วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๒ วันพระ​ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๔ ??? พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ ๒๐๓ #ทำฝุ่นควันให้มันน้อยลง…

วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๒
วันพระ​ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๔
???
พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ ๒๐๓

#ทำฝุ่นควันให้มันน้อยลง

พระพุทธองค์พิจารณาสัตว์โลกทั้งหลาย
แบ่งเป็น ๓ ประเภท เปรียบเหมือนบัวสามเหล่า
เราได้ยินคุ้นเคยว่าเป็นบัวสี่เหล่านะ!
จริงๆ ถ้าในพุทธพจน์ ในพระสูตรมีแค่สามเหล่า

เหล่าแรก คือ บัวที่พ้นน้ำ
เหล่าที่สอง คือ บัวที่ปริ่มน้ำ
เหล่าที่สาม คือ บัวที่อยู่ในน้ำ

บัวลำดับแรก เพียงแค่รับแสงก็บาน
บัวลำดับสอง คือที่ปริ่มน้ำอยู่นี่ อีกวันหนึ่งก็จะบาน
ส่วนบัวเหล่าที่สาม ที่อยู่ในน้ำเนี่ย รอเวลาเพาะบ่มอีกสักหน่อย​
เดี๋ยวก็จะมาปริ่มน้ำ เดี๋ยวก็มาพ้นน้ำ แล้วเดี๋ยวก็จะบาน

พิจารณาสัตว์โลกว่า มีลักษณะอย่างนี้
คือสัตว์โลกที่จะฟังธรรมของพระองค์นั้นแล้วได้ผล
มี ๓ ประเภท จึงตัดสินพระทัยว่าจะแสดงธรรม

ตอนนี้อรรถกถาจะอธิบายเป็น ๔ เปรียบเทียบว่า

บัวที่พ้นน้ำ
คือบัวประเภท “#อุคฆฏิตัญญู”
ตรัสรู้เร็ว คือ ฟังธรรมครั้งแรกก็บรรลุธรรมขึ้นใดขั้นหนึ่ง
อาจจะเป็น พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
หรือกระทั่งเป็นพระอรหันต์​
(คือ​มี​ปัญญา​เฉียบแหลม​ ได้​ฟัง​เพียง​แค่​หัวข้อ​ก็​เข้าใจ)​

ส่วนบัวประเภทที่สอง
เปรียบเหมือนบุคคลที่เรียกว่า “#วิปจิตัญญู”
ก็คือฟังธรรมครั้งแรกอาจจะยังไม่บรรลุ
ต้องฟังอีกสักครั้ง หรือสองครั้งจึงจะบรรลุ
(คือ​บรรลุ​ธรรม​ได้​ต่อ​เมื่อ​ได้​ฟัง​การ​อธิบาย​ขยายความ)​

ประเภทที่สาม คือ บัวในน้ำ
บัวในน้ำเนี่ย ต้องรอเวลาอบรมบ่มนิสัย
ประคบประหงม จนกว่าจะพ้นน้ำ ต้องใช้เวลาหลายวัน
บุคคลประเภทนี้เรียกว่า “#เนยยะบุคคล”
(คือ​ผู้​ที่​พอ​จะ​ฝึก​สอน​อบรม​ให้​เข้าใจ​ธรรม​ได้​ต่อไป)​
บุคคลประเภทนี้คือ บุคคลที่ฟังธรรม(ครั้งแรก)​แล้วยังไม่บรรลุ
สองครั้งก็แล้ว สามครั้งก็แล้ว สี่ครั้งก็แล้ว ห้าครั้งก็แล้ว ยังไม่บรรลุ
(แต่​ก็​จะ​บรรลุ​ได้​ใน​ชาติ​นี้)​

เราก็คงนับครั้งไม่ถ้วนแล้วล่ะ
คงจะเป็นประเภท”เนยยะ”นี่แหละ!
ฟังแล้วไม่ได้ฟังธรรมดา
แต่ฟังแล้วเอาสิ่งที่ฟังนั้นเอามาประพฤติปฏิบัติ
ฟังให้ได้หลักการปฏิบัติ แล้วเอาไปปฏิบัติ
คือ(สิ่ง​ที่)​ฟังแล้ว​ เรียกว่าเป็นภาคปริยัติ
ก็เอาสิ่งที่ฟังมาปฏิบัติจนกว่าจะได้รับผล
ซึ่งขั้นตอนตั้งแต่ฟังปฏิบัติจนถึงได้ผลเนี่ยนะ
จะสั้นจะยาวแล้วแต่อินทรีย์ของแต่ละคน
ก็คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา​ ๕​ อย่างนี้​ ว่าใครจะมีอินทรีย์แก่กล้าแค่ไหน?
…..
ในอรรถกถา​ยังอธิบายในประเภทที่สี่
ว่ามีเหมือนกัน​ ที่ว่าฝึกชาตินี้เท่าไหร่ ก็ยังไม่สำเร็จ​
เพราะว่าอินทรีย์ยังอ่อนมาก
ภาษาพระจะเรียกว่า “#ปทปรมะ”
(อ่าน​ว่า​ ปะ-ทะ-ปะ-ระ-มะ​ แปล​ว่า​ ผู้​มี​บท​เป็น​อย่าง​ยิ่ง)
คือได้อย่างยิ่งก็เพียงแค่จำตัวบท คือจำธรรมะได้
จำหลักการได้ ปฏิบัติสมถะ วิปัสสนากรรมฐานได้
แต่ยังไม่ถึงขึ้นมรรคผล เพราะอินทรียังอ่อน
อ่อนเกินไป แต่ก็ยังได้ประโยชน์

คำสอนของพระพุทธองค์มีประโยชน์แม้กระทั่ง​พวกปทปรมะ
ชาติต่อๆไป ชาติหน้าของบุคคลปทปรมะ
เกิดมาจะภาวนาง่ายขึ้น
เราอาจจะเป็น”ปทปรมะ”มาหลายชาติแล้วก็ได้
ชาตินี้ขอให้เป็น”เนยยะ”ก็แล้วกัน!
เหลืออยู่ประเภทเดียวที่พอจะหวังได้คือ
เราน่าจะเป็น”เนยยะบุคคล”
ฝึกฝนตน​ ก็คือ ทำธุลีในดวงตาให้มันน้อยๆลง
ทำฝุ่นควันให้มันน้อยลง!

ธรรมบรรยายโดย
พระกฤช นิมฺมโล
???
เรียบเรียงจากไฟล์เสียง159-620210 ธุลีในดวงตา-วัดอินทาราม​c
ลิงค์ไฟล์เสียง https://bit.ly/2OiFBos
(นาทีที่ ๐๗.๒๔-๒๕:๐๘)

ถอดคำโดย ไนท์ ศิลา


อ่านบน Facebook