คลิปแสดงธรรม

#คลิปแสดงธรรม เรื่อง #แค่รู้ โดย..พระอาจารยกฤช นิมฺมโล ??? ครูบาอาจารย์แต่ละท่าน ผ่านการภาวนามาไม่เหมือนกัน ใช้กรรมฐานต่างกัน แต่สอนเรื่องเดียวกันคือ “มีสติรู้จิต” แต่ละท่านจะใช้ภาษาบอกยังไง..ให้เราเข้าใจ? เราเข้าใจคำไหน..ก็เอาคำนั้นแหละ! แค่รู้..รู้ที่ปลอดภัย แล้วเห็นผลชัดที่สุด คือรู้อะไร? ฟังคำตอบนี้ได้ที่คลิปลิงค์วีดีโอ 63-01-11 แค่รู้ https://youtu.be/jbhixCmMaZU #คอรส์กองบุญสร้างอาริยะ ๙ มกราคม ๒๕๖๓ 630111-แค่รู้ ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโลyoutu.be630111-แค่รู้ ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล สอนให้ มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วย จิตที่ตั้งมั่น…..

#คลิปแสดงธรรม เรื่อง #เคลิ้ม-#เครียด โดย..พระอาจารยกฤช นิมฺมโล ??? เคลิ้ม ๆ เครียด ๆ คนทำเคลิ้ม ๆ ก็เข้าใจว่าสงบแล้ว คนทำเครียด ๆ ก็เข้าใจว่าเครียด ๆ ถึงจะสงบ ตัวที่พลาดกันมากคือ “ตัวเครียด” เป็นตัวที่พลาดแล้วแก้ยาก! แล้ว เคลิ้ม ๆ เครียด ๆ จะแก้กันยังไงดีล่ะ! รับชมและฟังธรรมบรรยาย 63-01-12 เคลิ้ม-เครียด ได้ที่ลิงค์ https://youtu.be/5dlv5GyRcLI #คอรส์กองบุญสร้างอาริยะ ๙ มกราคม ๒๕๖๓ 630112 เคลิ้ม-เครียด ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ในคอร์สกองบุญสร้างอริยะyoutu.be630112 เคลิ้ม-เครียด ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล สอนให้ มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วย จิตที่ตั….


#คลิปแสดงธรรม #ชุดคัมภีร์ธรรมะในสวนธรรม ตอน: #ตัวห่างไกลใจใกล้พระ โดย: พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ??? คลิปนี้พระอาจารย์ยกพระสูตร #สังฆาฏิสูตร เพื่อให้ข้อคิด ข้อธรรมว่า.. “…ตอนนี้เว้นระยะทางสังคมก็จริง (Social Distancing ) แต่ไม่ได้เว้นระยะระหว่างธรรมะเลย เพราะธรรมะอยู่ที่กาย ที่ใจของเรานี้…. ไม่ละเลยกับการเรียนรู้ ความจริงของกายและใจ ถ้าเราเรียนรู้อย่างนี้ไป ก็ชื่อว่า ไม่ห่างไกลพระพุทธองค์ ไม่ห่างไกลจากพระธรรม และไม่ห่างไกลจากพระสงฆ์ ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ของเรา…” ??? อ้างอิง : สังฆาฏิสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต ลิงค์ชุดคัมภีร์ธรรมมะในสวนธรรม ตอน ” ตัวห่างไกล ใจใกล้พระ” https://youtu.be/NHHFHLj5Wno ณ สวนธรรมประสานสุข ศรีราชา ๘ เมษายน ๒๕๖๓ 20200408-ตัวห่างไกล ใจใกล้พระ โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโลyoutu.be20200408-ตัวห่างไกล ใจใกล้พระ โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล สอนให้ มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วย จิตที่ตั้ง…..

“ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ” (ยัง กิญจิ สมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะ ธัมมันติ) #คลิปแสดงธรรม #อาสาฬหบูชา #สวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร โดย: พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ??? ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นการบรรยายธรรมครั้งแรก ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อปัฯจวัคคีย์ ทั้ง ๕ พระอาจารย์ได้นำคำสอนมาขยาย จุดที่สำคัญคือ ● ทรงแสดงทางที่ผิด ๒ ด้าน ● ทางแสดงทางสายกลาง คือ มรรคมีองค์ ๘ ● ทรงแสดงคำสอนสำคัญ คือ อริยสัจ ๔ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบ โกณฑัญญะ ได้เข้าใจธรรมว่า “ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ” (ยัง กิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะ ธัมมันติ) “สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป เป็นธรรมดา” วันอาสาฬหบูชา จึงเป็นวันที่มีพระรัตนตรัย ครบ ๓ ประการ รับชมและฟังที่ลิงค์คลิปวีดีโอ https://youtu.be/ndipWIp70DY บันทึกเมื่อ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๓ วันอาสาฬหบูชา ณ สวนธรรมประสานสุข บ้านโค้งดารา ศรีราชา 20200705-อาสาฬหบูชา-2563 โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโลyoutu.beอาสาฬหบูชา-2563 โ โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล สอนให้ มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วย จิตที่ตั้งมั่นและเป็…


#คลิปแสดงธรรม #เมตตาธรรม โดย..พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ??? คำว่า “เมตตา” ทุกคนรู้จัก แต่ “สมบัติของเมตตา” “วิบัติของเมตตา” เป็นอย่างไร หากใจเรามีวิบัติของเมตตา จะเกิดผลเช่นไร? ถ้าเมตตายังมีขอบเขต เมตตานั้นก็ยังไม่สมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของเมตตา จึงควรจะแผ่ออกไปแบบไม่มีประมาณ พระอาจารย์จึงเล่านิทานว่า โจรให้เจ้าอาวาสเลือกพระมาให้เชือดคอ ๑ รูป ท่านถามว่า..เจ้าอาวาสจะส่งใครไปให้โจรเชือดคอ? แล้วคำตอบควรจะเป็นใคร? เมื่อฟังคลิปนี้จบ เราจะยังได้รู้จักศัตรูของเมตตา เพื่อเช็คได้ว่าเรามีเมตตาที่ถูกต้องกันหรือยัง! https://youtu.be/ci7ILQgxiRU ธรรมบรรยายเรื่อง “เมตตาธรรม” เรายกวัดมาไว้ที่เซเว่นฯ อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ 10 กรกฎาคม 2563

#คลิปแสดงธรรม #เราจะตายกันจริง ๆ หรือ? #มรณานุสติ โดย..พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ???? คนเราไม่อยากพูดถึงความแก่..แล้วก็ไม่อยากให้ใครพูดว่าเราแก่ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ให้ระลึกถึงบ่อย ๆ เพราะ.. มันมาแน่ ๆ …!! ถ้าเราภาวนายังไม่มั่นใจว่าจะเป็นพระอรหันต์ จะต้องเกิดอีก! จะต้องเกิดดีขึ้น ดีกว่านี้ มีความพรั่งพร้อมสมบูรณ์ดีกว่านี้ ก็จะต้องเตรียมพร้อม..เตรียมตัวในเรื่องใดบ้าง? รับฟังธรรมะ #มรณานุสติ จากคลิปวีดีโอ https://youtu.be/LOPxh-KLdUU การบรรยายทางไกล เรื่อง “เราจะตายกันจริงๆ หรือ?” บันทึกรายการด้วยระบบ MS Meeting เมื่อ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ 630729 เราจะตายกันจริงๆ หรือ มรณานุสติ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโลyoutu.be630729 เราจะตายกันจริงๆ หรือ โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล สอนให้ มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วย จิตที่ตั้ง….



