วันอังคารที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ วันพระ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีขาล พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ #สัปปายะ..ที่ที่ควรอยู่ “สัปปายะ” แปลว่า สบาย แต่สบายที่ว่านี้นะ มันไม่ใช่! “สบาย” แบบที่คนไทยเรียกกันในปัจจุบัน ปัจจุบันคนไทยเนี่ยนะ คำว่า “สบาย” คือ “นอน” ตรงนี้สบายนะ.. แล้วอยากนอนเลย คือ สบายแล้ว.. คือ “พัก” แต่ “สบาย” ในคำทางพุทธศาสานา หมายถึง.. สภาพที่เหมาะ ที่จะทำให้ตัวเองอยู่ตรงนั้น แล้วพัฒนาต่อได้ คือ พัฒนาสะดวก มันเป็นสะดวกสบาย ที่จะพัฒนาต่อ ไม่ใช่! สะดวกสบายแล้ว จะพักผ่อน ไม่ใช่อย่างนั้นนะ! ทัศนคติของคนไทยเนี่ย พอสบายแล้วก็จะนอนแล้ว จะพักผ่อนอย่างเดียว แต่ “สบาย” ในพุทธศาสนาเนี่ย คือ สบาย คือ “สะดวกที่จะพัฒนาต่อ” มี “อาหาร” พอสมควร ก็สะดวกที่จะพัฒนาต่อ “อากาศ สภาพภูมิอากาศ” เป็นอย่างไร? .. เหมาะไหม? สำหรับเราที่จะอยู่ตรงนี้ หรือว่า.. ตรงนั้นมีครูบาอาจารย์ไหม? มี “บุคคลสัปปายะ” ไหม? มี “ธรรมะสัปปายะ” ไหม? คือ ที่ ที่ว่า นี้ มันไม่ใช่สะดวก ในแง่ของวัตถุสิ่งของ โดยอย่างเดียว ก็ต้องดูว่า.. มีปัจจัยที่จะพัฒนาตนเองไหม? บางทีเนี่ยนะ เรื่องวัตถุสิ่งของความสะดวกสบาย แม้อาจจะบกพร่องไปบ้าง แต่ถ้ามี “บุคคลผู้มีธรรมะ” อยู่ตรงนั้น บางที.. แม้จะลำบากก็ควรอยู่ ตรงนั้น.. กลายเป็นว่า เป็น “ปฏิรูปประเทศ” สำหรับเราได้เหมือนกัน พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากรายการ คลิกใจให้ธรรม ตอน “ตั้งหลักชีวิต” วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://youtu.be/ipLInCEWjtE (นาที 10:12 – 11:48)

อ่านต่อ