ผมขอฝึกสมาธิ” แล้วมาแบบจิตใสกิ๊งมาเลยเนี่ยนะ โอ้โห! หายากๆ ส่วนใหญ่เราเนี่ย พลาดมาแล้วทั้งนั้น เราพลาดไปตามกิเลส ไปผิดศีลบ้าง ทำผิดบ้าง พูดผิดบ้าง อะไรอย่างนี้นะ มันอาจจะไม่ใช่ชาตินี้ อาจจะเป็นชาติก่อน บางทีก็เผลอไปกินเหล้าในชาติก่อน มันส่งผลมาถึงชาติปัจจุบัน ทำให้มีโมหะมาก เหล้าเนี่ยนะ สุรา เมรัย สิ่งเสพติดทั้งหลายเนี่ย ระวังนะ! มันทำให้มึนเมาเนี่ยนะ มันไม่ได้เมาเฉพาะที่ไอ้หัวกะโหลก หรือในสมองเท่านั้นเอง มันเมาเข้าจิตไปเลย!! จิตนี้มันเสพความเมาไปด้วยนะ ตายจากชาตินี้ไปเนี่ย มันเก็บสะสมโมหะไป เก็บสะสมโมหะไป ชาติหน้าเกิดมาเนี่ย สมมติว่าชาตินี้ เป็นชาติหน้า ของชาติที่แล้ว ชาตินี้มาเนี่ย ครูบาอาจารย์เห็น.. ‘อื้อหือ ทำไมมันมืดอย่างนี้?’ คือมันเป็นวิบากมาจากชาติก่อน ที่ไปทำความมึนเมาให้กับตัวเอง มันก็ยิ่งยากไปใหญ่เลย นึกออกไหม? แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะฝึกไม่ได้ ถามมาอย่างนี้นะ ไม่ใช่ว่าไม่เคยสะสมบารมีมาเลย แล้วจะทำยาก แล้วก็เลยท้อถอย.. ก็ไม่ควรท้อถอยด้วย ควรจะรู้สึกว่า.. ‘ถ้าเราเนี่ยอาจจะเป็นคนที่ไม่เคยสะสมมา เพราะฉะนั้นชาตินี้ต้องทำให้เยอะ’ เหมือนกับคนมีทุนน้อย ต้องสะสมให้มาก ถูกไหม? ไม่ใช่มีทุนน้อยก็เลยไม่ทำเลย ก็ยิ่งน้อยไปใหญ่เลย นึกออกไหม? ควรรู้สึกว่า ‘เรามีบุญน้อย มีบารมีน้อย ฉะนั้นชาตินี้ต้องทำให้มาก’ ไม่ใช่ว่ามีบุญน้อย แล้วเลยไม่ทำ เลยไม่ประสบความสำเร็จสักที แล้วก็ไม่พ้นทุกข์สักที เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่า ‘ไม่เคยสะสมมา’ ควรเร่งสะสม และควรรีบสะสม และควรเร่งด้วยความไม่ประมาท ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ คนมีของเก่ามาก แต่ประมาท ก็อาจจะไม่ได้ประสบความสำเร็จในชาตินี้ คนมีของเก่าน้อยแต่ไม่ประมาท.. หรือคนมีบารมีน้อยแต่ไม่ประมาท ก็สามารถที่จะทำให้สำเร็จได้ เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับว่า พอถึงขณะนี้ เวลานี้ เราประมาท หรือไม่ประมาท? เราปล่อยเวลาให่ผ่านไปโดยมีประโยชน์ หรือปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยสะสมกิเลส เวลาผ่านไป มันก็ไม่ได้ผ่านไปเปล่านะ ผ่านไปโดยมีบุญ เราก็สะสมบุญ ผ่านไปโดยมีกุศล เราก็สะสมกุศล ผ่านไปโดยมีกิเลส เราสะสมกิเลส ผ่านไปโดยมีบาป สะสมบาป ผ่านไปโดยมีอกุศล สะสมอกุศล จิตเนี่ยนะมันไม่ได้ผ่านเกิด-ดับขึ้นมาโดยที่ไม่มีอะไรสะสมเข้าไปเลย มันก็จะเลือกสะสม เอาง่ายๆ ตอนนี้รู้สึกตัวไหม? ถ้าตอนนี้ผ่านไปโดยไม่รู้สึกตัว เรากำลังมีวิถีจิตหนึ่งเกิดขึ้นมา แล้วก็มีโมหะปนอยู่ด้วย จิตก็ดับไปพร้อมกับโมหะ แล้วก็สะสมโมหะไปแล้วหนึ่งขณะด้วย ..อ้าว! ผ่านมาแล้วตอนนี้จากที่ถามเมื่อกี้นี้ ตอนนี้อีก ๑ นาที จากคำถามเมื่อกี้นี้ ถึงคำถามตรงนี้ “ตอนนี้รู้สึกอย่างไร?” “ตอนนี้มีโมหะอยู่หรือเปล่า?” นึกออกไหม? เวลาผ่านไปแต่ละวินาที ๆ จิตเราเกิดขึ้นมา.. มีกิเลสไหม? มีสติไหม? มีสมาธิไหม? มีปัญญาไหม? มีความเพียรไหม? หรือปล่อยล่องลอย มีโมหะ เหมือนไม่มีกิเลสอะไรนะ แต่อย่างน้อยๆ ถ้าไม่รู้สึกตัวนะ มันคือมีโมหะ ดูความน่ากลัวของสังสารวัฏ มันเป็นอย่างนี้นะ.. เราดูเหมือนว่าไม่ได้มีความชั่วอะไร แต่ก็ไม่มีความดีอะไร ! นึกออกไหม? มันก็ลำบากเหมือนกันะ ถามว่า “ไม่ได้ชั่วอะไร แต่ก็มีกุศลอะไรบ้างไหม?” .. “ไม่มี” ในลักษณะถ้าจี้ไปเลยตรงๆ เนี่ย “ไม่มี”.. ลำบากแล้ว! ก็ต้องดูว่าเวลาผ่านไปเนี่ย.. มีความรู้สึกตัวบ้างไหม? มีสติบ้างไหม? มีสมาธิบ้างไหม? มีกรุณาบ้างไหม? มีเมตตาบ้างไหม? มีกุศลเกิดขึ้นในใจบ้างไหม? ถ้าไม่มีเลย นั่งมองหน้าต่าง ใจลอยไปเรื่อยๆ อันนี้”โมหะ”นะ..โมหะ! ฉะนั้นไม่ว่าอดีตเราจะเคยสะสมบารมีบ้างหรือไม่ก็ตามนะ เรารู้ไม่ได้ ชาตินี้เจอคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ใช้ชาตินี้ให้เป็นประโยชน์ที่สุด ไม่ต้องไปคำนึงถึงว่า.. “ชาติก่อนเราสะสมมาบ้างหรือเปล่า?” ..มันรู้ไม่ได้ แล้วถ้ามัวแต่คิดก็เสียเวลาเปล่า กลายเป็นฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้นความจริงคำตอบนี้ – คำถามนี้นะ คือ “ไม่ต้องไปรู้มันก็ได้” ใช้ชีวิตตั้งแต่เดี๋ยวนี้เลย ตั้งแต่รู้คำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเนี่ย ใช้ชีวิตให้อยู่กับความไม่ประมาทให้มากที่สุด ตามที่พระพุทธเจ้าทรงเตือนเอาไว้ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานนะ “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม” เสื่อมไปเป็นธรรมดาเนี่ย มันไม่รอให้แก่ แล้วตายนะ มันอาจจะตายตั้งแต่เรารู้สึกว่ายังไม่แก่ก็ได้ มีเหตุให้ตายตั้งเยอะแยะ มันไม่ใช่ว่าต้องมีแก่ตายอย่างเดียว เพราะฉะนั้นอย่าประมาทในชีวิตนะ ใช้ชีวิตที่เกิดมาพบพุทธศาสนาแล้วเนี่ย ใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่าไปคำนึงเพียงว่า ‘ชาติก่อนเราสร้างบารมีมากหรือน้อยหนอ?’ มัวแต่คิดอย่างนี้แล้วไม่รู้สึกตัวเลย คือเรากำลังขาดสติ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=S5au3v0vMYI (นาทีที่ 1.37.33-1.46.50)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #มันคนละเรื่องกัน ?? #ถาม : ในพระไตรปิฎกที่มีพระฆ่าตัวตายจำนวนมาก พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้บอกว่าเป็นบาป พระที่ฆ่าตัวตายแบบนี้ กับพระที่ถวายหัว เป็นกรรมทำแบบเดียวกันหรือเปล่า? #ตอบ : พระพุทธเจ้าตำหนินะ ทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุเหล่านั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช่ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุเหล่านั้น จึงฆ่าตัวตาย เองบ้าง ใช้กันและให้ฆ่าบ้าง บางกลุ่มพากันเข้าไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะ บอกว่า ‘ขอโอกาสหน่อยเถิด ท่านช่วยฆ่าพวกอาตมาทีเถิด บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน’ บ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์ เรื่องหมู่ภิกษุผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐานกับตาเถนมิคลัณฑิกะ) เจตนาก็ไม่เหมือนกัน พระในต้นบัญญัติของพระวินัย ที่ท่านฆ่าตัวตายเพราะอึดอัด เบื่อหน่ายในชีวิต รังเกียจร่างกายตนเอง เพราะพิจารณาอสุภกัมมัฏฐาน แล้วเกิดความหน่ายอยากจะพ้นไปจากร่างกายอันไม่น่าดู อันน่ารังเกียจ อันน่าขยะแขยง อยากจะพ้นไป คล้ายๆ อยากได้กายที่เป็นทิพย์อะไรประมาณนี้ รังเกียจกายอันเน่าเปื่อนอยู่เป็นนิจ • ความรู้สึกไม่เหมือนกัน • จุดตั้งต้น หรือเหตุที่ทำให้คิดฆ่าตัวตายไม่เหมือนกัน ของท่านที่เป็นข่าวนี้ คือตั้งใจจะไปเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วจะเอาศีรษะเป็นเครื่องบูชา แต่เป็นวิธีบูชาที่ผิด การบูชา มี ๒ วิธี 1. อามิสบูชา บูชาด้วยสิ่งของ 2. ปฏิบัติบูชา บูชาด้วยการปฏิบัติ มันคนละเรื่องกัน เหตุการณ์คือเหมือนฆ่าตายด้วยกัน แต่ต้นเหตุไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เป็นกรรมแบบเดียวกันไหม? ...ไม่ใช่นะ คนละอย่างกัน เจตนามันไม่เหมือนกัน “ตัวเจตนาเป็นตัวกรรม” เจตนาไม่เหมือนกัน แล้วก็ที่พูดมาทั้งหมดนี้ไม่ได้ตำหนิท่านอาจารย์โดยส่วนเดียว...เออ ท่านสึกแล้วนะ คืออย่างน้อยๆ ท่านในข่าวนี้ ก็มีข้อดี คือว่าท่านสึกก่อน การสึกก่อน ก็คือยังเคารพในพระวินัย (ภิกษุพยายามฆ่าตัวเองตาย ต้องอาบัติทุกกฏ) แล้วก็จากข่าวก็คือ ท่านก็เตรียมตัว พยายามไม่ให้ใครเดือดร้อน เออ! พูดไปเดี๋ยวเข้าใจผิดว่าเหมือนจะส่งเสริม จริงๆ แล้วคือว่า เราก็อย่าไปพูดตำหนิท่านแรงนัก เอาเป็นว่าวิธีนี้อย่าไปทำ อย่าส่งเสริมก็แล้วกัน (เป็นมิจฉาทิฏฐิ) ส่วนเจ้าตัวเอง อีกหน่อยพอท่านบำเพ็ญบารมีมากๆ เข้า เวลาท่านย้อนมาถึงชาตินี้ ท่านก็จะเข้าใจเอง พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=mj39QxOKnJQ (นาทีที่ 1.40.35-1.43.03)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #มันคนละเรื่องกัน ?? #ถาม : ในพระไตรปิฎกที่มีพระฆ่าตัวตายจำนวนมาก พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้บอกว่าเป็นบาป พระที่ฆ่าตัวตายแบบนี้ กับพระที่ถวายหัว เป็นกรรมทำแบบเดียวกันหรือเปล่า? #ตอบ : พระพุทธเจ้าตำหนินะ ทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุเหล่านั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช่ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุเหล่านั้น จึงฆ่าตัวตาย เองบ้าง ใช้กันและให้ฆ่าบ้าง บางกลุ่มพากันเข้าไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะ บอกว่า ‘ขอโอกาสหน่อยเถิด ท่านช่วยฆ่าพวกอาตมาทีเถิด บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน’ บ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์ เรื่องหมู่ภิกษุผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐานกับตาเถนมิคลัณฑิกะ) เจตนาก็ไม่เหมือนกัน พระในต้นบัญญัติของพระวินัย ที่ท่านฆ่าตัวตายเพราะอึดอัด เบื่อหน่ายในชีวิต รังเกียจร่างกายตนเอง เพราะพิจารณาอสุภกัมมัฏฐาน แล้วเกิดความหน่ายอยากจะพ้นไปจากร่างกายอันไม่น่าดู อันน่ารังเกียจ อันน่าขยะแขยง อยากจะพ้นไป คล้ายๆ อยากได้กายที่เป็นทิพย์อะไรประมาณนี้ รังเกียจกายอันเน่าเปื่อนอยู่เป็นนิจ • ความรู้สึกไม่เหมือนกัน • จุดตั้งต้น หรือเหตุที่ทำให้คิดฆ่าตัวตายไม่เหมือนกัน ของท่านที่เป็นข่าวนี้ คือตั้งใจจะไปเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วจะเอาศีรษะเป็นเครื่องบูชา แต่เป็นวิธีบูชาที่ผิด การบูชา มี ๒ วิธี 1. อามิสบูชา บูชาด้วยสิ่งของ 2. ปฏิบัติบูชา บูชาด้วยการปฏิบัติ มันคนละเรื่องกัน เหตุการณ์คือเหมือนฆ่าตายด้วยกัน แต่ต้นเหตุไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เป็นกรรมแบบเดียวกันไหม? …ไม่ใช่นะ คนละอย่างกัน