#คลิปแสดงธรรม #ล้างมือด้วยความมีสติ โดย..พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ??? ล้างมือด้วยความมีสติ เดี๋ยวนี้ยุคนี้ต้องล้างให้ได้ ๒๐ วินาที และไม่ใช่ล้างน้ำเปล่านะ ต้องมีสบู่ด้วย ถูมือไปให้ได้ ๒๐ วินาที และทุกครั้งที่ถูสบู่ให้ได้ ๒๐ วินาทีเนี่ย เราก็เหมือนได้เจริญสติกับการเคลื่อนไหวกายของเราไปด้วย มีข้อเสนอนิดหนึ่ง คือบางคนให้ร้องเพลงไปด้วย(เช่นเพลงช้าง)ในขณะที่ล้างมือเพื่อแทนการจับเวลา จบเพลงก็ได้ประมาณ ๒๐ วินาที ทีนี้ถ้าเป็นนักบวชเนี่ย เช่น พระล้างมือแล้วร้องเพลงช้างช้างช้างช้างช้าง… ก็คงไม่เหมาะเท่าไหร่ ในฐานะที่ว่า ถ้าใครเป็นนักบวช หรือใครถือศีล ๘ แล้วไม่รู้ว่าจะให้ล้างมืออย่างไรแล้วให้มันครบ ๒๐ วินาที โดยที่ไม่ต้องร้องเพลง ก็ขอเสนอว่าให้สวดบท “รัตนสูตร” “บทรัตนสูตร” ที่เราสวดกัน บทแรกเลย บทขึ้นต้นเป็นการสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า… ลองจับเวลาซิว่าได้ ๒๐ วินาทีไหม?..คงจะพอดี ๆ ประมาณ ๒๐ วินาที ทีนี้เวลาล้างมือให้ทำอย่างนี้ สมมติว่ามีสบู่แล้วนะ ได้สบู่มาแล้วก็เริ่ม (พระอาจารย์ทำท่าล้างมือประกอบ) ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา (ให้อุ้งมือประกบกัน แล้วถูฝ่ามือและซอกนิ้วด้านหน้าทั้ง ๒ ข้าง) สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง (ใช้อุ้งมือขวาถูที่ข้อมือซ้าย แล้วสลับมาทำแบบเดียวกันทั้ง ๒ ข้าง) นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ (ใช้อุ้งมือขวาถูที่หลังมือซ้าย แล้วสลับมาทำแบบเดียวกันทั้ง ๒ ข้าง) อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง (ใช้อุ้งมือขวามาล้างที่นิ้วโป้งซ้าย แล้วสลับมาทำแบบเดียวกันทั้ง ๒ ข้าง) เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ (ทำความสะอาดเล็บมือขวาด้วยอุ้งมือซ้าย แล้วสลับมาทำแบบเดียวกันทั้ง ๒ ข้าง) …แล้วก็ล้างน้ำ ก็เรียบร้อย นี่ ล้างมือ ๒๐ วินาที ได้ล้างมือด้วย ได้สวดมนต์ด้วย ได้เจริญสติด้วย รู้ทันว่าร่างกายกำลังเคลื่อนไหวในท่าไหน แล้วมันเป็นเซ็ต (set) ว่าบทนี้ถึงคำนี้..ทำท่านี้ ถึงคำนี้..ทำท่านี้ จะรู้สึกว่ามันมีท่าทางประกอบในการสวดมนต์ครั้งนี้ เราได้ทำความสะอาดมือด้วย เราได้เจริญพุทธมนต์ด้วย แล้วเราได้เจริญสติด้วย ก็เรียกว่าได้ทรงคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ และได้ปฏิบัติเจริญสติของเราเอง แล้วก็ได้รักษาอนามัยด้วย ก็ลองเอาไปใช้ดู นี่คือเรียกว่าเข้าห้องน้ำแล้วเจริญสติ ล้างมือก็เจริญสติด้วย สามารถสวดมนต์นี้ในห้องน้ำก็ได้ แต่การสวดมนต์เนี่ยไม่ใช่ว่ามาเชิญเทวดามา เป็นการสวดมนต์เพื่อทบทวนพระสูตร เพื่อที่จะเจริญสติ แล้วก็เป็นการช่วยว่าทำให้การล้างมือของเราครบ ๒๐ วินาที โดยที่ไม่ต้องเดาเอาเองว่า “เวลาคงครบแล้วมั้ง?” ..ลองนำไปทำดูนะ พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากรายการธรรมะสว่างใจ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ (ช่วงที่ ๑) ลิงค์รายการ วิธีล้างมืออย่างมีสติ https://youtu.be/RN1l8oLuzSE?t=2019 (นาทีที่ 33.40-37.54) 25630819-ธรรมะสว่างใจ1 โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโลyoutu.be25630819-ธรรมะสว่างใจ1โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล สอนให้ มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วย จิตที่ตั้งมั่นและเ…


#คลิปแสดงธรรม ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ ตอน #สามัคคีกัน #อย่าเห็นแก่สั้น #อย่าเห็นแก่ยาว พระอาจารย์ได้ให้โอวาทธรรม “…. ถ้าสมมติว่า อาตมาเป็นศัตรูของประเทศไทยอยู่เนี่ยนะ ตอนนี้กำลังยิ้มกริ่ม !! เพราะประเทศไทยกำลังแตกสามัคคี ถ้าต้องการผลประโยชน์อะไรกับประเทศไทยเนี่ย อาตมาจะเข้ามาแทรกได้สบายเลย” คลิปบรรยายนี้ ท่านเตือนให้ตระหนักถึงความสามัคคี ให้มีเมตตาต่อกัน อย่าให้ศัตรูมายุแยง ยั่วยวน ให้เราคิดร้าย พูดร้าย ทำร้าย ฝ่ายเดียวกันเอง อย่าเห็นแก่สั้น อย่าเห็นแก่ยาว เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร เราเองเหมือนกันนะ เรา ต่างก็เป็นคนไทยด้วยกัน เราต่างก็เป็นผู้ร่วมโลกด้วยกัน ปรารถนาสุข รังเกียจทุกข์ ปรารถนาความเจริญรุ่งเรืองของสังคม เพราะฉะนั้น อะไรที่เราทำแล้ว มันเป็นศัตรูต่อหนทางที่เป็นความเจริญของสังคมนี้..อย่าทำ!! รับฟังคลิปโอวาทธรรม ได้ที่ลิงค์ https://youtu.be/_zntTUkCBS0 รายการธรรมะสว่างใจ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๓ 20201028 สามัคคีกัน อย่าเห็นแก่สั้น อย่าเห็นแก่ยาว โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโลyoutu.be20201028 สามัคคีกัน อย่าเห็นแก่สั้น อย่าเห็นแก่ยาว โดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ในรายการ ธรรมสว่างใจ สอนให้ มีสติ ร…..


