วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๕ วันพระ แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีขาล พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ #หวังรู้ ถ้าเราตั้งเป้า “ต้องสุข ต้องสงบ ต้องนิ่ง” พอมัน “ไม่ดี ไม่สุข ไม่สงบ ไม่นิ่ง” เราก็เห็นแล้ว .. เหมือนเห็นนะ! เหมือนจะมีสติ .. แต่ไม่เป็นกลางสักที! ทำไมไม่เป็นกลาง? ผิดหวังไง! แล้วจะหวังยังไง? ก็ต้องมีหวังบ้างสิ! หวังอะไร? .. หวังรู้! “หวังรู้” คืออะไร? ทำสมถะไปนะ! นับจากนี้จะดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้.. จะรู้ ตั้งใจไว้ว่า.. จะรู้! จะดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้.. จะรู้! ไม่ว่าจะดี หรือไม่ดี เห็นอะไรที่มันผิดไปจากนี้ คือตั้งใจว่า.. จะรู้! ผิดจากนี้เป็นความผิดจากไหนได้บ้าง? มีผิดแบบ”เผลอเพลิน”ไปเลย คือไม่อยากเผลอเพลิน ก็เพ่งเอาไว้ มีสองแบบ “เผลอเพ่ง” ก็ต้องรู้ด้วย ถ้าเพ่งแล้วไม่รู้! มันไม่ไปต่อ มันจะไม่เห็นไตรลักษณ์ เพ่งเอาไว้ เหมือนนิ่งๆ แต่ไม่เห็นไตรลักษณ์ ถ้ารู้.. คือคะแนน จะได้คะแนนอยู่เสมอ แต่ถ้าตั้งใจจะเอาสุข เอาสงบ เอานิ่ง พอมันไม่สุข ไม่สงบ ไม่นิ่ง รู้สึกไม่ได้คะแนน.. ต้องแก้! แก้ได้! .. รู้สึกได้คะแนน แก้ไม่ได้!! .. รู้สึกเสียคะแนน แก้ได้! .. รู้สึกเก่ง แก้ไม่ได้!! .. รู้สึกแย่จัง นึกออกไหม? แล้วมันก็เป็นอย่างนี้ ถ้าเริ่มต้นด้วยการที่อยากดี อยากสุข อยากสงบ อย่างนิ่ง วงจรก็จะเป็นอย่างนี้! เห็นไม่ดี! ..แก้ เห็นไม่สุข! ..แก้ เห็นไม่สงบ! ..แก้ เห็นไม่นิ่ง! ..แก้ เพราฉะนั้น ไม่มีประโยคที่หลวงพ่อว่าไว้นะ “มีสติ รู้กาย รู้ใจตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง” ไม่เกิด.. ประโยคนี้ไม่เกิด! ปัญญาไม่มา วิปัสสนาไม่มี เพราะฉะนั้น.. ก่อนจะมีประโยคนี้ขึ้นมา ต้องตั้งใจให้ถูก! ไม่ได้ตั้งใจที่จะเอาดี สุข สงบ นิ่ง แต่ต้องมีมัน! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากการแสดงธรรม คอร์สจิตเกษม ๒ – เริ่มภาวนา (๖๕๑๒๐๓) ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=uKhYbz7XbV4&t=2465s (นาทีที่ 36.57– 39.39)

อ่านต่อ