#นิมฺมโลตอบโจทย์ ๑๖๗ ?? #ถาม : คนที่มีสติ​ ทำบาปได้ไหม? #ตอบ : ก็แล้วแต่​ว่า​ ที่​ว่า​ “มี​สติ”…

#นิมฺมโลตอบโจทย์ ๑๖๗
??
#ถาม : คนที่มีสติ​ ทำบาปได้ไหม?

#ตอบ : ก็แล้วแต่​ว่า​ ที่​ว่า​ “มี​สติ” นั้น​ จะกินความครอบคลุมแค่ไหนนะ

ถ้าเป็น​ “สติแบบทั่ว​ ๆ​ ไป”
คนมีสติ​แบบนี้่มาตบเราได้ไหม?
ตบได้นะ! ต้องมีสติจึงตบถูก..ใช่ไหม?
คนมีสติ​แบบ​ทั่วไป​ ก็​เช่น​ คนไม่หลับ ไม่สลบ… คนมี​สติ​แบบนั้ฆ่าคนได้

ถ้าคนบ้า..ไม่มีสติ ก็​สามารถทำให้คนตาย​ได้​ ถ​้​า​พิสูจน์​ได้​ว่า​บ้า​จริง​ กฎหมายยกเว้น​โทษ​ให้​ด้วย รู้สึกไหม?
คนไม่มีสติ กลับไม่ผิด! คนมีสติ​ กลับผิด
นี่​คือสติแบบทั่ว​ ๆ ไป

เรื่อง​การ​เว้น​โทษ​ให้คน​บ​้​า​เนี่ย​ ไม่ใช่เฉพาะในกฎหมาย​นะ
ในพระวินัย​ของ​พระภิกษุ​ ก็ยังมี​ระบุ​ว่า​ พระ​ภิกษุที่่ไม่​ต้องอาบัติในทุกกรณี​ คือ​ ภิกษุ​วิกลจริต​
แปล​อีกที​ก็​คือ​ พระบ้า!

พระบ้าได้ไหม?
ต้องได้แน่​ ๆ เลยเพราะมีปรากฏ​คำ​นี้ในพระวินัย
ถ้ามีพระบ้า​ แล้ว​พระ​รูป​นั้น​ไปทำอาบัติอะไรสักอย่างหนึ่งนะ หาก​มี​คนมาโจทก์​ แล้วปรากฏว่า ดูไปดูมา.. ท่านบ้า!
บ้าชั่วขณะ ก่อนบวชไม่ได้บ้า​นะ​ แต่มาบวชแล้วบ้า เป็นไปได้​นะ​ เช่น​ ทำกรรมฐานผิด​ เป็นต้น

พระบ้านี่คือไม่มีสติแบบทั่วๆ ไป​ พระ​พุทธ​องค์​ทรง​ยกเว้น​ให้​ ไม่​ต้อง​อาบัติ

พระกระสับกระส่ายด้วยทุกขเวทนาก็ไม่มีสติ​นะ เช่น​มีทุกขเวทนามาก
เวลา​ที่​ท่านกระสับกระส่าย​ อาจจะดิ้น.. ดิ้นแรงพลาดไปชกพระที่ดูแล​ อย่างงี้นะ ไม่ถือว่าทำร้ายพระที่ดูแล​นั้น

ตอนนั้นทำด้วยขาดสติ ไม่มีเจตนาเจือปน

คน​ทั่วไปก็เหมือนกัน​นะ​
ในกฎหมายบ้านเมืองเนี่ย ถ้าคนนั้น​เขาพิสูจน์แล้วว่าบ้า หรือขาดสติ เขา​ก็​เว้น​โทษ​ให้​นะ

ที่​ว่า​ ขาดสติ​ ก็ในบางแง่นะ
ถ้าขาดสติ​เพราะเมา​ อย่างนี้​ต้อง​รับ​โทษ​นะ
เพราะก่อนเมามีสติ​ แล้วไปทำตัวเองให้เมา
อย่างนี้..ไม่ได้! ไม่พ้น!
เช่น​ เมาแล้วขับรถ​ นี่โดนหนัก
จะบอกว่า​ “ตอนนั้นผมเมา​ ไม่ได้มีสติ
เลยขับไปชน” อย่างนี้ไม่ได้! อ้างไม่ได้ ..

