#นิมฺมโลตอบโจทย์ #กรรมฐานสำหรับผู้สูงอายุ #ถาม : อายุ ๖๐ กว่าแล้ว จะทำสมาธิแบบไหนดี ให้ได้สมาธิ? #ตอบ : ไม่เกี่ยวกับอายุนะ จะมีที่สังเกตนิดหนึ่งเท่านั้นเองว่า เวลา ‘อายุมาก’ ถ้านั่งนิ่งๆ มันจะ ‘หลับง่าย’ (ถ้าไม่เคยฝึกมาก่อนเลยนะ) สมมติว่า.. จะเริ่มฝึกเมื่อตอนอายุ ๖๐ ควรจะ “เจริญสติ ในท่าเคลื่อนไหว” อย่านั่งสมาธิแบบนิ่งๆ พอนั่งนิ่งๆ เนี่ยนะ ด้วยความล้าของร่างกาย ที่อายุมาก บางทีพอนั่งนิ่ง มันจะเป็นไปได้ง่ายที่จะขาดสติ ..หลับไป ทีนี้ก็ให้ “มีความเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นตัวกระตุ้น” กรรมฐานที่มันมีการเคลื่อนไหว เช่น “เดิน” อายุ ๖๐ น่าจะยังเดินได้ ..ก็เดิน หรือ ถ้าจะ “นั่ง” ก็ให้นั่งแบบมีความเคลื่อนไหว กรรมฐานที่เหมาะ ก็อย่างเช่น ที่หลวงพ่อเทียนท่านสอน มีการขยับ ๑๔ จังหวะ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นตัวรู้ขึ้นมา ท่านบอกว่า “กระตุ้นธาตุรู้” คือ ไม่ให้มันเคลิ้ม ไม่ให้มันง่วงซึม หรือว่า ไม่ให้มันเบลอๆ ไป เวลานั่งนานๆ บางทีถ้าอายุมาก มันจะเบลอ หรือ อาจจะหลับไปได้ ก็ให้มีการขยับ ถ้า ๑๔ จังหวะ รู้สึกว่ามากไป ก็อาจจะแค่พลิกมือ พลิกไป-พลิกมาก็ได้ พลิกไป-พลิกมา ก็ใช้ได้อยู่ จะ กำ-แบ กำ-แบ ก็ได้ คือให้มัน ‘มีความเคลื่อนไหว’ กระตุ้นตัวรู้ขึ้นมา กระตุ้นความรู้สึกตัวขึ้นมา แล้วเวลา ‘เผลอไป-ให้รู้ทัน’ มีความเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นตัวกระตุ้นขึ้นมาแล้วเนี่ยนะ เผลอไป-ให้รู้ทัน บางทีทำแล้ว มันทำซ้ำ ๆ มันก็ชินใช่ไหม? พอชิน บางทีก็เผลอไป แต่ด้วยความที่ มันมีการขยับอยู่นี้ มันก็จะเห็นว่า ‘เผลอ’ ได้ง่ายขึ้น มันดีกว่านั่งนิ่งๆ แล้วหลับ ตอนที่มันหลับไป.. มันไม่ได้เห็นสภาวะอะไร ! มันได้แค่พักผ่อน แต่ตอนนี้เราต้องการจะเจริญสติ ..เพื่อให้เห็นความจริง การหลับไป มันไม่ได้มีข้อมูลอะไรให้จิตดู เพราะฉะนั้น ตื่นขึ้นมา (จากการที่เราเคลื่อนไหว) เคลื่อนไหว-แล้วเผลอไป-แล้วรู้ทัน เห็น ‘เผลอ’ ดีกว่านะ เคลื่อนไหวๆ อยู่..แล้วฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่าน..แล้วรู้ว่าฟุ้งซ่าน ก็ดีกว่าหลับนะ คนอายุ ๖๐ กว่าแล้ว ถือว่าอายุมากแล้ว ก็ลองใช้.. “การเคลื่อนไหวของร่างกาย” เข้ามาช่วยนะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=CJuUJuMo19g (นาทีที่ 2:02:30 – 2:05:15)

อ่านต่อ