วันจันทร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ วันพระ​ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ ⏳⏳⏳ พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ ๒๑๖ #แค่เสี้ยววินาที…

วันจันทร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒
วันพระ​ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๗
⏳⏳⏳
พระกฤช #ฝากคิด #ฝากคำ ๒๑๖

#แค่เสี้ยววินาที

คนส่วนใหญ่ใช้เวลาทุกเสี้ยววินาทีผ่านไป เพื่อสะสมอนุสัย
ไม่ได้ใช้เสี้ยววินาทีเหล่านั้นสะสมบารมี
ไม่ได้สะสมข้อมูล..
ถ้าในแง่ของการสะสมสติปัฏฐาน
ก็​จะสะสมข้อมูลเอาไว้​ ให้จิตประมวลเป็นความรู้ขึ้นมา
แต่ละวินาทีที่เรามีสติรู้ทันกาย เวทนา จิต หรือธรรม นี่นะ!
เราเป็นการสะสมข้อมูลทีละแว้บ ๆ
แล้วควรจะเป็นทีละแว้บ ช่วงเสี้ยววินาทีนั้น

ไม่ใช่ว่าฉันมีสติมาตลอดหนึ่งวัน.. อันนี้น่ากลัว!
ฉันมีสติมาตลอด ไม่เคยหลงเลย.. อันนี้น่ากลัวมาก!
เพราะว่าสติที่เราพูดถึงเนี่ย! … ไม่ใช่สติแบบโลก ๆ
สติแบบที่เราพูดถึง คือสติปัฏฐาน
รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม
…..

สติปัฏฐาน มันจะรู้กาย เวทนา จิต ธรรม
ส่วนใหญ่จะรู้กันทีละแว้บ ๆ

ตอนรู้กายเนี่ย! ถ้าจะรู้นานนะ ต้องเพ่ง!
ถ้าเพ่งไปนั้น ก็เป็นการใช้สติปัณฐาน
ประกอบด้วยสมาธิอีกแบบนึง ซึ่งไม่ใช่สมาธิที่ถูกต้อง​ (คือ​ไม่ใช่​จิต​ตั้งมั่น)​

เวลารู้จิต​ ถ้าให้รู้ได้นาน ๆ ก็เพ่ง
ตอนเพ่งจิตก็เป็นสมาธิที่ไม่ถูกต้องอีก

เวลาเห็นจิตนาน ๆ จะรู้สึกว่า​ “ฉันมีความรู้สึกตัวอยู่นาน”
ไม่เห็นเป็นแว้บ ๆ
อย่างนี้นะ มันจะไม่เห็นจิตแสดงความจริง ไม่เห็นว่าจิตเกิด-ดับ
แต่ถ้าเห็นเป็นแว้บ ๆ นะ! จะเห็นความจริงว่า​ จิตเกิด-ดับ

ฉะนั้น​ เวลาเห็นเนี่ย​ ถ้ามันเห็นช่วงเสี้ยววินาที..ดีมาก!
เพราะการเห็นอย่างนั้น​ มันจะแสดงความจริงว่า
สิ่งนี้เกิดขึ้นมา แล้วก็ดับไป ๆ

เอาแค่ช่วงเสี้ยววินาที
ความรู้สึกตัวช่วงเสี้ยววินาที..ดีมาก
ดีมากตรงไหน..ดีมากตรงที่มันจะไม่รู้สึกว่า
ไอ้ความรู้สึกตัวนั้น..ไม่เป็นเราด้วย

ธรรมบรรยายโดย
พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล

???
เรียบเรียงจากธรรมบรรยายเรื่อง “แค่เสี้ยวนาที”
ณ ศูนย์ทันตกรรมสมุทรปราการ เมื่อ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ลิงค์แสดงธรรม https://bit.ly/31A2IBg
(ระหว่างนาทีที่ ๒๙.๒๖-๓๒.๒๑)


อ่านบน Facebook