ฉะนั้น​ ถ้าสติทั่วไป มีสติทำผิด ทำบาปได้
ไม่มีสติ​ กลับไม่เป็นความผิด

แต่​ถ้า​มีสติปัฏฐาน…
สติปัฏฐานเนี่ย ขอบเขตของ​สติมันอยู่แค่รู้กาย เวทนา จิต ธรรม
ถ้ารู้อย่างนี้ไม่มีการทำผิด ไม่มีการทำบาป
คนมีสติทั่วๆ ไป มันแค่ตื่นขึ้นมาเอากายตื่น​ จิต​ยัง​ไม่​ตื่น​ ยัง​ไม่มี​สติ​ปั​ฏ​ฐาน​ ก็ยังทำบาปได้ ทำผิดได้ ..

ฉะนั้น​ สติทั่วๆ ไปยังไม่พอ
ขอบเขตของสติที่จะทำให้ป้องกันตนเองได้จริงน่ะ​ ก็คือ​ สติปัฏฐาน
เพราะแค่คิดที่จะทำบาป มันมีความปรุงแต่งทางจิต ก็รู้ว่ามีจิตคิดไม่ดี​ คิด​เป็น​บาป คิดที่จะทำบาป
พอ​รู้​ทัน​ มัน​ก็​ดับ
ไม่ว่าจิตขณะนั้นมีโลภ มีโกรธ มีหลง กิเลสอะไรเกิดขึ้นมา เมื่อรู้ทันจิต​แล้ว​ อย่างนี้​ก็​ไม่เป็นไปในทางที่จะไปทำบาป

แล้วในการเจริญสติปัฏฐานนี้​ มันไม่ได้มีแค่สติ​นะ
ในสติปัฏฐานเนี่ย มีข้อความระบุถึงคุณธรรมหลายข้อ
เช่นในข้อความ​บาลีว่า “อาตาปี สัมปชาโน สติมา”
อาตาปี​ ก็คือ​ มีความเพียร ได้แก่​มี​ สัมมา​วายามะ
สัมปชาโน​ คือ​ มีสัมปชัญญะ สัมปชัญญะนี้เป็น​ปัญญา​ เป็นความ​รู้เข้าใจ​ ว่าทำอะไร เพื่ออะไร​ ควร​ปฏิบัติ​ต่อ​มัน​อย่างไร ก็เป็นปัญญา เทียบ​ได้​กับ​ สัมมาทิฏฐิ​
สติมา​ แปลว่า​ มีสติ​ ซึ่ง​ก็​เป็น​ สัมมาสติ​

มี​ข้อความ​ต่อ​ท้าย​ใน​ทุก​ข้อ​อีก​ว่า
“ปลอด​ไร้​อภิชฌาและ​โทมนัส​ใน​โลก”
คือ​ มี​จิต​ที่​เป็น​กลาง

“มอง​เห็น​ความ​เกิด​ขึ้น​และ​ความ​เสื่อม​สิ้น​ไป” (ใน​กาย, เวทนา, จิต, ธรรม)
คือ​ มี​ปัญญา​เข้าใจ​ตาม​หลัก​ไตรลักษณ์

ดังนั้น​ ในสติปัฏฐานเนี่ย​ ไม่ได้มีแค่สติอย่างเดียว
ยังมีความเพียร มีปัญญา แล้วก็มีสติ
และ​ยังมีสมาธิแฝงอยู่​ด้วย
สมาธิเนี่ย ไม่ได้บอกชื่อตรงๆ เหมือนอาตาปี สัมปชาโน สติมา
แต่แฝงอยู่ใน..ในข้อความที่บอกว่า
“เห็นกายในกาย, เห็นเวทนาในเวทนา, เห็นจิตในจิต, เห็นธรรมในธรรม”
เพราะ​จะ​เห็น​อย่างนี้​ได้​ ก็​ต้อง​มี​สมาธิ​ที่​ถูก​ด้วย
เช่น​ เห็น​กาย​ตรง​ตาม​สภาวะ​ คือ​เป็น​ที่​ประชุม​ของ​ธาตุ​ ๔​ ดิน​ น้ำ​ ลม​ ไฟ
ไม่ใช่​เห็น​ “กู”

๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒


อ่านบน Facebook