เจตนามันไม่เหมือนกัน “ตัวเจตนาเป็นตัวกรรม” เจตนาไม่เหมือนกัน แล้วก็ที่พูดมาทั้งหมดนี้ไม่ได้ตำหนิท่านอาจารย์โดยส่วนเดียว…เออ ท่านสึกแล้วนะ คืออย่างน้อยๆ ท่านในข่าวนี้ ก็มีข้อดี คือว่าท่านสึกก่อน การสึกก่อน ก็คือยังเคารพในพระวินัย (ภิกษุพยายามฆ่าตัวเองตาย ต้องอาบัติทุกกฏ) แล้วก็จากข่าวก็คือ ท่านก็เตรียมตัว พยายามไม่ให้ใครเดือดร้อน เออ! พูดไปเดี๋ยวเข้าใจผิดว่าเหมือนจะส่งเสริม จริงๆ แล้วคือว่า เราก็อย่าไปพูดตำหนิท่านแรงนัก เอาเป็นว่าวิธีนี้อย่าไปทำ อย่าส่งเสริมก็แล้วกัน (เป็นมิจฉาทิฏฐิ) ส่วนเจ้าตัวเอง อีกหน่อยพอท่านบำเพ็ญบารมีมากๆ เข้า เวลาท่านย้อนมาถึงชาตินี้ ท่านก็จะเข้าใจเอง พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=mj39QxOKnJQ (นาทีที่ 1.40.35-1.43.03)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #การฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ?? #ถาม : การตั้งตนเป็นเจ้าลัทธิ โดยเอาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นตัวตั้ง แบบนี้ผิดในโทษฐานทำสงฆ์ให้แตกกันหรือเปล่าครับ? #ตอบ : หมายถึงกรณีไหน? กรณีที่เป็นข่าวนี้หรือเปล่า? (เข้าใจว่าผู้ถามน่าจะหมายถึงผู้เขียน”อนาคตวงศ์”) ก็คงไม่ต้องไปปรับถึงขนาดทำสังฆเภทหรอกนะ อันนี้ความเข้าใจของส่วนตัวนะ.. ผู้เขียนก็คงตั้งใจจะปลูกศรัทธา ไม่ได้ตั้งใจว่าจะแบ่งแยกสงฆ์ให้เป็น ๒ ฝ่าย ทีนี้ถ้าคนรุ่นหลังมาแบ่งแยก ก็เป็นเรื่องของคนรุ่นหลังแล้ว ผู้เขียนไม่เกี่ยว แล้วถ้าสงฆ์จะแบ่งแยกกัน ไม่ลงอุโบสถร่วมกัน ด้วยเหตุเพียงความเชื่อเรื่องนี้ไม่ตรงกัน ก็คงจะไม่ใช่ เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นเหตุให้มาเกิดความแตกแยกในระดับสังฆเภทได้ คงไม่ถึงขนาดนั้น วิธีแก้มันเป็นแค่ปรับความเข้าใจกัน ว่าเรื่องนี้ไม่ควรสนับสนุน ไม่ควรส่งเสริม เป็นความเข้าใจผิด ส่วนใครจะเชื่อว่า ‘มันมีเรื่องอยู่ในคัมภีร์ มันน่าเชื่อถือ’ ก็ต้องกลับไปอ่าน “กาลามสูตร” พระพุทธเจ้าตรัสว่า แม้แต่ในคัมภีร์ก็อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ (กาลามสูตร คือสูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ 1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา 2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา 3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ 4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ 5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก 6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน 7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล 8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีของตนที่พินิจไว้แล้ว 9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ 10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละ หรือถือปฏิบัติตามนั้น) “อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ” ให้ดูจิตของตัวเอง เวลาจิตคิดถึงเรื่องความตาย จิตมันเป็นอย่างไร? มีตัวอย่างนะ มีตัวอย่างเผอิญไปค้นหามา เป็นเรื่องของ “พระฆ่าตัวตาย” น่าสนใจ ขอนำเอามาเล่ากันฟัง อยู่ในนี้ คือ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท เรื่องที่น่าสนใจคือเรื่องของ “พระสัปปทาสะ” (สัปปะ คืองู, ทาสะ คือทาส) ทาสที่เป็นงู เรื่องราวเป็นอย่างไร? น่าสนใจ ลองฟังดูนะ จะลองเล่าเป็นแบบคร่าวๆ มีกุลบุตรในกรุงสาวัตถี ฟังพระธรรม แล้วก็ขออุปสมบท วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสรงน้ำแต่เช้าตรู่ ท่านเหล่านั้นก็เห็นงูที่โรงไฟ พระที่ไปที่โรงไฟก็เลยจับงูใส่หม้อ เพื่อจะไปปล่อยข้างนอก ก็เป็นเรื่องปรกติ คืองูเป็นสัตว์อันตราย ก็จะเอางูไปปล่อยในที่อื่นที่มันควรจะอยู่ พระสัปปทาสะรูปนี้ก็มาถามว่า “มีอะไร?” (พระทั้งหลาย) “งู” (พระสัปปทาสะ) “จะทำอะไรกับงูนี้” (พระทั้งหลาย) “จะทิ้งมัน” ท่านที่ชื่อว่าสัปปาทาสะ ชื่อจริงชื่ออะไรไม่รู้นะ แต่ว่าภายหลังมาเรียกกันว่า “สัปปทาสะ” ท่านบำเพ็ญภาวนามาจนรู้สึกหน่ายในสังขาร ก็เลยคิดว่า ‘เอาล่ะ! เดี่ยวเราจะเอางูเนี่ยมากัดเราให้ตาย เพื่อจะทิ้งกายนี้’ ก็เลยบอกกับพระที่เอาหม้อที่มีงูอยู่ข้างในว่า “เอามา เดี๋ยวผมจะเอาไปทิ้งเอง” เสร็จแล้วก็รับหม้อที่มีงูอยู่ข้างในเอามา เดินไปพอลับตาพระอื่นแล้ว ก็เอามือล้วงไปในหม้อ กะจะให้งูกัดตนเองให้ตาย ปรากฏว่างูไม่ยอมกัด งูไม่กัดก็จับปากงูให้อ้า แล้วเอานิ้วสอดเข้าไปในปากงู งูก็ไม่ยอมกัด ก็เลยคิดว่า ‘สงสัยงูนี้ไม่ใช่งูพิษ’ ก็ทิ้งงูนั้นไป ทิ้งให้มันไปในที่ๆ มันควรไป ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ทิ้งแล้วหรือ? ทิ้งงูแล้วหรือ?” พระสัปปทาสะ) “ครับทิ้งแล้ว แต่ว่างูนั้นไม่ใช่งูพิษหรอก ไม่เป็นอันตราย” พระทั้งหลายบอกว่า “งูพิษแน่ๆ ผมดูออก มันแผ่แม่เบี้ยด้วย” (หมายความว่าน่าจะเป็นงูเห่า หรือไม่ก็งูจงอาจ) (พระทั้งหลาย) “มันขู่ฟู่ฟู่ด้วย กว่าจะจับได้จับยากมาก มันก็ขู่สู้” ภิกษุสัปปทาสะก็บอกว่า “ผมให้มันกัดนะ มันไม่ยอมกัด เอานิ้วสอดในปากมันแล้ว มันยังไม่กัดเลย” พระทั้งหลายก็ฟังแล้วก็เลยอุทาน ‘เอ๊ะ! แปลกดี’ ต่อมา อีกวันหนึ่งภายหลัง พระสัปปทาสะก็ยังรู้สึกเบื่อหน่ายในร่างกาย ยังหาทางที่จะละร่างกายนี้ไม่ได้ วันหนึ่งมีช่างกัลบก.. รู้จักช่างกัลบกไหม? ก็คือช่างตัดผม เขาจะมีอุปกรณ์มาปลงผมให้พระ ก็มีอุปกรณ์ของช่างตัดผมมาด้วย สมัยก่อนไม่มีปัตตาเลี่ยน อุปกรณ์ก็จะเป็นมีด กัลบกก็เอามีดมาหลายเล่ม เป็นมีดโกน คงจะมีกล่องเครื่องมือของเขานะ แล้วก็วางเอาไว้ ปรากฏว่าพระสัปปทาสะเห็นเข้าก็วางแผน... ‘อ่า..! ได้แล้ว.. ได้อุปกรณ์แล้ว เราจะตัดคอด้วยมีดโกนนี้ เพราะเราเบื่อหน่ายสังขารเหลือเกิน’ ได้มีดโกนแล้วก็ไปยืนพาดคอไว้ที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง ยืนนะ ยืนพาดคอไว้ที่ต้นไม้ คือคล้ายๆ ว่าพิงไว้หน่อยหนึ่งไม่ให้ล้ม แล้วก็จ่อคมมีดที่ก้านคอ พอจ่อคมมีดที่ก้านคอนะ ใจก็นึกทวน.. ใคร่ครวญถึงศีลของตนตั้งแต่อุปสมบทมา เห็นว่า ‘ศีลรักษาไว้ดีมาก ไม่มีมลทินเลย เหมือนดวงจันทร์วันเพ็ญที่ไม่มีเมฆหมอกบัง เหมือนแก้วมณีที่ขัดไว้ดีแล้ว’ ตรวจดูศีลนั้นแล้ว ก็เกิดปีติแผ่ซ่านไปทั่วสรีระ พอข่มปีติได้แล้ว ก็เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหันต์ คือบรรลุพระอรหันต์ตอนที่เอามีดจ่อคอเนี่ยนะ บรรลุเป็นพระอรหันต์ในขณะนั้น พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ก็เลยเอามีดมาคืนช่างตัดผม ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วก็ “อ้าว! ไปไหนมา” พระสัปปทาสะก็บอก “ผมเอามีดไปเนี่ย จะตัดก้านคอตัวเองให้ตาย” พระก็เลยถามว่า “อ้าว! แล้วทำไมไม่ตายล่ะ?” ก็บอกว่า “บัดนี้ ผมเป็นผู้ไม่ควรนำศัสตรามา ด้วยว่าผมคิดว่า ‘จักตัดก้านคอตนด้วยมีดโกนนี้’ เพราะตัดกิเลสเสียสิ้นแล้ว ด้วยมีดโกน คือญาณ” นี่นะ เอามีดไปก็จริง ไม่ใช่เอาไปตัดคอตัวเองด้วยมีดโกนนั้น แต่กลับตัดกิเลสด้วยญาณ ญาณอะไร? ก็วิปัสสนาญาณนั่นเอง พระทั้งหลายฟังแล้วก็ ‘โอ้! ไปพูดอย่างนี้ก็คือพยากรณ์ตนเองว่าเป็นพระอรหันต์” ก็เลยพาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาพระขีณาสพย่อมไม่ปลงตนจากชีวิตด้วยมือตนเอง” เรียกว่าถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วเนี่ย จะไม่ฆ่าตัวตาย แต่ภิกษุทั้งหลายก็สงสัยว่า ‘อ้าว! องค์นี้เพิ่งพยายามจะฆ่าตัวตาย’ ก็เลยบอกว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ตรัสภิกษุนี้ว่า ‘เป็นพระขีณาสพ’ แต่ก็ภิกษุนี้ ผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ขนาดนี้ ทำไมจึงเบื่อหน่าย? และอะไรเป็นเหตุ เป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ของภิกษุนี้? และเหตุไร งูนั้นจึงไม่กัดภิกษุนี้?” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “งูนี้ได้เคยเป็นทาสของภิกษุนี้ในอัตภาพที่ ๓ นับจากนี้” หมายถึงว่า งูนี้เคยเป็นทาสของภิกษุนี้เมื่อ ๓ ชาติที่แล้ว มันระลึกได้ มันเลยไม่กัดเจ้านายของตน จึงกลายเป็นชื่อของพระรูปนี้ไปเลยว่า “สัปปทาสะ” ทาสะ แปลว่าทาส, สัปปะ ก็คืองู “มีทาสเป็นงู” ภิกษุนี้ก็เลยอาศัยว่าพระพุทธเจ้าระลึกชาติของท่านให้ฟัง ท่านจึงได้ชื่อตามคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกนั่นเอง ได้ชื่อว่า “สัปปทาสะ” ชื่อเดิมชื่ออะไรก็ไม่ทราบนะ ภิกษุเหล่านั้นฟังเนื้อความนี้จากสำนักพระพุทธเจ้า จึงทูลถามอีกว่า "ได้ยินว่า ภิกษุนี้ยืนจดคมมีดโกนที่ก้านคออยู่ แล้วบรรลุพระอรหัต พระอรหัตมรรคเกิดขึ้นได้โดยขณะเพียงเท่านั้น หรือพระเจ้าข้า?" พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้ปรารภความเพียร ยกเท้าขึ้นวางบนพื้น เมื่อเท้ายังไม่ทันถึงพื้นเลย พระอรหัตมรรคก็ได้เกิดขึ้น แท้จริง ความเป็นอยู่แม้เพียงชั่วขณะของท่านผู้ปรารภความเพียร ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของบุคคลผู้เกียจคร้าน" (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘ เรื่องพระสัปปทาสเถระ) นี่ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง เป็นเหตุการณ์เรื่องราวที่พระอรรถกถาจารย์บันทึกเอาไว้ ต้องบอกไว้ด้วยว่าเป็น “คัมภีร์ระดับอรรถกถาจารย์” ก็น่าสนใจอยู่ ให้เห็นว่าการฆ่าตัวตาย จะเป็นเรื่องของผู้ที่ยังไม่สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ถ้าเป็นปุถุชนยังคิดอย่างนี้ได้ ประมาณว่าคิดผิด คิดแบบที่ยังไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ แต่ถ้าบรรลุธรรมแล้ว บรรลุมรรคผลแล้ว อย่างน้อยๆ ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้ว จะไม่ฆ่าตัวตาย เพราะอย่างน้อยๆ ต้องเข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ “การฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ” พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=mj39QxOKnJQ (นาทีที่ 1.30.50-1.40.27)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #การฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ?? #ถาม : การตั้งตนเป็นเจ้าลัทธิ โดยเอาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นตัวตั้ง แบบนี้ผิดในโทษฐานทำสงฆ์ให้แตกกันหรือเปล่าครับ? #ตอบ : หมายถึงกรณีไหน? กรณีที่เป็นข่าวนี้หรือเปล่า? (เข้าใจว่าผู้ถามน่าจะหมายถึงผู้เขียน”อนาคตวงศ์”) ก็คงไม่ต้องไปปรับถึงขนาดทำสังฆเภทหรอกนะ อันนี้ความเข้าใจของส่วนตัวนะ.. ผู้เขียนก็คงตั้งใจจะปลูกศรัทธา ไม่ได้ตั้งใจว่าจะแบ่งแยกสงฆ์ให้เป็น ๒ ฝ่าย ทีนี้ถ้าคนรุ่นหลังมาแบ่งแยก ก็เป็นเรื่องของคนรุ่นหลังแล้ว ผู้เขียนไม่เกี่ยว แล้วถ้าสงฆ์จะแบ่งแยกกัน ไม่ลงอุโบสถร่วมกัน ด้วยเหตุเพียงความเชื่อเรื่องนี้ไม่ตรงกัน ก็คงจะไม่ใช่ เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นเหตุให้มาเกิดความแตกแยกในระดับสังฆเภทได้ คงไม่ถึงขนาดนั้น วิธีแก้มันเป็นแค่ปรับความเข้าใจกัน ว่าเรื่องนี้ไม่ควรสนับสนุน ไม่ควรส่งเสริม เป็นความเข้าใจผิด ส่วนใครจะเชื่อว่า ‘มันมีเรื่องอยู่ในคัมภีร์ มันน่าเชื่อถือ’ ก็ต้องกลับไปอ่าน “กาลามสูตร” พระพุทธเจ้าตรัสว่า แม้แต่ในคัมภีร์ก็อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ (กาลามสูตร คือสูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ 1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา 2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา 3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ 4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ 5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก 6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน 7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล 8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีของตนที่พินิจไว้แล้ว 9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ 10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละ หรือถือปฏิบัติตามนั้น) “อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ” ให้ดูจิตของตัวเอง เวลาจิตคิดถึงเรื่องความตาย จิตมันเป็นอย่างไร? มีตัวอย่างนะ มีตัวอย่างเผอิญไปค้นหามา เป็นเรื่องของ “พระฆ่าตัวตาย” น่าสนใจ ขอนำเอามาเล่ากันฟัง อยู่ในนี้ คือ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท เรื่องที่น่าสนใจคือเรื่องของ “พระสัปปทาสะ” (สัปปะ คืองู, ทาสะ คือทาส) ทาสที่เป็นงู เรื่องราวเป็นอย่างไร? น่าสนใจ ลองฟังดูนะ จะลองเล่าเป็นแบบคร่าวๆ มีกุลบุตรในกรุงสาวัตถี ฟังพระธรรม แล้วก็ขออุปสมบท วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสรงน้ำแต่เช้าตรู่ ท่านเหล่านั้นก็เห็นงูที่โรงไฟ พระที่ไปที่โรงไฟก็เลยจับงูใส่หม้อ เพื่อจะไปปล่อยข้างนอก ก็เป็นเรื่องปรกติ คืองูเป็นสัตว์อันตราย ก็จะเอางูไปปล่อยในที่อื่นที่มันควรจะอยู่ พระสัปปทาสะรูปนี้ก็มาถามว่า “มีอะไร?” (พระทั้งหลาย) “งู” (พระสัปปทาสะ) “จะทำอะไรกับงูนี้” (พระทั้งหลาย) “จะทิ้งมัน” ท่านที่ชื่อว่าสัปปาทาสะ ชื่อจริงชื่ออะไรไม่รู้นะ แต่ว่าภายหลังมาเรียกกันว่า “สัปปทาสะ” ท่านบำเพ็ญภาวนามาจนรู้สึกหน่ายในสังขาร ก็เลยคิดว่า ‘เอาล่ะ! เดี่ยวเราจะเอางูเนี่ยมากัดเราให้ตาย เพื่อจะทิ้งกายนี้’ ก็เลยบอกกับพระที่เอาหม้อที่มีงูอยู่ข้างในว่า “เอามา เดี๋ยวผมจะเอาไปทิ้งเอง” เสร็จแล้วก็รับหม้อที่มีงูอยู่ข้างในเอามา เดินไปพอลับตาพระอื่นแล้ว ก็เอามือล้วงไปในหม้อ กะจะให้งูกัดตนเองให้ตาย ปรากฏว่างูไม่ยอมกัด งูไม่กัดก็จับปากงูให้อ้า แล้วเอานิ้วสอดเข้าไปในปากงู งูก็ไม่ยอมกัด ก็เลยคิดว่า ‘สงสัยงูนี้ไม่ใช่งูพิษ’ ก็ทิ้งงูนั้นไป ทิ้งให้มันไปในที่ๆ มันควรไป ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ทิ้งแล้วหรือ? ทิ้งงูแล้วหรือ?” พระสัปปทาสะ) “ครับทิ้งแล้ว แต่ว่างูนั้นไม่ใช่งูพิษหรอก ไม่เป็นอันตราย” พระทั้งหลายบอกว่า “งูพิษแน่ๆ ผมดูออก มันแผ่แม่เบี้ยด้วย” (หมายความว่าน่าจะเป็นงูเห่า หรือไม่ก็งูจงอาจ) (พระทั้งหลาย) “มันขู่ฟู่ฟู่ด้วย กว่าจะจับได้จับยากมาก มันก็ขู่สู้” ภิกษุสัปปทาสะก็บอกว่า “ผมให้มันกัดนะ มันไม่ยอมกัด เอานิ้วสอดในปากมันแล้ว มันยังไม่กัดเลย” พระทั้งหลายก็ฟังแล้วก็เลยอุทาน ‘เอ๊ะ! แปลกดี’ ต่อมา อีกวันหนึ่งภายหลัง พระสัปปทาสะก็ยังรู้สึกเบื่อหน่ายในร่างกาย ยังหาทางที่จะละร่างกายนี้ไม่ได้ วันหนึ่งมีช่างกัลบก.. รู้จักช่างกัลบกไหม? ก็คือช่างตัดผม เขาจะมีอุปกรณ์มาปลงผมให้พระ ก็มีอุปกรณ์ของช่างตัดผมมาด้วย สมัยก่อนไม่มีปัตตาเลี่ยน อุปกรณ์ก็จะเป็นมีด กัลบกก็เอามีดมาหลายเล่ม เป็นมีดโกน คงจะมีกล่องเครื่องมือของเขานะ แล้วก็วางเอาไว้ ปรากฏว่าพระสัปปทาสะเห็นเข้าก็วางแผน… ‘อ่า..! ได้แล้ว.. ได้อุปกรณ์แล้ว เราจะตัดคอด้วยมีดโกนนี้ เพราะเราเบื่อหน่ายสังขารเหลือเกิน’ ได้มีดโกนแล้วก็ไปยืนพาดคอไว้ที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง ยืนนะ ยืนพาดคอไว้ที่ต้นไม้ คือคล้ายๆ ว่าพิงไว้หน่อยหนึ่งไม่ให้ล้ม แล้วก็จ่อคมมีดที่ก้านคอ พอจ่อคมมีดที่ก้านคอนะ ใจก็นึกทวน.. ใคร่ครวญถึงศีลของตนตั้งแต่อุปสมบทมา เห็นว่า ‘ศีลรักษาไว้ดีมาก ไม่มีมลทินเลย เหมือนดวงจันทร์วันเพ็ญที่ไม่มีเมฆหมอกบัง เหมือนแก้วมณีที่ขัดไว้ดีแล้ว’ ตรวจดูศีลนั้นแล้ว ก็เกิดปีติแผ่ซ่านไปทั่วสรีระ พอข่มปีติได้แล้ว ก็เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหันต์ คือบรรลุพระอรหันต์ตอนที่เอามีดจ่อคอเนี่ยนะ บรรลุเป็นพระอรหันต์ในขณะนั้น พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ก็เลยเอามีดมาคืนช่างตัดผม ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วก็ “อ้าว! ไปไหนมา” พระสัปปทาสะก็บอก “ผมเอามีดไปเนี่ย จะตัดก้านคอตัวเองให้ตาย” พระก็เลยถามว่า “อ้าว! แล้วทำไมไม่ตายล่ะ?” ก็บอกว่า “บัดนี้ ผมเป็นผู้ไม่ควรนำศัสตรามา ด้วยว่าผมคิดว่า ‘จักตัดก้านคอตนด้วยมีดโกนนี้’ เพราะตัดกิเลสเสียสิ้นแล้ว ด้วยมีดโกน คือญาณ” นี่นะ เอามีดไปก็จริง ไม่ใช่เอาไปตัดคอตัวเองด้วยมีดโกนนั้น แต่กลับตัดกิเลสด้วยญาณ ญาณอะไร? ก็วิปัสสนาญาณนั่นเอง พระทั้งหลายฟังแล้วก็ ‘โอ้! ไปพูดอย่างนี้ก็คือพยากรณ์ตนเองว่าเป็นพระอรหันต์” ก็เลยพาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาพระขีณาสพย่อมไม่ปลงตนจากชีวิตด้วยมือตนเอง” เรียกว่าถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วเนี่ย จะไม่ฆ่าตัวตาย แต่ภิกษุทั้งหลายก็สงสัยว่า ‘อ้าว! องค์นี้เพิ่งพยายามจะฆ่าตัวตาย’ ก็เลยบอกว่า “พระเจ้าข้า พระองค์ตรัสภิกษุนี้ว่า ‘เป็นพระขีณาสพ’ แต่ก็ภิกษุนี้ ผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ขนาดนี้ ทำไมจึงเบื่อหน่าย? และอะไรเป็นเหตุ เป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ของภิกษุนี้? และเหตุไร งูนั้นจึงไม่กัดภิกษุนี้?” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “งูนี้ได้เคยเป็นทาสของภิกษุนี้ในอัตภาพที่ ๓ นับจากนี้” หมายถึงว่า งูนี้เคยเป็นทาสของภิกษุนี้เมื่อ ๓ ชาติที่แล้ว มันระลึกได้ มันเลยไม่กัดเจ้านายของตน จึงกลายเป็นชื่อของพระรูปนี้ไปเลยว่า “สัปปทาสะ” ทาสะ แปลว่าทาส, สัปปะ ก็คืองู “มีทาสเป็นงู” ภิกษุนี้ก็เลยอาศัยว่าพระพุทธเจ้าระลึกชาติของท่านให้ฟัง ท่านจึงได้ชื่อตามคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกนั่นเอง ได้ชื่อว่า “สัปปทาสะ” ชื่อเดิมชื่ออะไรก็ไม่ทราบนะ ภิกษุเหล่านั้นฟังเนื้อความนี้จากสำนักพระพุทธเจ้า จึงทูลถามอีกว่า “ได้ยินว่า ภิกษุนี้ยืนจดคมมีดโกนที่ก้านคออยู่ แล้วบรรลุพระอรหัต พระอรหัตมรรคเกิดขึ้นได้โดยขณะเพียงเท่านั้น หรือพระเจ้าข้า?” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้ปรารภความเพียร ยกเท้าขึ้นวางบนพื้น เมื่อเท้ายังไม่ทันถึงพื้นเลย พระอรหัตมรรคก็ได้เกิดขึ้น แท้จริง ความเป็นอยู่แม้เพียงชั่วขณะของท่านผู้ปรารภความเพียร ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของบุคคลผู้เกียจคร้าน” (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘ เรื่องพระสัปปทาสเถระ) นี่ก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง เป็นเหตุการณ์เรื่องราวที่พระอรรถกถาจารย์บันทึกเอาไว้ ต้องบอกไว้ด้วยว่าเป็น “คัมภีร์ระดับอรรถกถาจารย์” ก็น่าสนใจอยู่ ให้เห็นว่าการฆ่าตัวตาย จะเป็นเรื่องของผู้ที่ยังไม่สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ถ้าเป็นปุถุชนยังคิดอย่างนี้ได้ ประมาณว่าคิดผิด คิดแบบที่ยังไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ แต่ถ้าบรรลุธรรมแล้ว บรรลุมรรคผลแล้ว อย่างน้อยๆ ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้ว จะไม่ฆ่าตัวตาย เพราะอย่างน้อยๆ ต้องเข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ “การฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ” พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=mj39QxOKnJQ (นาทีที่ 1.30.50-1.40.27)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #บริจาคเสื้อผ้าใช้แล้ว ?? #ถาม: เคยอ่านพุทธภาษิตว่า “ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก” แต่โยมมีเสื้อผ้ามือสองสภาพดีที่ไม่ใช้แล้ว อยากบริจาคให้คนยากจนที่เขาขาดแคลน อย่างนี้โยมให้ทานไปแสดงว่าโยมให้สิ่งที่ไม่ดีหรือเปล่า? #ตอบ: อันนี้อย่าคิดมาก เรามีของแม้จะเป็นมือสองแต่สภาพดี แล้วก็เป็นของที่เหมาะสมกับผู้รับ ให้แล้วผู้รับมีความดีใจ เราก็ให้ได้ ขอให้ของนั้นดูมีสภาพดีจริงๆ สภาพดีเอาไปใช้ได้ ขอให้ลองนึกถึงผู้รับก็แล้วกันว่า ‘ผู้รับ รับแล้วมีความดีใจ’ แม้ว่ามันจะเป็นของมือสองก็ไม่เป็นไร อันนี้อาตมาภาพมีประสบการณ์ตอนสมัยเด็กๆ ไปอยู่บ้านน้า มาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ บ้านอาตมาเนี่ยอยู่บางปะกง มาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ก็อยู่อาศัยกับน้า น้าเนี่ยก็มีฐานะดี น้าแท้ๆ คือน้าผู้หญิง น้าเขยก็มีตำแหน่งสูงเป็นนายทหารอากาศ วันหนึ่งน้าผู้หญิงไปรื้อเอาเสื้อผ้าของน้าผู้ชาย เอาของที่ของน้าผู้ชายใช้แล้ว แต่ว่าพยายามเอาของที่คิดว่าน้าผู้ชายจะไม่เสียดายแล้ว ก็คงจะสภาพก็ดูดีแต่ว่าดีน้อยหน่อย น้าผู้ชายเห็นก็ถามว่า “ทำอะไร?” “จะเอาเสื้อของพี่ที่ไม่ใช้แล้ว ไปให้พี่ชาย” พี่ชายคนโตในขณะนั้นฐานะไม่ค่อยดี แล้วก็อยากจะให้พี่ชายได้ใช้เสื้อผ้าที่ดีๆ หน่อย น้าเขยบอกเลย “ไม่ได้!” ไอ้ไม่ได้เนี่ยนะ ฟังทีแรกอาตมาก็ตกใจเหมือนกันนะ ‘เอ๊ะ! น้าเขยจะหวงหรือเปล่า?’ ไอ้ที่ว่าไม่ได้คือ “ของมันดีน้อยไป” น้าเขยไปเลือกเองเลย เอาของดีๆ ทั้งนั้นเลย มือสองก็จริงคือใช้แล้ว แต่ว่าซักอย่างดีเก็บอย่างดี น้าเขยเลือกเองเลย เลือกเอาตัวหล่อๆ ตัวที่ดูดีๆ หล่อๆ “นี่เธอต้องเอาตัวนี้ๆ ๆ” เลือกให้เองเลย คือของที่น้าแท้ๆ ที่อาตมาไปอยู่ด้วย ของที่น้าผู้หญิงเลือก ยังดูไม่ค่อยดี ยังรู้สึกว่าการให้ในฐานะที่น้าผู้ชายมีเสื้อผ้าดีๆ นะ อยากจะให้ของดีๆ กว่านั้นอีก อย่างนี้แม้จะเป็นของใช้แล้ว ในความรู้สึกอาตมาก็ปลื้มใจกับการกระทำของน้าเขยคนนี้ ถือเป็นภาพประทับใจ อย่างโยมก็เหมือนกันถ้ามีเสื้อผ้าใช้แล้วก็จริง แต่ถ้าสภาพดีแล้วก็เอาไปบริจาค ผู้รับย่อมมีความชื่นชมยินดี คนที่เห็นพบกับเหตุการณ์นั้นก็น่าจะชื่นชมด้วย เราเองก็ดีใจ คนรับก็ดีใจ ทั้งสองฝ่ายดีใจ ใช้ได้ อย่าไปไม่ต้องถึงกับขนาดว่ามาเสียใจ ‘เอ้า! เราให้ของที่ไม่ดี’ จริง ๆ ของดี เป็นของดีอยู่แล้ว ก็ขออนุโมทนา พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=NRbrj_RS6oc (นาทีที่ 2.05-6.23 )

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #บริจาคเสื้อผ้าใช้แล้ว ?? #ถาม: เคยอ่านพุทธภาษิตว่า “ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก” แต่โยมมีเสื้อผ้ามือสองสภาพดีที่ไม่ใช้แล้ว อยากบริจาคให้คนยากจนที่เขาขาดแคลน อย่างนี้โยมให้ทานไปแสดงว่าโยมให้สิ่งที่ไม่ดีหรือเปล่า? #ตอบ: อันนี้อย่าคิดมาก เรามีของแม้จะเป็นมือสองแต่สภาพดี แล้วก็เป็นของที่เหมาะสมกับผู้รับ ให้แล้วผู้รับมีความดีใจ เราก็ให้ได้ ขอให้ของนั้นดูมีสภาพดีจริงๆ สภาพดีเอาไปใช้ได้ ขอให้ลองนึกถึงผู้รับก็แล้วกันว่า ‘ผู้รับ รับแล้วมีความดีใจ’ แม้ว่ามันจะเป็นของมือสองก็ไม่เป็นไร อันนี้อาตมาภาพมีประสบการณ์ตอนสมัยเด็กๆ ไปอยู่บ้านน้า มาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ บ้านอาตมาเนี่ยอยู่บางปะกง มาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ก็อยู่อาศัยกับน้า น้าเนี่ยก็มีฐานะดี น้าแท้ๆ คือน้าผู้หญิง น้าเขยก็มีตำแหน่งสูงเป็นนายทหารอากาศ วันหนึ่งน้าผู้หญิงไปรื้อเอาเสื้อผ้าของน้าผู้ชาย เอาของที่ของน้าผู้ชายใช้แล้ว แต่ว่าพยายามเอาของที่คิดว่าน้าผู้ชายจะไม่เสียดายแล้ว ก็คงจะสภาพก็ดูดีแต่ว่าดีน้อยหน่อย น้าผู้ชายเห็นก็ถามว่า “ทำอะไร?” “จะเอาเสื้อของพี่ที่ไม่ใช้แล้ว ไปให้พี่ชาย” พี่ชายคนโตในขณะนั้นฐานะไม่ค่อยดี แล้วก็อยากจะให้พี่ชายได้ใช้เสื้อผ้าที่ดีๆ หน่อย น้าเขยบอกเลย “ไม่ได้!” ไอ้ไม่ได้เนี่ยนะ ฟังทีแรกอาตมาก็ตกใจเหมือนกันนะ ‘เอ๊ะ! น้าเขยจะหวงหรือเปล่า?’ ไอ้ที่ว่าไม่ได้คือ “ของมันดีน้อยไป” น้าเขยไปเลือกเองเลย เอาของดีๆ ทั้งนั้นเลย มือสองก็จริงคือใช้แล้ว แต่ว่าซักอย่างดีเก็บอย่างดี น้าเขยเลือกเองเลย เลือกเอาตัวหล่อๆ ตัวที่ดูดีๆ หล่อๆ “นี่เธอต้องเอาตัวนี้ๆ ๆ” เลือกให้เองเลย คือของที่น้าแท้ๆ ที่อาตมาไปอยู่ด้วย ของที่น้าผู้หญิงเลือก ยังดูไม่ค่อยดี ยังรู้สึกว่าการให้ในฐานะที่น้าผู้ชายมีเสื้อผ้าดีๆ นะ อยากจะให้ของดีๆ กว่านั้นอีก อย่างนี้แม้จะเป็นของใช้แล้ว ในความรู้สึกอาตมาก็ปลื้มใจกับการกระทำของน้าเขยคนนี้ ถือเป็นภาพประทับใจ อย่างโยมก็เหมือนกันถ้ามีเสื้อผ้าใช้แล้วก็จริง แต่ถ้าสภาพดีแล้วก็เอาไปบริจาค ผู้รับย่อมมีความชื่นชมยินดี คนที่เห็นพบกับเหตุการณ์นั้นก็น่าจะชื่นชมด้วย เราเองก็ดีใจ คนรับก็ดีใจ ทั้งสองฝ่ายดีใจ ใช้ได้ อย่าไปไม่ต้องถึงกับขนาดว่ามาเสียใจ ‘เอ้า! เราให้ของที่ไม่ดี’ จริง ๆ ของดี เป็นของดีอยู่แล้ว ก็ขออนุโมทนา พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=NRbrj_RS6oc (นาทีที่ 2.05-6.23 )

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ใส่บาตรแนววัดป่า ?? #ถาม: ถ้าผู้ใส่บาตรมีเงิน ๑๐๐ ต้องการใส่บาตร ผู้ใส่บาตรมีจิตตั้งใจเหมือนกัน พระผู้รับทุกรูปก็มีศีลเสมอกัน นี่เป็นคำถามแบบสมมุตินะ เขาตั้งขึ้นมาว่า - ผู้ใส่บาตรมีเงิน ๑๐๐ บาท ต้องการใส่บาตร - ระหว่าง ๒ คน มีเงิน ๑๐๐ เท่ากัน - ใส่บาตรกับพระผู้มีศีลเท่าๆ กันด้วย เกิดเหตุการณ์นี้คือว่า ก. นำเงิน ๑๐๐ บาทใส่บาตรครบชุด มี ข้าว น้ำ อาหาร ขนมหวาน ดอกไม้ ธูป เทียน แต่ว่าได้ชุดเดียว ใส่บาตรได้รูปเดียว ข. แบ่งเงินออกใส่บาตรพระ ๕ รูป แต่ละรูปก็จะใส่ได้แค่อาหาร เพราะมีงบแค่รูปละ ๒๐ บาท ๒ แบบนะ การใส่บาตรแบบไหนจะได้บุญมากกว่ากัน? เป็นคำถามแบบสมมติ เป็นคำถามแบบยากที่จะเกิดขึ้นจริง ทุกคนที่ว่ามานี้ คือเขาพยายามจำกัดตัวแปรทั้งหมดเลย มีตัวแปรอย่างเดียวคือ ข้อ ก ซื้อ ๑๐๐ บาทเนี่ยให้ได้ ๑ ชุด ให้มากๆ ให้ครบชุด แล้วถวายได้รูปเดียว กับกระจายเงินไปถวายกับพระทั้ง ๕ รูป ได้ ๕ รูป แต่ ๕ รูปก็จะได้นิดๆ หน่อยๆ ตามมูลค่า ๒๐ บาท ถามว่า แบบไหนได้บุญมากกว่ากัน? #ตอบ: อันนี้ก็ต้องดูว่า พระที่มานั้นนะ ๕ รูปนั้นท่านอยู่วัดเดียวกันไหม? ถ้าท่านอยู่วัดเดียวกัน วัดนั้นมีวิธีในการจัดการกับอาหารบิณฑบาตอย่างไรด้วย? อย่างสมมติว่าวัดสังฆทาน หรือว่าอย่างที่นี่ (สวนธรรมประสานสุข) หรือว่าวัดกรรมฐานทั่วๆ ไป มักจะใช้วิธีนี้คือว่า อาหารบิณฑบาตที่ได้มาไม่ว่าจะได้จากรูปไหน โยมจะใส่หัวแถว จะใส่กลางแถว จะใส่หางแถว เอามารวมกัน แล้วก็ถึงคราวพิจารณาอาหาร ก็จะพิจารณาตามลำดับพรรษา เพราะฉะนั้นของที่มาได้ จะมาจากกี่สาย หรือว่าใครได้มา จะเอามากองรวมกัน ทั้งข้าว ทั้งกับ ทั้งขนม ทั้งผลไม้ ทั้งน้ำ ก็จะมารวมกัน เพราะฉะนั้นถ้าในกรณีอย่างนี้ ใส่บาตร ๑ ชุดใหญ่ครบหมดเลยก็จะได้ของครบ แต่ถ้าวัดนั้นพระแต่ละรูปได้รับอาหารแล้ว แยกย้ายกันไปฉัน ไม่มีระเบียบ หรือไม่มีวิธีจัดการกับบิณฑบาต ด้วยการมารวมกันเหมือนวัดกรรมฐานทั่วไป อย่างนี้ก็แบ่งให้ ๕ รูป จะมีอานิสงส์กว่า เพราะว่าเราสามารถเอาเงินที่มีอยู่ ๑๐๐ บาท เป็นประโยชน์กับทั้ง ๕ รูป นึกออกไหม? มันก็มีองค์ประกอบที่ไม่เหมือนกันขึ้นมาอีก ทีนี้ถ้ามีกรณีเกิดขึ้นมาต้องตัดสินใจ พระมาพร้อมกัน ๕ รูป เรามองดูสิว่า ‘วัดเดียวกันไหม?’ ถ้าวัดเดียวกัน เป็นไปได้มากว่า ถ้าเป็นแนววัดป่านะ ‘ใส่องค์เดียว’ ใส่ไปองค์เดียวเลย แต่ถ้าดูแล้วเนี่ยแต่ละองค์ๆ มาจากต่างวัด เราก็ควรจะใส่ให้ครบทุกองค์ น่าจะมีความปลื้มใจมากกว่า เพราะเราได้ใส่ครบทุกองค์ เราได้ต่ออายุให้กับท่านได้ครบได้ทั้ง ๕ องค์ ๕ รูป แต่ถ้าป็นวัดกรรมฐานใส่องค์หน้าแล้วท่านก็ต่ออายุให้ทุกองค์เลย ไม่ว่าองค์หน้าจะได้เยอะแค่ไหนเนี่ยหมายความว่าทั้งแถวได้ด้วย ให้ทำความรู้สึกอย่างนี้นะกับวัดกรรมฐานทั่วๆ ไป ไม่ว่าท่านจะมาเป็นแถวยาว ๕ องค์ ๑๐ องค์ ๒๐ องค์ จะใส่องค์เดียวก็ได้ ไม่มีปัญหา เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ตอนนั้นดูแล้วท่านมาเป็นแถวไหม? ถ้าท่านมาเป็นแถวนะ ใส่องค์เดียวได้ แต่ถ้าท่านกระจายๆ กันมา แล้วดูแล้วจีวรก็คนละสีด้วย ก็แบ่งถวายให้ครบ ๕ รูปก็น่าจะดีกว่า พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการ "ธรรมะสว่างใจ" ออกอากาศวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=NRbrj_RS6oc (นาทีที่ 32.41-38.33 )

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ใส่บาตรแนววัดป่า ?? #ถาม: ถ้าผู้ใส่บาตรมีเงิน ๑๐๐ ต้องการใส่บาตร ผู้ใส่บาตรมีจิตตั้งใจเหมือนกัน พระผู้รับทุกรูปก็มีศีลเสมอกัน นี่เป็นคำถามแบบสมมุตินะ เขาตั้งขึ้นมาว่า – ผู้ใส่บาตรมีเงิน ๑๐๐ บาท ต้องการใส่บาตร – ระหว่าง ๒ คน มีเงิน ๑๐๐ เท่ากัน – ใส่บาตรกับพระผู้มีศีลเท่าๆ กันด้วย เกิดเหตุการณ์นี้คือว่า ก. นำเงิน ๑๐๐ บาทใส่บาตรครบชุด มี ข้าว น้ำ อาหาร ขนมหวาน ดอกไม้ ธูป เทียน แต่ว่าได้ชุดเดียว ใส่บาตรได้รูปเดียว ข. แบ่งเงินออกใส่บาตรพระ ๕ รูป แต่ละรูปก็จะใส่ได้แค่อาหาร เพราะมีงบแค่รูปละ ๒๐ บาท ๒ แบบนะ การใส่บาตรแบบไหนจะได้บุญมากกว่ากัน? เป็นคำถามแบบสมมติ เป็นคำถามแบบยากที่จะเกิดขึ้นจริง ทุกคนที่ว่ามานี้ คือเขาพยายามจำกัดตัวแปรทั้งหมดเลย มีตัวแปรอย่างเดียวคือ ข้อ ก ซื้อ ๑๐๐ บาทเนี่ยให้ได้ ๑ ชุด ให้มากๆ ให้ครบชุด แล้วถวายได้รูปเดียว กับกระจายเงินไปถวายกับพระทั้ง ๕ รูป ได้ ๕ รูป แต่ ๕ รูปก็จะได้นิดๆ หน่อยๆ ตามมูลค่า ๒๐ บาท ถามว่า แบบไหนได้บุญมากกว่ากัน? #ตอบ: อันนี้ก็ต้องดูว่า พระที่มานั้นนะ ๕ รูปนั้นท่านอยู่วัดเดียวกันไหม? ถ้าท่านอยู่วัดเดียวกัน วัดนั้นมีวิธีในการจัดการกับอาหารบิณฑบาตอย่างไรด้วย? อย่างสมมติว่าวัดสังฆทาน หรือว่าอย่างที่นี่ (สวนธรรมประสานสุข) หรือว่าวัดกรรมฐานทั่วๆ ไป มักจะใช้วิธีนี้คือว่า อาหารบิณฑบาตที่ได้มาไม่ว่าจะได้จากรูปไหน โยมจะใส่หัวแถว จะใส่กลางแถว จะใส่หางแถว เอามารวมกัน แล้วก็ถึงคราวพิจารณาอาหาร ก็จะพิจารณาตามลำดับพรรษา เพราะฉะนั้นของที่มาได้ จะมาจากกี่สาย หรือว่าใครได้มา จะเอามากองรวมกัน ทั้งข้าว ทั้งกับ ทั้งขนม ทั้งผลไม้ ทั้งน้ำ ก็จะมารวมกัน เพราะฉะนั้นถ้าในกรณีอย่างนี้ ใส่บาตร ๑ ชุดใหญ่ครบหมดเลยก็จะได้ของครบ แต่ถ้าวัดนั้นพระแต่ละรูปได้รับอาหารแล้ว แยกย้ายกันไปฉัน ไม่มีระเบียบ หรือไม่มีวิธีจัดการกับบิณฑบาต ด้วยการมารวมกันเหมือนวัดกรรมฐานทั่วไป อย่างนี้ก็แบ่งให้ ๕ รูป จะมีอานิสงส์กว่า เพราะว่าเราสามารถเอาเงินที่มีอยู่ ๑๐๐ บาท เป็นประโยชน์กับทั้ง ๕ รูป นึกออกไหม? มันก็มีองค์ประกอบที่ไม่เหมือนกันขึ้นมาอีก ทีนี้ถ้ามีกรณีเกิดขึ้นมาต้องตัดสินใจ พระมาพร้อมกัน ๕ รูป เรามองดูสิว่า ‘วัดเดียวกันไหม?’ ถ้าวัดเดียวกัน เป็นไปได้มากว่า ถ้าเป็นแนววัดป่านะ ‘ใส่องค์เดียว’ ใส่ไปองค์เดียวเลย แต่ถ้าดูแล้วเนี่ยแต่ละองค์ๆ มาจากต่างวัด เราก็ควรจะใส่ให้ครบทุกองค์ น่าจะมีความปลื้มใจมากกว่า เพราะเราได้ใส่ครบทุกองค์ เราได้ต่ออายุให้กับท่านได้ครบได้ทั้ง ๕ องค์ ๕ รูป แต่ถ้าป็นวัดกรรมฐานใส่องค์หน้าแล้วท่านก็ต่ออายุให้ทุกองค์เลย ไม่ว่าองค์หน้าจะได้เยอะแค่ไหนเนี่ยหมายความว่าทั้งแถวได้ด้วย ให้ทำความรู้สึกอย่างนี้นะกับวัดกรรมฐานทั่วๆ ไป ไม่ว่าท่านจะมาเป็นแถวยาว ๕ องค์ ๑๐ องค์ ๒๐ องค์ จะใส่องค์เดียวก็ได้ ไม่มีปัญหา เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ตอนนั้นดูแล้วท่านมาเป็นแถวไหม? ถ้าท่านมาเป็นแถวนะ ใส่องค์เดียวได้ แต่ถ้าท่านกระจายๆ กันมา แล้วดูแล้วจีวรก็คนละสีด้วย ก็แบ่งถวายให้ครบ ๕ รูปก็น่าจะดีกว่า พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการ “ธรรมะสว่างใจ” ออกอากาศวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=NRbrj_RS6oc (นาทีที่ 32.41-38.33 )

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #หลุดปากด่าพระให้ไปขอขมา ?? #ถาม : ผมเผลอไปด่าผู้ทรงศีลที่เป็นพระครับโดยขาดสติ ผมจะทำอย่างไรดีครับ? #ตอบ : ไปขอขมา.. สมมติว่าไปด่าผู้ทรงศีล ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นพระก็ได้นะ เมื่อไปด่าใครก็แล้วแต่ ถ้าเราไปด่าเขาไปแล้วเนี่ย โดยเฉพาะในกรณีนี้เป็นการด่าพระนะ ถ้ามีโอกาสก็ไปขอขมาท่าน และถ้าท่านเป็นพระที่ดี ท่านจะไม่ถือโทษเรา ถ้าไปเผลอด่าพระที่ดี.. เราเองนั่นแหละจะมีโทษมาก “ท่านจะไม่ตกต่ำจากการด่าของเรา” นึกออกไหม? พระพุทธเจ้าถูกด่าหลายครั้งนะ ในพุทธประวัติเนี่ย เช่นครั้งหนึ่ง ที่กรุงโกสัมพี ท่านพระอานนท์กราบทูลพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เราไปที่อื่นกันดีกว่า ทำไมเมืองนี้มีแต่คนด่า” พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า “อานนท์ ถ้าคนที่เมืองนั้นด่าเราอีก เราจะทำอย่างไร ?” “ก็ไปที่เมืองอื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า” “ถ้าคนที่เมืองนั้นด่าเราอีก เราจะทำอย่างไร ?” “ก็ไปที่เมืองอื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า” “ดูก่อนอานนท์ ถ้าทำอย่างนั้นเราก็จะหนีกันไม่สิ้นสุด ทางที่ถูกนั้นอธิกรณ์เกิดขึ้นในที่ ใด ก็ควรให้อธิกรณ์สงบระงับในที่นั้นก่อนแล้วจึงไป” แล้วพระพุทธองค์ตรัสต่อไปอีกว่า “ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาอธิกรณ์เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วย่อมไม่เกิน ๗ วัน ก็จะสงบระงับไปเอง” การด่าของคนอื่นมันไม่ได้ทำให้เราเลวไปตามคำด่าของเขา แต่เป็นโอกาสในการพิสูจน์ว่าเรามีคุณธรรมมากน้อยแค่ไหน? ยิ่งถ้าเราไม่ได้มีปฏิกิริยาในทางที่แสดงออกว่ามีโทสะเลยนะ มันกลับกลายเป็นว่าทำให้เราสูงเด่นมากขึ้น ท่านเปรียบเหมือนระฆัง ถ้าไม่มีใครตีเลย ก็ไม่รู้ว่าระฆังนี้ดีหรือเปล่า? พอโดนตี..เป๊ง! “โอ้โห!..เสียงกังวานดีจัง” ที่รู้ว่าระฆังดี เพราะว่าระฆังถูกตีนั่นเอง! เพราะฉะนั้น หันมาพิจารณาพระถูกเราด่า พระท่านไม่ได้เสื่อม หรือตกต่ำไป จากการด่าของเรา แต่เราต่ำ! มันต่ำตั้งแต่โกรธ แล้วก็ไม่รู้ ไม่มีสติรู้ความโกรธของตัวเอง ขณะที่หลุดปากออกไปด่าเนี่ย ตอนนี้เราทำอกุศลกรรมเรียบร้อยแล้ว มีทั้งมโนกรรม คือ มีความโกรธในใจ มีทั้งวจีกรรม คือ ไปด่า เมื่อทำ “อกุศลกรรม” ไปแล้ว ควรทำอย่างไร? ทางพุทธศาสนาเรียกว่าต้องมี “ปฏิกรรม” ปฏิกรรม ภาษาพระมักจะแปลว่า “การทำคืน” แต่จะแปลว่า “การแก้กรรม” ก็ได้ คือไปหาทางแก้ไข ยอมรับว่าได้ผิดพลาดทำไม่ดีไปแล้ว ก็ตั้งใจละเลิกบาปอกุศลที่เคยทำไปนั้น และจะสำรวมระวัง แก้ไขปรับปรุงตนเองมาทำกรรมดีต่อไป วีธีแก้ไขจากการที่เราเผลอไปด่าผู้ทรงศีล ก็ควรจะไปขอขมาท่าน ไปกราบเรียนท่าน “พระคุณเจ้า...” หรือจะพูดคำว่า หลวงลุง หลวงปู่ หลวงพ่อ อะไรก็แล้วแต่นะ ก็บอกไปว่า “ผมพลั้งพลาดไป ได้ด่าท่านไปในวันนั้น ๆ” อะไรอย่างนี้นะ ..“ผมขอขมาครับ” พระท่านก็จะบอกว่า “ไม่ถือโทษ ไม่ถือโกรธ” ประมาณอย่างนี้นะ อาจจะไม่ได้พูดอย่างนี้เป๊ะ ๆ สรุปว่า..ก็ควรจะไปขอขมานะ “การขอขมา” มันอาจจะยากสำหรับคนบางคนที่ถือตัว ความถือตัวจะทำให้คน ๆ นั้นไม่ยอมไปขอขมาใคร ความรู้สึกของคนถือตัว เหมือนจะต้อง ‘ลดตัวเอง’ ลงไป จริง ๆ ไม่ใช่ลดตัวเอง มันเป็นการแสดงความกล้าหาญต่างหาก! แสดงความกล้าหาญ ในการแสดงความผิดของตัวเอง ด้วยความยอมรับและสำนึกผิด แล้วพอท่านยกโทษให้เนี่ย มันเป็น “การยกโทษจริง ๆ” โทษคือความรู้สึกหนักอกหนักใจ จากการที่เรารู้สึกว่า ‘เรากระทำความผิดไปโดยการด่าท่านไป’ พอเราได้ “ขอโทษ” แล้วท่าน “ยกโทษ” ให้ ..เราจะรู้สึกเบาขึ้นมาทันที! เหมือนท่านได้ “ยกโทษ” ออกมาจริง ๆ ‘โทษ’ ที่มันรู้สึกหนักเหลือเกินเนี่ยนะ ท่าน ‘ยก’ ออกไป จากการที่ท่านให้อภัยกับเรา ดังนั้น ถ้าสำนึกได้ว่า ‘เราทำผิดจากการที่ไปด่าท่าน’ ให้หาโอกาสไปขอขมา อันนี้ขอแนะนำเท่านี้ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.facebook.com/nimmalo/videos/1290812144648942 (นาทีที่ 44.35-48.28)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #หลุดปากด่าพระให้ไปขอขมา ?? #ถาม : ผมเผลอไปด่าผู้ทรงศีลที่เป็นพระครับโดยขาดสติ ผมจะทำอย่างไรดีครับ? #ตอบ : ไปขอขมา.. สมมติว่าไปด่าผู้ทรงศีล ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นพระก็ได้นะ เมื่อไปด่าใครก็แล้วแต่ ถ้าเราไปด่าเขาไปแล้วเนี่ย โดยเฉพาะในกรณีนี้เป็นการด่าพระนะ ถ้ามีโอกาสก็ไปขอขมาท่าน และถ้าท่านเป็นพระที่ดี ท่านจะไม่ถือโทษเรา ถ้าไปเผลอด่าพระที่ดี.. เราเองนั่นแหละจะมีโทษมาก “ท่านจะไม่ตกต่ำจากการด่าของเรา” นึกออกไหม? พระพุทธเจ้าถูกด่าหลายครั้งนะ ในพุทธประวัติเนี่ย เช่นครั้งหนึ่ง ที่กรุงโกสัมพี ท่านพระอานนท์กราบทูลพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เราไปที่อื่นกันดีกว่า ทำไมเมืองนี้มีแต่คนด่า” พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่า “อานนท์ ถ้าคนที่เมืองนั้นด่าเราอีก เราจะทำอย่างไร ?” “ก็ไปที่เมืองอื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า” “ถ้าคนที่เมืองนั้นด่าเราอีก เราจะทำอย่างไร ?” “ก็ไปที่เมืองอื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า” “ดูก่อนอานนท์ ถ้าทำอย่างนั้นเราก็จะหนีกันไม่สิ้นสุด ทางที่ถูกนั้นอธิกรณ์เกิดขึ้นในที่ ใด ก็ควรให้อธิกรณ์สงบระงับในที่นั้นก่อนแล้วจึงไป” แล้วพระพุทธองค์ตรัสต่อไปอีกว่า “ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาอธิกรณ์เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วย่อมไม่เกิน ๗ วัน ก็จะสงบระงับไปเอง” การด่าของคนอื่นมันไม่ได้ทำให้เราเลวไปตามคำด่าของเขา แต่เป็นโอกาสในการพิสูจน์ว่าเรามีคุณธรรมมากน้อยแค่ไหน? ยิ่งถ้าเราไม่ได้มีปฏิกิริยาในทางที่แสดงออกว่ามีโทสะเลยนะ มันกลับกลายเป็นว่าทำให้เราสูงเด่นมากขึ้น ท่านเปรียบเหมือนระฆัง ถ้าไม่มีใครตีเลย ก็ไม่รู้ว่าระฆังนี้ดีหรือเปล่า? พอโดนตี..เป๊ง! “โอ้โห!..เสียงกังวานดีจัง” ที่รู้ว่าระฆังดี เพราะว่าระฆังถูกตีนั่นเอง! เพราะฉะนั้น หันมาพิจารณาพระถูกเราด่า พระท่านไม่ได้เสื่อม หรือตกต่ำไป จากการด่าของเรา แต่เราต่ำ! มันต่ำตั้งแต่โกรธ แล้วก็ไม่รู้ ไม่มีสติรู้ความโกรธของตัวเอง ขณะที่หลุดปากออกไปด่าเนี่ย ตอนนี้เราทำอกุศลกรรมเรียบร้อยแล้ว มีทั้งมโนกรรม คือ มีความโกรธในใจ มีทั้งวจีกรรม คือ ไปด่า เมื่อทำ “อกุศลกรรม” ไปแล้ว ควรทำอย่างไร? ทางพุทธศาสนาเรียกว่าต้องมี “ปฏิกรรม” ปฏิกรรม ภาษาพระมักจะแปลว่า “การทำคืน” แต่จะแปลว่า “การแก้กรรม” ก็ได้ คือไปหาทางแก้ไข ยอมรับว่าได้ผิดพลาดทำไม่ดีไปแล้ว ก็ตั้งใจละเลิกบาปอกุศลที่เคยทำไปนั้น และจะสำรวมระวัง แก้ไขปรับปรุงตนเองมาทำกรรมดีต่อไป วีธีแก้ไขจากการที่เราเผลอไปด่าผู้ทรงศีล ก็ควรจะไปขอขมาท่าน ไปกราบเรียนท่าน “พระคุณเจ้า…” หรือจะพูดคำว่า หลวงลุง หลวงปู่ หลวงพ่อ อะไรก็แล้วแต่นะ ก็บอกไปว่า “ผมพลั้งพลาดไป ได้ด่าท่านไปในวันนั้น ๆ” อะไรอย่างนี้นะ ..“ผมขอขมาครับ” พระท่านก็จะบอกว่า “ไม่ถือโทษ ไม่ถือโกรธ” ประมาณอย่างนี้นะ อาจจะไม่ได้พูดอย่างนี้เป๊ะ ๆ สรุปว่า..ก็ควรจะไปขอขมานะ “การขอขมา” มันอาจจะยากสำหรับคนบางคนที่ถือตัว ความถือตัวจะทำให้คน ๆ นั้นไม่ยอมไปขอขมาใคร ความรู้สึกของคนถือตัว เหมือนจะต้อง ‘ลดตัวเอง’ ลงไป จริง ๆ ไม่ใช่ลดตัวเอง มันเป็นการแสดงความกล้าหาญต่างหาก! แสดงความกล้าหาญ ในการแสดงความผิดของตัวเอง ด้วยความยอมรับและสำนึกผิด แล้วพอท่านยกโทษให้เนี่ย มันเป็น “การยกโทษจริง ๆ” โทษคือความรู้สึกหนักอกหนักใจ จากการที่เรารู้สึกว่า ‘เรากระทำความผิดไปโดยการด่าท่านไป’ พอเราได้ “ขอโทษ” แล้วท่าน “ยกโทษ” ให้ ..เราจะรู้สึกเบาขึ้นมาทันที! เหมือนท่านได้ “ยกโทษ” ออกมาจริง ๆ ‘โทษ’ ที่มันรู้สึกหนักเหลือเกินเนี่ยนะ ท่าน ‘ยก’ ออกไป จากการที่ท่านให้อภัยกับเรา ดังนั้น ถ้าสำนึกได้ว่า ‘เราทำผิดจากการที่ไปด่าท่าน’ ให้หาโอกาสไปขอขมา อันนี้ขอแนะนำเท่านี้ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.facebook.com/nimmalo/videos/1290812144648942 (นาทีที่ 44.35-48.28)

อ่านต่อ ...
