วันพุธที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๒ วันพระ​ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ?? พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ ๒๐๒ จาก #นิทานนิมฺมโล…

วันพุธที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๒
วันพระ​ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔
??
พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ ๒๐๒
จาก #นิทานนิมฺมโล เรื่อง #ปลาถูกทอดทิ้ง
??
วันหนึ่ง​ แม่ทอดปลาทู แล้วปลาถูกทอดทิ้ง!
รู้จักมั้ย..? ปลาถูกทอดทิ้ง!
ปลาถูกทอดทิ้ง คือปลาไหม้
ที่ถูกทอดทิ้งเพราะว่าแม่ทำงานหลายอย่าง พอเอาปลาลงกะทะ แล้วก็ไปทำอย่างอื่น ลืม!..ลืมปลา..
กลับมาอีกครั้ง อ้าว!ได้กลิ่นแล้วว่าไหม้!
แต่ไม่มีปลาตัวอื่นมาเปลี่ยน ก็ต้องเสริฟอาหารนั้นบนโต๊ะให้กับครอบครัว ทั้งๆที่ไหม้อยู่

ลูก ๆ ก็เห็นแล้วว่าปลาไหม้ ก็ดูพ่อจะว่าไง?
แต่พ่อไม่ว่าไง ตักปลากิน แล้วก็คุยเรื่องอื่น
พ่อถามลูกว่า..”เป็นไงบ้าง? เรียนอะไรบ้าง? มีการบ้านอะไรบ้าง?”
พ่อไม่สนใจว่าปลาเป็นอย่างไร​เลย
กิน!..ไม่สนใจ ไม่ใช่ว่าไม่กินนะ! กิน!..
เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

กินข้าวเสร็จ ทำธุระอะไรเรียบร้อยแล้ว ลูก ๆ ทำการบ้าน แอบได้ยินว่า..แม่ขอโทษพ่อ ที่ทำปลาไหม้
พ่อบอกว่า “ไม่เป็นไร ผมชอบ ปลาไหม้ๆ ผมชอบปลาทูไหม้ ๆ กรอบดี หางมันไหม้ ๆ นะ โห! อร่อย หัวไหม้ ๆ นะ ยิ่งอร่อยใหญ่เลย”
ลูกได้ยินแล้วก็นึกว่า..จริงเหรอ? แอบสงสัยนะ แต่ไม่กล้าถาม

พอตอนนอนพ่อก็จะมาส่ง มากล่อมลูกนอน ลูกก็เลยฉวยโอกาสตอนนั้่นถามพ่อ
“พ่อ.. ถามจริง ๆ เถอะ ชอบปลาไหม้ จริง ๆ เหรอ?”
พ่อ​ตอบว่า “ปลาไหม้ ไม่เคยทำร้ายใคร”

พ่อเข้าใจนะว่าลูกถามนั้นหมายถึงอะไร
พ่อบอกว่า “ปลาไหม้ ไม่เคยทำร้ายใคร
แต่คำพูดของคนที่ให้ร้ายกัน จะทำร้ายกัน
เราต้องเข้าใจแม่ ว่าแม่ก็มีภาระเยอะ..”

ยิ่งยุคนี้ไม่ได้เป็นแม่บ้านอย่างเดียวนะ ก็ต้องไปทำงานด้วย เหนื่อยจากที่ทำงานมา กลับมาบ้านต้องทำอาหารให้เรากินอีก
ดังนั้นปลาไหม้ก็​ยัง​กินได้

เอาใจเขามาใส่ใจเรา
ความผิดพลาดตรงนี้แม่ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้แกล้ง
ถ้าเราพูดไม่ดี เราอยากกินปลาที่สุกพอดี ๆ แต่มันไหม้ขึ้นมาแล้วเราก็ไปโทษแม่..
คำพูดของเรา​นี่แหละจะทำร้ายแม่ ซึ่งไม่จำเป็นเลย
เขาไม่ได้มีความผิดมากจนขนาดที่เราจะไปให้คำร้ายๆ ซึ่งไปทำร้ายจิตใจของแม่
คนที่จะทำร้ายกันได้มากที่สุด คือคนที่ใกล้ชิดนี่แหละ โดยเฉพาะคนที่รัก
คือแม่รักเรา แล้วเรากลับไปพูดไม่ดีกับแม่ แม่จะรู้สึกเป็นทุกข์มาก
ทุกข์กับคนที่​แม่รัก​ รักแล้วพยายามทำอาหารให้ แล้วยังไปว่า​แม่เขาอีก

จริงๆ​ พ่อแค่จะบอกว่า “ปลาทูไหม้ไม่เคยทำร้ายใคร แต่คำพูดนี่ทำร้ายกัน” แล้วลูกก็เข้าใจ

นี่เป็นการยกตัวอย่าง ว่า​ในครอบครัวให้ใช้เวลาให้กัน
เรียนรู้ความผิดพลาดซึ่งกันและกัน​ ด้วยมุมมองที่ว่าให้อภัย
เอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าเราอยู่ในสถานการณ์แบบเขา เราอาจจะไม่ได้ดีเท่าเขา

เล่าโดย..พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
??
เรียบเรียงจากธรรมบรรยายเรื่อง ภัยที่ปกปิด
ณ บ้านจิตสบาย เมื่อ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๒
รับฟังนิทานได้ที่ลิงค์ไฟล์ http://bit.ly/2GLoomS
(ช่วงเวลา 1.20.03-1.24.01)


อ่านบน Facebook