#นิมฺมโลตอบโจทย์ #การปฏิบัติธรรม #ถาม : การปฏิบัติธรรม คือ การพัฒนาจิต ใช่หรือไม่คะ? #ตอบ : การปฏิบัติธรรม คือ การพัฒนาจิตใช่หรือไม่?!? มันถูกส่วนหนึ่งนะ ถ้าพูดให้ครบครอบคลุม..มันไม่ใช่เฉพาะแค่พัฒนาจิต การปฏิบัติธรรมเนี่ย พัฒนาทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งจิต จิตที่ว่าเนี่ย..ก็ทั้งปัญญาด้วย การพัฒนาจิตเนี่ย มันไม่ใช่ความหมายเต็มของคำว่า “ปฏิบัติธรรม”! ปฏิบัติธรรม..ถ้าพูดเต็มความหมายก็คือ พัฒนากาย วาจา จิต และปัญญา เวลาเราจะมาปฎิบัติธรรม ก็ต้องมาฝึกในเรื่อง อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา นี่คือฝึกปฎิบัติธรรม ถ้าอยู่ในวงของฆราวาส การฝึกปฎิบัติธรรมก็จะอยู่ใน ๓ ข้อ คือ ทาน ศีล ภาวนา การให้ทาน ก็เป็นการปฏิบัติธรรม เป็นการฝึกจาคะ โดยการให้ทาน ให้วัตถุสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกับบุคคลอื่น อาจจะเป็นคนก็ได้ เป็นสัตว์ก็ได้ หรืออาจจะเป็นเทวดาก็ได้ หรืออุทิศบุญกุศลให้เปรตก็เป็นการให้ทานประเภทหนึ่ง การพัฒนาจิตจะอยู่ในเรื่องของจิตตภาวนา..เป็นเรื่องของการภาวนา เป็นส่วนหนึ่งหรือส่วนย่อยของการปฏิบัติธรรม การพัฒนาจิต ก็คือ ทำจิตให้เหมาะควรแก่การเจริญปัญญา จุดมุ่งหมายก็ไปเจริญปัญญา ไม่ใช่เจริญจิตอย่างเดียว แต่ไปเจริญปัญญาต่อ การปฏิบัติธรรม คือการพัฒนาจิตใช่หรือไม่? มันใช่! แต่มันแคบไป มันไม่ครอบคลุม ต้องบอกว่า.. พัฒนากาย วาจา จิต และจิตในที่นี้หมายถึง ทั้งจิตในลักษณะความเพียร มีสติ มีสมาธิ แล้วก็มีปัญญาด้วย ต้องครอบคลุมถึงระดับนี้ ไม่งั้นจะบอกว่า “การปฏิบัติธรรมเป็นการพัฒนาจิต” จะกลายเป็นว่าความหมายแคบเกินไป พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ : https://youtu.be/vxfK6oYy4SU?t=1012 (นาทีที่ 00:16.52 – 00:19:47)

อ่านต่อ