#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ใครยอมก่อนคนนั้นชนะ ?? #ถาม : ถ้าเรามีปัญหาทะเลาะกับคนในครอบครัว และเรายอมที่จะพูดว่า “ขอโทษ” ก่อน เพื่อหยุดปัญหา เราทำถูกไหมคะ? #ตอบ : ถ้าทะเลาะกัน.. ถ้าลงทะเลาะกันแล้วนะ ถ้าเรายอมที่จะพูด “ขอโทษ” ก่อนเนี่ยนะ ..ดีมากเลย! ขออนุโมทนาเลย!! ส่วนเราจะเลวอย่างที่เขาว่าหรือเปล่า? ..ยกเอาไว้ก่อน แต่ที่พูดขอโทษเอาไว้..ใช้ได้!! เราอาจจะไม่เห็นโทษอันนั้น แต่ยอมขอโทษ ถือว่าดีมาก เหมือนได้ทำตามพระอานนท์ .. พระอานนท์ ตอนสังคายนาครั้งที่ ๑ ตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลายให้เวลาพระอานนท์ ๓ เดือน ว่า “๓ เดือน จะมาทำสังคายนา” ตอนนั้นพระอานนท์ยังเป็นแค่โสดาบัน ประมาณว่าให้เวลา ๓ เดือน ไปทำอรหัตตผลให้ได้..เพื่อที่จะเข้าประชุม เพราะว่าที่ประชุมนี้ ผู้มีคุณสมบัติที่จะเข้าประชุมได้ ต้องเป็นพระอรหันต์ แต่พระอานนท์ก็เป็นพระผู้ทรงจำพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ไว้อย่างมากที่สุด การทำสังคายนาจะขาดพระอานนท์ก็ไม่ได้ ประมาณอย่างนี้ เป็นภาระของพระอานนท์ที่จะต้องทำ สรุปแล้วในที่สุดพระอานนท์ก็เป็นพระอรหันต์จนได้ นี่เล่าสั้นๆ ย่อๆ นะ ทีนี้พอไปเข้าที่ประชุม พอพระอานนท์เล่าถึงตอนที่มารมาแกล้ง ทำให้พระอานนท์ลืมที่จะขออาราธนาให้พระพุทธเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ พระพุทธเจ้าเปิดโอกาสให้พระอานนท์อาราธนา แต่พระอานนท์ไม่ทันได้อาราธนา สงฆ์ทั้งหลายในที่นั้นก็ปรับอาบัติ เป็นอาบัติทุกกฏ ปรับเป็นอาบัติที่ไม่ยอมอาราธนาให้พระพุทธเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ต่อ ทั้งที่พระพุทธเจ้าเปิดโอกาสให้ตั้ง ๑๐ กว่าครั้ง พระอานนท์จริงๆ แล้วมองไม่เห็นอาบัติของตัวเองนะ แต่ก็ยอมแสดงอาบัติ พระอานนท์เนี่ย เหมือนกับบอกว่าท่านไม่ผิด ประมาณว่า ที่ไม่อาราธนาเนี่ย ไม่ใช่ว่าสะเพร่า หรือละเลยอะไร แต่เพราะมารมันมาดลใจ ให้หลงลืมไป มันไม่ใช่เป็นความผิดของท่าน ประมาณนี้ แต่ถ้าสงฆ์ลงความเห็นว่า ‘ท่านผิด’ .. ท่านก็จะยอมแสดงอาบัติ ..เหมือนกัน ..เราทะเลาะกันในบ้านเนี่ยนะ ถ้าเราต่างฝ่ายต่างไม่ยอมนะ ..ไม่จบ เรายอมเขาซะก่อนนะ เขาเห็นว่าเรายอมแล้ว..เขาก็จะอ่อนลง จริงๆ คนเวลาเอาชนะกัน คนมันทะเลาะกัน มันก็จะเอาชนะกันนะ ถ้าอีกคนหนึ่งยอมแล้วเนี่ย.. ภาระที่จะเอาชนะ(ของอีกฝ่าย)มันหมดไป นึกออกไหม? ก็เรายอมซะแล้ว เหมือนยอมแพ้นะ “ยอมแพ้ ..อ่ะๆๆ.. ฉันยอมแพ้ๆ ยอมๆๆ” พอยอมแล้วเนี่ย ไอ้เรื่องราวอะไรต่างๆ ของอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องการเอาชนะ..มันก็จบแล้ว เพราะว่าชนะแล้ว ก็เหลือแต่ว่า จะมาปรับความเข้าใจกัน ปรับทัศนคติกัน “อ้าว..เธอผิดแล้ว ! โอเค(ok) งั้นฉันก็ขออภัยด้วยนะ ที่ฉัน ..อย่างนั้น ..อย่างนี้..” มันต่างฝ่ายต่างขออภัยซึ่งกันและกัน มันก็จบได้นะ เพราะฉะนั้น “คนขอโทษก่อน คือคนชนะ” ก็ขออนุโมทนาด้วย ถ้าเรามีการทะเลาะกัน .. “ใครยอมก่อน คนนั้นชนะ” ก็แล้วกัน! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=D8kDeGhAg4k (นาทีที่ 1.42.35 -1.46.39)

อ่านต่อ