#นิมฺมโลตอบโจทย์ #นิวรณ์ #ถาม : เวลาที่ “จะนั่งสมาธิ” ทำไมถึง “ต้องง่วงหงาวหาวนอน” อยู่ตลอด? เพราะว่า เวลา “จะ..นั่งสมาธิ” มัน “ต้อง..ง่วงหงาวหาวนอน” ยังไม่ทันนั่งเลย! ก็ง่วงซะแล้ว ถ้าเราเลิกคิดที่จะนั่ง แล้วก็ไปทำอย่างอื่น มันง่วงไหม? #ตอบ : ถ้าไปทำอย่างอื่นแล้วไม่ง่วง แสดงว่ามันเป็นนิวรณ์ มันเป็น “ง่วงปลอม ๆ” เป็นเพียงง่วงที่ขวางให้เราไม่เจริญ ในการที่จะมาฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ตัวที่ขวางไม่ให้เราเจริญนี้ล่ะ เรียกว่า “นิวรณ์” “นิวรณ์” แปลว่า ขวางกั้น กั้นไม่ให้เกิดความเจริญขึ้น ความเจริญในที่นี้คือ ทำให้เราไม่ได้สมาธิ เพราะฉะนั้น แค่คิดจะภาวนา แล้วง่วงเนี่ยนะ ดูไปเลย นี่คือ “นิวรณ์” ! รู้ลงไปเลย รู้ลงไปที่ความง่วงนั้น แล้วบอกในใจว่า ‘นิวรณ์’ มันเป็นเพียงแค่สภาวะขัดขวางเท่านั้นเอง ถ้ารู้อย่างนี้ได้นะ คือเรากำลังเจริญสติ รู้ทันนิวรณ์-ความง่วงหงาวหาวนอน พอรู้ทันด้วยใจเป็นกลางนะ มันจะตื่นขึ้นมาเลย มันจะดูต่อได้เลย คือ ทำกรรมฐานต่อได้เลย อย่างน้อย ๆ เห็นเลยว่า นิวรณ์ คือความง่วงนี้ เมื่อกี้มีอยู่จริง ๆ แล้วดับแล้ว อย่าไปกลัวมัน มันเป็นเพียงตัวขวางเท่านั้นเอง เป็นเพียงแค่ตัวขวาง ยังไม่ทันเริ่มเลย .. เรียกว่า เวลาจะนั่งสมาธินะ แค่ “จะนั่ง” เท่านั้นเอง ง่วงซะแล้ว บอกได้เลยว่า นิวรณ์ อย่าไปกลัวมัน รู้มันไปเลย รู้ไปซื่อๆ ว่า นี่คือนิวรณ์ แค่นั้น..ก็จะสว่างขึ้นมา พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=1Azlgbddx20 (นาทีที่ 1:08:50-1:10:56)

อ่านต่อ