#นิมฺมโลตอบโจทย์ ๒๐๕ #สมาทานศีลแปดฟังเพลงบรรเลงได้มั้ย? ?? #ถาม : สมาทานศีลแปด สามารถฟังเพลงคลาสิคแบบเพลงบรรเลงฟังสบายๆ ได้หรือไม่? #ตอบ : เพลงบรรเลงก็คือเพลงนั้นแหละ มันก็คืออยู่ในข้อที่ขับร้องประโคมดนตรี ถึงแม้จะไม่มีเนื้อร้อง​ มันก็คือการประโคมดนตรี เป็นการฟังเพลงบรรเลงนี่นะ ถ้าเราจะถึอให้บริสุทธิ์ละก็อย่าไปฟัง ไม่จำเป็นจะต้องอาศัยเสียงมากล่อมในช่วงที่ถือศีลแปด ถือเนกขัมมะ ก็ต้องให้บริสุทธิ์ ไม่ต้องมีเสียงเพลงบรรเลงเราก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เอาไว้ลาศีลแล้วค่อยไปฟัง แผ่นก็คงยังอยู่ ไม่เป็นไรหรอก เอาไว้ไปเปิดฟังตอนที่ลาศีลแล้วดีกว่า เพื่อให้การรักษาศีลของเราบริสุทธิ์ แล้วก็ไม่ถูกตำหนิจากเพื่อนนักปฏิบัติด้วยกัน หรือไม่ถูกตำหนิจากครูบาอาจารย์ จริงๆ ก็คือว่าไม่ควรฟัง มันผิดศีลในข้อที่​ ๗ “นัจจะ,คีตะ,วาทิตะ,วิสูกะทัสสะนาฯ” “นัจจะ” คือ​ การ​เต้นรำ​ ฟ้อน​รำ​ “ทัสสะนา” ก็คือ ดูการละเล่น “วิสูกะ” แปล​ว่า​ เป็น​ข้าศึก​ของ​ใจ “คีตะ” ก็คือ การขับร้อง “วาทิตะ” ก็​คือ​ การประโคมดนตรี ประมาณนี้ รวมแล้วก็คือ การดูการละเล่น การเอนเตอร์เทน (Entertain) ทั้งหลาย คือความบันเทิงทั้งหลาย​นั่นเอง บันเทิงในที่นี้ก็คือว่า มีการขับร้อง ร้องรำทำเพลง ดูการละเล่น สมัยก่อนก็จะเป็นการละเล่นบนเวที เดี๋ยวนี้อยู่ในที่จอโทรทัศน์ จอโทรศัพท์​ ถ้าดู​ ก็​นับว่าเป็น​การ​ดู​การเล่นด้วยกัน​หมดเลย ถ้าเราไปถือเนกขัมมะ​ เราก็ควรจะศึกษาข้อ​ ๗​ นี้​แหละ ซึ่งมันเป็นข้อที่ยาวมาก แล้วก็เป็นข้อที่คนมักจะไม่ค่อยเข้าใจ อาจจะ​เป็น​เพราะมันยาวก็ได้ มีรายละเอียดเยอะ เช่นว่า การแต่งหน้าทาปากนี่นะ ไม่ควรจะไปแต่งหน้าทาปาก เว้นไว้แต่ปากแตก​ คือหน้าหนาวปากแห้ง​ ก็ใช้ลิปมันอย่างนี้ได้ ใช้เป็นยาเพื่อรักษาอาการป่วย หน้าแตกหน้าแห้งอย่างนี้นะ อาจจะลงโลชั่น​ได้อยู่ เพื่อที่จะรักษาผิวหรือรักษาร่างกายให้มันหายจากโรค บางคนเป็นผื่น​ ก็อาจจะต้องโรยแป้ง แต่ถ้าเวลาปกติ​ ไม่ได้ป่วยอะไร ไม่มีผื่นคันอะไรจะมาผลัดหน้าทาแป้งก็จะผิดข้อนี้ การร้องรำทำเพลง.. แม้แต่ผิวปาก​ ก็ไม่ควร บางคนไม่เข้าใจนึกว่า “อ่ะ! ผิวปากนี่ ก็ไม่ใช่เป็นการร้องเพลง!” แต่เป็นการประโคมดนตรีอย่าง​หนึ่ง​แล้ว เป็นการผิวปากบรรเลงเพลง.. อย่างนี้นะ ตอนบวชใหม่ๆ อาตมาไม่ค่อยเข้าใจตัวนี้เหมือนกัน ไปธุดงค์​ใน​ป่า แล้วก็ผิวปากเรียกเพื่อนพระด้วยกัน มี​เณร​มาเตือน “หลวง​พี่​ นี่​ผิวปากไม่ได้​นะ! ผิวปากก็ผิด” เป็น​เณร​ก็​จริง​ แต่​มี​ประสบการณ์​มาก​กว่า​ เราก็ต้องมาเรียน ทำความเข้าใจใหม่ว่า “อ้อ! ผิวปากก็ไม่ได้ด้วย!” กรณี​นี้​ก็​นับ​ว่า​ มี​เณร​เป็น​อาจารย์ ก็ต้องค่อยๆ​ เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดนั่นแหละ​ เราพลาดอะไรไป แล้วถ้ามีคนมาตักเตือน เราก็ตรวจสอบ​แล้วจดจำ​ และ​เตือน​ตนว่าเราจะไม่ทำในสิ่งที่เคยผิดพลาดไป ถ้ามีคนเตือน เราก็ควรจะน้อมรับ รับฟังด้วยความเคารพในคำตักเตือนอันนั้น​ แม้​ผู้​เตือน​นั้น​จะ​เป็น​ผู้​น้อย แล้วก็​ระวังไม่ทำในสิ่งที่ผิดพลาดนั้นอีก พระอาจารย์กฤช​ นิมฺมโล เรียบเรียงจากการตอบปัญหาธรรม ในรายการ”ธรรมะสว่างใจ” เมื่อวันที่​ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๒ ลิงค์วีดีโอ https://youtu.be/clyuwC-c_JU (นาทีที่ 43:26 – 49:20​)

อ่านต่อ