วันจันทร์ที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕ วันพระ แรม ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีขาล พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ #อดกลั้นต่อกิเลส “อดกลั้น” คือ อดทน.. ต่อความล่วงเกินของผู้อื่น ความล่วงเกินของผู้อื่น ก็จะมีคนที่ล่วงเกิน เมื่อเทียบกับเรา ก็จะมีบุคคลสามระดับ..ที่ล่วงเกินเรา อดทน ต่อคนที่ “ต่ำกว่าเรา.. ล่วงเกินเรา” อดทน ต่อคนที่ “เสมอกับเรา.. ล่วงเกินเรา” อดทน ต่อคนที่ “สูงกว่าเรา.. ล่วงเกินเรา” สามระดับ..ไม่เหมือนกัน!! ควรอดทนให้ได้ทั้งสามระดับเลย! ไม่ใช่แค่ระดับใดระดับหนึ่ง ทีนี้จะเอาระดับไหน..มาวัดว่าอดทนได้จริง? ถ้าเราอยู่กับ “ครูบาอาจารย์” แล้วอดทนได้เนี่ย ก็ถือว่าดีนะ! แต่ว่า.. ก็ยังใม่ใช่ตัววัด เพราะว่า.. บางทีทนได้เพราะ “กลัว” กับ “คนที่เสมอกัน” บางทีก็อดทนได้นะ! แต่..ยังไม่ใช่ตัววัด! เพราะบางทีที่อดทนอยู่ได้ เพราะอาจจะ ”แข่งดี” กัน … ทน.. ที่เป็นตัววัดได้ดีเลย คือ ทนต่อ “ผู้ที่อยู่ต่ำกว่า” สถานะต่ำกว่า คนเลวกว่า ถ้าทนได้ ถือว่า.. เยี่ยม!! ในกรณีที่ว่าเป็นตัววัดนะ คือ คนที่อดทน.. ต่อแม้แต่ผู้ที่อยู่ในสถานะต่ำกว่า.. ด่าว่าเอา! หรือ มาว่ากล่าวตักเตือน!! ทั้งว่า.. แบบไหนก็แล้วแต่ คือ เราทนได้ต่อคำสอน หรือ.. คำว่ากล่าวติเตียน ของเขาได้ อันนี้เรียกว่า “อดกลั้น” คำภาษาบาลี เรียกว่า “อธิวาสนขันติ” คือ อดทน..อดกลั้นต่อความล่วงเกินของผู้อื่น น แล้วถ้าสูงไปกว่านั้นอีก คือ.. “อดทนต่อกิเลส” หมายถึงว่า ทนต่อกิเลสในเวลาที่จิตใจ ถูกกระทบด้วยอารมณ์ที่น่ารัก น่าชัง ใจก็ไม่ไหลโอนเอนไปกับกิเลสที่เกิดขึ้น เห็นอยู่..แล้วก็ทนได้! คือไม่ไปปรุงต่อ ไม่ไปตามกิเลส เห็นอยู่.. แล้วก็ทนได้!! อันนี้มันเป็นธรรมะชั้นสูงเลย เป็นมงคลชั้นสูงเลย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการคลิกใจให้ธรรม ตอน “ใจที่พร้อมเจริญธรรม” วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://youtu.be/KWq7KvSKWCY (นาที 06:30 – 09.39)

อ่านต่อ