#นิมฺมโลตอบโจทย์ #ไวยาวัจกร #ถาม : กราบนมัสการค่ะ มีความเข้าใจว่า การมอบปัจจัยโดยตรงที่พระสงฆ์ คือ “ผิด” แต่หลายครั้ง เวลาตักบาตร คนอื่นใส่เงินในย่ามกันทุกคน มีเราคนเดียวไม่ได้ใส่ แบบนี้ แปลว่า.. เรายึดติดเกินไปหรือเปล่าคะ? แล้วควรหรือไม่ สำหรับยุคนี้? #ตอบ : ถ้าเรารู้ว่ามันผิด แล้วจะทำทำไมล่ะ?.. ใช่ไหม? คนอื่นเขาไม่รู้ ..เขาเลยทำ คนอื่นเขาไม่รู้ เลยทำ ..ก็ปล่อยเขาไป สถานการณ์ตรงนั้น ถ้าเราจะไปบอกว่า “คุณอย่าไปทำอย่างนั้น!” เราอาจจะถูกมองไม่ดี บางทีเราคนเดียวใช่ไหม? แล้วเขาใส่กันมา ๑๐ คนแล้ว เรา..ผู้ปฏิบัติถูก อาจจะถูก”ผู้เข้าใจผิด”มองเราไม่ดี เพราะฉะนั้น ไม่เป็นไร เขาไม่รู้ เขาจึงทำอย่างนั้น แต่เรารู้แล้ว ถ้าเราทำ.. แสดงว่า.. “เราไม่เอื้อเฟื้อ” เพราะฉะนั้น เมื่อรู้แล้ว ถ้าเราจะถวายปัจจัย เราก็ไปตามถวายไปที่วัด ถ้าท่านมีลูกศิษย์มาด้วย ก็เอาปัจจัยนี้ฝากกับลูกศิษย์ บอกลูกศิษย์ว่า “นำปัจจัยนี้ถวายพระอาจารย์” แล้วก็บอกกับพระด้วยว่า “ได้ถวายปัจจัย ฝากไว้กับลูกศิษย์” เรียกว่า..ให้ท่านไป cross check (ตรวจสอบยืนยันความถูกต้อง) กันเอง คือ มอบปัจจัยให้กับลูกศิษย์ แล้วก็บอกกล่าวกับพระภิกษุด้วย ว่า “ได้มอบให้กับลูกศิษย์ไว้” “ลูกศิษย์” ในที่นี้ก็จะเป็นไวยาวัจกร คือ คอยจัดการช่วยเหลือรับใช้ ผู้ที่เป็น “ไวยาวัจกร” คือ รับปัจจัยของเราไปแล้ว ก็ไปจัดการตามที่พระประสงค์ ต้องการอะไรที่เหมาะกับสมณเพศ ท่านก็จะไปบอกกับลูกศิษย์ (ผู้ที่เป็น “ไวยาวัจกร”) อันนี้เป็นวิธีที่ถูก เรารู้วิธีที่ถูกแล้ว ก็ควรจะทำให้ถูก ไม่ใช่ไปทำผิดตามคนที่เขาไม่รู้ มันก็เลยยิ่งตอกย้ำความผิดกับไปใหญ่ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=yOFtaItcsO0&t=6079s (นาทีที่ 1.38.48-1.41.16 )

อ่านต่อ