วันอังคารที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๒ วันพระ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ ??? พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ ๒๓๒ #เห็นธรรมดาของจิต ที่ปฏิบัติ(ธรรม)มาเพื่อให้เห็นธรรมดาของมัน! ธรรมดาของจิต ถ้ามีความสุข อยู่กับอารมณ์ใด จิตอยู่กับอารมณ์นั้นได้นาน ก็ได้สมถะ..เรื่องธรรมดา! ขอเพียงแค่มีความสุขอยู่กับอารมณ์นั้น จิตจะเกิดสมถะขึ้นเอง..โดยธรรมดา ธรรมชาติของมัน ทีนี้ถ้าเราเป็นพวกจริตประเภทช่างคิด ช่างนึก ช่างปรุง ช่างแต่ง ช่างวิพากย์วิจารณ์ มันก็ธรรมดาของเรา แม้จะมีความสุขอยู่กับอารมณ์นี้ แต่มันก็อิ่มเร็ว จิตนี้อิ่มเร็วแล้วก็หิวง่าย อิ่มจากนี้นะ แล้วก็หิวอื่น หิวอารมณ์อื่น ก็เป็นธรรมดาของจิตนี้ จิตมันไป..ก็รู้ทันธรรมดาของมัน อย่าไปห้ามมัน อย่าไปดึง อย่าไปแทรกแซง เห็นตามความจริงว่ามันหิวอารมณ์อีกแล้ว ดูธรรมดาของจิต เห็นธรรมดาของจิต ก็จะเห็นว่ามันเกิด-ดับ เมื่อก่อนนี้ไม่เห็นเกิด-ดับ มันเกิดความอยากอะไรก็จะสนอง เมื่อสนองไม่ได้ ก็จะรู้สึกว่า..เทคนิคนี้ไม่พอ ต้องหาเทคนิคอื่น ต้องหาวิธีอื่น เพื่อให้ได้ตามที่มันมีตัณหาบัญชาการ ไม่ได้เห็นเลยว่ามันมีการเกิด-ดับ ถ้าเห็นเพียงว่ามันมีตัณหาเกิดขึ้นมา..แล้วมันดับลงไปเนี่ยนะ! ก็จะเห็นธรรมดาของตัณหาว่า..มันเกิดขึ้นมา แล้วก็ดับไป ส่วนจำเป็นจะต้องสนองมั้ย? ก็ดู! หมายถึงว่างานนั้นจะต้องทำมั้ย? ก็ดูว่าความจำเป็นของงาน แต่ว่าไม่ได้ทำด้วยตัณหา ดูตามความจำเป็น ถ้าเห็นว่าความจำเป็นจะต้องทำ..ควรทำ! คราวนี้ทำแบบมีฉันทะ ไม่เหมือนกันนะ! เห็นประโยชน์ของมัน เห็นความจำเป็นของมันควรทำ..อันนั้นเป็นฉันทะ แต่ทำด้วยความอยาก มันไปด้วยความรู้สึกว่า จะมาสนองตัวเองบ้าง หรือสนองความโลภ หรือสนองความเป็นตัวตน สนองอยากของตัวเอง อันนี้ทำด้วยตัณหา มันไม่มีเหตุผลอะไรมาก มันเป็นเพียงความพอใจ อยากจะได้ อยากจะกิน อยากจะมี อยากจะเป็น แต่ถ้ามันมีเหตุผล..ควรทำ!..ทำแล้วได้ประโยชน์ เราได้ประโยชน์บ้าง คนอื่นได้ประโยชน์บ้าง ส่วนรวมได้ประโยชน์บ้าง อย่างนี้นะ..ก็ทำ! ทำด้วยความพอใจ จากการเห็นมันมีประโยชน์ ตรงนี้เรียกว่ามีจิตใจใฝ่ดีที่จะทำ เพราะเห็นประโยชน์ แล้วทำด้วยความขยัน มีความหมั่นเพียรประกอบเข้ามาเลย เห็นประโยชน์ของมันใจก็จดจ่ออยู่กับสิ่งนั้น อาจจะมีทดลองผิด ทดลองถูกบ้าง แต่ทุกครั้งที่ผิดแล้วรู้ ก็ได้ประโยชน์ ว่าอันนี้ผิด แล้วก็จะไม่ทำอีก ถ้าได้ทางถูกก็จะได้รู้ว่า นี่เป็นทางถูกก็ทำสิ่งนี้ไป ไม่ใช่ว่าทำปุ๊บ! จะต้องถูกปั๊บ! โดยเฉพาะปฏิบัติธรรมเนี่ยนะ ส่วนใหญ่จะต้องผิด แต่ผิดแล้วรู้ทีไร ก็จะเจริญทุกที มันจะผิดยากขึ้น หรือจะผิดสั้นลง จากการที่เห็นว่า..เมื่อก่อนเคยทำอย่างนี้แล้วคิดว่าดี พอรู้ว่ามันผิดนะ พอมันผิดไปหน่อยก็รู้ปุ๊บ ไอ้ผิดแล้วรู้นะ! ก็กลายเป็นว่า..ผิดแล้วทำให้เกิดสติ ผิดแล้วทำให้เกิดสมาธิ ผิดแล้วทำให้เกิดปัญญาขึ้นมา ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ??? เรียบเรียงจากการบรรยายธรรม เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ ไฟล์สียง 620811 ธรรมดา-ทิพยะวิลล่า 4of5 http://bit.ly/2MGKNlL ( ระหว่างเวลา ๓๕.๑๗ – ๓๘.๕๑ )

อ่านต่อ