#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ตัณหา #ฉันทะ #ถาม : กราบนมัสการ ขอเมตตาอธิบาย ความแตกต่างระหว่าง “การทำบุญด้วย ตัณหา” กับ “การทำบุญด้วย ฉันทะ” #ตอบ : การทำบุญด้วย “ตัณหา” คือ อยากได้ อยากได้ผล อยากได้ผล เช่น ทำบุญแล้ว “อยาก” รวย ให้ทานแล้ว “อยาก” รวย รักษาศีลแล้ว “อยาก” สวย ทำกรรมฐานแล้ว “อยาก” ฉลาด มันตั้งความอยาก ตั้งความปรารถนา ..คือ ตัณหา อยากได้ผล ทำไป.. แล้วก็มักจะรอดูว่า ‘เมื่อไหร่จะได้ผล?’ อยากให้มีเสน่ห์ หรือว่า มีคนรัก มัน “อยากได้ผล” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อยากติดอยู่กับโลก ! อยากอยู่ในโลกนี้ต่อไป แล้วเสวยกามต่อไป อย่างดีด้วยนะ กามอย่างดีด้วย ทำบุญอยากได้กาม ! แต่ทำบุญด้วย “ฉันทะ” มันเห็นว่า ‘สิ่งนี้ควรทำ’ ..ก็ทำ การให้ทาน มันคือ สิ่งที่ควรทำ เห็นเขาเดือดร้อน ..อยากให้ ให้เขาหายเดือดร้อน ประมาณนี้นะ ..ให้ทาน อยากให้รางวัลเขา คือ เห็นเขาทำดี อยากให้กำลังใจเขา ..ให้ทาน ได้ทั้งหมดเลย คือมันเป็นการเห็นประโยชน์ และเห็นความสมควรที่จะทำ “รักษาศีล” คือ ไม่เห็นข้อจำเป็นอะไร ที่จะไปฆ่าสัตว์ ไม่เห็นความจำเป็นอะไร ที่จะไปลักทรัพย์ หรือไปโกหก หรือไปผิดลูกเมีย เห็นโทษ เห็นภัย ไม่ทำเอง มันมี “ฉันทะ” ที่จะทำ มีความละอายต่อบาป มีความเกรงกลัวต่อบาป มันก็ไม่ทำผิดศีล บุญจากการรักษาศีล ก็ได้ขึ้นมาเอง มี “ฉันทะ” ที่จะทำเอง รู้อยู่ว่าสังสารวัฏนี้มันเป็นทุกข์ เห็นทุกข์อยู่ อยากจะพ้นไปจากสังสารวัฏนี้ ก็เลยทำการภาวนา มี “ฉันทะ” ที่จะทำ เห็นพัฒนาการของการทำภาวนา เห็นด้วยประสบการณ์ตัวเอง เกิด “ฉันทะ” ที่จะทำต่อไป นี้คือความแตกต่าง ระหว่าง ตัณหา กับ ฉันทะ “ตัณหา อยากได้ผล” “ฉันทะ อยากทำเหตุ” ..ส่วนผลจะได้ของมันเอง พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=4pwVjEis8Kc (นาทีที่ 2:07:18 – 2:09:52)

อ่านต่อ