#นิมฺมโลตอบโจทย์ ๑๕๑ ?? #ถาม​ : สืบเนื่องจากที่โยมบอกบุญงานไถ่โคกระบือที่ได้ข่าวมา..มีเพื่อนท่านหนึ่งมีข้อคิดเห็นว่า…

#นิมฺมโลตอบโจทย์ ๑๕๑
??
#ถาม​ : สืบเนื่องจากที่โยมบอกบุญงานไถ่โคกระบือที่ได้ข่าวมา..มีเพื่อนท่านหนึ่งมีข้อคิดเห็นว่า การไถ่ขีวิตโคกระบือเป็นการก้าวก่ายหรือไถ่บาปให้กับมัน และไม่มีใครไถ่บาปให้กับใครได้…..จึงกราบเรียนถามเพื่อเป็นความรู้ในเส้นทางนี้ต่อไปและหากมีข้อพิจารณาอื่นใดที่พระอาจารย์เห็นสมควรเพื่อเป็นความรู้ เพื่อจะได้ระมัดระวังต่อไป ก็ขอรบกวนด้วยค่ะ

#ตอบ​ : เจตนา​ของ​ผู้​ที่​ไป​ไถ่​ชีวิต​โค​กระบือ​(รวม​ทั้ง​สัตว์​อื่น)​ น่าจะ​มี​เจตนา​ว่า​ “ปรารถนา​ให้โค​กระบือ​(รวม​ทั้ง​สัตว์​อื่น)​พ้น​จาก​ทุกข์​ที่​กำลัง​จะ​ถูก​ฆ่า​”

คำ​ว่า​ “ไถ่​” ในที่นี้​หมายความ​ว่า​ ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง

ไถ่​ชีวิต​สัตว์​ที่​นิยม​ทำ​กัน​ ก็​คือ​ การ​นำ​ทรัพย์​ไป​แลก​เปลี่ยน​ให้​สัตว์​ที่​กำลัง​ถูก​กักขัง​(และ​กำลัง​จะ​ถูก​ฆ่า)​ เพื่อ​นำ​ไป​เลี้ยง​ใน​ที่​ที่​ปลอดภัย​จาก​การ​ฆ่า​หรือ​ขาย​เพื่อ​ฆ่า

คง​ไม่มี​ใคร​คิด​ว่า​จะ​ไถ่​ชีวิต​กระบือ​เพื่อ​ให้​มัน​พ้น​จาก​ภพ​ภูมิ​ของ​กระบือ​ แต่​ให้​กระบือ​ยัง​คง​เป็น​กระบือ​ และ​เป็น​กระบือ​ที่​มี​สุข​ทุกข์​แก่​เจ็บ​ตาย​ไป​ตาม​ปกติ​ของ​อัตภาพ​กระบือ​ เพียง​แต่​ให้​พ้น​จาก​การ​ถูก​ฆ่า​ใน​คราวนี้​เท่านั้น
(ใน​กรณี​สัตว์​อื่น​ก็​เช่นเดียวกัน)

เมื่อ​เห็น​สัตว์ถูกกักขัง​เพื่อ​นำ​ไป​ฆ่า​
– แล้ว​เกิด​อุเบกขา​ เห็น​ว่า​สัตว์​โลก​ย่อม​เป็นไปตาม​กรรม​ ก็​สามารถ​ทำ​ได้
– เห็น​แล้ว​เกิด​สลด​สังเวช​ เห็น​ทุกข์ภัย​ของ​การ​เวียน​ว่าย​ตาย​เกิด​ คิด​หา​ทาง​ปฏิบัติให้​พ้น​ไป​จาก​ทุกข์​ ก็​สามารถ​ทำ​ได้
– เห็น​แล้ว​เกิด​ความ​กรุณา​ จะไถ่​ชีวิต​มัน​ ก็​สามารถ​ทำ​ได้

พระ​พุทธเจ้า​เมื่อ​ครั้ง​เสวย​พระ​ชาติ​เป็นพระ​โพธิสัตว์​ ก็​เคย​ช่วย​ชีวิต​สัตว์​ที่​กำลัง​จะ​ถูก​ฆ่า​ ปรากฏ​อยู่​ใน​ชาดก​หลาย​เรื่อง​ (เช่น​ใน”อัฏฐ​สัทท​ชาดก” เป็นต้น)​

ขอ​เสริม​ว่า​ ผู้​ที่​จะ​ไถ่​ชีวิต​สัตว์​ควรใส่ใจ​ใน​รายละเอียด​อีก​นิด​ว่า​ :-
– ที่​ที่​นำ​สัตว์ไป​ปล่อย​นั้น​ เหมาะกับ​การ​ดำรง​ชีวิต​ของ​สัตว์​นั้น​หรือ​ไม่?​ (เช่น​ ปลาไหลก็ชอบอยู่ในแหล่งน้ำตื้นๆที่มีพืชขึ้นรกๆ บางคน​ไป​ปล่อย​ที่​น้ำ​ลึก​ มี​ปลา​ใหญ่​ฮุบ​กิน​ต่อหน้าต่อตา เป็นต้น)​
– ปล่อย​สัตว์​นั้น​(หรือ​เหล่านั้น)​ไป​แล้วกระทบ​กับ​สิ่ง​แวดล้อม​หรือ​ระบบ​นิเวศน์​ใน​ที่​นั้น​หรือไม่? (เช่น​ นำ​ปลา​ต่าง​ถิ่น​ต่างประเทศ​ที่​ตัว​ใหญ่​และ​อึด​ มา​ปล่อย​ใน​แหล่ง​น้ำ​เมือง​ไทย​ ปลา​ท้องถิ่น​ของ​ไทย​ก็​ถูก​แย่ง​อาหาร​ แย่ง​ที่อยู่​ ที่​ร้าย​กว่า​นั้น​คือ​ถูก​ปลาต่าง​ถิ่น​กิน​ อาจ​ทำให้​ปลา​ท้องถิ่น​ของ​ไทย​สูญพันธุ์​ เป็นต้น)
ฯลฯ

ถ้า​ไถ่​ชีวิต​สัตว์​พร้อมทั้ง​ใส่ใจ​ใน​รายละเอียด​ดังกล่าว​ ก็​จะ​เป็น​การ​เจริญ​กรุณา​อัน​ประกอบ​ด้วย​ปัญญา​ ก็​นับ​ว่า​เป็น​การ​ทำ​กุศล​ที่​น่า​อนุโมทนา

๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒


อ่านบน Facebook