#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ดูแลบุพการี #ถาม : กราบรบกวนเรียนถามเรื่องการดูแลบุพการี ระหว่าง “บุตรที่มีทรัพย์-แต่ไม่มีเวลา” คือ ไม่มีเวลาดูแลบุพการี แต่มีทรัพย์ กับ “บุตรที่ไม่ค่อยมีทรัพย์-แต่มีเวลา” ก็คือ ได้ดูแลบุพการีด้วยการให้เวลาดูแล แต่ทรัพย์ไม่มาก สงสัยว่าบุตรคนไหนเป็น “บุตรกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี” และมากน้อยแค่ไหน? #ตอบ : ทันทีที่ได้เห็นคำถามนี้นะ มีความคิดแว๊บขึ้นมาว่า ‘คนถามเนี่ย.. เป็นคนไหน?’ คือจริง ๆ แล้วที่ดีที่สุดนะ ลูกทั้ง ๒ คนควรจะร่วมมือกัน และไม่ต้องมาแก่งแย่งว่าใครจะดีกว่าใคร? ใครจะเด่นกว่าใคร? เรามีทรัพย์-ไม่มีเวลา ก็สนับสนุนทรัพย์ เราไม่มีทรัพย์หรือมีน้อย-แต่มีเวลา ก็เอาเวลานั้นมาดูแลคุณพ่อคุณแม่ เรียกว่า ลูกทั้ง ๒ คนเนี่ยนะ ต่างฝ่ายต่างเอาจุดดีของตัวเองมาส่งเสริมกันในการดูแลพ่อแม่ การดูแลพ่อแม่ก็จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อันนี้ในกรณีว่าพ่อแม่มีลูก ๒ คน หรือ ๒ คนขึ้นไป เป็นพหูพจน์เนี่ยนะ ก็ลองดูอย่างนี้ ไม่ต้องมาเกี่ยงกันว่า ใครได้บุญมากกว่าใคร? ขอให้มีเจตนาที่จะดูแลคุณพ่อคุณแม่ ให้ท่านได้รับความสะดวกสบายในชีวิต ในความเป็นอยู่ในบั้นปลายชีวิต ก็น่าจะมาในแง่นี้ดีกว่า แต่ถามว่าใครกตัญญู?.. มันก็อยู่ที่ “เจตนา” ของแต่ละคน คนที่ดูแลใกล้ชิดหน่อย ถ้าเจตนาดีเขาก็ได้บุญเยอะหน่อย – นี้ความเห็นส่วนตัว เพราะว่า วัดเอาความง่ายความยากในการกระทำ.. คนจ่ายเงินมันง่าย นึกออกไหม? โอนเงิน ปึ๊ง.. เสร็จ!.. ง่าย! แต่คนดูแลนั่นก็อยู่ทั้งวันทั้งคืน หรืออย่างน้อย ๆ ก็อยู่หลายชั่วโมง ความลำบากในการเฝ้าดูแล โดยเฉพาะถ้าคุณพ่อคุณแม่ป่วยติดเตียง หรือไม่ถึงกับติดเตียง แต่ก็ต้องเอาใจใส่อยู่ตลอดเวลา มีความต้องการโน่นต้องการนี่.. เรียกใช้ อย่างนี้นะ ลูกก็ต้องไปทำ บางคนต้องปั่นอาหาร ให้อาหารทางสายยาง ต้องคอยดูแลเปลี่ยนผ้าปูที่นอน ต้องคอยเช็คอุจจาระปัสสาวะ ประมาณอย่างนี้ งานหนัก ๆ ต้องลงแรง เป็นงานหนัก.. การทำอย่างนี้ ถ้าทำด้วยใจที่ต้องการที่จะทดแทนบุญคุณด้วยความกตัญญูกตเวที อย่างนี้นะ ‘ย่อมได้บุญมากกว่า!’ คล้าย ๆ กับว่า ลงมือทำ แล้วมีความเพียร ในระหว่างนั้นก็มีความอดทน คุณธรรมต่าง ๆ มันเพิ่มพูนในระหว่างที่ดูแลพ่อแม่ มากกว่ากดเงินโอน..ปึ๊ง! เสร็จ!.. หมดภาระ! ไม่ใช่อย่างนั้น ใช่ไหม? ก็เป็นอันว่าถ้าเทียบกันแล้ว ถ้าจะบังคับให้เทียบกันจริง ๆ นะ “คนที่ลงแรงก็น่าจะ ‘มีโอกาส’ ได้บุญมากกว่า” คำว่า “มีโอกาส” หมายความว่า มันอาจจะมีจุดพลาดเหมือนกัน จุดพลาดมาจากอะไร? ก็คืออยู่ด้วยกันเนี่ย งานมันเยอะนะ.. พองานมันเยอะ บางทีก็อาจจะมีขัดเคืองขัดใจกันระหว่างผู้ดูแลกับผู้ถูกดูแล ระหว่างลูกกับแม่กับพ่อเนี่ยล่ะ บางทีก็อาจจะหงุดหงิด “ทำไมไม่ยอมฟังเลย!” หรือว่า “หมอห้ามอย่างนี้ ยังมากินอีก!” ดุพ่อดุแม่เข้าไปอย่างนี้นะ หรือว่าบางทีก็เหนื่อย! เหนื่อย..บางทีก็ออกแรงแบบกระแทกกระทั้น มันก็มีโอกาสเป็นได้ บางทีก็ด้วยความที่มันอ่อนเพลียทางด้านร่างกาย แล้วก็เหนื่อย ก็พลอยทำให้จิตใจ ‘ขาดสติยับยั้ง’ ก็เป็นไปได้! เพราะฉะนั้น มันก็มีโอกาสทั้งในแง่ดี และในแง่ที่ต้องระมัดระวัง ในกรณีที่ลูกที่มีเวลาและให้เวลาในการดูแลพ่อแม่ จะว่าทรัพย์มากหรือทรัพย์น้อยก็แล้วแต่นะ แต่มีเวลาอยู่กับพ่อแม่ มีเรื่องที่ต้องระวังตรงนี้! ซึ่งปกติมาก เป็นเรื่องปกติมาก เพราะว่าบางทีมันเหนื่อย อันนี้ควรให้อภัย แต่อย่างน้อย ๆ ฝ่ายลูกก็ต้องระวังใจตัวเองว่า จะเหนื่อยขนาดไหน ถ้าพลาดอะไรไป :- - พลาดในแง่ของการกระทำทางกาย บางครั้งอาจจะรุนแรง - หรือทางใจด้วยความที่มีโทสะ - หรือทางวาจาพูดอะไรที่มันกระทบกระเทือนจิตใจของคุณพ่อคุณแม่ ไม่ว่าพลาดทางใดทางหนึ่ง หรือทั้งสามทาง ให้รีบรู้ตัวให้ทันเร็ว ๆ แล้วถ้ามีโอกาสให้รีบขอขมา!! ในการดูแลนั้นเป็นการแสดงกตัญญูกตเวที ส่วนความผิดพลาดนั้น อีกเรื่องหนึ่ง..คนละเรื่องกัน ความผิดพลาดเป็นความผิดพลาดของเรา เราก็ควรจะแสดงออกถึงความสำนึกผิด ในสิ่งที่เราได้คิด ได้พูด ได้ทำลงไป คล้าย ๆ กับว่า ถ้าคุณความดีในการดูแลก็ทำไปเรื่อย ๆ เป็นเรื่องดี ทีนี้โทษของการที่เผลอพลาด พูดไม่ดี ทำไม่ดี มันอาจจะมีบ้าง ก็เรียกว่า ต้องเคลียร์ (clear หมายถึง เปิดเผย และทำให้ไร้มลทิน) กันหน่อย เคลียร์ (clear) ในสิ่งที่ตัวเองทำผิดพลาดไป วิธีเคลียร์ (clear) ก็คือ ไปขอขมาซะ ไม่มีอะไรมาก พ่อแม่เนี่ยปรารถนาดีกับลูกอยู่แล้ว อย่าเก็บให้ค้างคาใจ! ทีนี้ในฝ่ายลูกที่ไม่มีเวลา.. แต่มีทรัพย์ บางทีอาจจะมาเยี่ยมเยียน หรืออาจจะโทรคุยกัน เวลาจะเสนอแนะอะไรเนี่ยให้คำนึงถึงคนที่เขาอยู่ดูแลพ่อแม่ด้วย..ว่าเขาลำบากนะ ไม่ใช่เอาแต่เสนอ หรือเอาแต่ตำหนิ “ทำไมไม่ทำอย่างนั้นล่ะ?” “ทำไมทำอย่างนั้น?” “ไม่ทำอย่างนี้ล่ะ?” อย่างนี้นะ บางทีที่เสนอไปเนี่ย มันเป็นข้อเสนอแบบ.. คิดเอาหรู ๆ แต่ในความเป็นจริงมันทำยาก หรือพูดแนวเชิงตำหนิติเตียน บางทีมันทำให้คนที่ดูแลเนี่ยท้อใจ ควรที่จะคอยให้กำลังใจ ควรสำนึกอยู่เสมอว่า.. “คนที่อยู่ดูแลพ่อแม่แทนเรา ในขณะที่เราไม่มีเวลาเนี่ยนะ เขามีพระคุณ.. เขาเป็นตัวแทนของลูกทั้งหลาย ที่ทำให้ลูกทั้งหลายรู้สึกว่า ‘ลูกไม่อกตัญญู’ ถ้าเราไม่มีคนนี้คอยดูแล เราจะต้องลางาน หรือต้องเปลี่ยนงาน มาดูแล” นึกออกไหม? เพราะฉะนั้น เวลาให้ความเห็นอะไรประมาณว่า มันไม่เพอร์เฟค (perfect แปลว่า สมบูรณ์แบบ) ตามที่เราคิด อะไรอย่างนี้นะ อย่าไปเอาอำนาจเงินที่ฉันทุ่มให้ มาแสดงความเป็นใหญ่ในการแสดงความคิดเห็น คล้าย ๆ มันเป็นการทำร้ายจิตใจกัน ทางที่ดีคือ ร่วมมือกัน ประสานกัน เริ่มจาก “ขอบคุณ” ..ขอบคุณคนที่อยู่ดูแล และให้กำลังใจ บางทีอาจจะต้องมีการผลัดเวรกันด้วยซ้ำไป เสาร์อาทิตย์เราว่าง ไปผลัดเวรดูแลพ่อแม่บ้าง จะได้รู้ว่า คนที่เขาอยู่เนี่ยเหนื่อยแค่ไหน? มันไม่ใช่ง่ายนะ ในการดูแลคนป่วย-คนแก่ อันนี้ประสบการณ์เลยนะ อาตมาเนี่ยดูแลโยมพ่อโยมแม่นะ ทั้งที่เป็นพระนี่แหละ แต่ไม่มีปัญหา เพราะอาตมาเป็นฝ่ายมีเวลา โยมพี่มีเงิน.. ก็ธรรมดานะเพราะเป็นฆราวาสก็ควรมีเงิน และโยมพี่เขาก็รู้ด้วยนะพระเนี่ยนะคงไม่มีเวลาตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืนที่จะมาดูแลโยมพ่อโยมแม่หรอก (เพราะตอนนั้นก็ช่วยงานเผยแผ่ธรรมะกับครูบาอาจารย์ด้วย) ก็จ้างพี่เลี้ยงมาช่วยดูแล ผ่อนเบาภาระในการดูแลของอาตมา เวลาโยมพี่มาเยี่ยม ก็บรรยากาศก็ไม่เครียดอะไร เราก็ไม่เครียดอะไร เพราะเข้าใจกัน รู้หน้าที่กัน สนับสนุนกัน ส่งเสริมกัน เรามีเวลา เขามีเงิน อย่างนี้นะ ก็เรียกว่าเอาข้อดีของแต่ละคนมาสนับสนุนในการดูแลโยมพ่อโยมแม่ ก็เป็นอันว่าการดูแลไม่มีปัญหาอะไร แล้วก็มีความเข้าใจกัน ต่างฝ่ายต่างชื่นชมกัน เพราะฉะนั้นคำถามแบบนี้ ถ้าเป็นคำถามจากลูก ให้ลูกทั้งสองฝ่ายคิดในแง่ว่า.. ‘เราควรจะนำเอาข้อดีของแต่ละคนมาช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน’ ทีนี้ขอฝากอีกเรื่องหนึ่ง คือ ในฝ่ายพ่อแม่ที่ถูกดูแล พ่อแม่ที่ถูกดูแลเนี่ย ต้องให้ความยุติธรรม ไม่เอนเอียง ระหว่างลูกที่ดูแล กับ ลูกที่ส่งเงินมา ถ้าเราเป็นพ่อเป็นแม่เนี่ย เราจะปลื้มใครมากกว่ากัน? ลองคิดดูนะ เราป่วยอยู่นะ ลูกที่ดูแลเราอยู่ กับลูกที่ส่งเงินมา ลูกที่ส่งเงินมา นาน ๆ ก็มาเยี่ยมทีหนึ่ง มาเยี่ยมทีก็เอาเงินมาให้ มาหอมแก้ม ฟุดฟาด ๆ แล้วก็กลับไป เอาหลานมาเยี่ยมหน่อย หอมแก้ม ฟุดฟาด ๆ แล้วกลับไป เราปลื้มใครมากกว่ากัน? หันมาดูไอ้ลูกที่ดูแล.. ‘ไอ้เนี่ยนะ เราสั่งอะไรนะ มันก็ไม่ยอมทำตามเลย เพราะมันจะเอาตามหมอ’ อันนี้เป็นเรื่องสมมตินะ ในฐานะพ่อแม่ ลูกที่อยู่ดูแลมันไม่ได้ดังใจ เราก็หงุดหงิดไอ้คนที่อยู่ใกล้ ๆ แล้วก็คอยปลื้มไอ้คนที่นาน ๆ มาเยี่ยมที ยังไม่ทันได้ขัดใจอะไร มันก็กลับไปแล้ว อย่างนี้นะ พ่อแม่อาจจะเป็นเหตุหนึ่งทำให้คนที่อยู่ใกล้เนี่ยหมดกำลังใจได้ จริง ๆ แล้วพ่อแม่ควรจะให้ความยุติธรรมสักหน่อย เพราะมีโอกาสเป็นอย่างมาก อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่า ‘ลูกที่ดูแลเนี่ย..