#นิมฺมโลตอบโจทย์ ๑๒๔ ?? #ถาม​ : การ​เจริญ​วิปัสสนา​ แล้ว​ใช้​ความคิด​ คิด​เอา​ว่า​ ‘กาย​ใจ​นี้​ไม่ใช่​เรา’​…

#นิมฺมโลตอบโจทย์ ๑๒๔
??

#ถาม​ : การ​เจริญ​วิปัสสนา​ แล้ว​ใช้​ความคิด​ คิด​เอา​ว่า​ ‘กาย​ใจ​นี้​ไม่ใช่​เรา’​ มัน​จะ​กลับเข้า​สู่​อวิชชา​ หรือ​ไม่?

#ตอบ​ : การ​คิด​เอา​ว่า​ ‘กาย​ใจ​นี้​ไม่ใช่​เรา’​ อย่างนี้​ยัง​ไม่ใช่​การ​เจริญ​วิปัสสนา​นะ​ และ​ยัง​ไม่​ได้​ละ​อวิชชา

วิปัสสนา​ แปล​ว่า​ ความ​เห็น​แจ้ง​ คือ​เห็น​ตรง​ต่อ​ความเป็นจริง​ของ​สภาวธรรม

คือ​มี​สติ​เห็น​กาย​-ใจ​ ด้วย​ใจ​ที่​ตั้งมั่น​-เป็น​กลาง​ เห็น​กาย​-ใจ​แสดง​ความจริง​แง่​ใด​แง่​หนึ่ง​ คือ​ ไม่​เที่ยง​ เป็น​ทุกข์​ เป็น​อนัตตา​ อย่างนี้​จึง​จะ​นับ​ว่า​เป็น​ขั้น​เจริญ​วิปัสสนา

คำ​สำคัญ​คือ​ “เห็น” ไม่ใช่​คิด
ซึ่งไม่ใช่​เห็น​ด้วย​ตา​เนื้อ​ แต่​เป็นการ​เห็น​ด้วย​สติ​ ที่​ประกอบ​ด้วย​สมาธิ​คือ​จิต​ตั้งมั่น​ และ​มี​ปัญญา​เห็น​ตาม​ที่​เป็น​จริง

การ​คิด​ดังกล่าว​ เป็น​ได้​อย่าง​มาก​ก็​เป็น​ปัญญา​ใน​ขั้น​”สัมม​สน​ญาณ”

ใน​ญาณ​ ๑๖​ เป็น​การ​แสดง​รายละเอียด​ของ​ญาณ​(ความ​หยั่ง​รู้)​ ที่​เกิด​กับ​ผู้​เจริญ​วิปัสสนา​เป็น​ลำดับ​ มี​ตั้งแต่​ญาณก่อน​เจริญ​วิปัสสนา, ญาณขณะ​เจริญ​วิปัสสนา​ และ​ญาณ​อัน​เป็น​ผล​ คือ​เกิด​ขึ้น​หลังจากที่​ได้​เจริญ​วิปัสสนา​แล้ว​ ดังนี้

๑.​ นาม​รูป​ปริจเฉท​ญาณ​ ญาณ​กำหนด​รู้จำแนกรู้​นาม​และรูป
๒.​ ปัจจย​ปริคคหญาณ​ ญาณ​กำหนด​รู้​ปัจจัย​ของ​นาม​และ​รูป
๓.​ สัมมสนญาณ​ ญาณ​กำหนด​รู้​ด้วย​พิจารณา​เห็น​นาม​และ​รูป​โดย​ไตรลักษณ์

