วันอาทิตย์ที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๓ วันพระ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ ??? พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ #กรรมเพื่อปรับภพภูมิ กรรมที่ทำประจำสม่ำเสมอในทางดี เรียกว่า “เป็นอาจิณกรรม” ในทางดีทางเป็นกุศล เช่น การสวดมนต์ ให้ทำ “อาจิณกรรม” ที่เป็นกุศลเป็นประจำ จนให้ใจคลุกคลีอยู่กับบุญกุศล จนเทวดานั้นอยากให้ไปอยู่ด้วย ถ้าไม่มี “ครุกรรม” คือทำฌานไม่ได้ ให้ทำ “อาจิณกรรม” เช่นสวดมนต์เป็นประจำ นั่งกรรมฐานเป็นประจำ ที่ว่านี้ให้ทำทั้งสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน อย่าเลือกอย่างเดียว ให้ทำสองอย่างได้ ตอนเผลอไปใจไม่สงบ ไม่ได้สมถกรรมฐาน แต่เป็นโอกาสที่จะทำวิปัสสนากรรมฐาน ก็คือรู้ทันจิตที่มันไม่สงบนั้น ตอนรู้ทัน..ขณะนั้นไม่ได้คิดฟุ้งซ่าน เป็นขณะที่รู้ แต่พอรู้ว่าหลง จาก “หลง” ก็กลายเป็น “รู้” ขึ้นมา ขณะที่รู้นั้น..เป็นขณะของกุศล ตอนหลงคิดเรื่องอื่น..เป็นขณะที่เป็นอกุศล ถ้ารู้ด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่ได้ทำอะไรเกินกว่ารู้ จิตใจก็จะเรียนรู้ว่า..ความเผลอเมื่อกี้ที่เกิดขึ้นมา..ดับไปแล้ว และไอ้รู้เนี่ย..ก็จะดับตามไปด้วย ตอนที่ “รู้” ว่าเผลอคิด ขณะ “เผลอ” ก็ดับไปแล้ว การรู้อย่างนี้ประกอบไปด้วยสติและสมาธิ ถ้าทำฌานไม่ได้ ไม่มีครุกรรมด้านดี ก็ทำอาจิณกรรมให้จิตมีความคุ้นชิน การทำทาน เป็นการกำจัดความตระหนี่ เพื่อป้องกันการยึดติด เพื่อป้องกันความเสียดายทรัพย์สมบัติเหล่านี้ ถ้าเราไม่หัดสละเสียบ้าง ตอนสุดท้ายที่เราจะตายจริง ๆ เราจะเสียดายอย่างมาก เพราะไม่เคยเสียสละ ไม่เคยตัดความตระหนี่ แจกจ่ายเขาบ้าง ถ้าเราไม่หัดเสียสละด้วยการให้ทาน เราจะไม่มีความคุ้นชิน ในการที่จะต้องสูญเสีย ในวาระสุดท้าย คือตอนตาย จะลำบาก เพราะต้องสูญเสียทุกอย่างที่มี การให้ทาน เป็นสิ่งที่ดี สุขใจผู้ให้ ซึ้งใจผู้รับ ประทับใจผู้พบเห็น จำไว้ ถ้าไม่มี “ครุกรรม” ให้ทำ “อาจิณกรรม” ถ้าไม่มี “อาจิณกรรม” บางคนจะไปหวังเอาตอนใกล้ตาย จะมีกรรมอีกแบบหนึ่งเรียกว่า “อาสัณกรรม” ซึ่งเสี่ยงมาก กรรมฐานอีกอย่างที่ควรฝึก คือ เจริญเมตตา “ศัตรูของเมตตา” คือความโกรธ ความแค้น ความพยาบาท ความจองเวร ความรู้สึกอย่างนี้เกิดขึ้นมาในใจ ให้รู้ทันด้วย เจริญเมตตาบ่อย ๆ และรู้ทันศัตรูของเมตตาที่เกิดขึ้นมา จะให้ช่วยตัวเองด้วยการทำความคุ้นชินของจิตในการคลุกคลีอยู่กับธรรมะ ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงการบรรยายธรรมเรื่อง กรรมเพื่อปรับภพภูมื ณ วัดผาณิตาราม ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๓ https://bit.ly/2JEddit

อ่านต่อ