จะเหนื่อย’ การเหนื่อย และการที่อยู่ด้วยกันตลอดเวลา หรือหลาย ๆ ชั่วโมงในหนึ่งวันเนี่ยนะ การกระทบกระทั่งกันก็เป็นไปได้ที่จะมี พ่อแม่ควรที่จะให้อภัยกับลูกที่ดูแล และควรจะเห็นอกเห็นใจว่าเขาเหนื่อย ในการที่ว่าต้องนอนเฝ้า ต้องคอยลุกแต่เช้า ตื่นก่อน-นอนทีหลัง ต้องคอยพลิกตัวทุก ๒ ชั่วโมง สำหรับคนที่ติดเตียง อย่างนี้เป็นต้น ต้องคอยทำอาหารด้วย ซักผ้าด้วย นี่เฉพาะดูแลแม่หรือดูแลพ่อนะ งานบ้านยังมีอีก มันก็เป็นเรื่องหนักหนาสาหัสอยู่สำหรับลูกที่จะมาดูแลเรา ถ้าเขาทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง เขาเผลอหงุดหงิดบ้าง ก็ให้อภัยเขา อย่าเก็บมาเป็นเรื่องเคืองแค้นใจ แล้วไปพลอยปลื้มแต่คนที่นาน ๆ มาที ซึ่งเขาไม่ค่อยได้ออกแรง อันนี้ในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ ควรจะดำรงความเป็นผู้ใหญ่ด้วยการที่มีพรหมวิหาร “พรหมวิหารธรรม” มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา - เมตตาลูกเท่า ๆ กัน ปรารถนาดีด้วยความเท่าเทียม - มีความกรุณาลูกที่กำลังเหน็ดเหนื่อยในการดูแลเรา เข้าใจในทุกข์หรือภาระที่เขาประสบอยู่ มีกรุณากับเขา - มีมุทิตา กล่าวชื่นชมในความใส่ใจ ให้กำลังใจบ้าง แม้คำว่า “ขอบใจ” เพียงคำเดียวก็ช่วยได้มาก - วางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง และทำตนเป็นคนไข้ที่ดูแลง่าย เป็นคนไข้ที่ไม่เรียกร้องอะไรมาก.. เมื่อเห็นลูก ก็คิดประมาณว่า .. ‘ประเสริฐเหลือเกิน เพราะเราเลี้ยงลูกมาดี ลูกจึงไม่หนีเราไปไหน ยังดูแลเราอยู่’ ‘ขอบคุณที่อยู่ในโอวาท’ ‘ขอบคุณพระพุทธเจ้าที่สั่งสอนพระธรรมมา แล้วเราได้เรียนรู้ แล้วก็สั่งสอนลูกต่อ แล้วลูกเราก็รับเอาพระธรรมนั้นเอามาปฏิบัติ เป็นผู้กตัญญูกตเวที’ อย่างนี้ดีมาก!! ขอบคุณทุก ๆ คน ขอบคุณลูก ๆ ทุก ๆ คน ไม่ใช่ไปเกรี้ยวกราดใส่กับคนที่ทำอะไรไม่ดีในความรู้สึกของเรา มีแม่บางคนเกรี้ยวกราด ยังไม่ป่วยหนัก ลูกก็หนีแล้ว ยังไม่มีงานดูแลอะไรหนักเลยนะ แต่ว่าคอยเกรี้ยวกราด อะไรไม่พอใจก็เกรี้ยวกราด ลูกอยู่ไม่ไหว.. ก็หนี ลูกหนีไปเนี่ยนะ เพื่อนบ้านก็มาเยี่ยม.. ก็ด่าลูกให้เพื่อนบ้านฟัง! เพื่อนบ้านมาเยี่ยมทีเดียว ไม่มาเยี่ยมอีกเลย ญาติมาเยี่ยม ก็ด่าลูกให้ญาติฟัง ญาติมาเยี่ยมทีเดียว ก็ไม่เยี่ยมอีกเลย.. งงไหม? ไม่งงนะ! คือมีแต่โทสะ แล้วแสดงออกด้วยความเกรี้ยวกราด ด่าคนอื่นให้คนมาเยี่ยมเยียนฟังเนี่ยนะ คนฟังเขาก็รู้สึกไม่สบายใจ เพราะฉะนั้นยิ่งด่าลูกให้คนอื่นฟัง คนที่มาเยี่ยมยิ่งลำบากใจที่จะอยู่นั่งฟังคนนี้ด่าลูกให้ตัวเองรับรู้ ปัญหาอยู่ที่มีโทสะ แล้วไม่รู้ทันโทสะในใจนั่นเอง แต่ถ้าคนแก่ระดับเดียวกัน ป่วยระดับเดียวกัน แต่คนนี้ขอบคุณทุกคนที่มาช่วยอำนวยความสะดวก ที่มาช่วยดูแล หรือแม้แต่มาเยี่ยมเยียน .. มีอยู่คนหนึ่งนะบอกว่า ลูกสาวขออนุญาตสามีมาดูแลตัวเอง เขาฝากขอบคุณลูกเขยว่า “ขอบคุณมาก ที่อุตส่าห์สละภรรยามาให้เรา” ทั้ง ๆ ภรรยา คือลูกสาวตัวเองนะ บอกว่า “จริง ๆ แล้ว เขามีครอบครัวของเขาแล้ว เขาก็มีภาระในครอบครัวของเขา” นี่แม่พูดอย่างนี้นะ “ลูกสาวเราก็มีภาระในครอบครัวของเขา สามีเขาอุตส่าห์เสียสละภรรยามาดูแลเรา” ขอบคุณไปถึงสามีซึ่งเป็นลูกเขยตัวเอง คิดดูสิ! อย่างนี้ใครจะไม่อยากดูแล? ใครจะไม่อยากเยี่ยมเยียน? ใครจะไม่อยากมาปรนนิบัติสนับสนุน? รู้สึกเป็นบุญเหลือเกินที่ได้มาเป็นลูกของคน ๆ นี้ เป็นบุญเหลือเกินที่ได้มาดูแลคนดี ๆ แบบนี้ คนมาเยี่ยมได้ยินคำพูดอย่างนี้ก็พลอยปลื้มใจไปด้วย ก็ขอฝากไว้ สำหรับทั้งลูกสองฝ่ายที่ดูแลอยู่ กับลูกที่สนับสนุนด้านการเงิน ไม่ต้องมาแข่งบุญกัน แต่ให้มาสนับสนุนซึ่งกันและกัน - ในฝ่ายลูกที่มีเงินสนับสนุน ก็ให้เห็นอกเห็นใจคนที่เหนื่อยยากในการดูแล เพราะมันเป็นงานยาก งานลำบาก - ฝ่ายลูกที่อยู่ดูแล ก็ให้ระวังว่า มันอาจจะมีบ้างที่มีการกระทบกระทั่งกันกับพ่อแม่ มันอาจจะมีบ้างที่เราจะเหนื่อย แล้วก็สติหลุด ทำอะไรรุนแรงเกินไป หรือพูดอะไรรุนแรงเกินไป ให้รับขอขมา ให้รีบขอโทษ - ฝ่ายคุณพ่อคุณแม่ ผู้เป็นผู้ใหญ่ ควรมีธรรมให้สมผู้ใหญ่ คือ “พรหมวิหารธรรม” มีเมตตา มีกรุณา มีมุทิตา มีอุเบกขา มีความเที่ยงธรรม ยุติธรรม ละอคติทั้งหลาย อคติในแง่ของพอใจ คือ ‘ฉันทาคติ’ อคติในความไม่พอใจ เป็น ‘โทสาคติ’ อคติในความเขลาเกินไป ก็กลายเป็น ‘โมหาคติ’ อคติในแง่ของความกลัว คือ ‘ภยาคติ’ เราเป็นผู้ใหญ่แล้ว ต้องไม่มีอคติเหล่านี้ รักลูกด้วยความเข้าใจ ขอบใจลูกที่สนับสนุนการเงิน เสียสละทรัพย์มาดูแล เห็นอกเห็นใจลูกที่อยู่ดูแล ขอบใจที่เสียสละเวลา รวมทั้งแรงกายแรงใจ ประมาณอย่างนี้ แล้วคนดูแลก็มีกำลังใจ แล้วก็รู้สึกได้บุญทุกครั้งที่ได้ดูแล ลูกที่สนับสนุนทรัพย์ก็มีกำลังใจทำงานหาเงิน เห็นอกเห็นใจกันและกัน ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่กันอย่าง “รู้-รัก-สามัคคี” ก็ขอฝากไว้ทั้ง ๓ ฝ่าย ทั้งลูกที่มีเงิน กับลูกมีเวลา และพ่อแม่ที่กำลังให้โอกาสลูกในการที่จะแสดงความกตัญญูกตเวที พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=IFnq-Ew7VVU (นาทีที่ 1.00-20.28)

#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ดูแลบุพการี #ถาม : กราบรบกวนเรียนถามเรื่องการดูแลบุพการี ระหว่าง “บุตรที่มีทรัพย์-แต่ไม่มีเวลา” คือ ไม่มีเวลาดูแลบุพการี แต่มีทรัพย์ กับ “บุตรที่ไม่ค่อยมีทรัพย์-แต่มีเวลา” ก็คือ ได้ดูแลบุพการีด้วยการให้เวลาดูแล แต่ทรัพย์ไม่มาก สงสัยว่าบุตรคนไหนเป็น “บุตรกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี” และมากน้อยแค่ไหน? #ตอบ : ทันทีที่ได้เห็นคำถามนี้นะ มีความคิดแว๊บขึ้นมาว่า ‘คนถามเนี่ย.. เป็นคนไหน?’ คือจริง ๆ แล้วที่ดีที่สุดนะ ลูกทั้ง ๒ คนควรจะร่วมมือกัน และไม่ต้องมาแก่งแย่งว่าใครจะดีกว่าใคร? ใครจะเด่นกว่าใคร? เรามีทรัพย์-ไม่มีเวลา ก็สนับสนุนทรัพย์ เราไม่มีทรัพย์หรือมีน้อย-แต่มีเวลา ก็เอาเวลานั้นมาดูแลคุณพ่อคุณแม่ เรียกว่า ลูกทั้ง ๒ คนเนี่ยนะ ต่างฝ่ายต่างเอาจุดดีของตัวเองมาส่งเสริมกันในการดูแลพ่อแม่ การดูแลพ่อแม่ก็จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อันนี้ในกรณีว่าพ่อแม่มีลูก ๒ คน หรือ ๒ คนขึ้นไป เป็นพหูพจน์เนี่ยนะ ก็ลองดูอย่างนี้ ไม่ต้องมาเกี่ยงกันว่า ใครได้บุญมากกว่าใคร? ขอให้มีเจตนาที่จะดูแลคุณพ่อคุณแม่ ให้ท่านได้รับความสะดวกสบายในชีวิต ในความเป็นอยู่ในบั้นปลายชีวิต ก็น่าจะมาในแง่นี้ดีกว่า แต่ถามว่าใครกตัญญู?.. มันก็อยู่ที่ “เจตนา” ของแต่ละคน คนที่ดูแลใกล้ชิดหน่อย ถ้าเจตนาดีเขาก็ได้บุญเยอะหน่อย – นี้ความเห็นส่วนตัว เพราะว่า วัดเอาความง่ายความยากในการกระทำ.. คนจ่ายเงินมันง่าย นึกออกไหม? โอนเงิน ปึ๊ง.. เสร็จ!.. ง่าย! แต่คนดูแลนั่นก็อยู่ทั้งวันทั้งคืน หรืออย่างน้อย ๆ ก็อยู่หลายชั่วโมง ความลำบากในการเฝ้าดูแล โดยเฉพาะถ้าคุณพ่อคุณแม่ป่วยติดเตียง หรือไม่ถึงกับติดเตียง แต่ก็ต้องเอาใจใส่อยู่ตลอดเวลา มีความต้องการโน่นต้องการนี่.. เรียกใช้ อย่างนี้นะ ลูกก็ต้องไปทำ บางคนต้องปั่นอาหาร ให้อาหารทางสายยาง ต้องคอยดูแลเปลี่ยนผ้าปูที่นอน ต้องคอยเช็คอุจจาระปัสสาวะ ประมาณอย่างนี้ งานหนัก ๆ ต้องลงแรง เป็นงานหนัก.. การทำอย่างนี้ ถ้าทำด้วยใจที่ต้องการที่จะทดแทนบุญคุณด้วยความกตัญญูกตเวที อย่างนี้นะ ‘ย่อมได้บุญมากกว่า!’ คล้าย ๆ กับว่า ลงมือทำ แล้วมีความเพียร ในระหว่างนั้นก็มีความอดทน คุณธรรมต่าง ๆ มันเพิ่มพูนในระหว่างที่ดูแลพ่อแม่ มากกว่ากดเงินโอน..ปึ๊ง! เสร็จ!.. หมดภาระ! ไม่ใช่อย่างนั้น ใช่ไหม? ก็เป็นอันว่าถ้าเทียบกันแล้ว ถ้าจะบังคับให้เทียบกันจริง ๆ นะ “คนที่ลงแรงก็น่าจะ ‘มีโอกาส’ ได้บุญมากกว่า” คำว่า “มีโอกาส” หมายความว่า มันอาจจะมีจุดพลาดเหมือนกัน จุดพลาดมาจากอะไร? ก็คืออยู่ด้วยกันเนี่ย งานมันเยอะนะ.. พองานมันเยอะ บางทีก็อาจจะมีขัดเคืองขัดใจกันระหว่างผู้ดูแลกับผู้ถูกดูแล ระหว่างลูกกับแม่กับพ่อเนี่ยล่ะ บางทีก็อาจจะหงุดหงิด “ทำไมไม่ยอมฟังเลย!” หรือว่า “หมอห้ามอย่างนี้ ยังมากินอีก!” ดุพ่อดุแม่เข้าไปอย่างนี้นะ หรือว่าบางทีก็เหนื่อย! เหนื่อย..บางทีก็ออกแรงแบบกระแทกกระทั้น มันก็มีโอกาสเป็นได้ บางทีก็ด้วยความที่มันอ่อนเพลียทางด้านร่างกาย แล้วก็เหนื่อย ก็พลอยทำให้จิตใจ ‘ขาดสติยับยั้ง’ ก็เป็นไปได้! เพราะฉะนั้น มันก็มีโอกาสทั้งในแง่ดี และในแง่ที่ต้องระมัดระวัง ในกรณีที่ลูกที่มีเวลาและให้เวลาในการดูแลพ่อแม่ จะว่าทรัพย์มากหรือทรัพย์น้อยก็แล้วแต่นะ แต่มีเวลาอยู่กับพ่อแม่ มีเรื่องที่ต้องระวังตรงนี้! ซึ่งปกติมาก เป็นเรื่องปกติมาก เพราะว่าบางทีมันเหนื่อย อันนี้ควรให้อภัย แต่อย่างน้อย ๆ ฝ่ายลูกก็ต้องระวังใจตัวเองว่า จะเหนื่อยขนาดไหน ถ้าพลาดอะไรไป :- – พลาดในแง่ของการกระทำทางกาย บางครั้งอาจจะรุนแรง – หรือทางใจด้วยความที่มีโทสะ – หรือทางวาจาพูดอะไรที่มันกระทบกระเทือนจิตใจของคุณพ่อคุณแม่ ไม่ว่าพลาดทางใดทางหนึ่ง หรือทั้งสามทาง ให้รีบรู้ตัวให้ทันเร็ว ๆ แล้วถ้ามีโอกาสให้รีบขอขมา!! ในการดูแลนั้นเป็นการแสดงกตัญญูกตเวที ส่วนความผิดพลาดนั้น อีกเรื่องหนึ่ง..คนละเรื่องกัน ความผิดพลาดเป็นความผิดพลาดของเรา เราก็ควรจะแสดงออกถึงความสำนึกผิด ในสิ่งที่เราได้คิด ได้พูด ได้ทำลงไป คล้าย ๆ กับว่า ถ้าคุณความดีในการดูแลก็ทำไปเรื่อย ๆ เป็นเรื่องดี ทีนี้โทษของการที่เผลอพลาด พูดไม่ดี ทำไม่ดี มันอาจจะมีบ้าง ก็เรียกว่า ต้องเคลียร์ (clear หมายถึง เปิดเผย และทำให้ไร้มลทิน) กันหน่อย เคลียร์ (clear) ในสิ่งที่ตัวเองทำผิดพลาดไป วิธีเคลียร์ (clear) ก็คือ ไปขอขมาซะ ไม่มีอะไรมาก พ่อแม่เนี่ยปรารถนาดีกับลูกอยู่แล้ว อย่าเก็บให้ค้างคาใจ! ทีนี้ในฝ่ายลูกที่ไม่มีเวลา.. แต่มีทรัพย์ บางทีอาจจะมาเยี่ยมเยียน หรืออาจจะโทรคุยกัน เวลาจะเสนอแนะอะไรเนี่ยให้คำนึงถึงคนที่เขาอยู่ดูแลพ่อแม่ด้วย..