วันพุธที่ ๑๓ กรกฏาคม ๒๕๖๕ #วันอาสฬหบูชา วันพระ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีขาล พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ #ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร “ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ” เป็นคำอุทานในใจของพระโกณฑัญญะ พอฟัง(ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)แล้ว.. ก็เข้าใจเลย! เข้าใจเลย.. คือว่า “ไม่ว่า.. สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิดขึ้นมา สิ่งนั้นย่อมดับไป เป็นธรรมดา” คำว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง” คือไม่บัญญัติ เวลามีสภาวะอะไรขึ้นมานะ! ไม่ต้องไปเรียกชื่อว่าอะไร.. คืออะไรด้วย? แค่รู้ว่า.. มี “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง” เกิดขึ้นมา.. แล้วก็ดับไป “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง” เกิดขึ้นมา.. แล้วก็ดับไป เห็นอยู่นะ! แต่ไม่ต้องไปกังวลว่า..มันคืออะไร? ไม่ต้องไปเรียก! การบัญญัติ.. เรียกว่าอะไรนั้น เป็นการปรุงแต่งคำ เวลาเห็นเนี่ยนะ! เรารู้เนี่ยนะ! ขณะที่เห็น.. แล้วรู้ จิตรู้สภาวะนั้นนะ..จิตเนี่ย.. ทำงานแล้ว ถ้าจะเรียกว่า..มันคืออะไร? จะต้องใช้จิตอีกหลายขณะ เวลาพระโกณฑัญญะเห็นสภาวะเกิด-ดับ เกิด-ดับ เนี่ยนะ ท่านดูด้วยใจที่เป็นกลาง เพราะฉะนั้น.. จึงไม่ต้องไปกังวลว่า.. จะต้องไปเรียกชื่อ “สภาวะ” นั้นว่าคืออะไร? แต่เข้าใจว่า.. มี “สิ่งหนึ่ง” เกิดขึ้นมา แล้วดับไป มี “สิ่งหนึ่ง” เกิดขึ้นมา แล้วดับไป ย้ำสักสอง-สามครั้ง ก็เข้าใจเลยว่า อ๋อ!.. ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นมา.. ก็ดับไป ไม่ว่า “รูป” เกิดขึ้นมา – “รูป” ก็ดับ ไม่ว่า “นาม” เกิดขึ้นมา – “นาม” ก็ดับ ไม่ว่า “กาย” เกิดขึ้นมา – “กาย” ก็ดับ ไม่ว่า “ใจ” เกิดขึ้นมา – “ใจ” ก็ดับ ก็เข้าใจเลย! “พระโสดาบัน” ท่านรู้แค่นี้เท่านั้นเอง พระกฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจาก รายการคลิกใจให้ธรรม ตอน “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ ลิงค์รายการ https://youtu.be/b-WsCuFrLM4 (นาที 43:45 – 45:09 )

อ่านต่อ