วันเสาร์ที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๕ วันพระ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีขาล พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ #รู้ทันตัวหงอย หดหู่ ท้อถอย ซึมเซา ง่วงเหงา หาวนอน ให้รู้ไปเลยว่ามันคือ “ถีนมิทธะ” หรือจะบอกว่า.. มันคือ “ไอ้ตัวหงอย” นี่ก็ได้ เอาคำเดียวก็ได้ “ไอ้เจ้าหงอย.. ฉันเห็นแก่แล้ว!” มันหงอยอีก.. รู้อีก ยิ่งรู้บ่อยๆ มันจะจำได้ ตอนเห็นครั้งแรกนะ มันเป็นแค่รู้จักกัน ว่านี่คือ “อาการหงอย” เราก็ทำงานของเราต่อนะ! อย่าไปหงอย..แล้วก็จม… เราก็ขยับตัวทำงานของเราต่อไป ถ้าอยู่ในการทำรูปแบบ เราก็ทำสมถะของเราไป ถ้าในชีวิตประจำวัน เราก็ทำงานของเราไป มันเกิด “หงอย” อีก..ก็รู้ทันอีก! “ฉันเห็นแก่แล้ว!!” … แรกๆ ต้องฝึกก่อนนะ !! แรกๆ ในการฝึกที่จะรู้จักมันเนี่ย ต้องมีเจตนาในการดูสักหน่อย มีความหงอยแล้ว.. “ฉันรู้จักแก่แล้ว” หงอยอีก.. “ฉันรู้จักแก่แล้ว” รู้ไปเรื่อยๆ คือ มีเจตนาในการดู อันนี้อยู่ในขั้นฝึก ฝึกไปเรื่อยๆ เนี่ยนะ พอจำได้แม่นเนี่ย “สติ” มันจะเอามาใช้ตอนที่ว่า … มันมีข้อมูลเป็น “ความจำ” เต็มที่แล้ว มั่นคงดีแล้ว เสถียรแล้ว พอมี “ความหงอย” เกิดขึ้นมา… มันเทียบได้กับ “ของเก่า” “ของเก่า” ที่เก็บไว้เป็น “สัญญา” เนี่ย สัญญาเอามาใช้ในกรณีนี้ คือ “สติ” แปลว่า “ระลึกได้” ในภาษาไทยทั่วๆ ไปก็จะใช้คำนี้กัน มันก็คือ เอามาใช้ในขั้นตอนที่เรียกว่า มี “ถิรสัญญา” คือ มีสภาวะความหงอยเกิดขึ้น มันเอาไปเทียบกับของเก่า ระลึกได้ว่า.. นี่คือ “ความหงอย” และ การทำงานอย่างนี้ มันทำงานเอง ตอนนี้ เรียกว่า “ระลึกได้” แท้ๆ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล รายการคลิกใจให้ธรรม ตอน “ฝึกใจไม่ให้หดหู่ วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://youtu.be/MddicOf8zGE (นาที 30.55-33:35)

อ่านต่อ