วัน​พุธที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒ วันพระ​ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔ ??? พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ ๒๐๑ #สีลานุสสติ…

วัน​พุธที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒
วันพระ​ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔
???
พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ ๒๐๑

#สีลานุสสติ

ศีลเนี่ย! แรกๆ ก็เป็นการระวังไม่ให้กาย วาจา ไปเบียดเบียนใคร
ระวังไประวังมา ถ้ารักษาศีลเป็น จะสามารถทำสมาธิได้ด้วย
(คือ)ทำสมถกรรมฐานได้ด้วย เรียกว่า “สีลานุสสติ”

นึกถึงศีล(ของ)ตัวเองแล้วมีความผ่องแผ้วในใจ
นึกถึงศีลแล้วสบายใจ
ที่ผิดมาก็ผิด เป็นเรื่องของอดีต
แต่ว่านับตั้งแต่คิดจะระวังรักษา(ศีล)
พอมีสิ่งยั่ว(กิเลส)มา..ไม่ทำ!

มันจะมีสิ่งยั่ว(กิเลส)นะ!
ยิ่งคิดว่าจะระวังรักษา(ศีล)เมื่อไรนะ!
มันจะเริ่มทดสอบเราทันทีเลย

จะรักษาศีลข้อนี้นะ!
มันจะมีการทดสอบว่า จริงเหรอ? อะไรประมาณนี้นะ!
จะมาทดสอบ ถ้าเราผ่านไปได้ด้วยการไม่ไปละเมิดศีลนะ
จิตใจเราจะเข้มแข็งมากขึ้น
แล้วเมื่อนึกย้อนไปถึงเหตุการณ์ที่เราผ่านมาได้เนี่ย
จะทำให้เราทำสมาธิได้ง่ายขึ้นด้วย ทำสมถะได้ง่ายขึ้น
เพราะนึกไปแล้ว มีความผ่องแผ้วในใจเรียกว่า “สีลานุสสติ”

ธรรมบรรยายโดย
พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล

เรียบเรียงจากบรรยายธรรมเรื่อง
“ศีลห้า ละเมิดข้อใดบาปสุด (611125)-1/2” ณ บ้านจิตสบาย
ลิงค์คลิปวีดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=XEg3X2oLhEw
(ช่วงนาทีที่ 41:03-42:07)

*รับฟังเพิ่มเติม* พระอาจารย์ยกนิทานประกอบ..
พระในสมัยพุทธกาล ประสงค์จะฆ่าตนเองตาย
เพราะเห็นคนอื่นได้เป็นพระอรหันต์กันหมด
แต่ท่านได้แต่ทำสมถะกรรมฐานเจริญแล้วก็เสื่อมๆ
แต่ท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์ก่อนจะสิ้นชีวิต
เรียกว่า “ชีวิตสมสีสี” อาศัยถึงการระลึกว่ารักษาศีลไว้ดีแล้ว”

ถอดคำโดย : อารยา สุวะมาตย์


อ่านบน Facebook