วันจันทร์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ วันพระ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีขาล (วันปวารณา) พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ #ความปรารถนาในใจลึกๆ ถ้าเราคิดว่า.. ‘เราก็ทำบุญมาเยอะนะ หรือว่า ภาวนามามาก แล้วทำไมไม่บรรลุมรรคผลสักที’ ลองพิจารณาตัวเอง ลองดูว่า จริงๆ แล้วปรารถนาอะไร? “เราปรารถนาสุข” หรือ “ปรารถนาพ้นทุกข์” ถ้าปรารถนาสุข ก็ไม่ได้ว่าอะไร ก็ขอให้วนเวียนด้วยความปลอดภัย ก็คือ.. สร้างบุญเยอะๆ แต่ถ้าปรารถนาพ้นทุกข์ คราวนี้เราจะมาดู.. เราจะมาดู.. – ความผันแปร, ความเปลี่ยนแปลง – ความไม่เที่ยง – ความอยู่นอกเหนือการบังคับ ในบรรดาสภาวะต่างๆ เพราะฉะนั้น.. เวลาเราทำสมถะขึ้นมาเนี่ย! ไม่ใช่ให้มันนิ่ง หรือให้มันว่าง หรือให้มันสุขสงบ แน่วแน่นานๆ แต่เราจะทำ เพียงแค่ว่า.. มันเป็นตัวเปรียบเทียบ ว่า.. เดี๋ยวมันก็ไม่เที่ยง! เดี๋ยวมันก็เปลี่ยนไป! เดี๋ยวมันก็เผลอไป นั่นเอง! เผลอไป.. เห็นความเผลอ ความเผลอแสดงความจริงอีกด้วยซ้ำไปว่า พอถูกรู้.. ความเผลอจะดับไป เพราะขณะที่รู้ “มันไม่เผลอ” และที่ “รู้” มันคือ “มีสติ รู้จิต” จิตที่เผลอเมื่อกี้นี้ สดๆ ร้อนๆ เนี่ย พอ “รู้” แล้ว ปัจจุบันมันก็กลายเป็น “รู้!.. ไม่ใช่เผลอ” แล้วก็มาทำสมถะต่อ แล้วสมถะก็ไม่เที่ยง คือ “มันเผลอไป” รู้ทัน”ความเผลอ” “ความเผลอ” แสดงความไม่เที่ยงอีกที ทำอย่างนี้.. จึงจะเรียกว่า “ทำแบบปรารถนาพ้นทุกข์” ไม่ได้อยากให้สุขนานๆ ไม่ได้อยากให้ทำสมถะ เพื่อให้มันสุขนาน นิ่งนาน สงบนาน คนที่อยากให้สุขนาน สงบนาน นิ่งนาน ด้วยการทำสมถะเนี่ยนะ เวลามันเผลอไป! จะไม่ชอบความเผลอทันที เพราะอยากให้สุข อยากให้นิ่ง ไม่อยากเผลอ พอมันเผลอ.. จะไม่ชอบความเผลอ และทันทีที่ไม่ชอบ มันจะแก้เลยทันที! มันจะแก้โดยการ “ดึงกลับมา” จะแก้ไขให้มัน.. จากไม่ดี.. ให้มันดี จากเผลอ.. ให้มันไม่ผลอ จากมีกิเลส.. ให้มันไม่มีกิเลส นึกออกไหม? เพราะฉะนั้น.. มันอยู่ที่ตัวปรารถนานั่นเอง ความปรารถนาในใจลึกๆ ของเราเนี่ย “ปรารถนาสุข” หรือ “ปรารถนาพ้นทุกข์” พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากธรรมบรรยาย จากการสนทนาธรรม กับพระอาจารย์กฤช นิมฺมโล จัดโดยบ้านสติ (650814) ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๕ ลิงค์วีดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=pdg_bm3ojuk&t=2270s (ระหว่าง นาทีที่ 29:48-32:32)

อ่านต่อ