#นิมฺมโลตอบโจทย์ #คัดลอกข้อมูลอย่างไรไม่ให้ผิดศีล #ถาม : ถ้าเรามีความจำเป็นจะต้องคัดลอกข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต (internet) มาใช้เพื่อการทำงาน เพื่อประกอบอาชีพ จะผิดศีลข้อ ๒ ไหมคะ? #ตอบ : ก็ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลนั้น เขายินดีให้เราคัดลอกไหม? คือเขาเต็มใจไหม? ถ้าเขาต้องการเผยแพร่ ก็คัดลอกได้ และถ้าให้ดีคือ อ้างอิงด้วย! ไม่ใช่คัดลอกแล้วก็มาเป็นของเรา นึกออกไหม? การคัดลอก ถ้าจะไม่ให้ผิดศีลข้อ ๒ คือ – ดูว่าเขาหวงข้อมูลนั้นไหม? – เขามีคำไหมว่า “ห้ามคัดลอก”? ถ้าเขามีข้อความระบุอะไรประมาณนี้นะ แสดงว่าคัดลอกไม่ได้ แต่ถ้าเขาต้องการเผยแพร่สิ่งที่เขามีอยู่นั้น (ข้อมูลหรือข้อความนั้น) ก็ไม่ใช่ว่าจะคัดลอกมาเป็น “ของเรา”! ก็ต้องอ้างอิงด้วยว่า “ข้อความนี้มาจาก…(ที่ไหน)” อ้างอิงเจ้าของเขาด้วย เช่น เอามาจาก nimmalo.com ประมาณอย่างนี้ ก็อ้างด้วยว่า มาจากที่นี่ หรือว่าข้อความจากเว็บ (web) ไหน ก็ต้องบอก สำนักข่าวนั้น..ว่าอย่างนี้ หรือคำพูดนี้ของใคร ก็อ้างคำพูดไปด้วย ไม่ใช่ว่าลอกมา แล้วบอกเป็นของเรา หรือว่าไม่อ้างอิงเลย ไม่อ้างอิงเลย ก็เหมือนขโมย!! แม้เขาจะเป็นเว็บ (web) หรือว่าเป็นแหล่งที่ไม่ได้หวงข้อมูล ก็ควรจะอ้างอิงอยู่ดี ไม่ใช่ว่า ‘เออ! หนังสือนี่ดีจัง..’ (เคยมีเรื่องอย่างนี้นะ) ‘โอ้..หนังสือนี่ดีจัง! ..เอาไปพิมพ์แจกดีกว่า’ เอาไปพิมพ์..แล้วไม่ได้บอกว่าใครเขียน เคยมีเหตุการณ์อย่างนี้นะ หนังสือนั้นดีจริง ควรจะเผยแพร่ แต่ควรจะบอกด้วยว่า “ใครเขียน” ไม่ใช่เอาไปพิมพ์แล้วก็เลยไม่รู้ว่าใครเขียน? กลายเป็นวรรณกรรมที่ปริศนาว่า “ใครเป็นคนเขียน?” ..สืบไป ..สืบมา โอ้! “อาจารย์วศิน อินทสระ” ท่านเขียนเอาไว้ แล้วพอไปพิมพ์ไปตั้งชื่อใหม่ว่า สามเดือนก่อนปรินิพพาน ประมาณนี้ จริง ๆ หนังสือเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมของอาจารย์วศิน เขียนเอาไว้นานแล้ว ชื่อเรื่อง “พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน” (เป็นหนังสือที่ตัดตอนจากหนังสือเรื่อง “พระอานนท์พุทธอนุชา”) มีคนอ่านแล้วชอบใจ ก็ไปให้โรงพิมพ์ไปพิมพ์ซ้ำ แต่ไม่อ้างอิงชื่อผู้ประพันธ์ อย่างนี้ “ผิดมารยาท” ต้องอ้างอิงด้วย! พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากตอบปัญหาธรรม รายการธรรมะสว่างใจ ออกอากาศวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๕ ลิงค์รายการ https://www.youtube.com/watch?v=gioUZb0Nzbc (นาทีที่ 1:34:26 – 1:37:18)

อ่านต่อ