#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ไม่ดื่มสุราปฏิเสธอย่างไรดี #ถาม : นมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ ถ้าเราไม่ดื่มเหล้า แต่เจ้านาย และลูกค้าบริษัทฯ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ มักชักชวนให้ดื่ม เวลาไปทานข้าว หรือมีงานเลี้ยง ..เราก็ปฏิเสธไป เขาถามเหตุผลว่า “ทำไมไม่ดื่ม?” เลยตอบไปว่า “เรารักษาศีล ๕” และอธิบายแต่ละข้อให้ฟัง แต่เจ้านายก็บอกว่า “ไม่ต้องยึดถือมากหรอก งั้นยู (you) ดื่มไวน์ (wine) แทนก็ได้ เพื่อสุขภาพ” คำถาม คือ ถ้าเขาไม่เข้าใจ เลยคิดว่า หรือควรบอกไปว่า เราแพ้แอลกอฮอล์แทน เขาจะได้ไม่คะยั้นคะยอให้ดื่ม แบบนี้จะกลายเป็นผิดศีลข้อมุสาหรือไม่? #ตอบ : ดีนะ ก็บอกไปเลยว่า “แพ้” แต่ไม่ต้องบอกว่า “แพ้แอลกอฮอล์” แค่บอกว่า “แพ้” ..”เราแพ้ ถ้ากินแล้วแพ้” ไอ้ที่ว่า “แพ้” เนี่ย ไม่ได้แพ้แอลกอฮอล์ แต่ “แพ้ใจตัวเอง!” แล้วก็จะทำให้เราควบคุม ความประพฤติตัวเองไม่ได้ ถ้าเจ้านายบอกคะยั้นคะยอให้ดื่มเนี่ยนะ ก็บอก “เราแพ้” บอกไปเลยก็ได้ ถ้าเขาคะยั้นคะยอ ..ก็บอกว่า “ต้องการพนักงาน หรือต้องการลูกน้อง ที่มีสติ หรือ ขาดสติ?!” “ต้องการพนักงานเมา แล้วเอาน้ำไปราดหัวคนอื่นไหม?” อะไรประมาณนี้นะ ..เขาก็ไม่อยากได้ใช่ไหม? ใครเมาแล้ว “ทำชื่อเสียง” ..ไม่ค่อยมี มักจะเป็น..”ชื่อเสีย” !! โอกาสที่จะมีเรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นกับเรา ถ้าเราดื่มแอลกอฮอล์นะ จะมีโอกาสเป็นไปได้มาก เพราะฉะนั้น อย่ายินดีที่จะให้เราเมาเลย บอกว่า “เราไม่รู้ประมาณว่า จะดื่มแค่ไหนจึงจะเมา” แล้วที่ว่า “ศีล ๕ รักษาไว้” ..ดีแล้วนะ “ขอให้ท่านดีใจ ที่ได้มีลูกน้อง หรือมีพนักงาน ที่รักษาศีลได้” ..ดีกว่านะ อย่าได้ดีใจ ที่จะเห็นเรา เป็นผู้ไม่มีศีลเลย เรียกว่า ได้แก้วมณีแล้ว จงรู้ค่าแก้วมณีนั้นด้วย ขออนุโมทนานะโยม รักษาความดีอันนี้เอาไว้ แล้วเวลาจะบอกว่าแพ้เนี่ย อย่าบอกว่า “แพ้แอลกอฮอล์” บอกว่า “แพ้” เฉย ๆ ถ้าดื่มเหล้าแล้ว “แพ้” ถ้าดื่มแอลกอฮอล์แล้วจะ “แพ้” ..แพ้อะไร? ..แพ้ใจตัวเอง ! ..แล้วแพ้กิเลส ! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=VIh9T9loA58 (นาทีที่ 1:24:17 – 1:27:23)

อ่านต่อ