๓​ ข้อ​แรกนี้​ เป็น​ญาณ​ก่อน​เจริญ​วิปัสสนา

๔.​ อุทยัพพยานุปัสสนา​ญาณ​ ญาณ​อัน​ตาม​เห็น​ความ​เกิด​และ​ความ​ดับ​ของ​รูป​และ​นาม
๕.​ ภังคานุ​ปัสสนา​ญาณ​ ญาณ​อัน​ตาม​เห็น​ความ​สลาย​ คือ​เห็น​เด่นชัด​ใน​ส่วน​ของ​ความ​ดับ
๖.​ ภยตู​ปัฏ​ฐาน​ญาณ​ ญาณ​เห็น​สังขาร​ปรากฏ​เป็น​ของ​น่ากลัว​ คือ​เห็น​สังขาร​ทั้งปวง​ต้อง​สลาย​ตาม​ข้อ​ ๕​ แล้ว​ ก็​ปรากฏ​ความ​ไม่​ปลอดภัย​
๗.​ อาทีนวานุ​ปัสสนา​ญาณ​ ญาณ​อัน​คำนึง​เห็น​โทษ​ คือ​เห็น​ตาม​ข้อ​ ๕​ และ​ ๖​ แล้ว​ ก็​เห็น​ว่า​สังขาร​ทั้งปวง​ล้วน​มี​ความ​บกพร่อง​ เต็มไปด้วย​ทุกข์
๘.​ นิพพิทานุ​ปัสสนา​ญาณ​ ญาณ​อัน​เห็น​ที่​ประกอบ​ไป​ด้วย​ความ​หน่าย​ ไม่​เพลิดเพลิน​ติดใจ​ เพราะ​เห็น​โทษ​มา​ตั้งแต่​ข้อ​ ๗
๙.​ มุญจิตุกัมยตาญาณ​ ญาณ​อัน​ใคร่​จะ​พ้น​ไป​เสีย​ คือ​ปรารถนา​จะ​พ้น​จาก​สังขาร​เหล่านั้น
๑๐.​ ปฏิสังขานุ​ปัสสนา​ญาณ​ ญาณ​พิจารณา​หา​ทาง​ คือ​มา​ทบทวน​เห็น​ไตรลักษณ์​ เพื่อ​เจริญ​ปัญญา​อัน​เป็น​ทาง​พ้น​ทุกข์
๑๑.​ สังขาร​ุเปกขา​ญาณ​ ญาณ​อัน​เป็นไป​โดย​ความ​เป็น​กลาง​ต่อ​สังขาร​ คือ​ดิ้นรน​ขวนขวาย​ตาม​ข้อ​ ๙​ และ​ ๑๐​ แล้ว​ ก็​ย่อม​รู้เห็น​ตาม​เป็น​จริง​ ว่า​สังขาร​ทั้งหลาย​มี​ความ​เป็น​อยู่​เป็นไป​ของ​มัน​อย่างนั้น​เป็น​ธรรมดา​ ไม่ใช่เ​รา​ ไม่ใช่​ของ​เรา​ บังคับ​ไม่ได้​ ก็​วาง​ใจ​เป็น​กลาง
๑๒.​ สัจจานุโลมิกญาณ​ ญาณ​อัน​ป็น​ไป​โดย​อนุโลม​แก่​การ​หยั่งรู้​อริยสัจ​ พร้อม​แล่น​ตรง​สู่​พระ​นิพพาน

ข้อ​ ๔​ – ๑๒​ นี้​ รวม​เรียกว่า​ วิปัสสนา​ญาณ​ ๙
ฉะนั้น​ ต้อง​ขึ้น​มา​ถึง​ข้อ​ ๔​ – ๑๒​ นี้​ จึง​จะ​เรียก​ได้​ว่า​ เจริญ​วิปัสสนา

ต่อไป​ก็​เป็น​ญาณ​อัน​เป็น​ผล​จาก​การ​เจริญ​วิปัสสนา​ คือ
๑๓.​ โคตร​ภู​ญาณ​ ญาณ​ครอบ​โคตร​ เป็น​ความ​หยั่งรู้​ที่​เป็น​หัว​ต่อ​แห่ง​การ​ข้าม​พ้น​จาก​ภาวะ​ปุถุชน​เข้า​สู่​ภาวะ​อริยบุคคล​
๑๔.​ มัคคญาณ​ ญาณ​ใน​อริยมรรค​
๑๕.​ ผล​ญาณ​ ญาณ​ใน​อริยผล
๑๖.​ ปัจจเวกข​ณ​ญาณ​ ญาณ​พิจารณา​ทบทวน​ สำรวจ​รู้​มรรค​ผล​ กิเลส​ที่​ละ​แล้ว​ กิเลส​ที่​ยัง​เหลือ​ (ถ้า​ถึง​อรหัตตผล​แล้ว​ ก็​ไม่มี​กิเลส​เหลือ​อยู่​อีก)​

ข้อ​ ๑๔​ และ​ ๑๕​ เป็น​ โลกุตตร​ญาณ
ต้อง​ภาวนา​ให้เกิด​”โลกุตตร​ญาณ” ครบ​ ๔​ ครั้ง​ จึง​จะ​ละ​อวิชชา​ได้​หมด

๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑


อ่านบน Facebook