#คลิปแสดงธรรม #ชวนแม่สวดมนต์ #สวดมนต์อย่างไรให้ได้ปัญญา โดย..พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล ??? เดี๋ยวจะชวนสวดมนต์แบบที่อาตมาสอนกับโยมแม่ เอาไหม? ลองไหม? ที่อาตมาสอนโยมแม่เนี่ยนะ คือ สวด “อิติปิโส ๙ จบ” แล้วก็ต่อด้วย “สฺวากขาโตฯ” แล้วก็ “สุปะฏิปันโนฯ” อาตมาเวลาสวดกับโยมแม่เนี่ย ตอนที่สวดจริง ๆ มีพระ ๓ รูป กับโยมอีก ๑ คน เพราะฉะนั้น จะสวดแบบเว้นวรรค.. “อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ” เว้นวรรค “วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู” เว้นวรรค เพราะว่าถ้าสวดยาว ๆ ต้องมีพระหลายรูป แล้วแอบหยุดได้ ถ้าเราสวดคนเดียวนะ มันต้องหยุดแบบตั้งใจหยุดก็คือ หยุดแบบเว้นวรรค ใครไม่เคยสวดแบบเว้นวรรค ให้ฟังอาตมา สักรอบหนึ่งก่อน แล้วก็อีก ๘ รอบ ค่อยออกเสียง หลักเกณฑ์คือว่า ถ้าสามารถทำได้ก็คือ สวดไปเนี่ย “มีบทสวดถูกสวดอยู่ แล้วมีจิตผู้สวดอยู่ต่างหาก” อย่างนี้นะ ถ้าเริ่มต้นด้วยอย่างนี้ได้นะ..ดีมาก คือ สวดด้วยจิตตั้งมั่น ใจไม่ไหลไปหาบทสวด สวดก็สวดไปนะ บทสวดถูกสวด มีจิตเป็นผู้สวดอยู่ต่างหาก ถ้าเริ่มอย่างนี้ได้..ดีมาก แต่ถ้าไม่ได้ อนุโลมให้ใจไปรวมอยู่กับบทสวดก่อน อันนี้น่าจะง่ายกว่า คือ สวดไป ใจรวมอยู่กับบทสวด “อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ” เนี่ยนะ ใจรวมอยู่กับบทสวดนะ แล้วถ้าจิตผิดไปจากนี้เมื่อไหร่ คือผิดไปจากบทสวดนี้เมื่อไหร่ ให้รู้ทัน! บางทีมันจะผิดในลักษณะที่ว่า มันไปคิด บางทีก็ไปฟัง บางทีอาจจะฟังเสียงคนข้าง ๆ นี่แหละ ไปติเขา.. “หือ.. เสียงแปร๋นเชียว” อะไรอย่างนี้นะ “คนนี้สวดผิดจังหวะ เนี่ย..แสดงว่าไม่ค่อยได้ซ้อมเลย” อย่างนี้นะ จิตไปรับรู้สิ่งอื่นนอกจากบทสวดเมื่อไหร่ให้รู้ทัน หรือบางทีก็ “เสียงเพราะจังเลย” ไปชื่นชมเขาก็ได้นะ ชื่นชมมันก็ไม่ใช่บทสวดอยู่ดี นึกออกไหม? ไม่ว่าจะคิดนึก ดีหรือไม่ดีก็ตาม มันคือไม่ใช่บทสวด ให้รู้ทัน!! เพราะฉะนั้น ที่มันจะเผลอ ส่วนใหญ่ก็เผลอคิดนี่แหละ แต่มันก็อาจจะเผลออย่างอื่น คือ เผลอไปได้ยิน เผลอไปดู มีบ้างเหมือนกัน แต่ไม่มาก เผลอไปดมเนี่ย โอกาสน้อยมาก นอกจากคนข้าง ๆ ตั้งใจ กลั้นไม่ไหว แอบปล่อยกลิ่น เพราะฉะนั้น ความเผลอที่จะเกิดบ่อย ๆ ก็คือ จิตมันคิดนึกในระหว่างที่สวดมนต์ ให้รู้ทันจิตที่มันรับรู้สิ่งอื่น นอกจากบทสวดมนต์ โดยไม่บังคับ! มีบทสวดมนต์เป็นเพียงแค่ “เครื่องเทียบ” .. ว่า “จิตถ้าผิดจากนี้ จะรู้ทัน แล้วรู้เฉย ๆ” อย่าไปแก้ไข! อย่าไปดัดแปลง! อย่าไปดึงกลับมา! เพราะจิตที่รู้นั้น มันเป็นปัจจุบัน จิตที่เผลอเป็นอดีตไปแล้ว ไม่ต้องไปแก้ไขจิตอดีต แล้วจิตที่รู้นั้นก็ดับ แล้วเอาจิตปัจจุบันดวงใหม่มาสวดต่อ นึกออกไหม? ไม่ทำอะไรเลยนอกจาก “รู้” ถ้าทำเกินรู้ ให้รู้ทันด้วยว่า มัน “ทำเกินรู้” *** มีงาน ๒ งาน.. – งานแรก คือ สวดมนต์ แล้วพอจิตที่ผิดจากบทสวดมนต์ให้รู้ทัน – งานที่สอง คือ ถ้ามันรู้ แล้วมันรู้ไม่ใช่เฉยๆ ทำเกินรู้ ให้รู้ทันด้วยว่า อันนี้มันรู้ด้วยใจไม่เป็นกลาง *** ถ้ารู้ด้วยใจเป็นกลาง คือ รู้เฉย ๆ ไม่นาน จะเกิดปัญญาแน่นอน!! พร้อม ไหม? ไม่ต้องขึ้นนะโมนะ ขึ้นอิติปิโสเลยนะ ๙ จบ ต่อด้วย สฺวากขาโตฯ และ สุปะฏิปันโนฯ.. “อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ / วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู / อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ” (๙ จบ) “สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม / สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก / โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ” (๑ จบ) “สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา / เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ” (๑ จบ) ใครไม่เผลอเลย มีไหม? ..ดีมาก ไม่ใช่ดีมากที่เผลอนะ ดีมากที่รู้ แล้วแต่จะเผลอนะ สารพัดเผลอ.. “เอ.. ท่านอาจารย์จะนับมั่วไหมเนี่ย ๙ จบ?” อะไรอย่างนี้นะ พอทำได้ไหม? อันนี้ก็เป็นรูปแบบหนึ่ง ในการที่จะภาวนา เป็นภาวนาในรูปแบบก็ได้ ถ้าใครนับเวลา ก็เอาเวลาสวดมนต์เนี่ยไปบวกได้ เป็นการภาวนาในรูปแบบ ถ้าสวดได้ถูกต้องมันจะเป็นการ “เพิ่มกำลังให้จิต” เพราะว่าสวดปุ๊บ! อย่างน้อย ๆ ระหว่างที่สวดเนี่ยนะ ถ้าจิตอยู่กับบทสวด ก็ได้สมถะในแง่ “อารัมมณูปนิชฌาน” จิตเผลอไป เห็นจิตเผลอ ถ้ารู้ทันด้วยใจเป็นกลาง ก็เป็น “ลักขณูปนิชฌาน” จิตตั้งมั่น เห็นจิตเคลื่อนไปจากบทสวดมนต์ ก็ได้จิตตั้งมั่นอีก ก็สวดมนต์ต่อ สวดมนต์ต่อได้ “อารัมณูปนิฌาน” ทำสมถกรรมฐานต่อ จะเห็นว่าตลอดเวลาที่สวดมนต์เนี่ย จะเติมกำลังอยู่ตลอด สวดมนต์ได้กำลังแบบหนึ่ง เผลอไปรู้ทันเผลอ ได้กำลังอีกแบบหนึ่ง เป็นกำลังพร้อมจะเดินปัญญา แล้วก็ได้พักกับการสวดมนต์ แล้วเดี๋ยวจิตทำงาน.. รู้ทันจิตทำงาน ได้เจริญปัญญา เพราะฉะนั้น สวดมนต์เพียงแค่นี้นะ กำลังอร่อยกับการภาวนา หยุดเสียแล้ว! ใจมันจะมีฉันทะที่จะทำอย่างนี้ต่อในคราวหน้า คราวหน้าที่ว่าเนี่ยอาจจะไม่ใช่วันพรุ่งนี้ก็ได้ เดี๋ยวสักพักหนึ่ง ถ้ามีเวลาอีกสักไม่กี่นาทีจะสวดอีกก็ได้ เมื่อกี้สวดแล้วกี่นาทีเนี่ย จับเวลาได้หรือเปล่า?” ..ไม่นานเลยนะ ประมาณไม่ถึง ๑๐ นาที ทีนี้เวลาว่างอีกไม่ถึง ๑๐ นาที เราสามารถจัดเพื่อมาสวดมนต์ได้ ซึ่งง่ายมาก ถ้าเกิดว่าจะต้องสวดต่อกันหลาย ๆ บท คราวนี้มันต้องจัดเวลานานใช่ไหม? เกิดว่างไม่ลงล็อกเนี่ย ทำไม่ได้แล้ว อย่างนี้ถ้าเกิดว่า เราอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ ก็เจียดเวลาได้ง่าย สมมติว่ามารอพระ แล้วก็นั่งสวดในใจไปก็ได้ นั่งสวดในใจ อิติปิโส ๙ จบ ต่อด้วย สฺวากขาโตฯ สุปะฏิปันโนฯ ได้ทำสมถกรรมฐานบ้าง วิปัสสนากรรมฐานบ้าง “วิปัสนา” ก็มาจากตอนที่ว่า เห็นจิตเผลอไป-จิตดับ (จิตที่เผลอดับ) เห็นจิตเผลอทีไร-จิตที่เผลอดับ คือกลายเป็นวิปัสสนาแล้ว ไม่ได้อยากเผลอเลย มันเผลอเอง อย่างนี้ก็ได้เจริญวิปัสสนา “โอ้.. จิตนี่มันร้ายจริง ๆ” อะไรอย่างนี้นะ ไอ้ตอนคิดว่า จิตร้ายจริง ๆ ..นี่ฟุ้งซ่าน ตอนเห็นจิตมันเผลอเองเนี่ยนะ เรียกได้ว่า ได้เห็นจิตมันแสดงอนัตตาให้ดู นี่ก็เกิดวิปัสนาแล้ว พอเห็นจิตมันแสดงวิปัสนาให้ดู เห็นจิตแสดงไตรลักษณ์ให้ดูเนี่ยนะ แล้วก็มาบ่นในใจว่า “แหม.. จิตมันช่างร้ายกาจ” ขึ้นมาอย่างนี้นะ ไอ้ตอนนี้กำลังฟุ้งซ่าน ก็รู้ทัน “โอ้..จิตมันเป็นอย่างนี้ ทำงานอย่างนี้ ๆ” เราก็จะเห็นลีลาของจิตมากมาย ในระหว่างที่สวดมนต์ ทั้ง ๆ ที่สวดแล้วฟุ้งซ่านแท้ ๆ เลย แต่ได้ความรู้ทุกครั้งเลย นั่นเป็นประโยช์อย่างหนึ่งของการสวดมนต์ แล้วมันก็เป็นกรรมฐานที่ไม่น่าเบื่อ วันนี้ก็มาแนะนำ กรรมฐานที่อาตมาสอนโยมแม่อยู่ทุก ๆ วัน วันไหนที่อยู่ที่สวนธรรม ก็จะใช้โอกาสนี้สอนแม่สวดมนต์ โดยการสวดแล้วได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา ในการสวดมนต์หนึ่งจบ หนึ่งคราว.. โยมก็สามารถทำได้ ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล เรียบเรียงจากธรรมบรรยายเรื่อง “วงเวียนควาย ๆ ช่วงถาม-ตอบ” บรรยาย ณ วัดพระธาตุโกฏิแก้ว เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ลิงค์แสดงธรรม https://bit.ly/3lkGdJk (นาทีที่ 1:20:52-1:34:27)