ว่าเขาลำบากนะ ไม่ใช่เอาแต่เสนอ หรือเอาแต่ตำหนิ “ทำไมไม่ทำอย่างนั้นล่ะ?” “ทำไมทำอย่างนั้น?” “ไม่ทำอย่างนี้ล่ะ?” อย่างนี้นะ บางทีที่เสนอไปเนี่ย มันเป็นข้อเสนอแบบ.. คิดเอาหรู ๆ แต่ในความเป็นจริงมันทำยาก หรือพูดแนวเชิงตำหนิติเตียน บางทีมันทำให้คนที่ดูแลเนี่ยท้อใจ ควรที่จะคอยให้กำลังใจ ควรสำนึกอยู่เสมอว่า.. “คนที่อยู่ดูแลพ่อแม่แทนเรา ในขณะที่เราไม่มีเวลาเนี่ยนะ เขามีพระคุณ.. เขาเป็นตัวแทนของลูกทั้งหลาย ที่ทำให้ลูกทั้งหลายรู้สึกว่า ‘ลูกไม่อกตัญญู’ ถ้าเราไม่มีคนนี้คอยดูแล เราจะต้องลางาน หรือต้องเปลี่ยนงาน มาดูแล” นึกออกไหม? เพราะฉะนั้น เวลาให้ความเห็นอะไรประมาณว่า มันไม่เพอร์เฟค (perfect แปลว่า สมบูรณ์แบบ) ตามที่เราคิด อะไรอย่างนี้นะ อย่าไปเอาอำนาจเงินที่ฉันทุ่มให้ มาแสดงความเป็นใหญ่ในการแสดงความคิดเห็น คล้าย ๆ มันเป็นการทำร้ายจิตใจกัน ทางที่ดีคือ ร่วมมือกัน ประสานกัน เริ่มจาก “ขอบคุณ” ..ขอบคุณคนที่อยู่ดูแล และให้กำลังใจ บางทีอาจจะต้องมีการผลัดเวรกันด้วยซ้ำไป เสาร์อาทิตย์เราว่าง ไปผลัดเวรดูแลพ่อแม่บ้าง จะได้รู้ว่า คนที่เขาอยู่เนี่ยเหนื่อยแค่ไหน? มันไม่ใช่ง่ายนะ ในการดูแลคนป่วย-คนแก่ อันนี้ประสบการณ์เลยนะ อาตมาเนี่ยดูแลโยมพ่อโยมแม่นะ ทั้งที่เป็นพระนี่แหละ แต่ไม่มีปัญหา เพราะอาตมาเป็นฝ่ายมีเวลา โยมพี่มีเงิน.. ก็ธรรมดานะเพราะเป็นฆราวาสก็ควรมีเงิน และโยมพี่เขาก็รู้ด้วยนะพระเนี่ยนะคงไม่มีเวลาตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืนที่จะมาดูแลโยมพ่อโยมแม่หรอก (เพราะตอนนั้นก็ช่วยงานเผยแผ่ธรรมะกับครูบาอาจารย์ด้วย) ก็จ้างพี่เลี้ยงมาช่วยดูแล ผ่อนเบาภาระในการดูแลของอาตมา เวลาโยมพี่มาเยี่ยม ก็บรรยากาศก็ไม่เครียดอะไร เราก็ไม่เครียดอะไร เพราะเข้าใจกัน รู้หน้าที่กัน สนับสนุนกัน ส่งเสริมกัน เรามีเวลา เขามีเงิน อย่างนี้นะ ก็เรียกว่าเอาข้อดีของแต่ละคนมาสนับสนุนในการดูแลโยมพ่อโยมแม่ ก็เป็นอันว่าการดูแลไม่มีปัญหาอะไร แล้วก็มีความเข้าใจกัน ต่างฝ่ายต่างชื่นชมกัน เพราะฉะนั้นคำถามแบบนี้ ถ้าเป็นคำถามจากลูก ให้ลูกทั้งสองฝ่ายคิดในแง่ว่า.. ‘เราควรจะนำเอาข้อดีของแต่ละคนมาช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน’ ทีนี้ขอฝากอีกเรื่องหนึ่ง คือ ในฝ่ายพ่อแม่ที่ถูกดูแล พ่อแม่ที่ถูกดูแลเนี่ย ต้องให้ความยุติธรรม ไม่เอนเอียง ระหว่างลูกที่ดูแล กับ ลูกที่ส่งเงินมา ถ้าเราเป็นพ่อเป็นแม่เนี่ย เราจะปลื้มใครมากกว่ากัน? ลองคิดดูนะ เราป่วยอยู่นะ ลูกที่ดูแลเราอยู่ กับลูกที่ส่งเงินมา ลูกที่ส่งเงินมา นาน ๆ ก็มาเยี่ยมทีหนึ่ง มาเยี่ยมทีก็เอาเงินมาให้ มาหอมแก้ม ฟุดฟาด ๆ แล้วก็กลับไป เอาหลานมาเยี่ยมหน่อย หอมแก้ม ฟุดฟาด ๆ แล้วกลับไป เราปลื้มใครมากกว่ากัน? หันมาดูไอ้ลูกที่ดูแล.. ‘ไอ้เนี่ยนะ เราสั่งอะไรนะ มันก็ไม่ยอมทำตามเลย เพราะมันจะเอาตามหมอ’ อันนี้เป็นเรื่องสมมตินะ ในฐานะพ่อแม่ ลูกที่อยู่ดูแลมันไม่ได้ดังใจ เราก็หงุดหงิดไอ้คนที่อยู่ใกล้ ๆ แล้วก็คอยปลื้มไอ้คนที่นาน ๆ มาเยี่ยมที ยังไม่ทันได้ขัดใจอะไร มันก็กลับไปแล้ว อย่างนี้นะ พ่อแม่อาจจะเป็นเหตุหนึ่งทำให้คนที่อยู่ใกล้เนี่ยหมดกำลังใจได้ จริง ๆ แล้วพ่อแม่ควรจะให้ความยุติธรรมสักหน่อย เพราะมีโอกาสเป็นอย่างมาก อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่า ‘ลูกที่ดูแลเนี่ย..จะเหนื่อย’ การเหนื่อย และการที่อยู่ด้วยกันตลอดเวลา หรือหลาย ๆ ชั่วโมงในหนึ่งวันเนี่ยนะ การกระทบกระทั่งกันก็เป็นไปได้ที่จะมี พ่อแม่ควรที่จะให้อภัยกับลูกที่ดูแล และควรจะเห็นอกเห็นใจว่าเขาเหนื่อย ในการที่ว่าต้องนอนเฝ้า ต้องคอยลุกแต่เช้า ตื่นก่อน-นอนทีหลัง ต้องคอยพลิกตัวทุก ๒ ชั่วโมง สำหรับคนที่ติดเตียง อย่างนี้เป็นต้น ต้องคอยทำอาหารด้วย ซักผ้าด้วย นี่เฉพาะดูแลแม่หรือดูแลพ่อนะ งานบ้านยังมีอีก มันก็เป็นเรื่องหนักหนาสาหัสอยู่สำหรับลูกที่จะมาดูแลเรา ถ้าเขาทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง เขาเผลอหงุดหงิดบ้าง ก็ให้อภัยเขา อย่าเก็บมาเป็นเรื่องเคืองแค้นใจ แล้วไปพลอยปลื้มแต่คนที่นาน ๆ มาที ซึ่งเขาไม่ค่อยได้ออกแรง อันนี้ในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ ควรจะดำรงความเป็นผู้ใหญ่ด้วยการที่มีพรหมวิหาร “พรหมวิหารธรรม” มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา – เมตตาลูกเท่า ๆ กัน ปรารถนาดีด้วยความเท่าเทียม – มีความกรุณาลูกที่กำลังเหน็ดเหนื่อยในการดูแลเรา เข้าใจในทุกข์หรือภาระที่เขาประสบอยู่ มีกรุณากับเขา – มีมุทิตา กล่าวชื่นชมในความใส่ใจ ให้กำลังใจบ้าง แม้คำว่า “ขอบใจ” เพียงคำเดียวก็ช่วยได้มาก – วางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง และทำตนเป็นคนไข้ที่ดูแลง่าย เป็นคนไข้ที่ไม่เรียกร้องอะไรมาก.. เมื่อเห็นลูก ก็คิดประมาณว่า .. ‘ประเสริฐเหลือเกิน เพราะเราเลี้ยงลูกมาดี ลูกจึงไม่หนีเราไปไหน ยังดูแลเราอยู่’ ‘ขอบคุณที่อยู่ในโอวาท’ ‘ขอบคุณพระพุทธเจ้าที่สั่งสอนพระธรรมมา แล้วเราได้เรียนรู้ แล้วก็สั่งสอนลูกต่อ แล้วลูกเราก็รับเอาพระธรรมนั้นเอามาปฏิบัติ เป็นผู้กตัญญูกตเวที’ อย่างนี้ดีมาก!! ขอบคุณทุก ๆ คน ขอบคุณลูก ๆ ทุก ๆ คน ไม่ใช่ไปเกรี้ยวกราดใส่กับคนที่ทำอะไรไม่ดีในความรู้สึกของเรา มีแม่บางคนเกรี้ยวกราด ยังไม่ป่วยหนัก ลูกก็หนีแล้ว ยังไม่มีงานดูแลอะไรหนักเลยนะ แต่ว่าคอยเกรี้ยวกราด อะไรไม่พอใจก็เกรี้ยวกราด ลูกอยู่ไม่ไหว.. ก็หนี ลูกหนีไปเนี่ยนะ เพื่อนบ้านก็มาเยี่ยม.. ก็ด่าลูกให้เพื่อนบ้านฟัง! เพื่อนบ้านมาเยี่ยมทีเดียว ไม่มาเยี่ยมอีกเลย ญาติมาเยี่ยม ก็ด่าลูกให้ญาติฟัง ญาติมาเยี่ยมทีเดียว ก็ไม่เยี่ยมอีกเลย.. งงไหม? ไม่งงนะ! คือมีแต่โทสะ แล้วแสดงออกด้วยความเกรี้ยวกราด ด่าคนอื่นให้คนมาเยี่ยมเยียนฟังเนี่ยนะ คนฟังเขาก็รู้สึกไม่สบายใจ เพราะฉะนั้นยิ่งด่าลูกให้คนอื่นฟัง คนที่มาเยี่ยมยิ่งลำบากใจที่จะอยู่นั่งฟังคนนี้ด่าลูกให้ตัวเองรับรู้ ปัญหาอยู่ที่มีโทสะ แล้วไม่รู้ทันโทสะในใจนั่นเอง แต่ถ้าคนแก่ระดับเดียวกัน ป่วยระดับเดียวกัน แต่คนนี้ขอบคุณทุกคนที่มาช่วยอำนวยความสะดวก ที่มาช่วยดูแล หรือแม้แต่มาเยี่ยมเยียน .. มีอยู่คนหนึ่งนะบอกว่า ลูกสาวขออนุญาตสามีมาดูแลตัวเอง เขาฝากขอบคุณลูกเขยว่า “ขอบคุณมาก ที่อุตส่าห์สละภรรยามาให้เรา” ทั้ง ๆ ภรรยา คือลูกสาวตัวเองนะ บอกว่า “จริง ๆ แล้ว เขามีครอบครัวของเขาแล้ว เขาก็มีภาระในครอบครัวของเขา” นี่แม่พูดอย่างนี้นะ “ลูกสาวเราก็มีภาระในครอบครัวของเขา สามีเขาอุตส่าห์เสียสละภรรยามาดูแลเรา” ขอบคุณไปถึงสามีซึ่งเป็นลูกเขยตัวเอง คิดดูสิ! อย่างนี้ใครจะไม่อยากดูแล? ใครจะไม่อยากเยี่ยมเยียน? ใครจะไม่อยากมาปรนนิบัติสนับสนุน? รู้สึกเป็นบุญเหลือเกินที่ได้มาเป็นลูกของคน ๆ นี้ เป็นบุญเหลือเกินที่ได้มาดูแลคนดี ๆ แบบนี้ คนมาเยี่ยมได้ยินคำพูดอย่างนี้ก็พลอยปลื้มใจไปด้วย ก็ขอฝากไว้ สำหรับทั้งลูกสองฝ่ายที่ดูแลอยู่ กับลูกที่สนับสนุนด้านการเงิน ไม่ต้องมาแข่งบุญกัน แต่ให้มาสนับสนุนซึ่งกันและกัน – ในฝ่ายลูกที่มีเงินสนับสนุน ก็ให้เห็นอกเห็นใจคนที่เหนื่อยยากในการดูแล เพราะมันเป็นงานยาก งานลำบาก – ฝ่ายลูกที่อยู่ดูแล ก็ให้ระวังว่า มันอาจจะมีบ้างที่มีการกระทบกระทั่งกันกับพ่อแม่ มันอาจจะมีบ้างที่เราจะเหนื่อย แล้วก็สติหลุด ทำอะไรรุนแรงเกินไป หรือพูดอะไรรุนแรงเกินไป ให้รับขอขมา ให้รีบขอโทษ – ฝ่ายคุณพ่อคุณแม่ ผู้เป็นผู้ใหญ่ ควรมีธรรมให้สมผู้ใหญ่ คือ “พรหมวิหารธรรม” มีเมตตา มีกรุณา มีมุทิตา มีอุเบกขา มีความเที่ยงธรรม ยุติธรรม ละอคติทั้งหลาย อคติในแง่ของพอใจ คือ ‘ฉันทาคติ’ อคติในความไม่พอใจ เป็น ‘โทสาคติ’ อคติในความเขลาเกินไป ก็กลายเป็น ‘โมหาคติ’ อคติในแง่ของความกลัว คือ ‘ภยาคติ’ เราเป็นผู้ใหญ่แล้ว ต้องไม่มีอคติเหล่านี้ รักลูกด้วยความเข้าใจ ขอบใจลูกที่สนับสนุนการเงิน เสียสละทรัพย์มาดูแล เห็นอกเห็นใจลูกที่อยู่ดูแล ขอบใจที่เสียสละเวลา รวมทั้งแรงกายแรงใจ ประมาณอย่างนี้ แล้วคนดูแลก็มีกำลังใจ แล้วก็รู้สึกได้บุญทุกครั้งที่ได้ดูแล ลูกที่สนับสนุนทรัพย์ก็มีกำลังใจทำงานหาเงิน เห็นอกเห็นใจกันและกัน ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่กันอย่าง “รู้-รัก-สามัคคี” ก็ขอฝากไว้ทั้ง ๓ ฝ่าย ทั้งลูกที่มีเงิน กับลูกมีเวลา และพ่อแม่ที่กำลังให้โอกาสลูกในการที่จะแสดงความกตัญญูกตเวที พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=IFnq-Ew7VVU (นาทีที่ 1.00-20.28)

อ่านต่อ ...
Loading...